หนังสือ "รอให้ถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว"

 

หนังสือ "รอให้ถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว"

เป็นหนังสือในแนวคิดใหม่ ที่ฉีกแนวความคิดเดิมๆ ที่เราเข้าใจกันว่า อัจริยภาพเป็นเรื่องของกรรมพันธ์
หนังสือเล่มนี้จะค่อยๆ บอกเราว่าทำไม "อัจฉริยบุคคลไม่ใช่เรื่องของพรสวรรค์หรือสายเลือด แต่เกิดจากการเรียนรู้และสภาพแวดล้อม"



ชื่อผู้แต่ง : นาย มาซารุ อิบุกะ
แปล/เรียบเรียง ธีระ สุมิตร พรอนงค์ นิยมค้า
โดย : สำนักพิมพ์ หมอชาวบ้าน

 
     หนังสือเล่มนี้ ต้นฉบับเดิมป็นภาษาญี่ปุ่นเขียนโดย นาย มาซารุ อิบุกะ ได้มีการแปลเป็นภาษาต่างๆ หลายภาษา คุณ ธีระ สุมิตร ผู้ซึ่งสนใจและทำงานเกี่ยวกับการศึกษามาเป็นเวลานาน ได้แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ ส่วนคุณ พรอนงค์ นิยมค้า ซึ่งศึกษาในประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลานานนั้นได้แปลจากต้นฉบับ ภาญี่ปุ่น และได้นำมาผสมกลมกลืนกันในภาษาไทย

นายอิบุกะ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ได้บุกบั่นสร้างบริษัทโซนี่ ขึ้นมา เมื่อร่ำรวยขึ้นมาแล้วแทนที่จะไปเสพสุขในกองเงินกองทอง กลับให้ความสนใจแก่การสร้างสรร เด็กเล็กๆให้เฉลียวฉลาดและเป็นคนดี นี่แหละญี่ปุ่นญี่ปุ่นซึ่งขณะนี้ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีคนฉลาดมากที่สุดในโลก

ข้อใหญ่ใจความที่หนังสือเล่มนี้สื่อไปถึงผู้อ่านก็คือ เด็กที่เกิดมาแล้วถูกทอดทิ้ง ใยประสาทของเซลล์สมองจะเกิดน้อย ทำให้โง่ เรียนได้ช้า ทำอะไรไม่ค่อยเป็น เฉื่อยชา ขาดเหตุผล แต่เด็กที่ได้รับการกระตุ้นทางตา หู จมูกลิ้น และกายให้ได้เห็น ให้ได้กลิ่น ให้ได้ยิน ให้ได้รส ให้ได้สัมผัส ตั้งแต่เกิดมาใหม่ๆ โดยเฉพาะได้ความรักจากแม่ จะช่วยให้ใยประสาทของเซลล์สมองงอกงาม เกิดความฉลาด เรียนรู้ได้ง่าย มีชีวิตชีวา รู้เหตุรู้ผล อันจะช่วยเป็นรากฐานให้ประเทศสามารถพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป...

คำนำโดย : ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประเวศ วะสี
 
ภายในเล่มแบ่งเป็นตอนๆ ดังนี้

ตอนที่ 1 : ศักยภาพของเด็กเล็ก

1. รอให้เข้าโรงเรียนอนุบาลก่อนก็สายเสียแล้ว
2. ไม่ว่าเด็กคนไหนก็เลี้ยงให้ดีได้
3. การศึกษาในวัยเด็กเล็ก ไม่ใช่การผลิตอัจฉริยบุคคล
4. เด็กแรกเกิดนั้นอ่อนแอ แต่มี "ศักยภาพ" มหาศาล
5. เส้นสายของเซลล์สมอง
6. การศึกษาในปัจจุบัน
7. ความยาก - ความง่าย
8. เด็กจำอักษรยากๆ ได้ง่ายกว่าอักษรง่ายๆ
9. สำหรับเด็กเล็ก พีชคณิตง่ายกว่าเลขคณิต
10. เด็กอายุ 3 เดือนก็ชอบเพลงคลาสสิก
11. เด็กอ่อนอายุ 6 เดือนก็ว่ายน้ำเป็น
12. สมองของเด็กวัยก่อน 3 ขวบนั้น เราจะยัดเยียดอะไรให้มากแค่ไหนก็รับได้
13. เด็กเล็กจดจำทุกสิ่งที่ตนสนใจ
14. มีหลายสิ่งจำเป็นต้องเรียนรู้ในวัยเด็กเล็ก
15. เด็กหูพิการ ถ้าได้รับการสอนในระยะปฐมวัยอาจได้ยินเสียง

