ข้อมูล อ้างอิงจาก หนังสือ "คู่มืออ่าน พฤติกรรมเด็ก"
นำมา เรียบเรียง ใช้ภาษาให้อ่านง่ายๆขึ้นค่ะ เผื่อจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ เข้าใจได้ง่ายขึ้น
ว่าสิ่งที่ลูกๆทำนั้น มีสาเหตุจากอะไร และควรทำอย่างไร
แต่เนื้อหามันมีเยอะ เลยว่าจะทยอยมาให้อ่านค่ะ
วันนี้จะพูดถึงเด็กๆวัยทารกก่อนนะคะ 0-2 ปีค่ะ
1. เด็กร้องให้เวลาตื่นนอน จะเกิดจากหลายๆสาเหตุ ได้ค่ะ
1. เด็กปวดปัสสาวะ อุจจาระ
2. ตกใจเสียงดัง
3. ฝันร้าย
4. ตื่นมาแล้วไม่เจอใคร
5. นอนทับแขนนานเกินไป อาจจะเป็นตะคริว
วิธีแก้
1. เมื่อลูกตื่นแล้วร้องให้ ก็เข้าไปหาลูก พูดเพราะๆ ด้วยเสียงที่นุ่มนวล เช่น ตื่นแล้วหรอลูก แต่ถ้าเด็กยังไม่หยุดร้องก็ชวนเค้าคุยค่ะ อาจจะถามว่า ฝันร้ายหรอคะ ไม่ต้องกลัวนะคะ ถึงแม้จะเป็นการถามที่ไม่ได้ต้องการคำตอบ เพราะเด็กยังอธิบาย หรือเล่าอะไรมากไม่ได้ แต่การปลอบเด็ก จะทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย อุ่นใจ
2. เด็ก คอเคล็ดรึเปล่า ดูจากเวลาที่เด็กเดินหรือคลาน คอจะเอียงๆ
3. พาเด็กเข้าห้องน้ำ
ที่ สำคัญนะคะ เมื่อไหร่ที่เด็กตื่นมา แล้วไม่ร้องให้ ควรจะให้รางวัล เช่น ชมเชย จะช่วยแก้ปัญหาเวลาเด็กร้องให้เพราะไม่เห็นใครตอนตื่นได้นะคะ
เป็นการสอนเด็กให้รู้จักการรอคอยด้วย สอนให้เค้ารู้จักเรียก เวลาตื่น แทนการร้องให้ค่ะ
2. ร้องให้กลั้น
เมื่อ ไม่นานมานี้ เหมือนเคยอ่านเจอว่ามีคุณแม่ท่านึงเข้ามาถามถึงอาการของลูก ที่ร้องให้แล้วเหมือนจะเป็นลม ซึ่งคุณหมอเหมียวก็ได้ให้ข้อมูลไปส่วนหนึ่งแล้วนะคะ
ร้องให้กลั้นนั้น อาการจะหายไปเมื่อเด็กโตขึ้น เกิดจากการที่เด็กกลั้นหายใจ
เวลาที่เด็กร้องให้ ทำให้ปากเขียว หรือหมดสติไปประมาณ ครึ่งนาที
สาเหต จะเกิดจากการ ถูกขัดใจ หรือเวลาโกรธ
ถ้าพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกแบบประคบประหงมมาก ตามใจมากๆ เด็กมักจะเกิดอาการแบบนี้เมื่อถูกขัดใจ และจะเป็นสิ่งที่เด็กเรียนรู้ว่า ถ้าเค้าทำแบบนี้ จะยิ่งได้ในสิ่งที่เค้าต้องการมากขึ้น
การแก้ไข
1. ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะเมื่อเด็กแน่นิ่งจากการกลั้นหายใจแบบนี้ เด็กจะคลายการกลั้นหายใจเอง การทำงานของหัวใจจะกลับสู่ภาวะปกติ ไม่มีผลกระทบต่อสมองค่ะ
