12 เรื่อง แม่ต้องรู้... เมื่อเจ้าหนูถึงวัยเตาะแตะเมื่อเจ้าหนูเข้าสู่วัยเตาะแตะ เริ่มมีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตัวเอง เริ่มเรียนรู้การเข้าสังคมแน่นอนว่าเรื่องวุ่น ๆ ย่อมเกิดขึ้นเป็นเงาตามตัว ส่วนจะมีเรื่องใดที่ลูกคุณจะแสดงพฤติกรรมแบบไหนมากที่สุดกันบ้าง แล้วคุณแม่จะตั้งหลักรับกับสารพัดเรื่อง ของเจ้าหนูวัยเตาะแตะอย่างไร ความรู้ความเข้าใจ พร้อมเคล็ดลับเหล่านี้ช่วยคุณได้ค่ะ
Checklist Top hit on Toddler1. เรื่องลูกอาละวาดจนบ้านแตกลูกวัยนี้ยังควบคุมอารมณ์โกรธเกรี้ยวไม่ได้ เมื่อไม่พอใจรู้สึกว่าตัวเองถูกบังคับให้ทำโน่นทำนี่ เช่น ใส่เสื้อผ้า เข้านอน นั่งกระโถนทั้งที่ไม่อยากทำ ก็มักอารมณ์บูดได้ง่าย หรืออยากได้อะไรแล้วไม่ได้ก็มักอารมณ์เสีย ไม่ได้ดั่งใจ จนต้องอาละวาดออกมาค่ะ
วิธีแก้ไขควบคุมตัวเองให้ได้ก่อน อย่าอาละวาดกลับใส่ลูกทำเป็นไม่สนใจ ใช้ท่าทีที่สงบ อย่าตามใจ ยอมแพ้ให้ในสิ่งที่ลูกต้องการ เมื่อลูกทุบ กัด ตีให้กอดลูกแน่น หรืออุ้มไปไว้ ในมุมเงียบๆ เพื่อให้ลูกอยู่กับตัวเอง ลูกจะค่อยๆ เลิกไปเอง เพราะรู้ว่าอาละวาดไปก็ไม่ได้ผลค่ะ
2. เรื่องลูกช่างปฏิเสธการปฏิเสธไม่ได้หมายถึงลูกดื้อ แต่ถือเป็นพัฒนาการที่ลูกกำลังต้องการเป็นตัวของตัวเ อง เป็นขั้นตอนที่เด็กต้องผ่านการทำในสิ่งตรงกันข้ามกับ คำสั่ง ถือเป็นการแสดงออกซึ่งความเป็นตัวของตัวเอง ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กกล่าวว่าเด็กจะต้องมีการปฏิเสธเ กิดขึ้น ไม่เช่นนั้นก็ถือว่าเด็กคนนั้นยังไม่ก้าวออกจากวัยทา รกไปสู่วัยเตาะแตะค่ะ
วิธีแก้ไขเมื่อลูกคอยปฏิเสธอยู่ร่ำไป ต้องอดทน ทำเป็นไม่ใส่ใจ เบี่ยงเบนความสนใจจากสิ่งที่ลูกปฏิเสธไปสู่สิ่งที่ลู กสนใจ ใช้วิธีชักชวนโน้มน้าวให้ลูกทำหรือทำเป็นแบบอย่างให้ ลูกแทนการถามว่าลูกอยาก จะเอาไหม ใช้คำสั่งให้น้อยที่สุด ยกเว้นเรื่องที่เป็นอันตรายต่อลูกจริงๆ โดยหาสิ่งที่ไม่เป็นอันตรายให้ลูกมาทดแทนด้วยนะคะ
3. เรื่องลูกเป็นเด็กขี้อิจฉาอิจฉา เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งของความต้องการความรัก ไม่ต้องการให้ความรักถูกแบ่งปัน เด็กทุกคนย่อมหวังจะได้รับความรักอย่างมากจากพ่อแม่ค่ะ การถูกแบ่งปันความรัก จึงเป็นเรื่องที่ยอมรับกันไม่ได้ แถมยังทำให้เด็กมีพฤติกรรมถดถอย เช่น งอแงบ่อย ฉี่รดที่นอน ติดแม่มาก แล้วก็เรียกร้องความสนใจมากด้วยค่ะ
