หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.2551 ปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (MILK CODE หรือโค้ดนม)

 หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.2551 ปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (MILK CODE หรือโค้ดนม)


ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วน และรูปภาพประกอบ  FB : นมแม่ ค่ะ

(ข้อเท็จจริงมาจากเวปไซต์นมแม่ ส่วนอื่นๆ เป้นความเห้นส่วนตัวประกอบเข้าไปค่ะ)

หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.2551

ปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (MILK CODE หรือโค้ดนม) ระบุดังนี้


1) ห้ามโฆษณาประชาสัมพันธ์อาหารทารกและเด็กเล็ก
2) ห้ามแจกตัวอย่างสินค้าและของขวัญฟรีแก่แม่ทั้งทางตรงและทางอ้อม
3) ห้ามพนักงานการตลาดติดต่อหญิงตั้งครรภ์ แม่ และครอบครัว
4) ห้ามใช้สถานบริการสาธารณสุขเป็นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ ห้ามบริจาคสินค้าฟรี หรือจำหน่ายราคาถูก
5) ห้ามให้ของขวัญหรือตัวอย่างสินค้าแก่บุคลากรสาธารณสุข
6) การให้ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการอาหารทารก ต้องได้รับอนุญาตจากกรมอนามัย
7) ข้อมูลที่ให้แก่บุคลากรสาธารณสุขต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และเป็นจริง และ
8) ฉลาก ต้องไม่แสดงรูปภาพของทารกหรือข้อความชักจูงให้ใช้สินค้า

เป็นแนวทางปฏิบัติ แต่ยังไม่ได้ออกมาเป็นกฎหมาย

มาร่วมกันช่วยดันให้เป็นกฏหมาย
>> ส่งสำเนาบัตรปชช. และทะเบียนบ้าน
รับรองสำเนา เขียนว่า “เพื่อยื่นเรื่องถึงรัฐบาล คัดค้านการตลาดนมผง”
วงเล็บ CODE ที่มุมซอง ส่งไปที่
“ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
ชั้น 11 อาคารสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กทม. 10400″
ดันให้เป็นกฏหมายไม่ให้บ.นมทำการตลาดแบบไร้จริยธรรม เราต้องการ 10,000 ชื่อค่ะ
ภายในสิ้นเดือน กย. 2554 นะคะ

————————————

มาต่อกันด้วยเรื่องที่ว่า ทำไมเราต้องผลักดันให้มันเป็นกฏหมายด้วย นมผงส่วนนมผง นมแม่ส่วนนมแม่ได้มั้ยยยย?
ได้ค่ะ
ถ้า…นมผงจะยอมอยู่ส่วนนมผง และหยุดทำการตลาดเชิงรุก เข้าหาแม่เด็กที่ข้อมูลไม่พอ(ข้อมูลไม่พอ ไม่ได้แปลว่าโง่นะคะ เดี๋ยวจะเข้าใจผิดกันอีก)
ถ้านมผงจะหยุดจ่ายเงินให้บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้แนะนำผลิตภัณฑ์นมผงแทนการกระตุ้นและให้ความรู้กับแม่ของเด็กเรื่องนมแม่อย่างถูกต้อง
ถ้านมผงจะเลิกอวดอ้างสรรพคุณให้คนทั่วไปเข้าใจผิดทั้งทางตรงและทางอ้อมว่า…นมผงมีสารอาหารที่ดีเลิศ และมีประโยชน์กว่านมแม่
ถ้า ถ้า ถ้า และ ถ้าอีกมากมาย…

“คงไม่มีใครไม่รู้ว่านมแม่มีประโยชน์กว่านมผง”

แต่…มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อ่านเจอ คือคนรุ่นเก่ารุ่นแม่เราบางคนที่เข้าใจว่าให้นมผงดีกว่าเด็กฉลาดกว่า อย่าให้นมแม่เลย สู้นมผงไม่ได้หรอก เพราะเติมสารอาหารไปมากมาย (ซึ่งในความจริง นมแม่มีมากกว่า 200 ชนิด เท่าที่ค้นพบตอนนี้ เด็กย่อยและดูดซึมเอาไปใช้ได้ดีกว่า)

