ลูกไม่พูดสักที!ภาพประกอบจากอินเทอร์เนตตอบคำถามโดย ศ.เกียรติคุณ พญ.ชนิกา ตู้จินดาQ: ลูกชายอายุ 2 ปี 2 เดือน พูดได้เพียงพยางค์เดียว คือ พ่อ แม่ ป้า น้า สอนให้พูดคำในชีวิตประจำวัน เช่น กินข้าว ไปเที่ยว แปรงฟัน อาบน้ำ ลูกไม่ยอมพูดวักที ดิฉันควรทำอย่างไรดีคะ เมื่อไหร่ลูกจะพูดเป็นคำหลายพยางค์และเป็นประโยคได้ กลัวลูกมีปัญหาเวลาเข้าโรงเรียนค่ะA: ปกติเด็กอายุ 1 ปี จะพูดได้เป็นคำๆ บางคนพูดได้ช้าหน่อย แต่ไม่เกิน 2 ปี พออายุ 2-3 ปี เด็กจะพูดได้มากขึ้น เป็นประโยค และมีความหมายด้วยค่ะ เด็กไทยสมัยก่อนพูดได้เร็ว พูดเก่ง คนโบราณเขาว่าให้คนพูดเพราะๆ พูดจาดีมาพูดกับเด็กจะเป็นมงคล เด็กจะพูดได้และพูดดีมีมารยาท เป็นกลอุบายให้พ่อแม่พูดจาด้วยถ้อยคำที่เหมาะสมกับเด็ก เพราะเด็กเรียนรู้จากเรา ผู้ใหญ่ทั้งหลายเอ๋ยจงช่วยกันเป็นตัวอย่างที่ดี มีวาจาเหมาะสม
ปัจจุบันมีการวิจับพบว่าเด็กไทยพูดช้า เด็กอายุ 18 เดือนในกรุงเทพฯ พูดช้ากว่าเกณฑ์ถึงร้อยละ 18
พูดปกติได้ร้อยละ 82 แสดงว่าการพูดไม่ได้เกณฑ์มาตรฐานนี้เกิดเพราะวิถีชีวิตใหม่ ครอบครัวไม่มีเวลาให้แก่กัน ไม่มีเวลาให้กับลูกเพียงพอ หมอคุยกับเพื่อนๆ และน้องๆ ทั้งกุมารแพทย์ และแพทย์หู-คอ-จมูก ที่เกี่ยวกับการพูดช้าของเด็ก
พบว่าปัจจับสำคัญที่ทำให้เด็กพูดช้าคือโทรทัศน์นั่นเองค่ะ สังเกตเวลาดูทีวี ไม่มีโอกาสพูดเลย นั่งซึมกะทือ กระโดดโลดเต้นตามทีวี หรือบางคนก็นั่งตัวเกร็งเพราะมีทั้งตีรันฟันแทง ชกต่อย ด่าทอ รถชนกันเลือดสาด ระเบิด ผีสุดสยอง หรือชุมนุมผีทุกชนิด ฯลฯ เด็กพูดไม่ออก เพราะไม่มีโอกาสพูด และก็เปิดให้เด็กดูกันทั้งวัน บางทีก็ให้ทีวีเป็นพี่เลี้ยงอีกด้วยค่ะเราต้องพิจารณาดูว่า ลูกพูดช้าเพราะอะไร โดยลองคิดตามหัวข้อดังนี้1. เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการจะพูดช้า รวมทั้งพัฒนาการการนั่ง ยืน เดิน ช้าหมด บางรายปัญญาทึบด้วย แต่ลูกคงพูดช้าเท่านั้น ไม่ใช่ปัญหาอื่น
2. เด็กที่ไม่ค่อยมีคนพูดด้วย อยู่กับพี่เลี้ยงที่ไม่พูด หรือชาวต่างชาติ (พม่า, ลาว, กระเหรี่ยง) บางคนก็พูดไม่ชัด หรือยู่กับผู้สูงอายุบางท่านที่ไม่พูดกับเด็ก
