บทสัมภาษณ์ : ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ เรื่อง "สอนลูกอย่างไร...จากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ"

 บทสัมภาษณ์ :  ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ เรื่อง "สอนลูกอย่างไร...จากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ"


รายการ “พ่อแม่มือใหม่ หัวใจเกินร้อย” FM 105

ถอดคำสัมภาษณ์ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักคิด นักวิชาการ นักเขียน อาจารย์มหาวิทยาลัยหลายแห่งทั้งในและต่างประเทศ

ผู้ดำเนินรายการ คุณสรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

ผู้ถอดคำสัมภาษณ์ : คุณ เอ อรทัย orathaia.multiply.com

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553 เรื่องเกี่ยวกับ “สอนลูกอย่างไร...จากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ”



คุณสรวงมณฑ์ : สวัสดีค่ะอาจารย์คะ

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : สวัสดีครับคุณสรวงมณฑ์ครับ และท่านผู้ฟังที่เคารพด้วยครับ

คุณสรวงมณฑ์ : วันนี้ต้องขอขอบพระคุณมากค่ะที่ให้เกียรติสละเวลามาให้ความรู้ ให้มุมมองแง่คิดดีๆ ที่น่าจะเกิดประโยชน์กับครอบครัวนะคะ

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : ขอบพระคุณครับ ยินดีครับ

คุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ อาจารย์เห็นข่าวเรื่องที่เฮติครั้งแรกถามอาจารย์ก่อน อาจารย์รู้สึกยังไง?

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : พอข่าวมาตอนแรกนี่นะฮะ ผมรู้สึกว่าสลดใจมากเลย เพราะว่าเราจะเห็นชีวิตมนุษย์เนี่ยเป็นของมีค่า แต่ว่ากลับสูญเสียชีวิตกัน และเดาตั้งแต่วันแรกที่ข่าวออกยังรู้สึกคนตายไม่มาก แต่ดูอาการวิเคราะห์เอาจากเหตุการณ์ เชื่อว่าต้องตายมาก เพราะว่ากลางเมืองถล่มลงมาแบบนั้นแล้วเห็นตึกพังลงมาตามรูปที่ CNN แสดง

คุณสรวงมณฑ์ : รายงานมา

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : แสดงว่าผมเดาว่าต้องตายมหาศาลเลย แล้วก็เป็นจริงอย่างที่คิดเพราะหลังๆ ต่อมาจะเริ่มเห็นว่าเป็นศพมาก ก็เลยคิดว่าเรื่องชีวิตเนี่ยสลดใจเมื่อคุณค่าชีวิตของคนเนี่ย ไม่ได้ถูกดูแลโดยดีที่สุด เพราะว่าจริงๆ อยู่ในเมืองแบบนั้นนะฮะ เป็นเมืองที่มีแผ่นดินไหวได้ง่าย น่าจะมีการวางแผนเรื่อง

คุณสรวงมณฑ์ : เรื่องโครงสร้าง

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : โครงสร้าง ใช่ครับ นี่เป็นบทเรียนที่ 1 ที่อยู่ในใจเลยว่าถ้าเผื่อมีโศกนาฏกรรม หายนะต่างๆ เนี่ย อาจจะเกิดได้ทั่วไปหมด เมืองไทยก็เหมือนกันครับ ผมเคยเตือนว่าบนถนนสุขุมวิทเนี่ย ถ้าเผื่อเป็นตึกสูงๆ  ถ้าเกิดไฟไหม้ขึ้นมานี่นะครับ โอกาสที่จะดับไฟ ถ้าดับเล็กๆ ไม่ได้แล้วมันเกิดลุกลามเนี่ย คนจะถูกฆ่ากันมหาศาลโดยการย่างสดในตึก เพราะว่าเครื่องดับเพลิงเรานี่นะฮะ รถกระเช้าสูงๆ เนี่ยนะฮะไม่ค่อยดี

คุณสรวงมณฑ์ : ยังไม่พร้อมใช่มั๊ยคะ?

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : มีแต่ว่าไม่สามารถใช้งานได้จริงเนื่องจากว่าต้องตีวง ถนนสุขุมวิทเนี่ยขนาดถนนไม่พอที่จะตีวง ดังนั้น อย่างนี้เป็นตัวอย่างของการเตรียมพร้อม ว่าเราต้องไม่รอให้เกิดปัญหาแล้วค่อยมาเตรียม อันนี้เป็นบทเรียนที่ 1 เราสอนลูกได้เลยนะว่าจะต้องระมัดระวังว่าเราต้องเตรียมตัว ไม่ใช่รอให้เหตุการณ์เกิดแล้วค่อยแก้ ให้คิดนำหน้า ถ้าเกิดเค้าสร้างตึกให้เป็นแบบสมัยใหม่หน่อย ที่สามารถที่จะขยับเขยื้อน มีลูกยาง มีอะไรต่ออะไร นิวซีแลนด์เค้าทำเป็นนะ ญี่ปุ่นทำเป็น ก็ทำแบบนี้จะเบาลงแต่เพราะการไม่เตรียมตัวก็จึงมีโศกนาฏกรรม และอันที่ 2 เนี่ย ผมมีความรู้สึก พอได้ยินข่าวไทยว่าเราให้เค้า 20,000 เหรียญ ทันทีที่ข่าวแรกออก ในวินาทีแรกที่ออกมานี่ ตกใจ แล้วบังเอิญจริงๆ นะคุณสรวงมณฑ์ เป็นเวลาที่ผู้สื่อข่าวโทรมาคุยกับผมในรายการพอดีเลย เป็นรายการปกติช่วงเวลานั้นพอดีเลย ผมก็เลยให้สัมภาษณ์ไปบอกว่า “โอ้โห ให้เค้าน้อยจนน่าเกลียดจริงๆ นะ” ถ้าพูดกัน reaction แรกของเหตุการณ์แรกที่ข่าวออกครั้งแรกเลยเมื่อมีข่าว 20,000 เหรียญ “โอ้โห ประเทศทั้งประเทศเราให้เค้าแค่นี้เหรอ” และรู้สึกว่าเราเนี่ยจะต้องแสดงน้ำใจมากกว่านี้เยอะเลย จริงๆ มันมีวิธี เราจะมีกฎกติกาอะไร่าว ที่ออกะต้องระมัดระวังว่าเราต้องเตรียมตัวเกิดปัญหามาบอก เห็นสถานการณ์อย่างนี้เราก็สามารถเรียกประชุมกรณีพิเศษ เราสามารถขออนุญาต อะไรอย่างนี้ มันก็คงช่วยเค้าได้แบบมีน้ำใจ ก็คิดว่าบทเรียนที่ 2 ที่ฝากกับการเลี้ยงลูกก็คือโอกาสเหตุการณ์อย่างนี้ พอลูกเห็นทีวีต้องสอนลูกว่าการมีน้ำใจต่อคนอื่น ให้ลูกมีน้ำใจต่อคนอื่น นี่สำคัญนัก

คุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : สำคัญมากเลยเพราะการอยู่ร่วมกันร่วมโลก ไม่ว่าเค้าจะเป็นคนที่ไหนหรือแม้ในคนไทยด้วยกันหรือเพื่อนบ้านข้างๆ บ้าน การสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่นเนี่ย การสร้างลูกของเราจะต้องสร้างนิสัยเห็นอกเห็นใจคนอื่น มีมนุษยธรรม คือต้องรู้สึกว่าความทุกข์คนอื่นเนี่ย เอาใจเขามาใส่ใจเรา

คุณสรวงมณฑ์ : ชีวิตคนอื่นก็มีคุณค่าด้วยเหมือนกัน

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : ถูกต้องครับ ชีวิตคนอื่นก็มีคุณค่าจริงๆ อย่าไปนึกเพียงแต่ว่าถ้าเราไม่เดือดร้อน อยู่ไปกันก็ไม่เป็นไร จริงๆ แล้วบางทีชีวิตเราผ่านคนมาเยอะแยะนะครับ ถ้าเผื่อว่าบางทีเราอาจจะไม่เจอกันเลยตลอดชีวิตก็ได้ แต่การที่เรามีน้ำใจต่อคนอื่นเนี่ย มันทำให้เราเองเนี่ยสร้างจิตใจภายในที่มีคุณค่า ก็ต้องสอนลูกแบบนี้จริงๆ นะฮะ ผมอยากจะฝากว่าเหตุการณ์เฮติเนี้ย เราก็สอนลูกได้บอกว่า “ลูก เราหาวิธีการช่วยพวกเค้าดีมั๊ย? เช่น แบบนี้ เหมือนๆ สื่อมวลชนเริ่มเองผมก็ดีใจนะ

คุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : พอรัฐบาลให้น้อยเนี่ย พอเห็นสื่อมวลชนประชาชนชาวไทยเริ่มกันเองเนี่ย มันเป็นวิธีที่จริงๆ ผู้ให้ได้ประโยชน์มากกว่าผู้รับ เพราะว่าเป็นการสอนให้คนรอบตัวมีจิตใจที่ถูกต้อง องค์กรใดที่เริ่มต้นทำ ก็ทำให้คนในองค์กรนั้นเห็นแก่ตัวน้อยลง บ้านใดรู้จักให้ลูกที่จะแบ่งปันเนี่ย จะทำให้ครอบครัวมีความสุขขึ้น ผมว่าคนที่ได้มากก็คือคนให้ คนรับเนี่ยเราก็อยากให้แต่ผลพลอยได้คือคนที่ให้เนี่ย ได้โดยไม่รู้ตัว

คุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : และผมอยากให้ลูกเราเนี่ยมีโอกาสได้รับการสอนแต่เด็กอย่างถูกต้อง อย่างตอนลูกผมเด็กๆ ตอนนี้ลูกผมอายุ 28 แล้วนะฮะ โตแล้ว

คุณสรวงมณฑ์ : เป็นหนุ่มใหญ่

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : โตมากแล้วครับ ทำงานแล้ว แล้วก็คนเล็กก็ 21 เข้าไปแล้ว แต่ตอนเค้าเล็กๆ เนี่ยนะฮะคุณสรวงมณฑ์ ผมเนี่ยสอนเค้าแบบไม่เหมือนคนอื่นเลยตอนแรกๆ คือว่าเค้าได้ค่าขนมไป เค้าจะต้องหักส่วนหนึ่ง นึกถึงช่วยเพื่อน เนี่ยสอนอย่างนี้แต่เด็กเลย

คุณสรวงมณฑ์ : ก็คือว่าสมมติว่าได้เงินไปโรงเรียนจะต้องมีส่วนนึงที่เก็บเอาไว้

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : ใช่ แล้วก็ให้เพื่อน ให้เพื่อนที่ตกทุกข์ได้ยาก เพื่อนที่ยากจนกว่า คือให้เกิดเป็นนิสัยว่า เป็นสัญชาติญาณที่ 2 ในตัวว่าพอได้อะไรมาไม่ใช่นึกเอาคนเดียวได้หมด เก็บไว้ตัวเองหมด กินเองหมด ทำให้ตัวเองหมด แต่ต้องนึกว่า เอ๊ะ เรามีคนอื่นมั๊ยรอบตัวเราที่เค้าตกทุกข์ได้ยาก ให้เค้าสักหน่อยได้มั๊ย อันเนี้ยต้องสอนแต่เด็ก ให้เกิดความเห็นอกเห็นใจคนอื่นที่ยากจน

คุณสรวงมณฑ์ : อาจารย์ทำแบบนี้มาตั้งแต่ลูกเล็กๆ เลย จนปัจจุบันนี้ลูกอายุ 28 กับ 21 นี่อาจารย์คิดว่าสิ่งที่อาจารย์ทำมาจนทุกวันนี้อาจารย์เห็นอะไรคะในตัวลูก?

