การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

การฝึกขับถ่าย โดย พญ. สินดี จำเริญนุสิต (กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรม)

การฝึกขับถ่าย โดย พญ. สินดี จำเริญนุสิต (กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรม)


ในระหว่างช่วงเวลาที่เด็กกำลังเจริญเติบโต การควบคุมการขับถ่าย เป็นหนึ่งในความสามารถ ทางพัฒนาการที่มีความสำคัญต่อเด็ก และครอบครัว ซึ่งต้องอาศัยความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจของตัวเด็ก การฝึกจากผู้เลี้ยงดู สิ่งแวดล้อม และประสบการณ์ของเด็กด้วย หากผู้ลี้ยงดูไม่เข้าใจ อาจทำให้เด็ก เกิดปัญหา ปฎิเสธการฝึกขับถ่ายได้ โดยสาเหตุที่พบบ่อยของปัญหา ปฏิเสธการฝึกขับถ่าย ได้แก่ ภาวะท้องผูกเรื้อรัง พื้นฐานทางอารมณ์ของด็ก ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เลี้ยงดูและเด็ก เป็นต้น

ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ดูแลเด็กควรมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการฝึกขับถ่าย

โดยทั่วไปพัฒนาการด้านการควบคุมการขับถ่ายเรียงเป็นลำดับ ดังนี้ ควบคุมการขับถ่ายอุจจาระในเวลากลางคืน -> ควบคุมการขับถ่ายอุจจาระในเวลากลางวัน -> ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะในเวลากลางวัน -> ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะในเวลากลางคืน
 
   
ความพร้อมในการฝึกขับถ่าย

การฝึกขับถ่าย คือ การพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการขับถ่าย ณ เวลา สถานที่และอายุที่เหมาะสม ซึ่งวิธีการฝึกขับถ่ายนั้นมีหลากหลายมากขึ้นกับสรีรวิทยา ภาวะทางจิตใจ สังคมและวัฒนธรรมของเด็กและครอบครัว เป็นเรื่องที่ต้องการเวลา ต้องใช้ความเข้าใจและความอดทนของผู้เลี้ยงดู

ความพร้อมของเด็กแต่ละคนเกิดขึ้นเมื่อใด ไม่มีอายุที่แน่นอน ขึ้นกับพัฒนาการด้านร่างกายและจิตใจของเด็ก โดยทั่วไปจะอยู่ในช่วงอายุ 1 ปีครึ่ง ถึง 2 ปี ซึ่งบางคนอาจเร็วหรือช้ากว่านี้
 
     
 
 
 
 
สัญญาณที่แสดงว่าเด็กพร้อม ได้แก่
 
 
1. ความพร้อมด้านทักษะทั่วไป
ด้านภาษา : - สามารถเข้าใจและทำตามคำสั่งตั้งแต่ 2 ขั้นตอนขึ้นไป - เริ่มสื่อสารด้วยการพูดคุยได้

ด้านความคิด - เลียนแบบกิจวัตรของผุ้ใหญ่ - เริ่มเข้าใจเหตุและผลง่ายๆ

ด้านกล้ามเนื้อ - ลุกเดินได้คล่อง นั่งได้มั่นคงโดยไม่ต้องช่วย

ด้านอารมณ์ - ต้องการเอาใจผู้เลี้ยงดู ภายใต้สัมพันธภาพที่ดี - เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองในขณะเดียวกันพฤติกรรมต่อต้านมากๆเริ่มลดลง - เริ่มแสดงความเป็นเจ้าของของสิ่งที่มี
 
 
2. ความพร้อมด้านที่เกี่ยวกับการขับถ่าย
 
 
การควบคุมกระเพาะปัสสาวะ - กลั้นปัสสาวะได้เป็นชั่วโมงหรือหลายชั่วโมง ความตระหนักเกี่ยวกับร่างกายตนเอง - แสดงให้รู้ว่าไม่ชอบที่จะทำเลอะเทอะในกางเกงหรือผ้าอ้อมที่ใส่อยู่ - เริ่มแสดงออกว่ารู้สึกปวดถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ

ด้านกล้ามเนื้อ - ช่วยเหลือตัวเองในการถอดและใส่กางเกงได้ - เริ่มสามารถควบคุมกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก / ปัสสาวะได้บ้าง

ด้านการสื่อสาร - เข้าใจคำว่า " ฉี่ " หมายถึงปัสสาวะ " อึ " หมายถึง อุจจาระ - พูด หรือทำสีหน้า ท่าทาง สื่อให้รู้ได้ว่าต้องการเข้าห้องน้ำ หรือใช้กระโถน
 
