เตรียมตัวเป็นคุณแม่ ... โภชนาการมีความสำคัญอย่างไร

คุณผู้หญิงที่กำลังเตรียมตัวตั้งครรภ์ อาจเริ่มปฏิบัติตัว ต่างจากเดิมบ้าง เช่น พยายามทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด พักผ่อนร่างกายให้มากขึ้น แต่สิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน คือการรับประทานอาหารที่ให้สารอาหารครบถ้วน โดยเฉพาะ ในช่วงเดือนแรกของการตั้งครรภ์ที่เซลล์ตัวอ่อนมี การแตกตัวขยายอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นช่วงที่คุณแม่ ยังไม่ทราบเลยด้วยซ้ำว่าเริ่มตั้งครรภ์แล้ว

         สารอาหารที่มีความสำคัญมากในช่วงเริ่มต้นของการตั้งครรภ์คือ โฟเลต ซึ่งเป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง พบมากในอาหารจำพวกเมล็ดถั่ว ธัญพืช ผัก ผลไม้ น้ำผลไม้ โดยเฉพาะน้ำส้ม และอาหารอื่นๆ ที่เสริมด้วยโฟเลต ล้วนเป็นแหล่งอาหารที่ดีทั้งสิ้น อยากแนะนำให้ผู้หญิงที่กำลังวางแผน ตั้งครรภ์รับประทานอาหารที่มีโฟเลตสูงทุกวัน ถ้าคุณแม่ได้รับโฟเลต ไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ทารกมีความผิดปกติของกระดูกสันหลังที่เรียกว่า spina bifida และโฟเลตนี้มีความสำคัญไปตลอดการตั้งครรภ์ เพราะจะเป็นตัวช่วยสร้างเม็ดเลือดที่คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนต้องการเพิ่มขึ้น คุณแม่ที่แพ้ท้องมากๆ ในช่วงระยะ 3 เดือนแรก อาจพบว่ารับประทาน อาหารไม่ลง

วิธีที่อาจช่วยบรรเทาอาการได้คือ
1) ลุกขึ้นจากเตียงตอนเช้าช้าๆ และรับประทานขนมปังกรอบ หรือขนมปังเล็กน้อยทันที
2) เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มกับมื้ออาหาร ควรดื่มระหว่างมื้อ เลือกเป็น น้ำผลไม้บ้าง เพราะให้สารอาหารที่ดี
3) ควรรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ แต่บ่อยๆ
4) เลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นฉุน

       คุณแม่ตั้งครรภ์ คงทราบดีว่าแคลเซียมมีความสำคัญมาก ความต้องการ แคลเซียมในช่วงตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น เพราะจะต้องนำไปใช้สร้างกระดูกให้ ทารกด้วย ถ้าคุณแม่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ แคลเซียมจะถูกดึงออกมา จากกระดูกแม่ไปใช้กับทารก การสูญเสียแคลเซียมเช่นนี้จะส่งผลให้คุณแม่ มีความเสี่ยงของกระดูกหัก กระดูกพรุนสูง แหล่งอาหารของแคลเซียมมี มากมาย นอกจากนมแล้ว โยเกิร์ต ชีส งาดำ ปลาเล็กปลาน้อย เต้าหู้แพ็ค ในน้ำ นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมก็มีแคลเซียมสูงด้วยเช่นกัน
       สารอาหารที่คุณแม่ควรระวังขณะตั้งครรภ์คือ อาหารดิบต่างๆ จำพวก ปลาดิบ หอยนางรมสด น้ำผลไม้ที่ไม่ผ่านการพาสต์เจอไรสด์ ชีสนิ่มๆ โดยเฉพาะ brie และ camembert อาหารเหล่านี้ไม่ได้ผ่านความร้อน ฆ่าเชื้อโรค ดังนั้นคุณแม่จึงควรงด
สำหรับปลานั้นเป็นอาหารบำรุงสมองที่เรารู้จักกันดีก็จริง แต่มีข้อควรระวัง สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์คือ สารตะกั่วที่อาจตกค้างในปลา โดยเฉพาะปลาทะเล ตัวใหญ่ เช่น ปลาอินทรีย์ ปลาฉลาม จะมีสารตะกั่วมากกว่าปลาตัวเล็ก จำพวกปลาซาบะ ปลาทู ปลาแซลมอน หรือปลาที่เลี้ยงในฟาร์ม สารตะกั่ว อาจมีผลทำให้สมองทารกผิดปกติ มีพัฒนาการช้าลง แนะนำให้คุณแม่เลือก รับประทานปลาเล็กๆ จำกัดปริมาณ ปลาทูน่ากระป๋อง และปลาอื่นๆ ไม่ให้เกินสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
หลังจาก 3 เดือนแรก น้ำหนักคุณแม่ควรเพิ่มขึ้นเดือนละประมาณ 1 กิโลกรัม อาจเพิ่มขึ้นมากกว่านี้สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อย สารอาหาร ทุกชนิดมีความสำคัญในการเจริญเติบโตของทารก ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ โปรตีนอย่างเดียว อาหารประเภทแป้ง เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ ควรเลือก แป้งจำพวกข้าว เส้น ขนมปัง และธัญพืชต่างๆ เลี่ยงน้ำตาลให้มากที่สุด เพราะไม่มีคุณค่าทางอาหารใดๆ ถ้าคุณแม่เลี่ยงอาหารจำพวกแป้ง จะส่งผลให้ร่างกายดึงเอาโปรตีนมาใช้เป็นพลังงานแทนที่จะไปสร้างเนื้อเยื่อ ให้ทารก ลูกอาจออกมาตัวเล็กได้
       เชื่อว่าคุณแม่ที่คิดจะตั้งครรภ์หรือตั้งครรภ์อยู่ ดูแลเอาใจใส่ทั้ง สุขภาพกายและใจของตนเองให้มาก ซึ่งทั้ง 2 สิ่งนี้จะส่งผลต่อการเจริญ เติบโต และพัฒนาการของลูกน้อย อาหารที่มีประโยชน์ให้สารอาหาร ครบเลือกไม่ยาก เพียงใส่ใจดูแลว่า ในจานข้าวมีทั้งแป้ง ผักและเนื้อสัตว์ ดื่มนมและรับประทานผลไม้ร่วมด้วย จำกัดของหวาน เท่านี้ก็จะช่วยให้ ทารกแข็งแรงสมวัย และคุณแม่ยังได้รับประโยชน์ในการควบคุมน้ำหนัก ตัวด้วย
 
บทความจาก โรงพยาบาลเวชธานี http://www.vejthani.com/web-thailand/Health-Magazine/mom-start.php


ความคิดเห็น