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ :
โห ผมประทับใจนะ พูดตรงๆ คือ ประทับใจว่าก่อนกินข้าวกับลูกคนที่อายุ 28 แล้วก็เค้าเนี่ยรู้จักนึกถึง...นั่งทานข้าวอยู่แล้วเค้าก็นึกถึงคนที่ทำงานคนนั้น คนที่เดือดร้อนว่าเป็นยังไง แล้วเค้าก็จัดการสั่งอาหารเอาไปให้ด้วยตนเองเลย นี่คืออากัปกิริยาของคนที่...ทั้งๆ ที่เรากำลังคุยกันเรื่องที่ซีเรียสหลายเรื่อง ใจเค้ากลับไปนึกถึงคนที่ไม่มี นี่คือเกิดเป็นสัญชาติญาณเลยเห็นมั๊ยฮะ เกิดเป็นสัญชาติญาณเค้า อยู่ในใจเค้าละว่าเค้านึกถึงคนนู้นคนนี้

ลูกคนเล็กผมก็เหมือนกัน ตอนที่เค้าไปอยู่ที่ประเทศอินเดีย ผมตั้งใจส่งเค้าไปเรียนตอนมัธยมปลายที่อินเดีย เพราะว่าไม่อยากให้ไปเจอวัตถุนิยมในประเทศฝรั่งก่อน เค้าเรียนในโรงเรียนนานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในอังกฤษของเมืองไทย แล้วมีวันหนึ่ง ตอนมัธยมต้น เค้าก็เริ่มจะวัตถุนิยมมากขึ้น เค้ารับอิทธิพลเพื่อนๆ ว่าเพื่อนนั้นมีบ้านกี่ห้อง บ้านใหญ่โตขนาดไหน มีรถกี่คัน ผมก็รู้สึก เอ๊ะ ลูกเราเริ่มรับอิทธิพลนะ ก็เลยแนะนำเค้าว่าไปเรียนต่างประเทศโรงเรียนนานาชาติที่ดี แต่ว่าที่ประเทศยากจนหน่อยดีมั๊ย ไปอยู่บนเขาไกลเลย ผมเลยให้เค้าไปเรียนโรงเรียนนานาชาติของอังกฤษ ที่อยู่บนเขาที่ขึ้นยาก น้ำก็ไม่ค่อยมีจะอาบ คือน้ำมีน้อย ฉะนั้นเค้าให้กติกาอาบได้สัปดาห์ละ 3 หน โอ้โห แล้วต้องไปทำงานในครัว รับใช้เพื่อนด้วย ผลัดกันรับใช้ ห้องก็อยู่กันอย่างหลายคน ขนม ต่างคนต่างมีต่อเทอมได้ปริมาณจำกัด ใครมีมากกว่านั้นก็ต้องเอามาแบ่งเพื่อน ผมก็เลยให้เค้าไปฝึกชีวิตอยู่ 4 ปีอยู่ที่โรงเรียนชั้นดีนะฮะแต่อยู่ด้วยความลำบากหน่อย แล้วก็เห็นใจคนจน เค้าก็ไปจัดการเองในแถบนั้น พอเป็นประธานนักเรียนของโรงเรียน เค้าก็ไปจัดการชวนเพื่อนไปช่วยชุมชนที่ตกทุกข์ได้ยาก ยากจนบริเวณเขา้าั้น พอเป็นประธานนักเรียนเลยให้เค้าไปฝึกชีวิตอยู่ขนม ต่างคนต่างมีต่อเทอมได้ปริมาณจำกัดนที่เค้าอยู่ ผมก็รู้สึกว่าได้ผลนะ โตมาเนี่ยเค้าไม่ได้อยู่เฉย เค้าคิดถึงคนอื่น

เนี่ยคือนิสัยที่เราต้องใช้โอกาส บางทีเราเห็นสถิติปุ๊บเนี่ยเราไม่สอนลูกเราเลย ต่างคนต่างดูทีวี ต่างคนต่างฟังข่าว คุณสรวงมณฑ์เห็นมั๊ยฮะ สังคมเราบางทีไม่ค่อย...

คุณสรวงมณฑ์ : บางทีเกิดเหตุการณ์เฮติแต่ให้ลูกดูการ์ตูนปกติ

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : อื้อ นั่นสิ แทนที่เราจะสอนลูก ได้โอกาสแล้วนะ เนี่ย ชีวิตจริงเห็นมั๊ย ดูตึกถล่มมาอย่างเนี้ย แล้วลูกจะทำอะไรได้บ้าง อย่างตอนลูกผมคนเล็กเนี่ยและคนโตด้วย ตอนอายุ 6 ขวบเนี่ยก็พาเค้าไปเยี่ยมคนพิการซ้ำซ้อน แล้วก็ถามเค้าว่า “เมื่อโตขึ้นมาจะช่วยเด็กเหล่านี้ยังไง?” เค้าก็นั่งคิดว่าโตขึ้นเค้าจะทำยังไงแบบประสาเด็กนะครับแค่ 6 ขวบ แล้วตอนนี้ล่ะ จะช่วยได้ยังไง เค้าก็บอกว่า “งั้นเค้าอาสาตัวปัดกวาดเช็ดถู เก็บเงินมาช่วยได้มั๊ย?” นั่นตั้งแต่ตอน 6 ขวบนะครับ

คุณสรวงมณฑ์ : ก็คือว่ามันเป็นเรื่องที่ได้รับการซึมซับปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก แล้วพอโตขึ้นสิ่งเหล่านี้มันติดตัวมาจนเค้าเติบโตขึ้นมา ทำให้เค้านึกถึงผู้อื่นด้วย