วิธีแก้ไขบอกลูกให้รู้ว่าจะมีน้องตัวเล็กมาเป็นเพื่อนเล่น เช่น ให้ลูบท้องแม่ เมื่อน้องเกิดมาให้ลูกรู้ว่าน้องยังเล็กต้องดูแล เพราะน้องช่วยเหลือตัวเองเหมือนลูกไม่ได้ ให้ลูกมีส่วนร่วมในการดูแลน้อง ชี้ให้เห็นข้อดีของการเป็นพี่ที่ทำสิ่งต่างๆ ได้มากกว่าน้อง และชมเมื่อลูกแสดงความช่วยเหลือน้อง ให้ลูกภูมิใจในความเป็นพี่ด้วยค่ะ
4. เรื่องลูกเป็นจอมขี้หวงลูกมักยึดคำว่านี่ของหนู นั่นของหนู โน่นก็ของหนู เห็นอะไรในบ้าน ก็มักถือสิทธิ์เป็นของตัวเอง เพราะลูกชินกับการเป็นผู้รับมาตลอด จึงเป็นเรื่องธรรมชาติที่ลูกจะหวง ไม่ยอมแบ่งของ นักจิตวิทยา ชาวอเมริกันชี้ว่ามีเด็กวัย 3 ปี เพียง 50% เท่านั้นที่รู้จักยอมแบ่งปันของตนเองให้ ซึ่งถ้าบอกให้เด็กแบ่งของก็จะเสียความรู้สึกอยู่ไม่น้อย
วิธีแก้ไขให้ลูกเห็นเป็นแบบอย่างในการให้ ทำด้วยใจจริง ไม่เร่งเร้า แต่คอยจนกว่าลูกพร้อมที่จะให้เอง ระหว่างนี้เล่นเกมแม่ให้หนู หนูให้แม่ เมื่อลูกถือขนมให้ขอจากลูก ถ้าลูกให้ก็ทำท่าดีใจแล้ว ขอบคุณลูก หรือมีสิ่งของติดมือไปฝากพี่น้อง ให้ลูกเป็นผู้นำไปมอบให้ เวลาผ่านขอทานก็หยิบเงินให้ลูกเป็นผู้ให้ ลองดูนะคะ
5. เรื่องลูกเป็นเด็กเหนียมอายอาการนี้มักเกิดจากลูกขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ขาดความไว้วางใจในสังคมค่ะ ช่วงหนึ่งในชีวิตเขายังอาจเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่าไม่มีใครรัก ไม่มีใครยกย่องเขาเลย มักเป็นกับเด็กที่มาจากครอบครัวที่พ่อแม่จ้ำจี้จ้ำไช ให้ลูกทำ คอยตำหนิเมื่อลูกทำไม่ได้ ต้องรีบแก้ไขด่วน เพราะต่อไปอาจทำให้เข้ากลุ่มเพื่อนไม่ได้ด้วยค่ะ
วิธีแก้ไขหลีกเลี่ยงวิธีคิด วิธีปฏิบัติที่ทำให้ลูกขาดความมั่นใจ เช่น อย่าป้อนข้าว อาบน้ำให้ทั้งที่ลูกก็ทำเองได้ อย่าตัดสินใจให้ลูกทุกเรื่อง อย่าคาดหวังว่าลูกจะทำได้ทุกอย่าง ไม่ต่อว่าลูกต่อหน้าคนอื่น เปิดโอกาสให้ลูกเล่นกับคนอื่นด้วยบรรยากาศสบายๆ แล้วอย่าลุ้นให้ลูกเข้าหาคนอื่น เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกตกเป็นเป้าสายตาค่ะ
6. เรื่องลูกชอบฉี่รดที่นอนพฤติกรรมนี้มักเกิดกับลูกวัย 3 ขวบ เริ่มน้อยลงเมื่อ 4 ขวบขึ้นไป เพราะมีกระเพาะปัสสาวะเล็กไม่อาจเก็บฉี่ได้นานตลอดคื น อีกทั้งไม่ยอมตื่นเมื่อมีความรู้สึกปวดฉี่ ตอนกลางวันลูกจะไม่ฉี่รด แต่ตอนกลางคืนจะขับฉี่ออกมาโดยไม่รู้ตัว จากการศึกษาปัญหาฉี่รดที่นอนพบว่า ปัญหานี้จะยุติลงได้ต่อเมื่อมีการฝึกขับ ถ่ายปัสสาวะค่ะ