3. ขาดการกระตุ้น การพูดก็เหมือนกับพัฒนาการด้านอื่นๆ เช่น กล้ามเนื้อแขนขา ต้องพัฒนาจากการเคลื่อนไหวน้อยๆ ตามวัย จากนอนนิ่งเป็นคว่ำ จากนั่งเป็นคลาน เดินเป็นวิ่ง ล้วนเกิดจากการพัฒนากล้ามเนื้อทั่วตัว การพูดก็เช่นกันแต่ยากกว่า เด็กจะพูดได้ต้องถึงเวลา “พร้อม” คือ ศูนย์การพูดเราเรียกว่า Baca Area หรือโบคาอยู่ในสมอง ใกล้ๆ กับศูนย์ Mirror Neuron หรือเซลล์กระจกที่สะท้อนสิ่งที่เด็กเห็นออกมาเป็นการกระทำง่ายๆ เช่น เราเห็นคนหาวนอน เราจะหาวเลยทั้งๆ ที่ไม่ได้ตั้งใจหรือง่วง แรกเกิดแม่แลบลิ้น ลูกจะแลบลิ้นด้วย ต่อมาเมื่อแม่ยิ้มลูกยิ้ม แม่บึ้งลูกงง แม่พูดลูกฟัง พยายามมองการเคลื่อนไหว ริมฝีปาก ท่าทาง เหมือนคนบอกใบ้ เด็กจะพยายามทำตาม นั่นคือเซลล์ในสมองจะทำงานเหมือนสะท้อนภาพที่เห็นและพยายามเลียนแบบ ถ้าไม่มีใครมาพูดด้วย เด็กไม่รู้จะเรียนหรือเลียนแบบจากที่ไหน
การแก้ไขเด็กพูดช้าควรทำตังแต่ลูกยังอ่อนเดือน ด้วยวิธีการคือ1. พูดคุยกับลูกเสมอๆ กอด จูบ คุยกัน ส่งทั้งภาษาพูดและภาษากาย ตั้งใจฟังเวลาลูกส่งเสียงและส่งเสียงกลับ
2. เล่านิทานให้ลูกฟังได้ตั้งแต่อ่อนเดือน ให้เขามีโอกาสอยู่กับนิทาน พอมือจับได้ให้เข้าจับเอง เรามีหนังสือนิทานเล่มเล็กๆ ปกมนไม่คม สีปลอดภัย อายุ 6-8 เดือนก็จับได้ พอโตหน่อยใกล้ขวบก็ให้เขาโต้ตอบเวลาเราอ่านให้ฟัง เขาจะเริ่มพูดเป็นคำๆ ตามภาพที่ปรากฏ เช่น ถามดอกไม้สีอะไร ลูกจะตอบสีแดง แล้วอะไรอีก เช่นต้นไม้สีเขียว ฯลฯ เขาจะเรียนรู้ธรรมชาติ ทั้งสี ทั้งสัตว์ต่างๆ รวมทั้งพูดได้อย่างรู้ความ โตอีกหน่อยเขาจะเล่านิทานให้เราฟังได้ด้วย
3. ร้องเพลงกับลูก เพราะหรือไม่เพราะไม่มีความหมาย เพราะลูกจะรู้สึกเพราะเสมอ ถ้าพ่อแม่ร้องให้ฟัง การร้องเพลงเป็นการฝึกพูดไปในตัว ได้ความหมาย เรียนรู้โลกกว้าง สนุก และมีสุข
ลองดูนะคะ ลองกับชีวิตประจำวัน เช่น กินข้าวก็นั่งโต๊ะด้วยกัน ชวนคุยหรืออาจใช้กุศโลบายเล่นสมมุติกับตุ๊กตากินข้าว เด็กจะสนุกและพูดได้ ลองดูค่ะ ถ้าไม่ได้ผลจะต้องปรึกษาแพทย์ เพราะจวนเวลาจะต้องไปตรวจสุขภาพรับวัคซีนแล้วค่ะเครดิต : ขอขอบคุณนิตยสารรักลูกค่ะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น