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : ใช่ แล้วถ้าเราสอนลูกแบบนี้นะคุณสรวงมณฑ์ ลูกเรานอกจากจะเป็นคนค่อนข้างกระเดียดไปทางมีจิตใจเมตตาคนอื่นแล้ว ยังไม่สร้างปัญหาขึ้นมา เราไม่อยากเห็นเด็กของเราลูกของเราเที่ยวไปเป็นปัญหาสังคมเต็มไปหมด เราก็ต้องสอนลูกเราในทางที่ดีและพ่อแม่เนี่ยสำคัญสุดในการสอนลูก เพราะฉะนั้นโอกาสดีนี่ต้องสอนได้ทุกเวลา ไม่ใช่ เอ้า นั่งลง จะสอนแล้วนะ ไม่ใช่ มันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดประจำวัน อย่างเมื่อกี้เราคุยเรื่องเฮติ เป็นเหตุการณ์ที่น่าจะเป็นอุทาหรณ์สอนลูกได้ดี เพราะต้องชี้ให้ดูสิว่า เนี่ย ลูกเรากำลังตัวเล็กๆ สมมติพ่อแม่ที่ฟังอยู่บอกว่าลูกตัวเล็กๆ เค้าอาจจะไม่รู้เรื่อง ก็ใช้โอกาสเลย อธิบายว่าความเห็นอกเห็นใจเป็นยังไงนะ เราจะช่วยได้ยังไง แล้วก็ให้เค้าเริ่มช่วย อย่าให้เค้ารู้สึกว่า “ชั้นเป็นเด็กเล็กๆ ไม่มีอะไรจะช่วย” นการสอนลูกสำคัญสุดมงเรา  ลูกของเรา เทปทางมีจิตใจเมตตาแล้ว ยังไม

คุณสรวงมณฑ์ : “ช่วยอะไรไม่ได้หรอก ยังเด็กอยู่”

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : ใช่ อย่าไปคิดอย่างนั้น ต้องให้เด็กหัดทำตั้งแต่ตัวเล็กๆ แล้วเค้าก็จะเริ่มต้นคิดขึ้นมาตอนโตว่าเค้าจะทำอะไรให้คนอื่น ผมคิดว่าเรื่องนี้สำคัญ ผมโชคดีตอนอายุวัยรุ่น ผมอยู่โรงเรียนแห่งหนึ่ง แล้วก็มีขอทานตาบอดมายืนอยู่หน้าโรงเรียน ผมก็ไปคุยด้วย คุยด้วยหลายวันเข้านะฮะ คุยจนเกิดเห็นใจเลย ไม่ใช่คุยไปให้ตังค์ไปเฉยๆ แต่คุยจนเห็นใจ ก็เลยไปเรียนภาษาคนตาบอดตอนผมเป็นเด็กวัยรุ่น

คุณสรวงมณฑ์ : เป็นแรงบันดาลใจ คือ เป็นแรงบันดาลใจจากการคุยกันเสร็จแล้วชักอยากรู้ แล้วก็ไปเรียนอักษรเบรลล์

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : อยากรู้และอยากช่วยเค้า คือ เราอยากช่วยเค้าด้วย ก็เพราะตอนสมัยนั้น ตอนสมัยเมื่อ 40 ปีนี่คนตาบอดไม่ค่อยมีหนังสืออ่านนะครับ ผมก็ไปเรียนจนเขียนภาษาของคนตาบอดได้ ตัวอักษรเบรลล์อ่ะ แล้วก็แปลให้เลย ในที่สุดก็เกิดความเชี่ยวชาญในการเขียนอยู่พักนึงในยุคนั้นนะฮะ ก็มีความรู้สึกว่าเราได้อุดมการณ์ในใจ ฝังแน่นในใจมาจากประสบการณ์ ยามเด็กที่เราได้ไปเกลือกกลั้วกับคนที่ตกทุกข์ได้ยากหลายประเภท ไปช่วยชุมชนแออัดที่จารุรัตน์ ตอนนั้นผมเป็นวัยรุ่น 40 ปีต่อมาพอผมไปเยี่ยมเยียนอีกที ตอนนั้นไปหาเสียงผู้ว่า กทม. เนี่ย จำได้เลยว่า โอ้โห นี่เราเคยมาที่นี่เมื่อ 40 ปีที่แล้ว แล้วความรู้สึกเราเป็นยังไงยามนั้น วันนี้ยังดีรู้สึกเหมือนเดิม ว่าจะช่วยยังไงดีนะที่จะให้คนอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ไม่ต้องอยู่ในชุมชนแออัดอย่างนี้ จะแก้ปัญหายังไง ทำไม 40 ปีผ่านไป ทำไมยังไม่ค่อยเปลี่ยนเลย”

คุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : ถ้าการเมืองจริงใจ ทำไมถึงยังปล่อยให้คนอยู่ในสภาพอย่างนี้กันเต็มไปหมด นี่คือความรู้สึกในจิตสำนึก ซึ่งลูกเราเนี่ยเกิดได้นะถ้าลูกเค้าตามเราไป อย่างลูกคนเล็กผม ตอนตามผมไปช่วยตอนผมผหาเสียง เค้าก็รู้ว่าเราไม่ได้หาเสียงเหมือนคนอื่น เราไม่ได้หาเสียงเพราะอยากได้คะแนน เราคิดถึงว่าเราต้องอาสาตัวมาทำยังไง มาจัดระบบเพื่อทำให้คนได้รับการช่วยเหลือบางอย่าง เป็นระบบที่ภาพใหญ่ ไม่ใช่การช่วยเหลือแบบทีละคนเท่านั้น อย่างเนี้ยคือการสอนลูก ขนาดลูกคนโตแล้วก็มาช่วยหาเสียง เค้าก็ไม่ได้คิดเป้าหมายคือเอาชนะแต่นึกว่าเราไปทำเพราะอะไร เนี่ยอย่างเนี้ย คุณสรวงมณฑ์ ผมอยากให้พ่อแม่ถ้าฟังกันอยู่ คิดว่ามีประโยชน์อยากจะฝากเลยว่า พ่อแม่ต้องคิดถึงการสอนลูกตัวเองด้วยพฤติกรรมตัวเอง ความคิดของตัวเอง