ตอนที่ 2 : สภาวะเป็นจริงของการเรียนรู้ ในระยะปฐมวัย

16. การศึกษาและสภาพแวดล้อมเหนือกว่ากรรมพันธุ์
17. ลูกนักวิชาการก็ไม่แน่ว่าจะเหมาะที่จะเป็นนักวิชาการ
18. ลูกของคนถ้าเติบโตในหมู่สัตว์ก็จะกลายเป็นสัตว์
19. เด็กทารกเมื่อวานต่างกับวันนี้ลิบลับ
20. วัยเด็กเล็กนี่แหละที่ "แตะชาดย่อมแดง"
21. ห้องที่ว่างเปล่ามีผลร้ายกับเด็ก
22. เด็กเล็กได้รับอิทธิพลอย่างนึกไม่ถึง
23. เด็กเล็กซึมซับเรื่องราวต่างๆในหนังสือนิทาน
24. การให้คนอื่นเลี้ยงลูกเป็นการเสี่ยงที่สุด
25. ประสบการณ์ในระยะปฐมวัยเป็นพื้นฐานของการคิดอ่าน

ตอนที่ 3 : สิ่งดีสำหรับเด็กเล็ก คืออะไรบ้าง

26. การศึกษาของเด็กเล็กไม่มีสูตรตายตัว
27. นิสัย อุ้มติดมือ ควรให้ติดเป็นอย่างยิ่ง
28. ลูกนอนกับพ่อแม่เป็นสิ่งดีที่ควรปฏิบัติ
29. แม่ที่ร้องเพลงเสียงหลงทำให้ลูกร้องเพลงเสียงหลงด้วย
30. ทุกครั้งที่เด็กร้องต้องขานตอบ
31. ไม่จำเป็นต้องพูดภาษาเด็กกับลูก
32. การไม่เอาใจใส่ลูกนั้นเลวร้ายยิ่ง
33. ความกลัวของเด็กเกิดจากประสบการณ์
34. เด็กแรกเกิดก็รู้ว่าพ่อแม่ทะเลาะกัน
35. "โรคขี้กังวล" ของแม่แพร่ไปติดลูกได้
36. พ่อควรสัมพันธ์กับลูกให้มากขึ้น
37. ยิ่งมีพี่น้องมากยิ่งดี
38. ปู่ย่าตายายเป็นเครื่องกระตุ้นที่ดีของเด็ก
39. ควรส่งเสริมให้เด็กได้เล่นด้วยกัน
40. การทะเลาะกันช่วยให้เด็กรู้จักเข้าสังคม
41. เด็กทารกจำหน้าคนได้
42. ไม้เรียวนั้น ต้องใช้ในวัยที่เด็กยังไม่เข้าใจไม้เรียว
43. ความโกรธ และความริษยา เป็นการแสดงความไม่พอใจของเด็ก
44. อย่าเอ่ยถึงข้อบกพร่องของเด็กต่อหน้าคนอื่น
45. ชมเด็กดีกว่าดุเด็ก