วิธีแก้ไขให้ลูกเข้าห้องน้ำก่อนเข้านอน ให้ดื่มน้ำน้อยลงก่อนเข้านอนสัก 2 ชม. หากผ้ารองฉี่ปูไว้ที่บริเวณก้นลูกทุกคืน ถ้าวันไหนที่ลูกไม่ฉี่รดที่นอน ควรชมเชยหรือให้รางวัลด้วยการติดสติ๊กเกอร์ที่ลูกชอบ ลงปฏิทินในวันนั้น แล้วที่สำคัญอย่าว่าหรือตำหนิลูก แต่ควรเข้าใจแล้วก็เห็นใจ และให้เวลาลูกแก้ไขปัญหานี้ด้วยตัวเองนะคะ
7. เรื่องลูกไร้ระเบียบวินัยเด็กๆ ไม่ชอบถูกบังคับ แต่มักยอมทำถ้าพ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดี และใช้คำพูดีๆ นักจิตวิทยาเด็กกล่าวว่าถ้าจะสร้างระเบียบวินัยให้ลูก ควรใช้วิธีให้ลูกปรับตัวเองให้เป็นที่ยอมรับ โดยไม่เสียความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง เช่น ลูกคิดว่าคนอื่นไม่ควรมาแย่งของเล่นลูก ลูกก็ต้องไม่แย่งของใคร นอกจากเป็นการยินยอมและแบ่งปันกันค่ะ
วิธีส่งเสริมตั้งกฎในบ้านที่ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้สำหรับลูก ไม่มากจนเกินไป โน้มน้าวให้ลูกเข้าใจว่ากฎที่ตั้งขึ้นก็เพื่อให้ลูกเ รียนรู้สิ่งที่ควรทำ และการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ ให้ความรักและยอมรับลูก เพื่อให้ลูกมีความรู้สึกมั่นคงในจิตใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ลูกเข้าถึงวินัย หรือมีความรู้สึกรับผิดชอบได้ดีค่ะ
8. เรื่องลูกช่างจินตนาการอย่ามองว่าความคิดเพ้อฝันเป็นเรื่องลมๆ แล้งๆ ไร้สาระนะคะ ความคิดฝันและจินตนาการของลูกถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ ทำให้สติปัญญาเพิ่มพูน ขึ้นมาอย่างไม่น่าเชื่อ ข้อมูลทุกอย่างที่ลูกได้พบได้เห็นได้ยินได้ฟังล้วนสั ่งสมให้เกิดเป็น จินตนาการในสมองน้อย ๆ ช่วงวัยนี้จึงถือว่าเป็นช่วงหนึ่งของพัฒนาการความคิด ที่กำลังก่อรูปขึ้นมา ค่ะ
วิธีส่งเสริมเปิดโอกาสให้ลูกสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวให้มากที่สุด เพราะเป็นหนทางที่ช่วยทำให้ลูกเกิดจินตนาการ ชวนลูกฟังและจำแนกทุกเสีย เช่น เสียงรถ น้ำไหล นกร้อง คนผิวปาก ใบไม้ไหว กบร้อง หาของเล่นเสริมความคิดและจินตนาการ เช่น ไม้บล็อก แป้งโดว์ หากระดาษ ดินสอสี ให้ลูกได้เล่นได้ละเลงสีตามความพอใจ
9. เรื่องลูกสนใจเพศที่แตกต่างเรื่องเพศเป็นเรื่องธรรมดาที่ลูกให้ความสนใจอยู่แล้ว โดยธรรมชาติ ลูกจะสนใจร่างกายของตนเอง ชอบสำรวจร่างกายตนเอง แล้วก็ชอบเปรียบเทียบกับพ่อแม่ จึงสามารถแยกความแตกต่างระหว่างเพศ รู้ว่าใครเป็นเพศหญิง ใครเป็นเพศชาย ส่วนจะแสดงบทบาททางเพศอย่างเหมาะสมหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของพ่อแม่แล้วค่ะ
