การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

[บทความ] 12 จุด...อันตรายรอบบ้านสำหรับลูก

 [บทความ] 12 จุด...อันตรายรอบบ้านสำหรับลูก

ว่ากันว่า กว่าลูกจะโตนั้น พวกเขาต้องเจ็บ ต้องร้อง เพราะหัวโน มีบาดแผลตามแขน ตามขาบ่อยครั้งจนนับไม่ถ้วน ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มาจากการถูกทารุณกรรมหรอกนะคะ แต่กลับเป็นเพราะข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านที่อาจอยู่ไม่เป็นที่มีเหตุให้เด็กเดินชน หกล้มจนได้แผล หรือไม่ก็เจ้าตัวเล็กเป็นคนวิ่งเข้าไปหาเรื่องเจ็บตัวก็เป็นได้

       
เมื่อความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือประมาทเลินเล่อเป็นชนวนเหตุทำให้ลูกได้รับอันตรายแล้ว จากข้อมูลที่สำรวจเรื่องอุบัติเหตุภายในบ้านก็พบว่า ในแต่ละปีเด็กไทยบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุภายในบ้านด้วยสาเหตุสำคัญอันดับแรก คือ โครงสร้างบ้านและเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน เช่น บันได ระเบียง พื้น ประตู หน้าต่าง โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น
   
ทั้งนี้ นอกจากการจัดวางข้าวของเครื่องใช้และสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เป็นสาเหตุสำคัญของการตายและบาดเจ็บของเด็ก โดยเกือบครึ่งหนึ่งของการตายด้วยอุบัติเหตุในเด็กนั้น มาจากสาเหตุการจมน้ำตาย ซึ่งเกิดขึ้นจากแหล่งน้ำในบ้าน เช่น กะละมัง ถังน้ำ อ่างน้ำ และแหล่งน้ำใกล้บ้าน เช่น ร่องน้ำ คูน้ำ บ่อน้ำ เป็นต้น
       
อย่างไรก็ดี “เอกสารชุดเด็กไทยปลอดภัย โดยเครือข่ายวิจัยสุขภาพ” ได้รวบรวม 12 จุดที่ควรระวังอันตรายสำหรับเด็กเล็ก ดังนี้
       
       1. เก้าอี้ โซฟา
       
       เมื่อเด็กแรกเกิดเคลื่อนที่ได้จากการถีบขาดันสิ่งขวางกั้นต่างๆ ส่วนเด็กวัย 4-6 เดือนเริ่มพลิกคว่ำพลิกหงายได้ เป็นเหตุให้เกิดการพลัดตกจากเตียง เก้าอี้ หรือโซฟา หากจำเป็นต้องวางเด็กบนที่สูงเพื่อหยิบผ้าอ้อม หรือเตรียมนม ต้องวางมือข้างหนึ่งบนตัวเด็กไว้เสมอ เพราะถ้าเด็กตกลงมา โดยเฉพาะยังไม่ถึงขวบจะยิ่งมีความอันตรายมากกว่าวัยอื่นๆ
       
       2. เตียงเด็ก หรือเปล
       
       เปลที่มีความห่างไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอันตรายจากดิ้นของเด็กจนศีรษะเข้าไปติดค้างได้ บางครั้งอาจติดค้างระหว่างริมเบาะที่นอนกับผนังเปล หรือเบาะที่นอนด้านที่ชิดกำแพงได้
       
       มุมเสาทั้ง 4 ด้านของเปลที่ยกสูงขึ้นมา อาจเกี่ยวรั้งเสื้อผ้าของเด็ก และเกิดการแขวนรัดคอ จึงควรเลือกประเภทของเปลและจัดวางเบาะที่นอนให้เหมาะสมสำหรับเด็ก
       
       3. เครื่องใช้ไฟฟ้าและของร้อน
       
       เด็กทารกอายุ 3-5 เดือน จะเริ่มคว้าสิ่งของและกำมือได้ เด็กอาจปัดหรือคว้าของร้อนเหล่านั้น เด็กในวัยเดิน หรือวิ่งได้อาจเอื้อมคว้าสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำความร้อนและถูกความร้อนลวกได้ สิ่งที่พึงระวัง คืออย่าอุ้มเด็กขณะที่ถือของร้อน อย่าอุ้มเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป นั่งบนตักขณะมีของร้อนอยู่บนโต๊ะ เก็บสายไฟของกาน้ำร้อน อย่าให้ห้อยอยู่ต่ำในระดับที่เด็กสามารถดึงกระชากให้ล้ม

       4. หน้าต่าง
       
       หลายข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับต่างเคยให้ความสนใจกับคดีสะเทือนขวัญเด็กวัยเตาะแตะพลัดตกลงมาจากหน้าต่างบ้าน ซึ่งหลายคนอาจเข้าใจว่าเป็นการฆาตกรรม แต่หารู้ไม่ว่าแท้ที่จริงแล้ว เด็กวัยกำลังซนกับหน้าต่างนั้น เป็นสิ่งที่ควรระวังไม่แพ้อย่างอื่นเลยทีเดียว
       
       เพราะเด็กวัยนี้อาจปีนป่ายเฟอร์นิเจอร์ที่วางชิดหน้าต่าง และอาจพลัดตกลงไปได้ ดังนั้นพ่อแม่ควรปิดหน้าต่างหรือมุ้งลวดให้สนิท ไม่วางเฟอร์นิเจอร์ในตำแหน่งที่ชิดกับหน้าต่าง
       
