การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

[บทความ] สอนให้ลูกรับผิดชอบ ทำยังไงดี?

 สอนให้ลูกรับผิดชอบ ทำยังไงดี?


การสอนให้เด็กๆ ให้มีความรับผิดชอบตั้งแต่เล็ก เป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนควรทำ เพื่อให้ลูกของคุณได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบทั้งกับตัวเอง และสังคมที่เขาอยู่

ซึ่งเด็กบางคนก็ดูจะสอนยากสอนเย็นเหลือเกิน คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องมานั่งปากเปียกปากแฉะ คอยบอก...คอยสอนเค้าอยู่ร่ำไป แต่เจ้าเด็กน้อยทั้งหลายก็ดูจะไม่ใส่ใจจำซักเท่าไร่ ...มันทำให้ต้องปวดหัวอยู่เป็นประจำ

1. คุณต้องทำเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็น จำไว้เสมอว่าธรรมชาติของเด็กๆ จะมี การเรียนรู้โดยการสังเกตจากผู้ใหญ่.. มากกว่าทำตามคำบอกเล่าของคุณ อย่างเช่น....ถ้าคุณสั่งเขาว่า ถอดรองเท้าแล้ว ให้วางเก็บเขาที่ให้เรียบร้อย แต่คุณเอง พอกลับถึงบ้าน คุณกลับถอดรองเท้าวางเกลื่อนไปทั่ว เด็กๆ ก็จะเรียนรู้โดยการวางรองเท้าเกลื่อนไปเช่นเดียวกับคุณ

เด็กๆ จะไม่ทำตามที่คุณสอน แต่เขาจะทำตามพฤติกรรมที่เขาเห็นพ่อแม่ทำอยู่ทุกวัน ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น จำไว้ว่าคุณเป็นต้นแบบของลูกๆ คุณควรแสดงพฤติกรรมของความรับผิดชอบให้เขาเห็น ซึ่งเขาจะเลียนแบบพฤติกรรมนี้เข้าไปทีละเล็กละน้อย

2. หากต้องการให้เด็กมีพฤติกรรมรับผิดชอบอะไร ควรสอนเขาทีละขั้นตอน พฤติกรรมบางอย่างอาจต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และเป็นการเรียนทีละขั้นตอน จะง่ายกว่าการคาดหมายให้เด็กทำได้หมดในคราวเดียวกัน

ซึ่งคุณควรสอนเขาอย่างชัดเจน ถ้าคุณไม่อยากหงุดหงิดกับการที่ลูกทำแล้วไม่ได้อย่างใจคุณ

เช่น ต้องการบอกให้ลูกทำความสะอาดห้อง คุณควรจะแสดงให้เขารู้ว่า การทำความสะอาดนั้นมีวิธีการทำอย่างไร และอย่างไหนเรียกว่า "สะอาด" หรือ "ไม่สะอาด"

แต่อย่างเพิ่งคาดหวังว่าลูกๆ จะต้องทำได้อย่างที่คุณคาดเอาไว้ ค่อยเป็นค่อยไปแล้วกัน

3. ให้ลูกมีโอกาสรับผิดชอบงานในบ้านบ้าง
พ่อแม่บางท่านคอยพะเน้าพะนอทำโน่นทำนี่ให้ลูกทุกอย่าง...เจ้าลูกๆก็เลยไม่ต้อง รับผิดชอบอะไรเลย การทำแบบนี้ไม่เป็นผลดีกับลูกของคุณเลยนะคะ ตรงกันข้าม..กลับทำให้เด็กเติบโตอย่างขาดความรับผิดชอบ ไม่เข้าใจชีวิต และโลกแห่งความเป็นจริง กลายเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่ยอมรับผิดชอบต่ออะไรเลย

ดังนั้น ถ้าคุณรักลูก โปรดให้เขาได้มีโอกาสรับผิดชอบในเรื่องที่เด็กในวัยของเขา สามารถรับผิดชอบได้ทีละเล็กละน้อย

ยกตัวอย่างน้องแทน ตอนนี้เค้าอายุ 3 ขวบกว่าๆ.. เค้าเริ่มชงนมกินเองได้ (แต่เราต้องคอยดู) ถึงแม้ตอนแรกจะทำเลอะไปหมดเลย แต่เค้าจะทำได้ดีขึ้น สะอาดขึ้นถ้าเราคอยบอกเค้า ....ไม่อดตายแล้วลูก

4. ตรวจสอบความเข้าใจในสิ่งที่คุณให้เขารับผิดชอบ
คุณอาจจะนั่งพูดคุย หรือเขียนออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรว่า คุณอยากให้เขาทำสิ่งใด ทำอย่างไร ทำเมื่อไร เพื่อจะได้ไม่ต้องมาโต้แย้งกับเขาว่า คำสั่งของคุณไม่ชัดเจน