 
ขั้นตอนการฝึกขับถ่าย 
ขั้นตอนที่ 1 เมื่อเด็กและผู้เลี้ยงดูพร้อม เริ่มต้นด้วยการปรับภาวะจิตใจของผู้ฝึกเองว่าการฝึกนี้ไม่สามารถสำเร็จได้ในเวลาอันสั้น ต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่กดดัน ใจเย็นและสร้างบรรยากาศไม่ให้เคร่งเครียด เช่น มีของเล่นช่วย

ขั้นตอนที่ 2 ต้องสื่อให้เด็กรู้ว่าคืออะไร ส่วนใหญ่เด็กไทยใช้คำว่า “ อึ” แทน อุจจาระ และ “ ฉี่” แทน ปัสสาวะ
นอกจากนั้นควรให้เด็กรู้ว่าการปวดมวนท้องแบบใดคือปวดอึหรือปวดฉี่

ขั้นตอนที่ 3 ถึงเวลาเลือกกระโถนโดยเลือกที่เด็กสามารถนั่งได้มั่นคง ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ถ้าจะใช้ชักโครกของผู้ใหญ่ควรมีที่ครอบโถชักโครกให้เหมาะกับเด็กและควรหาบันไดหรือที่วางเท้าให้เด็กวางได้เต็มฝ่าเท้า เพื่อจะได้เบ่งถ่ายง่ายขึ้นและไม่ต้องกลัวล้มหรือตกลงมา

ขั้นตอนที่ 4 สอนให้เด็กใช้กระโถนหรือชักโครกโดยการให้เด็กลองนั่งดู ในต่างประเทศโดยเฉพาะทางตะวันตกผู้ใหญ่และเด็กจะใช้ห้องน้ำร่วมกันเพื่อที่จะสาธิตให้เด็กดูวิธีการใช้แต่ในประเทศไทย เนื่องจากวัฒนธรรมที่ต่าง กันควรคำนึงถึงความเหมาะสมด้วย การให้เด็กลองนั่งก่อน เหตุผลเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับกระโถน นั่งไปโดยที่ไม่ถอดกางเกงหรือผ้าอ้อมแต่หากเด็กร่วมมือดีก็สามารถถอดขณะนั่งตั้งแต่ต้นได้

ขั้นตอนที่ 5 จากนั้น 1-2 สัปดาห์หากเด็กเริ่มนั่งโดยใส่เสื้อผ้าอยู่ด้วย ลองถอดกางเกงหรือผ้าอ้อมแล้วชวนเด็กไปนั่งกระโถนโดยไม่บังคับ ให้เด็กนั่งในระยะเวลาชั่วครู่และไม่คาดหวังว่าเด็กต้องถ่าย

ขั้นตอนที่ 6 เมื่อเด็กคุ้นเคย ต้องให้รู้ว่ากระโถนมีไว้ใส่อุจจาระหรือปัสสาวะ ดังนั้นหากเด็กอุจจาระในผ้าอ้อมสำเร็จรูป ให้ถอดผ้าอ้อมที่เปียกเปื้อนออกก่อนแล้วใช้ผ้าอ้อมที่เปื้อนรองไว้ที่กระโถน

ขั้นตอนที่ 7 ในหนึ่งวันให้เริ่มถอดกางเกงหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปของเด็กช่วงสั้นๆและวางกระโถนไว้ใกล้ๆเพื่อให้เด็กใช้ได้ตามต้องการ บางครั้งก็อาจพาเด็กไปนั่งเป็นเวลา เช่น หลังตื่นนอน หรือหลังอาหาร เป็นต้น แต่ต้องให้เด็กเต็มใจด้วย ไม่บังคับ
 
 
ขั้นตอนที่ 8 เมื่อเด็กคุ้นเคยดี ถอดผ้าอ้อมสำเร็จรูปและให้เด็กใส่กางเกงในธรรมดาพร้อมกับการสอนเรื่องการทำความสะอาด เช่น การเช็ดก้นให้ใช้กระดาษชำระป้ายจากข้างหน้าไปด้านหลังเพื่อมิให้อุจจาระมาเปื้อนด้านหน้า โดยเฉพาะในเด็กหญิงมีช่องเปิดทางเดินปัสสาวะและช่องคลอดอยู่ใกล้กันมากจะติดเชื้อง่าย สอนให้เด็กล้างมือหลังจากใช้กระโถน และเช็ดชำระล้างก้นแล้ว

