โรงเรียนอันตราย...ที่น่าเมิน !



โรงเรียนอันตราย...ที่น่าเมิน !

โรงเรียนคือ "บ้านที่สอง" ของเด็กๆ นี่คือประโยคคลาสสิค ที่ตราตรึงอยู๋ในใจมานานแสนนาน
กระทั่ง "เชื่อ" ว่าลูกจะต้องมีความสุข และปลอดภัยในบ้านแห่งที่สองนี้

แต่...มันกลายเป็นแค่สิ่งปลอบใจเล็กๆ ในทุกเช้าที่ส่งลูกเข้าสู้โรงเรียน เพราะเมื่อไปถึงที่ทำงาน หรือกลับเข้าบ้าน ก้อต้องพบ "ข่าวด่วน ข่าวร้าย" จากหน้าหนังสือพิมพ์ หรือทางจอทีวี ไม่เว้นแต่ละวัน

รถโรงเรียนพลิกคว่ำ... ประสานงากับรถ 10 ล้อ ...เด็กนักเรียนตกตึก... ประตูเหล็กล้มทับ ...เด็กเล็กตกหม้อข้าวต้มเดือดๆ.... กระทั่ง ...มีคนข่มขืนเด็กในห้องน้ำ และ ...สาวไซโคถือมีดวิ่งไล่แทงนักเรียน !!!

โรงเรียนอันตราย คือ ...


1. เป็นเหมือนดินแดนเสรี ที่เข้าๆออกๆ ได้อย่างอิสระไม่ผิดกับสวนสาธารณะกลางกรุง ไม่มีการตรวจบัตรผู้ปกครอง ไม่มีการสอบถามจุดประสงค์ ของผู้ที่เยี่ยมกรายเข้ามาทั้งสิ้น เหมือนจะไม่แคร ์ว่าอาจจะมีบุคคลอันตรายแฝงตัวเข้ามา ไม่ว่าจะเป็น ... โจรเรียกค่าไถ่ โจรลักเด็ก ฆาตกรข่มขืน หรือ อาชญากรโรคจิต !

2. ถนนในโรงเรียน คือทางวิ่งของรถยนต์ สนามหญ้าในโรงเรียนคือที่จอดรถ กรณีข่าว รถถอยหลังทับเด็กอนุบาลที่กำลังนั่งเล่นทราย จนศีรษะเละ ยังคงฝังใจคนเป็นพ่อเป็นแม่หลายๆ คน นั่นยังไม่รวมถึงภัยมลพิษจากควันรถทั้งเช้า ทั้งเย็น และมลภาวะทางเสียง เช่น แตรรถที่แผดลั่นขึ้นอย่างฉุนเฉียว ทุกครั้งที่ลูกบาส ลูกบอลกระเด็นกระดอนใส่ หรือเฉียดรถ ...มันเป็นความผิดของเด็กๆ หรือที่เขาเล่นกีฬาในโรงเรียน ? ...เป็นความผิดของผู้ปกครองหรือ ที่ขับรถเข้ามาส่งลูก ในเมื่อทางโรงเรียนอนุญาต ??
หรือเป็นความมักง่ายของผู้บริหารโรงเรียยน ที่ไม่จัดหาที่จอดรถนอกบริเวณโรงเรียน และปล่อยให้รถประดาหน้ากันเข้ามาเบียดบังพื้นที่ทางเดิน และจอดรถกินพื้นที่สนามกีฬาของเด็กๆ

3. หากว่าคุณๆ กำลังอยู่ในระหว่างการตัดสินใจว่า ควรจะเอาลูกของฉันเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้หรือไม่ ? ก็ให้เข้าไปสำรวจในสนามเด็กเล่น ให้ก้มลงมองที่พื้น หากเห็นว่าเป็นพื้นแข็ง เช่น ซีเมนต์ ยางมะตอย อิฐสนาม ทรายอัดแข็ง หรือก้อนกรวด หรือเครื่องเล่นสนามไม่ได้ยึดติดฐานราก เอามือโยกดูแล้วสามารถล้มคว่ำได้ หรือเครื่องเล่นดูผุพังชำรุด ก้อเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า ผู้บริหารไม่ได้ใส่ใจในความปลอดภัยของเด็กๆ
สนามเด็กเล่นที่ปลอดภัยจะต้องมีวัสดุปูพื้นที่หนานุ่ม และดูดซํบพลังงานได้ดี เช่น เป็นพื้นสังเคราะห์ หรือพื้นทรายยึดติดฐานราก ป้งกันการล้มคว่ำเมื่อเด็กปีนป่าย และมีการทะนุบำรุงรักษา