แต่สิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ คือ นมแม่มีประโยชน์ถึงเมื่อไหร่ เพราะเท่าที่ผ่านมา เจอทั้งประสบการณ์ตรงและอ้อม และอ่านเจออีกมากมายว่า หลัง 6 เดือนนมแม่หมดประโยชน์แล้ว / หลัง 1 ปีนมแม่หมดประโยชน์แล้ว / นมแม่กินได้แค่ 2 ขวบ (ซึ่งในความเป้นจริง กินได้จนกว่าฟันน้ำนมจะหลุด คือประมาณ 7 ขวบ และล่าสุดเพิ่งอ่านเจอในเพจนมแม่ว่า คุณหมอท่านหนึ่ง กินนมแม่จนถึงอายุ 12 ปี)

และอีกสิ่งที่คาดไม่ถึงคือ หลังคลอด ตอนอยู่ที่ รพ. ต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้มีน้ำนมให้ลูก

ถ้าไปคลอด รพ. ที่ไม่สนับสนุนนมแม่ บุคลากรไม่มีความรู้ ส่วนใหญ่จะโดนแยกแม่แยกลูก ไม่พามาดูดกระตุ้นน้ำนม(จริงๆควรจะกระตุ้นตั้งแต่ในห้องคลอด และย้ำทุก 2-3 ชม.) ถ้ามีลูกคนแรกไม่เคยผ่านประสบการณ์คลอด ไม่เคยมีใครเล่าให้ฟัง ไม่เคยบังเอิญหรือตั้งใจไปอ่านเจอว่าตอนอยู่ รพ. หลังคลอดเราควรจะทำอะไร อย่างไรบ้าง นอกจากนอนเจ็บแผลอยู่บนเตียง
สิ่งที่ รพ. ที่ไม่สนับสนุนนมแม่ และสนับสนุนนมแม่แต่เพียงในนามทำก็คือ ให้เด็กกินนมจากขวด ไม่พามาหาแม่ เพราะอ้างว่าแม่เจ็บแผล ต้องการให้พักผ่อน แม่ลุกยังไม่ไหว ฯลฯ

“ทำให้แม่ขาดโอกาสในการกระตุ้นที่ดี ตามหลักการดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี”

แม่ที่ไม่ได้ถูกกระตุ้นน้ำนม หรือกระตุ้นบ้าง แต่ตอนเอาลูกมาให้ดูด โดนอัดนมขวดไปแล้ว ทำให้มีปัญหามากตอนกลับไปบ้าน
ถ้าใจไม่แข็งพอ หรือโดนกดดันหนักๆ จริงๆ หรือไม่มีข้อมูลว่า step ไหน แก้ไขอย่างไร
ทางออกที่ดีที่สุดทำอย่างไร คลีนิคนมแม่อยู่ที่ไหน ช่วยอะไรได้บ้าง
ถ้าผ่าน process นี้ไม่ได้ ส่วนใหญ่จะเสร็จนมกระป๋อง

เพราะฉะนั้น ตรงนี้หล่ะค่ะ ขอย้ำตัวโตๆ
“คนธรรมดาอย่างเรา(บางคน)ยังรู้ แล้วคิดว่า…บริษัทนมผงจะรู้มั้ยคะ?”

