[Q & A] ฉีดยาเร่งคลอดอันตรายหรือไม่ ?

Q : อยากทราบว่าการฉีดยาเร่งคลอด จะทำใน กรณีไหนบ้างคะ และมีอันตรายหรือไม่

A : การเร่งคลอดคือการทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลง หรือให้ทารกคลอดออกมา โดยที่คุณแม่ยังไม่ได้เข้าสู่ ระยะการเจ็บครรภ์คลอดเองตามธรรมชาติค่ะ คุณหมอจะเป็นผู้ใช้ยากระตุ้นให้เกิความเจ็บครรภ์คลอด

การเร่งคลอด จะใช้ในกรณีที่คุณหมอเห็นสมควร ว่าทารกควรจะคลอดออกมาได้แล้ว เพราะถ้าอยู่ในครรภ์ต่อไป อาจจะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือภาวะแทรกซ้อนของคุณแม่ ซึ่งอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ค่ะ

ทั้งนี้คุณหมอจะต้องตรวจดูความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ว่าแข็งแรงดี พร้อมที่จะคลอดออกมา โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ และดูความพร้อมของปากมดลูกด้วย โดยปากมดลูกจะต้องมีความพร้อม มีความนุ่มมากพอ ที่จะตอบสนองต่อการกระตุ้น โดยการให้ยาเร่งคลอด ถ้าปากมดลูกยังแข็ง การเร่งคลอดอาจไม่ประสบความสำเร็จ และต้องสิ้นสุดด้วยการผ่าตัดคลอดต่อไป

สำหรับข้อบ่งชี้ที่พบบ่อยทางสูติกรรมที่จำเป็นต้องเร่งคลอด ได้แก่

  • การตั้งครรภ์เกินกำหนด หรือเกินอายุครรภ์ 42 สัปดาห์ เพราะอาจจะมีความสัมพันธ์กับภาวะรกเสือม มีแคลเซียมเกาะมาก
    จนไม่สามารภส่งสารอาหาร และออกซิเจนไปให้ทารกให่ตามปกติ จนทารกอาจจะเกิดการขาดสารอาหารได้
  • ภาวะน้ำเดินมานาน โดยที่ปากมดลูกไม่เปิดเพิ่ม หรือคุณแม่ไม่มีอาการเจ็บครรภ์ ก็จะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อในโพลงมดลูกได้เช่นกัน
  • ภาวะที่ทารกมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยมาก น้ำค่ำน้อยมาก อาจเกิดอันตรายถึงชีวิต ถ้าทิ้งทารกไว้ในท้องคุณแม่ ก็ควรเร่งคลอด เพื่อนำทารกมาเลี้ยงภายนอก ทารกจะมีอัตราการอยู่รอดที่ดีกว่า
  • ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่นของคุณแม่ที่สำคัญได้แก่ ภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งคุณแม่จะมีความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงหรือชัก จนอาจเกิดภาวะหลอดเลือดในสมองแตกได้ ส่วนทารกในครรภ์จะีความเสี่บงต่อการเสียชีวิต เนื่องจากรกลอกตัวก่อนกำหนดได้


นอกจากนี้ครรภ์หลังที่เคยมีประวัติคลิดเร็ว คลอดง่าย คลอดในรถ บ้านอยู่ไกลมาก และไม่สามารถมาโรงพยาบาลได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ในกรณีที่เจ็บครรภ์ ก็อาจจะมีความจำเป็นที่ต้องให่มาเร่งคลอดก่อนมีการเจ็บครรภ์คลอด เพราะถ้าหากมาโรงพยาบาลไม่ทัน อาจจะเกิดอันตรายต่อทารกและคุณแม่ได้

สำหรับคุณแม่ที่เคยผ่าตัดคลอดมาก่อน หรือมีแผลที่บริเวณมดลูก ไม่ควรใช้วิธีการเร่งคลอด เพราะจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะมดลูกแตกได้

นอกจากนี้คุณแม่ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ จากการที่รกเกาะต่ำ ไม่สามารถคลอดได้เองทางช่องคลอด ก็ควรพิจารณาเรื่องการผ่าตัดคลอดแทนค่ะ

สำหรับทารกที่มีขนาดใหญ่มาก น้ำหนักตัวมาก และอุ้งเชิงกรานคุณแม่แคบจากการประเมิณโดยสูติแพทย์ หรือทารกอยู่ในท่าที่ผิดปกติ เช่น อยู่ในท่าก้น ท่าขวาง ไม่สมควรทำการเร่งคลอด ควรพิจารณาผ่าตัดคลอด เพื่อความปลอดภัยต่อทั้งคุณแม่และทารกเช่นกัน

วิธีที่ไม่ใช้ยา ทำได้โดยคุณหมอจะใช้นิ้วเข้ากระตุ้นที่ปามดลูกโดยตรง เพื่อทำการเซาะแยกถุงน้ำค่ำที่เกาะติดบริเวณปากมดลูกส่วนล่างออก จะได้กระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนพรอสตาแกลนติน ซึ่งช่วยให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดได้ หรือคุณหมออาจจะทำการเจาะถุงน้ำคร่ำ่ำให้แตกร่วมด้วย เพื่อช่วยให้ปากมดลูกเปิดได้ดีมากขึ้น เข้าสู่ระยะเจ็บครรภ์คลอดได้เร็วขึ้น

สำหรับวิธีใช้ยา สามารถให้ยาในกลุ่มออกซิโทซิน (oxytocin) เข้าทางหลอดเลือดดำ เพื่อกระตุ้นให้มดลูกมีการบีบรัดตัวดีขึ้น ส่วนยาเหน็บเพื่อเร่งคลอดนั้น ไม่นิยมใช้ค่ะ เพราะมีความเสี่ยงต่อการบีบรัดตัวของมดลูกทีุ่รุนแรงมาก อาจจะเกิดภาวะมดลูกแตกได้ ในกรณีที่วิธีใดวิธีหนึ่งได้ผลไม่ดี ก็สามารถใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกันได้ เช่น การใช้ยาร่วมกับการเจาะถุงน้ำ เป็นต้น

ระหว่างการเร่งคลอด แพทย์จะตรวจดูทารกเป็นระยะ และควบคุมการหดรัดตัวของมดลูก ไม่ให้มากเกินไป และไม่นานเกินไป ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเกิดกับทารก เช่น ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ หรือการขาดออกซิเจนในทารก หรือภาวะแทรกซ้อนต่อมารดา เช่น ภาวะตกเลือกหลังคลอด มดลูกแตก หรือน้ำคร่ำไหลย้อนเข้ากระแสโลหิต

อย่างไรก็ตามคุณแม่อย่าวิตกกังวลกับการเร่งคลอดมากจนเกินไปนะคะ อีกทั้งแพทย์จะให้คำแนะนำ การดูแลที่ดีที่สุด และเหมาะสมที่สุด สำหรับคุณแม่ในกรณีที่จำเป็นต้องเร่งคลอดค่ะ

ตอบคำถามโดย รศ.พญ.สายฝน ชวาลไพบูลย์ หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล


Ref : ข้อมูลจาก "รักลูก" No. 307

ความคิดเห็น