       5. บันได
       
       ตอนเด็กๆใครไม่เคยตกบันไดบ้าง? แม้จะบางคนอาจไม่เคย แต่เชื่อว่าหลายคนคงผ่านประสบการณ์ลูกมะนาวเต็มหัวสมัยเด็กๆอยู่ไม่น้อย ครอบครัวไหนมีบันไดไม่กี่ขั้นก็ดีไป แต่สำหรับบ้านที่มีหลายชั้น มีบันได 10 ขั้นขึ้นไปก็พึงระวังไว้
       
       เพราะเด็กวัย 6-12 เดือน จะเริ่มเคลื่อนที่ได้ดีและเร็วขึ้นจากการกลิ้ง คืบคลาน เกาะเดิน และเดินได้เอง เมื่อเด็กเดินหรือวิ่งได้แล้วก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการตกบันได หกล้ม ชนกระแทก จึงควรตรวจสอบราวบันไดและระเบียงไม้ให้มีช่องห่างพอที่เด็กจะลอดได้
       
       6. สัตว์เลี้ยงในบ้าน
       
       เด็กวัย 6 เดือนขึ้นไป มักสนใจสัตว์เลี้ยงต่างๆ ในบ้าน อาจถูกเลีย กัด ข่วน จากการจับ ดึง หรือแหย่สัตว์ได้ ไม่ควรปล่อยให้เด็กทารกอยู่ตามลำพังกับสัตว์เลี้ยง สอนเด็กไม่ให้รังแกสัตว์ เช่น ดึงหู ดึงหาง แย่งจานอาหาร ของเล่นสัตว์ และควรฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าให้กับสัตว์เลี้ยง
   
       7. ประตูห้อง
       
       จัดว่าเป็นจุดอันตรายสำหรับเด็กวัยหัดคลาน หัดเดิน อาจถูกประตูหนีบมือได้ จึงควรจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันประตูหนีบมือ
       
       8. ห้องน้ำและภาชนะใส่น้ำ
       
       เด็กที่จมน้ำส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 10 ปี มักเกิดจากการเผลอชั่วขณะ หรือความประมาทของผู้เลี้ยงดู ห้ามให้เด็กนั่งเล่นน้ำตามลำพังในอ่างน้ำ ระดับน้ำสูงเพียง 5 ซม. ก็อาจจมน้ำได้
       
       พ่อแม่จึงควรกำจัดแหล่งน้ำที่ไม่จำเป็นในบ้านและละแวกบ้าน หรือกั้นรั้ว กั้นประตู ไม่ให้เด็กอยู่ใกล้แหล่งน้ำได้ เช่น การเทน้ำในถังทิ้งไป การปิดฝาถังน้ำ การปิดประตูห้องน้ำ ปิดประตูหน้าบ้านหลังบ้านเพื่อไม่ให้เด็กคลานออกไปได้
       
       9. ตู้ชั้นวางของ โต๊ะวางทีวี
       
       เด็กวัย 1 - 2 ปี มีความสามารถในการปีนป่าย ยืนบนเก้าอี้เพื่อหยิบของบนที่สูงได้ และหนึ่งในนั้นอาจเป็นสารพิษ โต๊ะวางสิ่งของเหล่านี้จึงควรวางบนพื้นราบ มั่นคง ไม่ล้มง่าย หรือควรยึดโต๊ะด้วยสายยึดกับกำแพง เฟอร์นิเจอร์ต้องไม่มีมุมคม หากมีควรใส่อุปกรณ์กันกระแทกที่มุมของทุกมุม
       
       10. ประตู รั้วบ้าน
       
       พ่อแม่และทุกคนในบ้านควรตรวจความมั่นคงของประตูให้ดี แล้วไม่ควรให้เด็กๆไปเล่นประตู ไม่ว่าจะเป็นการปีนป่านหรือโยกไปมา เพราะประตูอาจหลุดจากรางมาล้มทับเด็กได้
       
       11. ห้องครัว
       
       อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม พ่อแม่ควรมีประตูกั้นเพื่อมิให้เด็กเข้าไปในบริเวณนั้นได้ และอย่าวางของร้อนบนพื้นและของมีคมในที่เด็กเอื้อมมือถึง
       
       12. ปลั๊กไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้า
       
       พ่อแม่ควรปิดทีี่เสียบปลั๊กไฟที่ไม่ได้ใช้ด้วยพลาสติกสำหรับปิด หรือติดตั้งกล่องครอบปลั๊กไฟ ต่อสายดินกับอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น ตู้กดน้ำดื่ม เครื่องซักผ้า และต่อเครื่องมือตัดไฟฟ้าอัตโนมัติ
       
       สำหรับบ้านที่มีเด็กเล็กทุกบ้าน...ขอให้ทุกคนนึกถึงประโยคที่ว่า “โปรดเก็บไว้ให้พ้นมือเด็ก” อยู่เสมอ มิเช่นนั้นความประมาทอาจจะนำมาซึ่งความสูญเสียที่ไม่สามารถเรียกคืนได้อีกเลย
       
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : เครือข่ายวิจัยสุขภาพ และ thaiparents.com
ที่มา :
โค๊ด:
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9520000117472

ความคิดเห็น