2. พยายามไม่เลี้ยงดูเด็กโดยการตามใจจนเกินไป เมื่อเด็กถูกขัดใจ หรือไม่ได้ในสิ่งที่เขาต้องการ ก็ให้ชี้แจงเหตุผล
3. การทำให้เด็กรู้ตัว สามารถทำได้โดย เอาน้ำแข็งประคบ เขย่าตัว
แต่ถ้าเด็ก เกร็งกล้ามเนื้อ แน่นิ่งไปนาน ควรจะรีบส่งโรงพยาบาล
3. การติดขวดนม
การติดขวดนมนั้นเกิดจากความเคยชินของเด็ก เป็นนิสัยที่ค่อนข้างใช้เวลาในการแก้
หรือ อาจจะเกิดจาก
1. เห็นน้องทานจากขวด เลยทำให้มีการเลียนแบบ
2. เด็กเกิดความอบอุ่นทางใจเมื่อได้ดูดนม ซึ่งจะตรงกับทฤษฎี ของฟรอยด์ค่ะ ที่เด็กวัยนี้ จะมีขั้นพัฒนาการอยู่ที่ปาก การดูด กัด อม และจะค่อยๆ พัฒนาไปในด้านอื่นเมื่อโตขึ้น
การแก้ไขนะคะ
1. เมื่อเด็กไปที่โรงเรียนแล้วจะช่วยได้ค่ะ ถ้าเห็นเพื่อนๆ ดื่มนมจากแก้ว
แรกๆเด็กจะเริ่มดื่มจากแก้วที่โรงเรียน แต่เมื่อกลับบ้านก็ยังดูดจากขวดเหมือนเดิม จะต้องใช้เวลาให้เด็กปรับตัวช่วงนึงค่ะ
2. หากิจกรมให้เด็กทำค่ะ ให้เด็กไม่ว่างที่จะคิดถึงขวดนม เช่นให้เล่นของเล่น
แทนที่จะปล่อยให้เด็กนั่งเฉยๆ หรือพาไปเล่นกับเด็กคนอื่นๆ ที่เลิกดื่นนมขวดแล้ว
3. ถ้าเด็กดูดนมขวดเพราะเลียนแบบน้อง ก็อธิบายให้เค้าเข้าใจว่า
น้องเค้าเล็กกว่าเรา เข้ายังต้องดูดนม เมื่อน้องโตขึ้น น้องก็จะดื่มจากแก้วเหมือนพี่ได้
4. เด็กบางคนจะดูดนมเพื่อลดความเครียด เพราะฉะนั้นควรจะดูว่ามีอะไรที่ทำให้เด็กเครียดรึเปล่า
5. ให้รับประทานอาหารอย่างอื่นมากขึ้น จะช่วยลดการดื่มนมได้ค่ะ
4. เดินกระทืบเท้า หรือเหวี่ยงแขน หรือใช้ความรุนแรงเวลาไม่พอใจ
ซึ่งจะแสดงออกได้หลายอย่างค่ะ เช่น นอนดิ้น ร้องให้เสียงดัง กระทืบเท้าแรงๆ เหวี่ยงแขนไปมา
สาเหตุ
จะ เกิดเมื่อถูกขัดใจ ส่วนใหญ่จะเป็นเวลาที่ผู้ใหญ่ให้เค้าต้องรอ เพราะเด็กวัยนี้ จะยังไม่ค่อยเข้าใจคำว่า "รอคอย" ทุกอย่างที่เค้าต้องการ ต้องเป็น "เดี๋ยวนี้"
การแก้ไข
1. เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมแบบนี้ ต้องไม่ตะคอก หรือใช้อารมณ์กับเด็ก
ต้องรอจนกว่าเด็กจะสงบ พร้อมที่จะฟัง แล้วก็สอนเค้าว่า การทำแบบนี้ ไม่สามารถช่วยให้เค้า ได้ในสิ่งที่ต้องการได้
2. ไม่ตกใจ ไม่ใจอ่อน เพราะเด็กจะให้พฤติกรรมนี้เป็นเครื่องต่อรองทุกครั้ง
3. ไม่ทำตัวเป็นแบบอย่าง เช่น ผู้ใหญ่ที่บ้านต้องไม่ โยนของ โวยวาย