เมื่อ เขาทำสิ่งที่คุณต้องการได้ดี คุณอาจมีรางวัลบางอย่างให้เขา รางวัลไม่จำเป็นต้องเป็นเงินทอง ของขวัญราคาแพง แต่อาจเป็นการอนุญาตให้เขานอนดึกได้ในบางคืน ดูรายการโทรทัศน์ ที่เขาชอบได้นานขึ้น ไปเที่ยวกับเพื่อนได้ หรือสิ่งอื่นใดก็ได้แล้วแต่ที่เด็กวัยเขาต้องการ

แต่ถ้าเขาไม่ทำ พฤติกรรมที่รับผิดชอบ คุณก็ต้องตกลงกับเขาก่อนว่า โทษของเขาควรเป็นอย่างไร เช่น อาจถูกตัดค่าขนม ไม่ได้ไปเที่ยว หรือถ้าเขาทำสิ่งของเสียหาย คุณอาจสอนให้เขารับผิดชอบ โดยการหักเงินเขาหรือให้เขาซื้อของใหม่มาแทนสิ่งที่เขาทำเสีย ในกรณีที่เขาทำบ้านสกปรก เขาอาจจะต้องมาทำความสะอาดบ้านด้วยตนเองจนสะอาด เป็นต้น

ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม เด็กจะต้องรู้ก่อนเสมอว่า ถ้าเขาทำพฤติกรรมที่รับผิดชอบผล จะเป็นเช่นไร และถ้าไม่รับผิดชอบผลเสียคืออะไร และเมื่อเขาตัดสินใจทำลงไปคุณต้องทำ (ให้รางวัลหรือลงโทษ) ตามที่ได้ตกลงกับเขาไว้เสมอ

5. เมื่อคุณสั่งให้เขาทำสิ่งใด แล้วเขาไม่ทำ แม้ว่าคุณจะโกรธก็อย่าใช้อารมณ์ก้าวร้าวรุนแรงกับเขา บอกให้เขารู้ว่าเขายังไม่ได้ทำสิ่งนั้นๆ และขอให้เขาทำในทันที
การ ขึ้นเสียง หรือใช้อารมณ์กับลูกๆ นั้น นอกจากจะไม่ เป็นผลดีใดๆ กับภาพพจน์ของตัวคุณแล้ว ยังแสดงให้ลูกรู้อีกด้วยว่า คุณเป็นคนที่ระงับอารมณ์ไม่อยู่ และเขาก็คงจะเลียนแบบการขึ้นเสียง เอากับคุณบ้างในโอกาสต่อไป

6. เมื่อเขาเริ่มมีพฤติกรรมที่รับผิดชอบมากขึ้น ให้พูดหรือแสดงออกให้เขารู้ว่าคุณชื่นชม และปลื้มใจในตัวเขา พ่อแม่บางคนชอบที่จะดุว่าลูก เมื่อลูกทำผิด แต่ไม่เคยชื่นชมหรือแสดงความรู้สึกที่ดีกับลูก เมื่อเขามีพฤติกรรมดีเลย การกระทำเช่นนั้นไม่ยุติธรรมอย่างยิ่งสำหรับเด็ก

โปรดระลึกเสมอว่า มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ จะชอบคำชื่นชมมากกว่าตำหนิ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กๆ เมื่อเขาได้รับคำชมจากผู้ที่เขารักก็จะแสดงพฤติกรรมนั้นบ่อยครั้งขึ้น ดังนั้น พ่อแม่ทุกคนจึงไม่ควรลืมที่จะสังเกตลูก เมื่อเขาทำสิ่งใดที่น่าชื่นชมยินดี โปรดบอกให้เขารู้ อย่าชื่นชมในใจ เพราะเขาอ่านใจคุณไม่ออก

พฤติกรรม การรับผิดชอบก็เช่นเดียวกับพฤติกรรมอื่นๆ จำเป็นต้องใช้ความเข้าใจ เวลา และความอดทนของพ่อแม่ ในการค่อยๆ ดัดและปรับการแสดงออกของเด็ก


พ่อ แม่ทุกคนควรถือเป็นสิ่งจำเป็นที่จะอบรมสั่งสอนให้ลูกมีความรับผิดชอบกับ ชีวิตตั้งแต่เด็ก เพราะมันจะเป็นดังเมล็ดพันธุ์ที่ค่อยๆ เจริญงอกงามในจิตใจ และกลายเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่ง ของบุคลิกภาพในอนาคตของเขา


ข้อมูล : หนังสือก่อนจะถึงวันนั้น โดย รศ.ดร.นวลศิริ เปาโรหิตย์

ความคิดเห็น