นี่หล่ะค่ะ เลยทำให้เกิดการตลาดเชิงรุกไร้ซึ่งจริยธรรม โดยการทำอย่างไรก็ได้ ให้ตัดวงจรการสร้างน้ำนม ทำให้แม่เข้าใจผิดว่าแม่นมไม่พอ ไม่มีนมพอให้ลูก นมยังไม่มาหรอก ต้องเสริมนมผสมไปก่อน(อาจจะทำใหเข้าใจโดยใช้จิตวิทยา โดยหมอ หรือพยาบาล ซึ่งน่าเชื่อถือสำหรับเรา)

ซึ่งในความเป็นจริงกระเพาะเด็กเล็กมาก  ดูดได้น้ำนมไม่กี่หยดก็อิ่มแล้ว เพราะเค้าสะสมพลังงานมาสำหรับในช่วงนี้ ที่เค้าจะต้องกระตุ้นน้ำนมให้แม่ และนมแม่ยังมาไม่เต็มที่ เด็ช่วงแรกยังกินกับนอน จะใช้พลังงานอะไร จะต้องการพลังงานอะไรนักหนา

ลองหลับตานึกแล้ววคิดให้เป็นธรรมชาติดูสิว่า ทุกสิ่งในธรรมชาติมักจะมีเหตุผลในตัวมันเอง และถูกสร้างมาอย่างเหมาะสมเสมอ

เพราะฉะนั้นถ้าช่วงแรกเด็กถูกตัดวงจรนี้ ถูกใ้ห้ดูดขวดแต่แรก (แล้วให้เยอะด้วย เป็นออนซ์ๆ / 1 ออนซ์ = 30 ml โดยประมาณ)

(* กรณีจำเป็นต้องให้นมผสมให้ป้อนด้วยวิธี cup feeding)

เด็กจะเคยชินกับการได้กิน แค่งับจุดก็ไหล มีให้กินได้มากมาย จนแน่น
เด็กก็เหมือนผ้าขาว เค้ายังไม่รู้อะไรเลย ทำตามสัญชาตญาณ มีให้ดูดง่ายๆ ก็ดูด
พอต้องเอามาเข้าเต้าแม่แล้ว มันยากกว่า เพราะยิ่งไม่ได้ดูดกระตุ้นอย่างเพียงพอ น้ำนมไม่ไหล ไหลช้าไม่ทันใจ
และนมแม่งับยากกว่าจุกนมยางๆ แค่กัดก็ไหล คราวนี้ก็งับนมแม่ไม่เป็น ยิ่งถ้าเข้าเต้าดูดผิดวิธีอีก หัวนมแตก เรื่องใหญ่เลย
ที่สำคัญ นมแม่ไม่ใช่ดูดปุ๊บไหลปั๊บเลย ต้องรอประมาณครึ่งนาที เด็กที่เคยงับแล้วได้นมเลย จะทนไหวมั้ย?


นมผงรู้จุดอ่อนตรงนี้ดี ให้เด็กได้คุ้นกับนมผสมให้เร็วที่สุด ตัดวงจรการสร้างน้ำนมแม่ซะ พอเด็กดูดแล้วไม่เจอน้ำนม ก็สะบัดหน้าหนี เป็นที่มาของคำว่า “ปฏิเสธเต้า” สิ่งที่แม่มือใหม่(ส่วนใหญ่)จะทำต่อไปนี้คือ

1. พยายามให้นมแม่ต่อไป ไม่สนใจว่าลูกจะเป็นอย่างไร
หรือ
2. เครียด และคิดว่าตัวเองนมไม่มี ลูกเลยไม่ดูด เกิดอาการใจอ่อน ทนฟังเสียงร้องไปไหว และหยิบนมที่ได้ฟรีจาก รพ. ขึ้นมาชงให้ลูกกิน


ถ้าใครอ่านมาเจอแล้วบอก ชั้นเป็นข้อ 1 ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ
แต่…เชื่อหรือไม่ว่า ส่วนใหญ่ จะเป็นข้อ 2 กัน

เห็นอะไรจากตรงนี้มั้ยคะ??