คุณสรวงมณฑ์ : เป็นแบบอย่าง

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : เป็นแบบอย่าง ใช่ คุณสรวงมณฑ์ เนี่ยสำคัญสุดๆ เลย แล้วลูกเราเนี่ยจะไม่ไปไหนเสียถ้าเราเป็นแบบอย่างที่ดี จริงๆ เราไม่มีใครสมบูรณ์แบบนะคุณสรวงมณฑ์ เราทุกคนขาดตกบกพร่องบ้างเป็นธรรมดา แต่ถ้าเราจริงใจแล้วเรากระเดียดไปทางจริงใจสูงๆ เนี่ย จะได้ผลการสอนแน่นอน ลูกก็จะศรัทธา

คุณสรวงมณฑ์ : สัมผัสได้

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : สัมผัสได้ เพราะฉะนั้นโอกาสเฮติเนี่ยผมอยากจะเรียนเลยว่าเป็นโอกาสดีจริงๆ เลยจะสอนลูกให้มีน้ำใจ

คุณสรวงมณฑ์ :

ทีนี้อาจารย์พูดอยู่ในช่วงต้นๆ เนี่ย ดิฉันสนใจอยู่ 2 ประเด็น ประเด็นแรกอาจารย์พูดถึงเรื่องว่าให้เห็น ว่าทำไมโครงสร้างมันถึงได้พังลงมา อาจารย์กำลังจะพูดถึงเรื่องธรรมชาติ และก็โครงสร้างนี่หมายถึงคนที่เป็นผู้บริหารในการจัดการประเทศ อันที่ 2 อาจารย์พูดถึงเรื่องของหัวจิตหัวใจ น้ำใจที่ควรจะมีต่อกันในแง่ของเพื่อนมนุษย์ ทีนี้เอาข้อแรกก่อนที่อาจารย์บอกว่ามันเป็นเรื่องของโครงสร้าง เป็นเรื่องของความปลอดภัยเนี่ย ถ้าเราจะสอนลูกของเรานะคะ อาจารย์บอกว่าควรจะต้องให้คำนึงว่า เออ โครงสร้างมันเป็นยังไง กรณีเฮติเนี่ย เอาแค่ชื่อ เด็กๆ ยังไม่รู้เลย คือ ประเทศอะไรเนี่ย เคยได้ยินแต่อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ประเทศที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว แต่ประเทศเฮติเนี่ย มันอยู่ที่ไหนของโลกใบนี้ แล้วทำไมมันยังเป็นประเทศที่ยากจนอยู่ เราจะอธิบายลูกยังไงคะ?

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : อื้อหือ เป็นโอกาสดีจริงๆ เลย สอนความรู้ลูกด้วยนะ เช่น สอนความรู้เรื่องภูมิศาสตร์ว่าเฮติเนี่ย อยู่ในโลกตรงไหน ตั้งอยู่บริเวณแถบใด

คุณสรวงมณฑ์ : เอ้า กางแผนที่มาให้ลูกดูเลย

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ เอาแผนที่มากางเลย เปิดอินเตอร์เน็ตให้ดูก็ได้ถ้าเราไม่มีแผนที่ที่บ้านใช่มั๊ยฮะ

คุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : เอ้าเปิด ดูสิ ตรงนี้เห็นมั๊ยทวีปอเมริกาเหนือเป็นอย่างนี้ เค้าก็จะได้ความรู้ว่า อ๋อ อยู่ตรงนี้เอง แล้วทำไมตัวดำๆ ล่ะ คนน่ะ โห ประวัติศาสตร์มายังไงหรือ คนถึงตัวดำๆ โทษทีไม่ได้ดูถูกความดำนะ เพียงแต่เล่าให้ฟังว่า

คุณสรวงมณฑ์ : เค้ามีผิวสีแตกต่างจากเรานะ

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : สีเค้าต่างกับเรา สีก็สวยดี สีเข้มๆ ก็ดี ทำไมเค้าถึงยากจน อธิบายโครงสร้างเศรษฐกิจให้ฟังเลย ว่ามันเกิดความเสียเปรียบอะไรขึ้นมาได้ยังไง ทำไมความจนจึงเกิดนะฮะ บางทีเด็กๆ ก็อาจจะงง บางทีเด็กโตมาไม่รู้ เอ๊ะ ทำไมบางคนจนบางคนรวย จิตสำนึกไม่มีเลยถ้าเกิดไม่เคยสังเกต บางทีบางคนไม่รู้เลยนะคนจนแปลว่าอะไร จิตสำนึกไม่มีเลยถ้าเกิดไม่เคยสังเกตางคนรวย

คุณสรวงมณฑ์ : เพราะอยู่แต่ในสภาพแวดล้อมเดิมๆ ของที่บ้านในครอบครัวที่อยากจะมีอะไรก็ได้ทุกอย่างตามที่ต้องการ

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : นี่แหละคุณสรวงมณฑ์เห็นมั๊ยว่าเป็นโอกาสสอนลูก ทั้งให้ความรู้ ทั้งให้การอธิบายที่ลึกซึ้งได้เลย อย่านึกว่าเด็กเรียนรู้ไม่ได้นะ เพราะเหตุการณ์ทำให้เด็กเกิดความสนใจ ปลุกเร้าให้อยากรู้ เค้าทำไม ประเทศเค้าอยู่ตรงนี้ แล้วเค้าเป็นอย่างนั้นเพราะอะไร แล้วบทเรียนการสร้างเมืองหลวง เห็นมั๊ยเมืองสำคัญขนาดนี้ ศูนย์กลางขนาดนี้ อยู่ตรงบริเวณแถบนี้แล้วเกิดมีแผ่นดินไหวบ่อยๆ วิธีสร้างเมืองต้องเตรียมตัวยังไง ก็สอนไปได้หมดเลย

