ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการให้นมลูกในวัย 1 ขวบขึ้นไป

 

ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการให้นมลูกในวัย 1 ขวบขึ้นไป

เขาบอกว่า  สารอาหารในนมแม่ ลดลง (หรือหมดไป) หลังขวบปีแรก
 
ความจริง  นม แม่ยังมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งแม้หลังจาก 1 ปีแรก แต่เด็กวัย 1 ขวบ (ไม่ว่ากินนมแม่หรือนมผง) จะต้องการสารอาหารจากแหล่งอาหารอื่นๆ เพื่อการเติบโตอย่างสมวัย ควรให้ลูกได้รับอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควบคู่กับนมแม่เป็นอาหารเสริมค่ะ

*********************************************************

เขาบอกว่า  ภูมิคุ้มกันในนมแม่จะหายไป ภายในไม่กี่เดือนแรก

ความจริง ภูมิ คุ้มกันในนมแม่ยังมีอยู่เสมอ ตราบใดที่มีการผลิตของน้ำนม ภูมิคุ้มกันบางตัวจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ลูกเริ่มหย่านมแม่  เด็กที่ได้กินนมแม่จะป่วยน้อยกว่าและหายเร็วกว่า American Academy of Family Physicians ระบุว่าเด็กที่หย่านมก่อน 2 ขวบจะมีความเสี่ยงของการเจ็บไข้เพิ่มมากขึ้น

*********************************************************

เขาบอกว่า  การให้นมแม่กับเด็กวัยเตาะแตะ ก็เหมือนกับการให้นมแม่กับเด็กทารก (น่ะแหล่ะ)

ความจริง  ความ ถี่และระยะเวลาในการให้นมแม่กับเด็กเกินขวบนั้นแตกต่างกันไปเป็นรายบุคคล ความต้องการของสารอาหารในนมแม่จะลดลงเมื่อลูกอายุมากขึ้น (เพราะลูกควรได้รับอาหาร 5 หมู่ หลัง 1 ขวบ) แต่ความอบอุ่นใจและภูมิคุ้มกันนั้นยิ่งสำคัญมากสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ
 
*********************************************************

เขาบอกว่า  การให้ลูกกินนมแม่หลัง 1 ขวบจะทำให้เด็กจิตใจผิดปกติ ไม่เป็นตัวของตัวเอง

ความจริง  ใน ทางกลับกัน การให้ลูกวัยเตาะแตะกินนมแม่กลับช่วยให้ลูกมั่นใจในตนเองมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาทางวิชาการและประสบการณ์ของแม่ทั่วโลก การให้ลูกวัยเตาะแตะกินนมแม่จะช่วยให้ลูกปรับตัวในเชิงของอารมณ์และการเข้า สังคม โดยทาง American Academy of Pediatrics ระบุว่าการให้นมแม่ไม่ควรจำกัดอายุว่าควรให้จนเด็กอายุเท่าใด และไม่พบหลักฐานว่าการให้นมแม่นานๆ นั้นจะส่งผลกระทบในทางลบต่อจิตใจและพัฒนาการของเด็ก ทั้งนี้การให้นมแม่นานๆ มีแต่ผลดี และไม่มีผลเสียกับแม่และเด็ก อายุในการหย่านมด้วยตนเองของเด็กคือประมาณ 2-7 ปี

*********************************************************

เขาบอกว่า  แม่ที่ให้นมลูกนานๆ จะไม่รู้วิธีการปลอบลูกด้วยวิธีอื่น

ความจริง นม แม่เป็นอีกวิธีที่ใช้ปลอบประโลมให้ลูกสบายใจ นอกเหนือไปจากวิธีอื่นๆ เช่นการโอบกอด พูดคุย (ซึ่งเป็นสิ่งที่แม่ให้นมบุตรทำอยู่แล้ว)

*********************************************************

เขาบอกว่า แม่ที่ให้นมลูกนานๆ ทำเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง

ความจริง  หาก เด็กไม่ต้องการนมแม่ เด็กจะปฏิเสธนมแม่เอง การที่แม่ยังให้นมลูกอยู่นั้นเพราะลูกยังไม่พร้อมที่จะหย่านมแม่ และเป็นเพราะประโยชน์เชิงสุขภาพและเชิงจิตใจที่ลูกได้รับจากการกินนมแม่

*********************************************************

เขาบอกว่า  แม่ที่ต้องการต้องครรภ์ต้องหย่านมลูกจึงจะท้องได้ และการให้นมลูกระหว่างการตั้งครรภ์นั้นไม่ปลอดภัย

ความจริง แม่ สามารถให้นมลูกและตั้งครรภ์ได้ และยังสามารถให้นมลูกคนแรกได้ในขณะที่ตั้งครรภ์ลูกคนที่สอง (ในสองไตรมาสแรกลูกในท้องยังไม่ต้องการสารอาหารมากมาย คุณหมอแนะนำให้ค่อยๆ ลดให้นม และหยุดการให้นมลูกในใตรมาสที่สามค่ะ)

*********************************************************

เขาบอกว่า ให้ลูกกินนมแม่นานๆ จะยิ่งทำให้หย่านมลูกได้ยากมากขึ้น

ความจริง  อายุ ของลูกไม่เกี่ยวกับความยากง่ายในการหย่านม เด็กแต่ละคนมีความพร้อมแตกต่างกันไป แม่อาจค่อยๆ ชวนให้ลูกหย่านมด้วยวิธีต่างๆ เบี่ยงเบนความสนใจด้วยกิจกรรมอื่นๆ เป็นต้น

*********************************************************

แปลและเรียบเรียง โดย บี มามี๊ต่าต๋า

"อยากให้เพื่อนๆ ให้นมลูกกันไปนานๆ ค่ะ"

From article:  Myths: Breastfeeding Past Infancy

By Kelly Bonyata, BS, IBCLC

ที่มา : ศุนย์นมแม่แห่งประเทศไทย

ความคิดเห็น