4. มี "แหล่งน้ำที่ไม่จำเป็น" หมายถึงโรงเรียนที่มีบ่อน้ำเลี้ยงปลา ที่มีสายน้ำพวยพุ่งดูสวยงาม ซึ่งนอกจากจะไม่มีประโยชน์อันใดต่อเด็กๆ แล้ว ยังอาจเกิดภัยร้ายอย่างคาดไม่ถึง ยิ่งในวัยอนุบาลที่แสนซุกซน และมีโอกาสพลาดพลั้งได้เสมอ โดยเฉพาะ อ่างหรือบ่อที่มีระดับน้ำสูง 60 ซ.ม. ขึ้นไป ก้ออาจเกิดเหตุจมน้ำ และเสียชีวิจเพราะขาดอากาศหายใจเพียงแค่ 2-3 นาทีเท่นั้น หรือโรงเรียนที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือแม้แต่สระว่ายน้ำ อันเป็นแหล่งออกกำลังกายของเด็กๆ  และเป็น "จุดขาย" ของโรงเรียน แต่กลับปล่อยโล่ง ไม่มีรั้วรอบขอบชิด หรือถึงมี แต่ก้อเหมือนเพียงมีพอเป็นพิธี เช่น รั้วต่ำเตี้ยจนเด็ก 5 ขวบก้อปีนได้ หรือรั้วผุๆ พังๆ แถมประตูรั้วก้อเปิดอ้าซ่าตลอดเวลา หรือไม่มีใครดูแล

5. บรรดาอุปกรณ หรือเครื่องใช้ เครื่องเล่นต่าง ๆ เมื่อพิจารณาแล้วออกจะเหมือน "แหล่งมรณะ" มากกว่าโรงเรียน... รูปลักษณ์ที่ดูดี ชื่อเสียงโด่งดัง แต่ไม่ใช่เป็นหลักประกันว่า โรงเรียนนั้นมีความจริงจัง และตรวจสอบความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ลองเดินสำรวจดูสิ บางทีคุณอาจจะรู้ว่า ยิ่งเดินยิ่งหดหู่ และรู้สึกสยอง
ไม่ว่าจะเป็น... พบรังต่อแตน หรือรังผึ้ง... ตู้น้ำเย็นไม่ต่อสายดิน... มีประตูรั้วเหล็กบานใหญ่ซึ่งไม่มีเสากั้นล้ม พื้นทรุด รางประตูชำรุด ประตูรั้ว 2-300 กิโลกรัมเหล่านั้นพร้อมล้มทับเด็ก (นครปฐม-17 มิย.47 ประตูเหล็กล้มทับ 3 นักเรียนหญิง) แป้นบาสเก่าโทรม (ระนอง-2 กค. 47 แป้นบาสหล่นใส่เด็กหญิง ม.2 เสียชีวิต) พัดลมเพดานห้องเรียนซอมซ่อสนิมเขรอะ (สำโรง-16 พย. 47 พัดลมหล่นใส่หัวเด็กหญิง ม.6 กะโหลกร้าว) หรือเสาประตูฟุตบอลโทรมสุด (อุดร-3 พย. 47 เสาประตูฟุตบอลโค่นทับเด็ก ม.3 จนสลบ ซีโครงหัก และปวดฉีก) ฯลฯ


โรงเรียนปลอดภัย คือ...

1. โรงเรียนที่มีทีมงาน หรือคณะกรรมการที่ดูแล ในเรื่องของความปลอดภัยในโรงเรียน โดยเฉพาะที่มีความเครื่งครัดจริงจัง ในการปฏิบัติงาน มีเครื่องไม้เครื่องมือพร้อม และมีแนวทางในการทำงานที่ชัดเจน ทั้งในเรื่อง
- วิเคราะห์ปัญหาจากกรณีตัวอย่างต่าง ๆ
 - การป้องกันไว้ก่ิอน
 - แก้ไขทันทีที่มีเหตุร้ายเกิดขึ้น
 - และการผ่อนหนักเป็นเบา


2. มีผู้บริหารที่เปิดใจกว้าง เปิดรับทั้งคำชมและคำติอย่างเต็มที่ และเปิดโอกาสให้พ่อแม่ผู้ปกครอง ได้เข้ามาร่วมสร้างสรรค์ และร่วมประบปรุงแก้ไข ในมาตรการเพื่อความปลอดภัยให้ดี และสมบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้น

3. มีการดูแลความปลอดภัย 6 ด้าน คือ ความปลอดภัยในโครงสร้างทางกายภาพ เฝ้าระวัง ดูแล และสอนสั่งในด้านพฤติกรรมเด็ก ความปลอดภัยในการเดินทางไปกลับของเด็ก ความปลอดภัยในระหว่างกิจกรรมการเรียน ทั้งในและนอกสถานที่ ความปลอดภัยที่เกิดจากบคคล ทั้งการรังแกกันของเด็ก บุคคลภายในและภายนอกโรงเรียน และสิ่งสุดท้าย คือแผนฉุกเฉิน ห้องปฐมพยาบาล และการซ้อมแผนรับอุบัติภัยหมู่


สักวันหนึ่ง "โรงเรียนปลอดภัย" จะไม่เป็นแต่ในความฝันของพวกเราเหล่าคนเป็นพ่อเป็นแม่ จะได้สบายใจเมื่อลูกอยู่ในโรงเรียน

Ref : ข้อมูลจาก "บันทึกคุณแม่" No. 149

ความคิดเห็น