ตอนที่ 4 : หลักในการฝึกเด็ก

46. ความสนใจคือยากระตุ้นที่ดีที่สุด
47. เด็กมักสนใจสิ่งที่เป็นจังหวะ
48. เด็กจะมองสิ่งที่เขาสนใจว่าเป็นสิ่งดี
49. ความสนใจของเด็กต้องต่อเนื่องจึงจะมีผล
50. "การทำซ้ำซาก" คือการกระตุ้นความสนใจของเด็กที่ดีที่สุด
51. จินตนาการของเด็ก คือจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์
52. สำหรับเด็กเล็กควรสอนให้มี "ปรีชาญาณ"
53. การสอนเด็กเล็กไม่ควรแบ่งเพศ
54. อย่าโกหกเด็กเล็กเกี่ยวกับเรื่องเพศ
55. เด็กเลือกกินเพราะไม่ชินกับรสชาติ
56. เด็กรู้จักเวลา ถ้ามีชีวิตความเป็นอยู่อย่างมีระเบียบ
57. รายการข่าวมีประโยชน์ในการสอนภาษาที่ถูกต้อง
58. โฆษณาโทรทัศน์ควรให้เด็กดู
59. เวลาสอนดนตรีควรสอนเสียงประสานควบไปด้วย
60. การเรียนไวโอลินช่วยพัฒนาสมาธิ
61. การเรียนไวโอลินช่วยพัฒนาการเป็นผู้นำ
62. การเรียนดนตรีของเด็ก ส่งผลให้หน้าตาของเด็กเปลี่ยนไปด้วย
63. การท่องกลอนช่วยฝึกความจำของเด็ก
64. วัยเด็กเล็กนี่แหละที่ควรให้เด็กได้ดูของแท้
65. การเลียนแบบของเด็ก
66. ถ้าเด็กเก่งเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เด็กจะเกิดความมั่นใจในทุกเรื่อง
67. การเล่นไพ่จับคู่ ช่วยฝึกให้เด็กคิดเป็น
68. ดินสอและสีเทียนควรให้เด็กเร็วที่สุด
69. กระดาษวาดเขียนมาตรฐาน ทำให้เกิดคนขนาดมาตรฐานเท่านั้น
70. การให้ของเล่นมากเกินไป ทำให้เด็กกลายเป็นคนจับจด
71. การเก็บของในห้องหมดจดเกินไปเพราะกลัวอันตรายนั้นไม่ดี
72. เด็กเล็กก็รู้จักระเบียบ
73. จัดสถานที่ให้เด็กมองเห็นอะไรเอง
74. ของเล่นไม่ควรสวยแต่อย่างเดียว
75. สำหรับเด็กเล็ก หนังสืออาจไม่ใช้อ่าน
76. การเล่นแบบง่ายๆ สร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้เด็ก
77. การเล่นละคร ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
78. การออกกำลังกายเป็นการกระตุ้นการพัฒนาทางสติปัญญา
79. ฝึกเด็กให้รู้จักใช้ทั้งมือซ้ายและมือขวา
80. เด็กเล็กควรให้เดินมากๆ
81. ประสาทสั่งการเคลื่อนไหวจะดีได้ด้วยการฝึก
82. การเล่นกีฬา ยิ่งเริ่มเร็วยิ่งดี
83. เด็กเล็กไม่รู้ความแตกต่างระหว่างการทำงานและการเล่น
84. การศึกษาในระยะปฐมวัยมิใช่การเรียนพิเศษ
85. ถึงไม่มีเงิน ไม่มีเวลา ก็ให้การศึกษาแก่ลูกได้

ตอนที่ 5 : บทบาทของแม่

86. แม่ที่ไม่มีสายตายาวไกล ให้การศึกษาแก่ลูกไม่ได้
87. สำหรับผู้หญิง ไม่มีงานใดสำคัญกว่างานเลี้ยงลูก
88. การศึกษาของเด็กเริ่มต้นที่การศึกษาของแม่
89. แม่ต้องไม่ลืมที่จะเรียนรู้จากลูกเสมอ
90. ผู้ที่สามารถเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี คือแม่มากกว่าพ่อ
91. แม่ไม่ควรบังคับลูกในเรื่องของการศึกษา
92. อย่า ทำแท้ง การศึกษาของเด็ก
93. จงเป็นคุณแม่แก่วิชา ตอนเด็กอายุ 0-2 ขวบ
94. ลูกไม่ใช่สมบัติของแม่
95. ความไม่มั่นใจของแม่จะทำให้ลูกแย่
96. ความทะนงตนของแม่ ทำให้ลูกกลายเป็นคนยโส
97. ถ้าจะเปลี่ยนลูก พ่อแม่ต้องเปลี่ยนเสียก่อน
98. การศึกษาที่แท้จริง คือการศึกษาที่ทำให้ลูกดีกว่าพ่อแม่
99. คนที่สามารถเชื่อใจคนอื่นได้ จะเป็นผู้สร้างศตวรรษที่ 21
100. ผู้ที่กำจัดสงครามและการแบ่งแยกผิวได้ มีแต่เด็กเล็กเท่านั้น



ความคิดเห็น