การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

ทิปสู่การเป็น "คุณแม่มือใหม่" อย่างมั่นใจไร้กังวล

ทิปสู่การเป็น "คุณแม่มือใหม่" อย่างมั่นใจไร้กังวล

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

   ปฏิเสธไม่ได้ว่า ลูกคือสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ใจจดใจจ่อรอคอยที่จะเห็นหน้าเจ้าตัวเล็กมาตลอด 9 เดือนเต็ม แต่พอถึงวันใกล้คลอด เชื่อว่าหลาย ๆ ท่าน โดยเฉพาะคุณแม่คงจะตื่นเต้น และเกิดอาการหวั่นใจกันไม่น้อย วันนี้เรามีเทคนิคการเตรียมตัวสำหรับคุณแม่มือใหม่มาฝากกันครับ
       
       เตรียมตัว เตรียมใจใกล้คลอด
       
       ยิ่งใกล้วันนัดคลอด ความกังวลสารพัดจะพรั่งพรูออกมาจากคุณแม่ จะทนเจ็บไหวไหม จะคลอดยังไงดี ลูกจะแข็งแรงไหม สิ่งเหล่านี้ทำให้คุณแม่เกิดความเครียด กังวลนอนไม่หลับ มีอะไรเปลี่ยนแปลงนิดหน่อยก็คิดว่าตัวเองจะคลอดแล้วตลอดเวลา นั่นยิ่งทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเกร็งตัว การคลอดจะยากขึ้นไปอีก
       
       ดังนั้น หากอยากคลอดลูกให้ง่ายและปลอดภัย คุณแม่ต้องพยายามทำจิตใจให้แจ่มใส คิดในแง่ดีว่าทุกอย่างต้องผ่านไปอย่างราบรื่น เพราะที่ผ่านมาเราได้ทำทุกอย่างดีที่สุดแล้ว มีการตรวจครรภ์สม่ำเสมอ ปฏิบัติตนตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด คุณแม่ต้องผ่อนคลายเพื่อผลในการคลอดอย่างราบรื่น
       
       เตรียมของไปคลอด
       
       ถ้าเรื่องการคลอดต้องมอบความไว้วางใจให้คุณหมอ แต่เรื่องการเตรียมพร้อมต้อนรับสมาชิกใหม่ เป็นสิ่งที่คุณแม่สามารถเตรียมตัวล่วงหน้าได้เอง เพราะหลังคลอดโดยเฉพาะ 3 เดือนแรก คุณแม่คงต้องสาละวนกับการเลี้ยงเจ้าตัวน้อยที่ตื่นกินนอนไม่เป็นเวลา นอกจากนี้คุณแม่ควรแพ็คของที่จะต้องนำไปโรงพยาบาลในวันคลอดใส่ตะกร้าหรือกระเป๋าเอาไว้ เมื่อเวลานั้นมาถึงจะได้พร้อมเดินทางทันที
       
       ของสำหรับคุณแม่
       
       - เอกสารสำคัญต่าง ๆ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน บัตรผู้ป่วย บัตรฝากครรภ์
       
       - ของใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ แป้ง
       
       - เสื้อผ้า ควรเป็นแบบสวมใส่สบาย เปิดปิดให้นมลูกสะดวก และตรวจท้องง่าย
       
       - ของขวัญสำหรับลูกคนโต เพื่อให้ลูกรู้สึกดีกับการมีน้อง

       ของสำหรับคุณลูก
       
       - ผ้าอ้อม หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ผ้าขนหนูขนาดกลางสำหรับห่อตัวลูก
       
       - ชุดเด็กอ่อน ถุงมือ ถุงเท้า
       
       - ของสำหรับคุณพ่อ
       
       - หมายเลขโทรศัพท์โรงพยาบาล เบอร์คุณหมอประจำตัวคุณแม่
       
       - กล้องถ่ายรูป กล้องวิดีโอ


       Check list เตรียมของใช้ให้เจ้าตัวเล็ก
       
       หลังคลอดเมื่อลูกจะกลับบ้าน คุณแม่เตรียมของใช้จำเป็นสำหรับเขาพร้อมหรือยัง ลองมาเช็คดูกันดีกว่าครับ
       
       1. เตียงนอน 2. ผ้ายาง 3. ผ้าห่ม 4. อ่างอาบน้ำ 5. ปรอทวัดไข้ 6. สำลี คัดตั้นบัด 7. สบู่ แชมพู่ 8. แป้ง 9. ครีมทาผิว 10. เบบี้ออยล์ / วาสลีน 11. ครีมแก้ผื่นผ้าอ้อม 12. เสื้อ/ กางเกง 13. ถุงมือ/ ถุงเท้า 15. ผ้าอ้อม / ผ้าอ้อมสำเร็จรูป 16. รถเข็น 17. คาร์ซีท 18. เป้อุ้มเด็ก 19. เครื่องปั๊มน้ำนม 20. ขวดน้ำ / ขวดนม 21.เครื่องอุ่นนม 22. จุกนมยาง / ซิลิโคน 23.แปรงทำความสะอาดขวดนม 24.น้ำยาล้างขวดนม

   
       วันแรกของคุณแม่มือใหม่
       
       หลังการคลอดผ่านไปเรียบร้อย โมเมนต์แห่งความสุขมากมายชวนจดจำ แต่คุณแม่ต้องเตรียมตัวรับมือกับความตื่นเต้นในสเต็ปต่อไป ในวันที่พาลูกกลับบ้าน และต้องรับบทเลี้ยงลูกโดยไม่มีคุณพยาบาลเป็นผู้ช่วยเหมือนเคย
       
       2-3 สัปดาห์แรกเป็นช่วงเวลาที่สาหัสที่สุดสำหรับพ่อแม่มือใหม่ ทั้ง ๆ ที่ลูกน้อยก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าการดูดนม และนอนหลับ แต่ความยากลำบากนั้นส่วนใหญ่มาจากความกังวลเกินไปของคุณแม่เอง ซึ่งบางอาการของลูกน้อยนั้นเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่มีอันตรายอะไร เราลองมาดูอาการพื้นฐานของเด็ก ๆ กันครับ
       
       อาการจาม
       
       การจามของทารกในวันแรก ๆ ไม่ได้หมายความว่าลูกเป็นหวัดเสมอไป ส่วนใหญ่จะเป็นการขจัดน้ำเมือกในจมูกหรือป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปอดเสียมากกว่า
       
       สะอึก
       
       เมื่อลูกสะอึก จำไว้ว่าไม่จำเป็นต้องให้ลูกดูดนมหรือน้ำเสมอไป ให้ดูที่ความรุนแรงและระยะเวลาก่อน เพราะบางครั้งการสะอึกนั้นคือ กระบังลมของเบบี๋เกิดการหดตัว กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจกำลังแข็งแรงขึ้น
       
       หายใจเสียงฟื้ด ๆ
       
       อาจเป็นเพราะลูกเพิ่งเกิดและกล้ามเนื้อยังไม่แข็งแรง หรือดั้งจมูกยังไม่ยกสูง ซึ่งไม่น่ากังวล ยกเว้นเขาหายใจเข้าออกแรงมากจนหน้าอกกะเพื่อมขึ้นลงทุกครั้ง หรือหายใจมากกว่า 60 ครั้งต่อนาที ซึ่งคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ครับ
       
       สำหรับท่านใครที่กำลังจะได้เป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เราขอแสดงความยินดี และขอให้การคลอดปลอดภัย และชื่นใจกับลูกน้อยที่เฝ้ารอคอยนะครับ

ความคิดเห็น