ที่ว่า บริษํทนมผงใจดีจัง แจกนมให้กินฟรีๆ ด้วย ใจดีจริงหรือหวังผลอะไรคะ
นม 1 กล่องที่แจก เพียงพอที่จะตัด process การสร้างน้ำนมให้ลูกได้ แต่หลังจากนั้น… เสียเงินค่ะ
โดยเฉลี่ย เท่าที่ทราบมาจากเพื่อนๆ แรกๆ ที่เป็นเด็กเล็กๆ จะเสียค่านมประมาณเดือนละครึ่งหมื่น คือประมาณ 5000 บาท


หลังจากนั้นจะลดลงบ้างหลังจากที่ลูกเริ่มอาหารเสริม แต่…บางคนก็เพิ่มค่ะ เพราะลูกไม่กินข้าว แต่ต้องกินนมเยอะขึ้น เพราะ บริษัทนมผงมีโฆษณาว่า เด็กไม่กินข้างไม่เป็นไร  กินนมตัวนี้ ตัวนั้นสิ แทนข้าวได้ ให้ประโยชน์มากมาย
(ซึ่งในความเป็นจริง นมมันแทนข้าวได้มั้ยคะ? คำตอบคือไม่ได้ค่ะ หลัง 1 ขวบ นมเป็นเพียงอาหารเสริม ไม่ว่าจะนมแม่ นมวัว นมถั่ว นมแพะ เด็กต้องกินอาหารให้ครบ 5 มือ วันละ 3 มื้อ เพื่อให้ได้อาหารหลากหลาย และเพียงพอ สารอาหารจากนมที่มีเพียงแค่ไม่กี่ชนิดทดแทนไม่ได้ค่ะ)

ยังมีอีกมากมายค่ะ พี่อยากจะบอกต่อและให้ข้อมูล แต่เพราะต้องเลี้ยงลูก full time เอาเ็ป็นว่าใครสนใจ ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

http://www.thaibreastfeeding.org/

http://www.breastfeedingthai.com/

และ page ของนมแม่ทาง FB ค่ะ โดยเสิชคำว่า “นมแม่”

ใครมีข้อสงสัยอะไรถามได้เสมอค่ะ ยินดีตอบให้มากๆ แต่ขอให้อ่านให้เข้าใจ

ใครไม่อ่านแล้วอย่ามาป่วน


ต่อไปนี้จะเป็นบางส่วนจากการทำการตลาดของบริษัทนมผง เอามาจาก FB : นมแม่นะคะ

บอกก่อนนะว่าไม่ได้รังเกียจนมผง

แต่สำหรับคนที่แพทย์ระบุว่ามีปัญหาจริงๆ (ไม่ใช่เพราะได้รับเงิน)
จำเป็นต้องใช้ ก็ขอให้ใช้ แต่เรากำลังจะมาต่อสู้กับการตลาดของนมผง เพื่อให้คนที่ไม่จำเป็นต้องใช้ ได้ให้นมแม่กันได้ อย่างไม่ควรต้องเจอปัญหาที่ไม่สมควรต้องเจอ เป็นอันว่าเข้าใจตรงกันนะ

กรณีตัวอย่างกรณที่ 1 เกิดบน FB อ่านแล้วรู้สึกอย่างไรกับการแนะนำให้หยุดนมแม่







กรณีที่ 1 อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.pantip.com/cafe/family/topic/N10920170/N10920170.html

กรณีที่  2

เอนฟาให้สมาชิกแนะนำผลิตภัณฑ์ให้แม่ 4 คน ได้ 100 บาท เท่ากับค่าแรงคนละ 25 บาท (เงื่อนไข ต้องแนะนำผลิตภัณฑ์ให้แม่ที่กำลังท้องหรือมีลูกอายุไม่เกิน 1 ขวบ)
จ่าย 25 บาทต่อคน แต่จะได้เงินกลับมา 3-4 หมื่น/คน/ ปี
ปกติห้ามพนง.ติดต่อแม่ท้องและครอบครัว แต่ครั้งนี้เลี่ยงการละเมิดโค้ดนมโดยการใช้สมาชิกเป็นผู้ติดต่อให้ และให้เงินและรางวัลตอบแทน

