การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

[บทความ] ทำไงดี...เมื่อลูกไม่ยอมคลาน

ทำไงดี...เมื่อลูกไม่ยอมคลาน



ไม่คลาน!

คุณพ่อคุณแม่ทุกคนอยากจะเห็นพัฒนาการทุกด้านของลูกเป็นไปตามวัย โดยเฉพาะวัยขวบปีแรก ที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกเดือน แล้วจะเกิดอะไรขึ้น!!! หากเจ้าตัวน้อยเกิดข้ามพัฒนาการไป โดยเฉพาะเรื่องคลาน เรามีคำตอบให้ค่ะ


เหตุที่ลูกไม่คลาน

การที่เด็กขวบปีแรกไม่คลานมาจาก 3 สาเหตุค่ะ
1. มีพัฒนาการแบบก้าวกระโดด คือเริ่มนั่งได้ แล้วเกาะยืนเพื่อเดินเลย โดยไม่คลาน
2. การเลี้ยงดูของพ่อแม่ พี่เลี้ยง ปู่ย่า ตายาย ที่ไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อส่วนแขน ขา และหลังเท่าที่ควร แต่จะอุ้ม หรือให้นั่งในรถมากเกินไป ไม่ปล่อยให้เด็กได้อยู่ตามธรรมชาติของเขา
3. เกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ คือ กล้ามเนื้อต้นขา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการคลาน แต่กล้ามเนื้อส่วนนี้ไม่แข็งแรงพอ ส่งผลให้เด็กไม่สามารถคลานได้

คุณหมอบอกว่าส่วนใหญ่เกิดจากพัฒนาการแบบก้าวกระโด จึงไม่ถือเป็นความผิดปกติแต่อย่างใด
ที่สำคัญเป้าหมายหลักคือการพัฒนาไปสู่การเดิน ซึ่งคุณพ่อคุณมาจะสังเกตเห็นว่า เมื่อลูกเริ่มนั่งได้ก็จะพยายามเหยียดแขนและลำตัว เอื้อมมือไปจับเก้าอี้ โซผา จับที่นอน หรือจับตัวพ่อแม่ เพื่อจะเกาะยืนและเดินต่อไป

ดังนั้น ถ้าหากกล้ามเนื้อขาของลูกน้อยแข็งแรงลงน้ำหนักที่เท้าได้ดี ก็สามารถพาเขาสู่การตั้งขาและเดินได้เลย โดยข้ามพัฒนาการคลานก็ไม่เป็นไรค่ะ

สำคัญคือการวางน้ำหนักเท้าของลูก
การคลาน ลูกจะต้องใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายประกอบกัน ทั้งคอ ไหล่ กล้ามเนื้อแขน ขา และหลัง โดยใช้มือ 2 ข้าง พร้อมขา 2 ข้าง วางติดพื้น เพื่อรองรับน้ำหนักและรักษาสมดุลของลำตัว ส่วนหน้าอกและท้องก็จะยกขึ้นพ้นพื้น ซึ่งท่าคลานของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันไป

แต่สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญ ก็คือ การลงน้ำหนักที่เท้า เด็กบางคนอาจไม่คลานเพราะเกิดจากความผิดปกติของการวางเท้า 
ซึ่งจะสังเกตได้ง่ายๆ ประมาณช่วงวัย 5-6 เดือน โดยการอุ้มยืนบนพื้น หรือตัวคุณพ่อคุณแม่ แล้วดูว่า
-   ถ้าเท้าลูกแตะพื้นแล้วกระโดดๆ แสดงว่าลูกสามารถลงน้ำหนักที่เท้าได้ดี
-   ถ้าเท้าลูกแตะพื้นแล้วล้มแปะลง หรือบางคนก็ทำตรงข้ามคือ จะเกร็งหรือจิกปลายเท้าตลอด ซึ่งอาจเป็นเพราะกล้ามเนื้อขาของลูกไม่แข็งแรง มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อ หรือพัฒนาการล่าช้าได้
แม้ว่าความผิดปกติเหล่านี้ จะพบเพียงน้อยนิด แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ก็จะบอกได้ว่าลูกไม่คลานเพราะอะไร

ทำอย่างไร...เมื่อลูกไม่คลาน
   สำหรับเจ้าตัวน้อยที่พัฒนาการแบบก้าวหระโด หรือไม่ยอมคลานดังที่ว่ามาข้างต้น คุณหมอบอกว่า ไม่จำเป็นต้องหาวิธีพิเศษมาส่งเสริมกล้ามเนื้อให้ลูกหรอกค่ะ เพราะลูกสามารถใช้กล้ามเนื้อแขน ขา ในการทำอย่างอื่นได้ ทั้งคว้าจับ เอื้อมหยิบหรือใช้กล้ามเนื้อทั้งแขน และขา ในการเกาะยืน หรือเดิน ก็ถือเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ลูกได ้เหมือนกับว่าเรามีท่าออกกำลังกาย เพื่อบริหารแขน และขาไปด้วยกัน ไม่ทำท่านี้ เราก็ยังมีท่าอื่นที่ส่งผลกับกล้ามเนื้อส่วนนั้นได้เหมือนกันไงคะ

Tip : ปล่อยให้ลูกได้ใช้กล้ามเนื้ออย่างอิสระ ดีกว่าการอุ้มไว้บนตักอย่างเดียว แม้ว่าลูกจะไม่คลาน แต่เข้าก็ยังได้ใช้กล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ เพื่อทำกิจกรรมอื่นได้ค่ะ

เครดิต : ขอขอบคุณข้อมูลจากนิตยสารรักลูกค่ะ

ความคิดเห็น