การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

สัปดาห์ที่ 29-32 สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 สัปดาห์ที่ 29 สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์



ภาพประกอบจากอินเตอร์เนท

อาการแม่
บางครั้งเมื่อลูกดิ้น หรืออิงกับผนังหน้าท้องด้านใดด้านหนึ่ง เมื่อคุณคลำดู อาจจะพอเดาได้ว่านี่เป็นเท้า หรือก้นลูก ตั้งแต่สัปดาห์นี้ คุณมาอาจมีน้ำหนักตัวขึ้นถึงสัปดาห์ละ 1 กิโลกรัม

ลูกในท้อง
รอบตัวลูกน้อยมีไขมันเคลือบตัวอยู่ ถุงลมปอดพัฒนาอย่างสมบูรณ์ คิ้วและขนตายาว และเต็มมากขึ้น สายตาเริ่มโฟกัสได้

ทารกยาว 38 เซนติเมตร หนัก 1000 กรัม


สัปดาห์ที่ 30 สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

อาการแม่
มาถึงสัปดาห์นี้ คุณแม่จะดูอุ้ยอ้ายขึ้น เคลื่อนไหวช้าลง ก็ไม่ต้องกังวลใดๆ เพราะเป็นเรื่องปกติของผู้หญิงตั้งครรภ์ ต้องระมัดระวังเรื่องท่าทางที่อาจทำให้ปวดหลังได้ง่าย เช่น ท่ายกของ ท่านอน ถ้าคุณเดินเร็ว หรือเดินขึ้นบันไดมากเกินไป ก็จะทำให้หายใจไม่สะดวกง่ายขึ้น

ลูกในท้อง
คุณแม่อาจจะรู้สึกลูกเคลื่อนไหวช้าลง หรือน้อยลงไปมาก เพราะลูกในครรภ์ตัวโตขึ้น พื้นที่ในท้องมีจำกัด แต่ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะลูกน้อยจะอยู่อย่างอุ่นสบายในท้องคุณแม่เหมือนเดิม และถ้าลูกน้อยขยับแขน ขา หรือพลิกตัว คุณแม่จะสามารถรู้สึก หรือจับส่วนใดส่วนหนึ่งของลูก ที่ดันหน้าท้องคุณแม่ออกมาได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น

ทารกยาว 39 เซนติเมตร หนัก 1100 กรัม


สัปดาห์ที่ 31 สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

อาการแม่
การหายใจไม่เต็มอิ่ม ทำให้คุณแม่หลายคนอึดอัดมากในสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ออกแรงมากเกินไป คุณต้องทำอะไรช้าลง คุณอาจจะไม่ใส่เสื้อยกทรงช่วงนอน จะทำให้หายใจสะดวกขึ้น หรือเลือกเสื้อชั้นในที่เหมาะแก่การใส่นอนโดยเฉพาะ

ลูกในท้อง
อวัยวะต่างๆ ครบถ้วนสมบูรณ์เต็มที่ ปอดแข็งแรงขึ้น ระบบประสาทและเซลล์สมองยังมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีการส่งสัญญาณสื่อประสาท เพื่อเพิ่มระดับการทำงานของสมองมากขึ้น ลูกน้อยสามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้แล้ว

ทารกยาว 40 เซนติเมตร หนัก 1400 กรัม


สัปดาห์ที่ 32 สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

อาการแม่
ถ้าคุณรู้สึกอุ้ยอ้ายมาก ควรจะมีแผนแล้วว่า จะมีการเตรียมตัวคลอดอย่างไร มีแผนการลางานอย่างไร อย่าลิมใช้เวลาว่างในการพูดคุยกับลูก หลายคนมีอาการมือเท้าบวม

ลูกในท้อง
กล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น ค่อนข้างเคลื่อนไหวเป็นช่วงเวลา เมื่อลูกน้อยขยับตัวแต่ละครั้ง อาจจะทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บได้บ้าง โดยเฉพาะทารกที่ดิ้นเก่งๆ ในช่วงสัปดาห์นี้ ทารกอาจจะกลับหัวลงไปด้านล่างมดลูกก็ได้

ทารกยาว 40.5 เซนติเมตร หนัก 1600 กรัม

ขอขอบคุณ Practical Pregnancy คู่มือสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ฉบับปฐมฤกษ์ ค่ะ

ความคิดเห็น