แล้วไปสอนถึงเรื่องว่า เอ เวลาคนที่เค้าตกทุกข์ได้ยากนี่เค้าเห็นมั๊ยแย่งกันกิน แย่งกันหาน้ำหาอาหาร สัญชาติญาณมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยากเนี่ยเค้าออกมา เราเข้าใจความเป็นมนุษย์ละ เข้าใจชีวิตจริงของมนุษย์ว่าเวลามนุษย์เดือดร้อนเป็นยังไง

แล้วก็สอนเค้าถึงเรื่องความสัมพันธ์นานาชาติ เห็นมั๊ยว่าคนที่ไปช่วยเค้าเนี่ยมีกี่ประเทศ ประเทศที่ช่วยตามหน้าที่ ประเทศที่ช่วยแบบมีใจ ประเทศที่ช่วยแบบหาผลประโยชน์

คุณสรวงมณฑ์ : มันมีหลากหลาย

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : หลากหลาย คนมันมีหลากหลายนะ ประเทศก็มีหลากหลาย ทำให้เค้าเข้าใจโลกจริงๆ ว่าโลกอยู่ด้วยกันแบบไหน ทำไมประเทศนั้นถึงกระเถิบตัวเข้าไปเร็ว ทำไมบางประเทศรู้สึกว่ากระเถิบตัวช้า มันมีเหตุผลเพราะอะไร อะไรเป็นแรงจูงใจ ทำไมเค้าถึงประพฤติอย่างนี้ แล้วทำไม UN ทำแบบนี้ ทำไมคนนั้นต้องไปเยี่ยม ทำไมคนนี้ไม่ไปเยี่ยม แล้วผู้นำของเค้าตอบสนองยังไงในเหตุการณ์เช่นนี้ ความเป็นผู้นำเป็นยังไง เนี่ย โอ้โห สอนได้สารพัดเลยนะ สอนไปถึงหายนะเรื่องอื่นๆ อีก เอ้า นอกจากเรื่องนี้เห็นมั๊ย หายนะยังมีสึนามิอีก ยังมีแผ่นดินถล่ม ยังมีน้ำท่วม ยังมีหายนะอีกมากมายในโลกที่เกิดขึ้นเนี่ย เราจะเรียนรู้เรื่องพวกนี้ได้ยังไง อันนั้นเป็นเรื่ององค์ความรู้

คุณสรวงมณฑ์ : ในทางกลับกันค่ะอาจารย์ สมมติว่าเด็กเค้าฟังแล้ว เราเล่าให้เค้าฟัง ปรากฏว่าเอ๊ะแล้วเราอยู่ในบ้าน ลูกอาจจะถามเราก็ได้ แล้วอย่างนี้แผ่นดินไหว บ้านเรามันมีสิทธิ์พังมั๊ย มันจะมาทับหนูมั๊ย?

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : เห็นมั๊ยๆ นี่แหละ เด็กตามธรรมชาติจะต้องถามคำถามนี้ตามมาแน่นอน เด็กเค้าจะถาม นี่แหละเป็นโอกาสทองเลย เราจะได้อธิบายให้หนูเค้าฟัง บอกว่านี่เห็นมั๊ยบ้านเราเป็นอย่างนี้นะ อยู่ตรงนี้มีโอกาสขนาดไหน น้อยหรือมาก แล้วบ้านเราเตรียมตัวไว้รึเปล่า ก็เห็นมั๊ยว่าเวลาไม่เตรียมตัวมันเป็นยังไง เห็นมั๊ยวันก่อนขับรถออกไปน้ำท่วมกรุงเทพฯ นิดเดียวรถติดกันมโหฬาร เห็นมั๊ยว่าถ้าเผื่อหนูไม่อยากให้รถติดเนี่ย ถ้าหนูโตมาเป็นผู้ใหญ่จะต้องทำกันยังไง เนี่ยสอนได้หมดเลย สอนเรื่องสมมติหนูไปสนใจเป็นวิศวกร เป็นสถาปนิก เวลาสร้างตึกขึ้นมาเนี่ย เราจะทำยังไง เวลาสร้างตึกไม่ใช่สักแต่สร้างเพื่อให้ได้เงิน สร้างตึกเนี่ยเราสร้างโดยอาชีพเราก็จริงเป็นสถาปนิก แต่เราสร้างแล้วนึกถึงอะไร นึกถึงคนที่อยู่ว่าเค้าจะเดือดร้อนปลอดภัยมั๊ย มีจิตสำนึกเพื่อสังคม อย่างนี้มันใส่เข้าไปได้หมดเลยในใจเด็กนะฮะ แล้วทุกอาชีพเนี่ยมีหน้าที่ต่อส่วนรวม ไม่ใช่เป็นหน้าที่แค่ประกอบสัมมาชีพ ทำมาหากินอย่างเดียว เนี่ยเราใส่เข้าไปให้เกิดจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม ใส่ทั้งความเป็นมืออาชีพ แล้วเวลาเรียนหนูก็ต้องตั้งใจเรียนให้ดีจริงๆ ไม่ใช่เรียนหนังสือเพียงเพื่อ “ผ่าน” แต่ดูสิ ถ้าเรียนไม่รู้เรื่องจริงเนี่ย พอสร้างมาแล้วไม่รอบคอบเกิดอะไรขึ้น

คุณสรวงมณฑ์ : ผู้คนล้มตายมากมาย

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : ผู้คนล้มตาย ก็สอนได้หมดเลย นี่คือหน้าที่พ่อแม่ ถ้าเกิดพ่อแม่ทำหน้าที่ตัวเองจริงๆ นะฮะ โอ้โห ลูกเราโตมามีคุณภาพ

คุณสรวงมณฑ์ : อาจารย์ แล้วประเด็นอีกประเด็นนึงที่อาจารย์พูดถึงเรื่องของการเห็นอกเห็นใจ การมีน้ำใจก็ตามนะคะ คุณพ่อคุณแม่ที่ฟังอยู่มีลูกหลากหลายวัย เพราะฉะนั้นเนี่ย แล้วจะยังไงดีคะ เห็นจากอย่างนี้แล้ว จะเริ่มที่จะไปช่วยเหลือ หรือว่าหนูตัวเล็กนิดเดียวหนูจะไปช่วยเหลืออะไรได้ ช่องทางอะไรที่จะสอนลูกเรื่องจิตอาสาได้บ้างนะคะอาจารย์?