Code นมระบุว่า ห้ามพนง.ติดต่อหญิงตั้งครรภ์ แม่และครอบครัวโดยตรง แต่ในกรณีนี้เอนฟา “เลี่ยง” ข้อปฏิบัติด้วยการให้สมาชิกหาลูกค้าให้แทน สกัดนมแม่ตั้งแต่เด็กยังไม่คลอด เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย “แม่ตั้งครรภ์และแม่ที่มีลูกอายุน้อยกว่า 1 ปี”





อีกภาพนี่คือแผนกกุมารเวช
ข้อความจาก FB : นมแม่ เค้าอ้างว่า “สนับสนุนนมแม่” นะคะ

วิธีดูง่ายๆ ว่ารพ. สนับสนุนจริงหรือไม่
1) ให้ดูดเต้าบ่อยแค่ไหน
ถ้าวันละไม่กี่ครั้ง “เดี๋ยวเสริมนมผงเพราะนมยังไม่มา” แบบนี้ไม่ใช่แล้วค่ะ
2) แจกนมผงหรือไม่
ถ้าแจกแบบนี้ไม่สนับสนุนจริงค่ะ มันจะยิ่งทำให้โอกาสที่จะให้นมแม่สำเร็จ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ




ข้อความจาก FB : นมแม่ มาทายกันดีกว่า
>> กล่องเล็กหรือใหญ่ที่เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับแม่ท้อง? แต่ละรูปเป็นของแจกแม่ท้องตอนไปอบรมที่รพ.ค่ะ แต่มีนมผงของเด็กทารกแทรกมาในกระเป๋าด้วย
>> ทราบไหมคะว่าทำไมขนาดถึงแตกต่าง ระหว่างของแม่และของเด็ก?
(ขอขอบคุณคุณฝนที่เอามาฝากค่ะ)
เชื่อหรือไม่ว่าทั้งสองยี่ห้อ อ้างว่าสนับสนุนนมแม่?
(โดยส่วนตัวเคยไปอบรมกับทาง รพ. หลายครั้ง ครั้งคอรสก่อนคลอดและหลังคลอด ได้ของเหล่านี้มาทุกครั้งค่ะ)




โค๊ด:
อีก 1 กรณีจากพัทิป โดยคุณ บี มามี๊ต่าต๋า (Narcosis)

ในกรณีของดูเม็กซ์ เมื่อ ๒ ปีที่แล้วทางเว็บดูเม็กซ์ก็เคยให้ข้อมูลว่าภูมิคุ้มกันในนมแม่จะหมดไปหลัง 6-7 เดือนค่ะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผิด
>>> เพราะตราบใดที่ร่างกายของแม่มีชีวิตและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง แม่ก็จะสร้างน้ำนมที่มีภูมิคุ้มกันให้กับลูกเช่นกัน

หลังจากศูนย์นม แม่ได้ติดต่อและทักท้วงไป ทางดูเม็กซ์ก็ลบข้อความนั้นออกไปค่ะ
แต่เนื่องจากสมาชิกนมแม่มากกว่า 300 คนต้องการให้ดูเม็กซ์เขียนข้อความที่ถูกต้องให้กับสมาชิก
ไม่ใช่ข้อมูลผิดก็ลบออกไปเฉยๆ ทางการตลาดจึงยอมเขียนข้อความที่ถูกต้องบนเว็บไซต์ เป็นข้อความดังนี้

[color=red]“คำถาม ภูมิคุ้มกันในนมแม่ มีจนถึงอายุ 1 ปี ถูก หรือ ผิด
คำตอบ ผิด [/color]เพราะ ภูมิคุ้มกันในนมแม่ มีตลอดเวลา จนกระทั่งนมหยดสุดท้าย ถ้าคุณให้ลูกกินจนถึง 6-7 ขวบ ตามที่ธรรมชาติกำหนดมา ลูกคุณก็จะได้ภูมิคุ้มกันเต็มที่ ถ้ากินน้อยกว่า ก็ได้รับลดหลั่นกันไป” เป็นข้อความของคุณหมอสุธีราค่ะ