การฝึกเช่นนี้เด็กจะค่อยๆควบคุมการขับถ่ายได้ แต่ที่สำคัญทื่สุด คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่อบอุ่น ให้กำลังใจ ชมเชยในทุกขั้นตอนหากเด็กทำได้ ผู้ฝึกต้องอดทนและไม่ควรตำหนิเมื่อเด็กทำเปื้อนหรือสกปรก

ขั้นตอนที่ 9 พยายามอย่าให้เด็กท้องผูก ขับถ่ายให้เป็นเวลา ให้เด็กได้ทานอาหารที่มีกากใยให้เพียงพอ ไม่ดื่มนมในปริมาณที่มากเกินไป ( โดยทั่วไปเด็กอายุประมาณ 1-2 ปี ไม่ควรเกิน 32 ออนซ์ต่อวัน ) เนื่องจากนมมีปริมาณไขมันมากทำให้การเคลื่อนตัวของลำไส้ช้าลงและจะทำให้การฝึกขับถ่ายยากขึ้นเพราะถ้าท้องผูกเด็กจะกลัวเจ็บและไม่อยากถ่าย
 
 
ภาวะปฎิเสธการฝึกขับถ่าย
 
หมายถึง ภาวะที่เด็กต่อต้านหรือปฎิเสธการฝึกขับถ่ายหรือไม่ยอมนั่งกระโถน ไม่ยอมเข้าห้องน้ำ ซึ่งส่งผลถึงอารมณ์จิตใจของเด็ก และอาจก่อให้เกิดปัญหาการกลั้นอุจจาระและภาวะท้องผูกเรื้อรัง หรืออุจจาระเล็ดตามมาได้ มักมีสาเหตุจาก ภาวะท้องผูก (Constipation) , พื้นอารมณ์ของเด็ก (Temperament) , ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้เลี้ยงดู (Parent-child interaction) ซึ่งหากเด็กมีภาวะนี้ควรปรึกษากุมารแพทย์

( ท้องผูกในเด็ก หมายถึง การถ่ายอุจจาระน้อยเพียง 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และ / หรือถ่ายอุจจาระลักษณะแข็งจนมีเลือดปนในบางครั้ง หรือเจ็บปวด ถ่ายลำบาก ต้องออกแรงเบ่งมาก )
 
 
อาการท้องผูกเกิดขึ้นได้เสมอ โดยช่วงเวลาที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นง่าย ได้แก่

- ช่วงเวลาที่เริ่มอาหารเสริม อาจมีการให้อาหารเสริมที่ไม่เหมาะสมและกากใยไม่เพียงพอ

- ช่วงเวลาภายหลังการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น ไข้หวัด หรืออุจจาระร่วงเฉียบพลัน

- ช่วงเวลาที่เริ่มฝึกขับถ่าย ถ้าเด็กมีประสบการณ์การถ่ายที่เจ็บยิ่งทำให้เกิดการกลั้นอุจจาระ

- ช่วงเวลาที่เริ่มเข้าโรงเรียน เด็กอาจไม่กล้าเข้าห้องน้ำที่โรงเรียน ทำให้เกิดการกลั้นอุจจาระ

ท้องผูกเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมกลั้นอุจจาระนั้น จะไม่มีสาเหตุความผิดปกติของระบบใดๆ แต่จะเกี่ยวข้องกับปัญหาของการฝึกขับถ่าย มักเริ่มพบในวัยทารกตอนปลาย (late infancy) จนถึงอายุ 2 ปี ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา การถ่ายอุจจาระเล็ดจะเริ่มปรากฎเมื่ออายุประมาณ 3-5 ปี โดยร้อยละ 13 ของเด็กกลุ่มนี้อาจมีอาการปัสสาวะเล็ดและติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะโดยเฉพาะในเด็กหญิงร่วมด้วยเพราะลำไส้ส่วน rectum ขยายใหญ่ไปกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะมีความจุลดลง นอกจากนี้ในบางรายท้องผูกทำให้มีอาการปวดท้อง เบื่ออาหารซึ่งส่งผลถึงการกินอาหารของเด็ก
 
 
เอกสารอ้างอิง

Michel RS. Toilet training. Pediatr Rev 1999;20(7):240-245.

Parker S. Toilet training. In Parker S, Zuckerman B, Augustym M, editors. Developmental and behavioral pediatrics: a handbook for primary care. Philadelphia: Lippincort Williams & Wilkins, 2005.

Stadtler AC, Gorski PA. Brazelton TB, et al. Toilet training methods, clinical interventions, and recommendations. Pediatr 1999;103:1359-61.
 
ที่มาของบทความ  http://www.vejthani.com/web-thailand/Healthcare-toilet-training.php


Share

ความคิดเห็น