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : ผมคิดว่าสิ่งที่ทำได้ 2 ระดับ ระดับหนึ่งคือเหตุการณ์นั้นเองในเฮติ ระดับที่ 2 คือเหตุการณ์รอบตัวที่เอามาประยุกต์ เฮติเนี่ยเราก็เดินหน้าได้เลย เอาล่ะ หนูลองคิดดู เราอย่าไปบอกเค้าหมด ให้เค้าหัดคิดเอง จะช่วยเค้าได้ยังไง ให้เค้าเริ่มคุยสนทนา เริ่มคิด เริ่มจะ take action เริ่มจะทำ แล้วเราก็บอกเค้าว่า เออ ข้อเสนอนี้ดีนะ แต่ว่าจะทำยังไงเพื่อให้เกิดได้จริง นี้เป็นวิธีการคุยแล้วก็ทำให้เค้าทำจริง ทำเล็กทำน้อยทำจริง ถ้าเค้าบอกว่า “โอย แล้วหนูจะไปเฮติได้ยังไง” “หนูไปไม่ได้ก็จริงแต่หนูยังสามารถช่วยวิธีอื่นได้โดยไม่ต้องไป ใช่มั๊ย?” “แล้วจะช่วยยังไงล่ะ?” เอ้า ก็ค่อยๆ คุยกันไปจนได้คำตอบ มันก็มีทางออกให้เค้ามีส่วนร่วม จะได้ให้เค้าภาคภูมิใจว่าในเหตุการณ์ในเฮตินี้เนี่ย เค้าก็เป็นหนึ่งในคนจำนวนมากที่ได้ช่วยเหลือด้วยน้ำใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่เค้าเกิดความห่วงเป็นพิเศษ เช่น เค้าอาจจะดูไปดูมา ห่วงใยเด็ก

คุณสรวงมณฑ์ : เค้าเห็นเด็กวัยเดียวกัน

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : ใช่ เห็นมั๊ยฮะแสดงตัวร่วมละ อาจจะเริ่มเกิดความรู้สึก ว่าน่าจะช่วยเด็กคนที่ตัวอย่างที่เค้าวิ่งอยู่ในทีวี ได้อะไรในเหตุการณ์เฉพาะหน้า แล้วยังต้องสอนเค้าต่อ แล้วระยะยาวล่ะ หนูจะช่วยเค้ายังไง ไม่ใช่หนูช่วยเค้าแค่เฉพาะหน้า สมมติเด็กคนนี้พ่อแม่เค้าตายหมดแล้ว แล้วเป็นเด็กตัวเล็กๆ อยู่ที่จอเนี่ย แล้วโตมาเด็กคนนี้จะทำยังไง เค้าอาจจะนั่งคิดก็ได้ว่าถ้าโตขึ้น หรือว่าตอนนี้หนูจะเริ่มสะสมเงินเล็กๆ น้อยๆ เป็นทุนการศึกษาให้เด็กสักคนนึงในเฮติ แล้วก็จะเดี๋ยวจะติดต่อผ่านยังไง เราก็แนะนำไปเลย พาไปหาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เค้ามีความสัมพันธ์กับเฮติ ก็ search อินเตอร์เน็ตถามกันว่าผู้แทนของเฮติที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยเนี่ย ประจำอยู่ที่ตรงไหน อาจจะไม่ได้ประจำอยู่ประเทศไทย อาจจะมีทูตอยู่ประเทศอื่น เค้าก็จะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่า อ๋อ ทูตเฮติอาจจะที่ดูแลสัมพันธ์กับไทยนั้นประจำอยู่ที่ประเทศอื่นรอบข้าง แล้วเราจะเขียนจดหมายกันยังไง เอ้า เราจะเขียนจดหมายกันมั๊ย แล้วหนูจะช่วยยังไง คือการ take action แม้เล็กๆ น้อยๆ เนี่ยจะทำให้เด็กเห็นเนื้อแท้ในความลึกของความจริงใจ แต่ถ้าเราเพียงแต่พูดๆ กันจบเนี่ย เด็กก็จะไม่เรียนรู้

คุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : ผมจึงบอกว่าเป็นโอกาสที่ โอ้โห แค่เรื่องเดียวที่เกิดมาที่มันเป็นเรื่องที่เกิดความสนใจเนี่ย สอนเด็กได้แบบมหาศาลจริงๆ แล้วลูกเราจะเป็นผู้ใหญ่ขึ้นอีกเยอะ และถูกตั้งขึ้นมาเป็นประติมากรรมชั้นยอดผ่านประสบการณ์ทุกๆ วันอย่างนี้เป็นต้น ผมจึงอยากฝากพ่อแม่นะฮะว่า กำลังสำคัญของชาติอยู่ที่ท่าน ถ้าเผื่อท่านดูแลลูกให้เหมาะสมและปั้นให้มีคุณภาพ บ้านเมืองเราในอนาคตเนี่ยจะน่าอยู่กว่าวันนี้อีกเยอะเลย

คุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ มีคุณผู้ฟังโทรมาค่ะอาจารย์ คุณพรรษชลบอกว่า “รู้สึกดีใจมากที่นำเอาเรื่องนี้มาพูด” เพราะว่าคุณแม่เองก็เจอเหมือนกัน เพราะว่าน้องก็ถามเหมือนกันว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วทำไมผู้คนเค้าถึงมีผิวสีเข้ม ผิวสีดำ คุณแม่ก็เลยอธิบายน้องๆ แล้วก็บอกว่า เกิดแผ่นดินไหว แล้วที่เค้าผิวสีดำก็เพราะว่าเค้าเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ยากจน แล้วก็ได้สอนต่อไปว่า จากเหตุการณ์นี้เนี่ย ลูกต้องตั้งใจแล้วก็ขยันเรียนจะได้มีงานทำ อยากจะเพิ่มเติมอะไรมั๊ยคะ?