เวลาโมโห เพราะจะทำให้เด็กเลียนแบบพฤติกรรม
4. พูดใหเด็กเข้าใจ และมีความหวัง
เช่น ใช้คำว่า "ครั้งหน้า" "รอให้คุณแม่ อาบน้ำเสร็จก่อนนะคะ" เด็กจะรู้ว่าเมื่อไหร่ ไม่ควรใช้คำว่า ไม่ได้ รอไปก่อน เพราะเด็กจะไม่เข้าใจว่า เมื่อไหร่จะได้
เด็กวัย 2-6 ปี
1. ชอบรังแกน้อง
มักจะเกิดจาก
1.น้อยใจว่าพ่อแม่รักน้องมากกว่า
2. ไม่เข้าใจว่าพี่ควรจะเสียสละอะไรให้น้องบ้าง หรือเด็กเป็นคนที่ไม่ยอมใคร ไม่เคยแบ่งอะไรให้ใคร
3. พ่อแม่ ตามใจ ไม่เคยดุเวลาพี่แกล้งน้อง
4. น้องมักจะชอบแย่งของเล่นเสมอ
การแก้ไข
1. ควรจะทำโทษทั้งคู่ ถึงแม้น้องจะยังเล็กอยู่ แต่เป็นการทำโทษอย่างเหมาะสมตามวัยค่ะ เช่น ให้แยกกันเล่น ถ้ายังทะเลาะกัน อธิบายเหตุผลทุกครั้งที่โดนทำโทษ หรือถ้าเห้นว่าน้องเป็นฝ่ายเริ่มก่อน อาจจะแย่งของเล่นจากพี่ หรือตีพี่ก่อน ก็จับน้องแยกออกไปเล่นที่อื่น แล้วก็คุยกับเค้าค่ะว่า น้องยังเล็กนะ ยังไม่เข้าใจว่าอะไรควรไม่ควร อธิบายให้เค้ารู้ว่า เค้าควรจะทำอย่างไรเวลาน้องมาแกล้ง รวมทั้งชมเชยและให้รางวัลเมื่อเค้าทำตัวดีกับน้อง
2. พยายามซื้อของเล่นให้คล้ายๆกัน
3. แสดงออกให้เค้ารู้ว่าพ่อแม่รักพี่และน้องเท่าๆกัน
2. ชอบกัดเล็บ
มักจะเกิดจาก
1. เครียด กังวลใจ หรือเวลาถูกดุ เมื่อไม่มีอะไรทำ
2. ตัดเล็บให้เด็กไม่เรียบ เด็กรำคาญ จึงต้องคอยกัดเล็บ
3. เด็กขาดความมั่นใจ บางคนยิ่งถูกห้ามก็ยิ่งกัดมากขึ้น
การแก้ไข
1. หาสาเหต ที่ทำให้เด็กไม่สบายใจ
2. หากกิจกรรมให้ทำ เป็นการเบียงเบนความสนใจจากการกัดเล็บ
3. ทำให้ลูกรู้สึกถึงความมั่นคง ความอบอุ่น เช่น แสดงความรัก ให้เค้ามั่นใจ หรือ ไม่ทะเลาะกันให้ลูกเห็น
4. ทาเล็บให้ เมื่อเด็กเห็นว่าสวย จะไม่กล้ากัด และเด็กจะเลิกกัดได้เองค่ะ
หรือ ทำตางราง น่ารักๆให้เด็ก ถ้าวันไหนเด็กไม่กัดเล็บเลย ก็ให้ดาว หรือติดสติกเกอร์น่ารักๆ แล้วมาดูกันว่า 1 อาทิตย์นั้น เด็กทำได้กี่วัน ควรจะชมเชยหรือให้รางวัลเด็ก ให้เค้าภูมิใจ ถึงแม้ว่าจะทำได้เพียงวันเดียว หรือถ้าช่วงแรกทำไม่ได้ ก็พูดให้เค้ารู้ว่า "แม่รู้นะคะว่าหนูกำลังพยายาม" แล้วสนับสนุน ให้กำลังใจเค้าต่อไป
ที่มา : เรียบเรียงโดย คุณ HaJi_OoO_iJaH @ ชานเรือน (พันทิปคาเฟ่)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น