ที่จริง ข้อความเต็มๆ ที่คุณหมอบอกไว้คือ
[color=red]“คำถาม ภูมิคุ้มกันในนมแม่ มีจนถึงอายุ 1 ปี ถูก หรือ ผิด
คำตอบ ผิด[/color] เพราะ ภูมิคุ้มกันในนมแม่ มีตลอดเวลา จนกระทั่งนมหยดสุดท้าย ถ้าคุณให้ลูกกินจนถึง 6-7 ขวบ ตามที่ธรรมชาติกำหนดมา ลูกคุณก็จะได้ภูมิคุ้มกันเต็มที่ ถ้ากินน้อยกว่า ก็ได้รับลดหลั่นกันไป

ส่วน ภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่ ตั้งแต่อยู่ในท้อง จะเริ่มลดลงเมื่ออายุ 6 เดือน ดังนั้นเด็กที่กินนมผง จะเริ่มป่วย ก็ช่วงหลังจากนี้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันเริ่มตกลง แต่ถ้าเด็กกินนมแม่ เขายังได้รับภูมิคุ้มกันจากนมแม่ จึงไม่ป่วย หรือ ป่วยน้อยมากกว่า เด็กที่กินนมผง 5-10 เท่า”

เรื่องราวยังอยู่ที่หน้าแรกของกระดาน สนทนา เว็บศูนยนมแม่ฯ ค่ะ ต้องขอบคุณที่สมาชิกนมแม่ (มิสนมแม่) ช่วยกันเฝ้าระวังข้อความที่ผิด ทีมักทำให้แม่สับสนกับสารอาหารและประโยชน์ของนมแม่
   
และกรณีสุดท้ายไม่มีเป็นภาพ แต่ได้อ่านเจอบ่อยๆ และเจอกับตัวเอง คือ บริษัทนมจะโทรมาถามข้อมูล ให้คำแนะนำโดยไม่ได้ร้องขอ
ในช่วงที่แม่ส่วนใหญ่มักจะสับสนกับเรื่องนมแม่ คือช่วงหลังคลอด / ช่วงประมาณครบ 3 เดือน ก่อนครบกำหนดลาคลอด / ช่วง 6 เดือน
เพื่อ…จะพยายามนำเสนอผลิตภัณฑ์นมส่งตรงให้ลองฟรีถึงบ้าน สังเกตว่าทำไมต้องเป็นช่วงเวลาดังกล่าว ก็เพราะว่า…
ช่วงหลังคลอด เป็นช่วงนี่แม่ยังสับสนเรื่องนมแม่ นมผง เลี้ยงลูกไม่ค่อยเป็น และงงๆ กับคำแนะนำสารพัดจากคนรอบข้าง
ช่วง 3 เดือน แม่จะสับสนว่าไปทำงานแล้วลูกจะกินนมยี่ห้ออะไรดี
ช่วง 6 เดือน ซึ่งคนที่ให้นมแม่ส่วนใหญ่จะโดนเหมือนกันหมดคือ คนรอบข้างจะกดดันว่านมแม่ไม่มีประโยชน์แล้ว
หากเราลองพิจารณาให้ดีอย่างมีเหตุมีผลแล้ว จะเห็นได้ว่าข้อเท็จจริงคืออะไร

ใครที่ไม่ได้ให้นมแม่ อะไรผ่านแล้วก็ให้มันผ่านไป เมื่อก่อนข้อมูลที่ถูกต้องไม่เยอะเหมือนสมัยนี้ บุคลากรทางการแพทย์ก็มีความรู้้เรื่องนมแม่ไม่มากเท่าปัจจุบัน

การเลี้ยงดูลูกให้ดี ไม่ใช่แค่ให้กินนมอะไร แต่อยู่ที่ความเอาใจใส่ของพ่อแม่ คนเลี้ยง การอบรมสั่งสอน วิธีการต่างๆ ด้วย
แต่นมแม่ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ดีกับลูก และสารอาหารเหมาะที่สุดกับลูก ถ้าทำให้กับลูกได้ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี






ความคิดเห็น