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : ครับก็เป็นการแนะนำลูกเบื้องต้นที่ดี เป็นการทำให้ลูกรู้สึกว่าถ้าเผื่อมันจะพ้นความจนเนี่ย ประโยคสุดท้ายที่พูด “ต้องตั้งใจเรียน” ก็อาจจะให้เติมไปนิดนึง คือ การเรียนหนังสือเนี่ยเราไม่ควรจะเรียนเพียงเพื่อให้ตัวเอง

คุณสรวงมณฑ์ : ไม่จนอย่างเดียว

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : ไม่จนอย่างเดียว คือผมเรียกว่า “เรียนเพื่ออัตตา” เรียนเพื่ออัตตานี่ไม่ผิดนะ ก็คือ ให้มีอาชีพ ไม่จน ให้มีเกียรติภูมิ อย่างนี้ไม่ผิดหรอกแต่ว่าต้องไปไกลกว่านั้น ผมเรียกว่าเรียนเพื่อชีวา ชีวิตชีวาคือคำสอนของชีวิต คือ หนังสือนะไม่ใช่เรียนเพื่ออัตตานะ แต่เพื่อให้เข้าใจชีวิต ให้เกิดความเป็นคน เข้าใจชีวิตของเราในความเป็นมนุษย์ในโลกนี้ ว่าปรัชญาความเป็นคนเราเป็นยังไง นี่สอนความลึกซึ้งของใจเด็กละ พ่อแม่ต้องไปลึกกว่านั้นในเรื่องความเป็นคน อย่าไปสอนแค่ว่าเราจะมีอาชีพที่...

คุณสรวงมณฑ์ : ต้องได้เกรด 4

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : อย่าสอนแบบนั้น

คุณสรวงมณฑ์ : ทำการบ้านเยอะๆ เข้าไว้ ไปกวดวิชา

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : วิธีเนี้ยผิดหมด ผิดหมดเพราะว่าทำให้เด็กไม่มีแรงจูงใจแท้จริง ได้แต่แค่ปลีกย่อย แล้วก็ไปที่ขั้นที่ 3 เพื่อปวงประชา ที่ผมเรียกว่า เรียนเพื่อปวงประชา ก็คือไม่ใช่เรียนแค่ชีวิตตัวเองเท่านั้นว่าเราเนี่ยรู้จักชีวิต ซาบซึ้งในการมองโลก ชีวิตของตัว ปรัชญาส่วนตนแต่ต้องเลยไปถึงว่าทำประโยชน์ให้คนอื่นได้ยังไง

คุณสรวงมณฑ์ : ประเด็นนี้สำคัญมาก

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : ใช่มั๊ยฮะ คุณสรวงมณฑ์เห็นด้วยมั๊ยครับ

คุณสรวงมณฑ์ : เห็นด้วยค่ะ

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : สังคมมนุษย์เราเนี่ย บางทีคิดถึงคนอื่นน้อยไปนะ

คุณสรวงมณฑ์ : คิดถึงตัวเองเป็นหลัก

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : ใช่ เราต้องสอนลูกแบบนี้ครับ อยากฝากคุณพรรษชลที่เป็นคุณแม่เนี่ยว่าอย่าสอนลูกเพียงแค่ตัวเอง เพราะถ้าเมื่อไหร่เค้านึกถึงคนอื่นไปไกลนะ ผมจะฝากไว้เลย เด็กคนนี้จะได้สิ่งดีกับตัวเองด้วยโดยอัตโนมัติ โดยทางอ้อม ไม่รู้ตัว และเขาจะมีความสุข เราก็ต้องอยากให้ลูกเรามีความสุข โตมาคนที่คิดถึงส่วนรวมเยอะๆ เนี่ยจะเป็นคนที่ได้เปรียบ จะเป็นคนมีความสุขกว่าใครเลย นี่คือเคล็ดลับที่งานวิจัยออกมาเลยนะครับผมเล่าให้ฟัง มันเป็นข้อสรุปเลยว่า งานวิจัยที่ศึกษาคนทั่วโลกว่าคนมีความสุขเกิดได้ยังไง มีแกนหลักผลงานวิจัยที่สำคัญมาก คือ เป็นคนอยู่ด้วยอุดมการณ์ เพื่อคนอื่น คนที่ทำแบบนี้เนี่ย ใครก็ขโมยความสุขไปไม่ได้ อยากให้ลูกมีความสุขต้องปลูกฝังค่านิยม อุดมการณ์สูงๆ นะครับ อันนี้อยากฝากไว้ด้วยครับ

คุณสรวงมณฑ์ : โอ้โห เยี่ยมมากเลยวันนี้ได้ข้อคิดอะไรดีๆ เยอะแยะมากมายเลยค่ะอาจารย์ ไว้คราวหน้ารบกวนอีกนะคะ

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : ยินดีอย่างยิ่งครับ

คุณสรวงมณฑ์ : ขอบพระคุณมากค่ะอาจารย์คะ

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ : สวัสดีครับคุณสรวงมณฑ์ สวัสดีครับท่านผู้ฟัง

คุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ สวัสดีค่ะ

ความคิดเห็น