การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

[บทความ] พัฒนาการของลูกน้อย สมวัยไหมนะ ?

 

พัฒนาการของลูกน้อยขวบปีแรก มีความหมายอย่างยิ่ง เพราะวัยนี้มีการเจริญเติบโตทางกายอย่างรวดเร็ว พัฒนาการต่างๆ ก้อเช่นกัน ดังนั้น นอกจากคุณพ่อคุณแม่จะรับรู้ ติดตามความสามารถของลูกตามวัย ไปพร้อมๆ กับลูกน้อยด้วยแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตด้วยว่า มีภาวะผิดปกติเกิดขึ้นระหว่างพัฒนาการหรือไม่ เพราะหากมีอะไรไม่ชอบมาพากล ก้อจะได้สามารถเข้าช่วยเลหือได้อย่างทันท่วงที คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาหาความรู้ และจดบันทึกพัฒนาการของลูก ซึ่งแต่ละเดือนที่ลูกน้อยเติบโต ควรมีพัฒนาการตามขึ้นตอนดังนี้

ลูกน้อยแรกเกิด
แม้กล้ามเนื้อบริเวณคอของเขายังไม่แข็งแรง แต่ลูกน้อยก้อยังสามารถหันศีรษะไปด้านข้างได้ตั้งแต่แรกเกิด และเริ่มมองวัตถุที่อยู่ใกล้ตัวได้ โดยเฉพาะใบหน้าและดวงตาของคุณแม่ จะได้รับความสนใจเป้นพิเศษ

เมื่อเข้าเดือนที่ 2
ลูกน้อยจะค่อยๆ เริ่มชันคอได้ เมื่ออยู่ในท่าคว่ำ และยกศึรษะถึงหน้าอกขึ้นจากพื้นได้มากขึ้น พร้อมๆ กับพลิกตัวได้ เมื่ออายุ 4 เดือน ใช้มือหยิบจับวัตถุสิ่งของได้พอๆ กัยการปล่อยคลายวัตถุจากมือ

ลูกน้อยวัย 6 เดือน
เริ่มมีพัฒนาการด้านภาษาและสังคม โดยจะหัวเราะเสียงดัง เวลาพอใจหรือสนุก เริ่มออกเสียงโดยสังเกตการขยับริมฝีปากของผู้ที่มาพูดด้วย และแยกแยะใบหน้าของคนได้ จึงเริ่มกลัวคนแปลกหน้า และวิตกกังวล ในการแยกจากพ่อแม่ ทำให้มักร้องไห้ตามเวลาพ่อแม่ออกห่างไป

ลูกน้อยวัย 7 เดือน
จะเริ่มนั่งได้เองแต่ไม่มั่นคงนัก ต้องคอยมีคนระวังหลังให้ เพราะอาจร่วงศีรษะกระแทกพื้นในท่านั่งได้ จนกระทั่งอายุ 8 เดือน จึงจะเริ่มทรงตัวนั่งได้ดีขึ้น เริ่มคลาน คุณพ่อคุณแม่จึงควรเก็บกวาดทำความสะอาดบ้าน ให้มีบริเวณกว้างพอสำหรับการหัดคลานด้วย

เมื่ออายุ 9 เดือน
เริ่มใช้นิ้วชี้จิ้ม หรือชอนไชซอกหรือรูต่าง ๆ ได้ รวมถึงเริ่มทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เช่น สวัสดีหรือสาธุ บ๊ายบายส่งจูบ บางคนส่ายศีรษะได้เมื่อไม่ต้องการให้ใครทำสิ่งใด ลูกน้อยบางคนจะเริ่มเกาะยืน และสามารถหยิบของเล็ก ๆ โดยใช้ปลายนิ้วโป้ง และนิ้วชี้ได้ ดังนั้นจึงควรระวังลูกน้อยหยิบของชิ้นเล็กๆ ใส่ปาก อาจเข้าไปติดหลอดลม เช่น เมล็ดถั่วหรือเศษของเล่นพลาสติก

ลูกน้อยอายุประมาณ 10-11 เดือน
จะเริ่มตั้งไข่หรือหัดเดิน โดยยังต้องมีคนคอยจูง หรือระวังหกล้ม ลูกน้อยบางคนหัดเดินเร็วมาก แต่บางครั้งก้อยังลงไปคลานสลับกับการหัดเดินในบางโอกาสเสมอ


Ref : ข้อมูล "บันทึกคุณแม่" No. 149

ความคิดเห็น