วิธีส่งเสริมการปฏิบัติต่อลูกสาวและลูกชายที่ต่างกัน จะทำให้ลูกรู้บทบาททางเพศเพิ่มขึ้นได้ เช่น แม่ซื้อตุ๊กตาให้ลูกสาว หรือแต่งตัวให้ลูกสาวอย่างพิถีพิถัน พ่อจะเล่นกับลูกสาวอย่างนิ่มนวลกว่าลูกชาย แม่จะปล่อยให้ลูกชายเล่นโลดโผน ปีนป่าย เล่นเครื่องมือช่าง แต่ส่งเสริมให้ลูกสาวนั่งเล่นหม้อข้าวหม้อแกง ร้อยกระดุม เป็นต้น
10. เรื่องลูกกับสัตว์เลี้ยงเพื่อนซี้อาจเป็นเพราะสัตว์ต่างๆ เคลื่อนไหวได้เหมือนคน เมื่อเห็นเจ้าตูบ แมว หรืออื่นๆ ผ่านสายตาเมื่อใด เด็ก ๆ จึงมักตาโต ตื่นเต้นกระตือรือร้นสนใจเข้าไปหาเสมอ แล้วถ้าไม่ถูกเจ้าตูบข่มขู่ เจ้าเหมียวข่วนให้เกิดความกลัวซะก่อน ลูกก็อยากเล่นด้วย จึงไม่น่าแปลกที่เรามักเห็นลูกสุนัขเติบโตมาพร้อมกับลูก แล้วเป็นเพื่อนเล่นที่ดีของลูกได้
วิธีส่งเสริมคอยระวังความปลอดภัยให้ดี อย่าให้ลูกเล่นกับสัตว์ต่าง ๆ ที่วางใจไม่ได้ ให้ลูกอยู่ห่างไว้ดีกว่า ถ้าลูกรบเร้าอยากจะเล่นจริง ๆ ควรหาลูกสุนัขตัวเล็ก ๆ ให้ลูกเล่น แต่ก็ควรสอนให้ลูกปฏิบัติต่อสัตว์ให้ดีด้วย ไม่ให้ลูกดึงหางแมว เจ้าตูบ หรือทำให้เจ็บ สอนให้ลูกเมตตาสัตว์ ให้ลูกให้อาหารสัตว์ ลูกจะได้รู้จักรับผิดชอบด้วยค่ะ
11. เรื่องการขับถ่ายของลูกวัยนี้ลูกควบคุมการขับถ่ายได้ค่อนข้างดีค่ะ อึเป็นเวลา มักบอกหรือแสดงอาการบอกให้รู้ว่าต้องการจะอึได้ แต่ถึงอย่างนั้นนักจิตวิทยาและกุมารแพทย์ก็ให้คำแนะนำว่า พ่อแม่ไม่ควรคาดหวัง จริงจังกับการฝึกควบคุมการขับถ่ายของลูกจนกว่าจะอายุ ครบ 2 ขวบ การเร่ง บังคับ ถ้าลูกยังไม่พร้อม มีแต่จะยิ่งทำให้ลูกต่อต้านมากขึ้นค่ะ
วิธีส่งเสริมไม่บังคับให้ลูกนั่งกระโถนถ้ายังไม่พร้อม แต่ควรพูดโน้มน้าวให้ลูกฝึกการขับถ่ายด้วยท่าทีที่นิ่มนวล คอยเป็นกำลังใจให้ลูก ชมลูกเมื่อลูกสามารถบอกปวดอึ ปวดฉี่ได้ แล้วสามารถไปอึหรือฉี่ได้ทัน พยายามให้ลูกช่วยเหลือตัวเองในการขับถ่าย เช่น ใช้ห้องแล้วกดชักโครก หรือตักราดได้เอง ถอดเสื้อกางเกงได้เอง
12. เรื่องลูกห่วงเล่นเป็นที่สุดเรื่องเล่นเป็นชีวิตจิตใจของเด็กทุกคนค่ะ ลูกจึงสนใจการเล่นเช่นเดียวกับเด็กอื่น วัยนี้ชอบเล่นบทบาทสมมติเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนิน ชีวิตประจำวัน เช่น กิน นอน ลูกจะยึดตัวเองเองเป็นศูนย์กลาง แล้วพอใจของเล่นเป็นชุด เช่น เครื่องครัว เครื่องมือช่าง เครื่องมือหมอ เพื่อลูกจะได้ฝึกคิด ฝึกเล่น ฝึกปฏิบัติควบคุมสิ่งต่างๆ ค่ะ
วิธีส่งเสริมหาของเล่นที่เป็นชุดให้ลูก เพื่อให้ลูกได้มีโอกาสเลือกในสิ่งที่ลูกคิดว่าลูกทำไ ด้แล้วเมื่อได้เล่นต่อ จนสำเร็จลูกก็จะเกิดความภูมิใจ นอกจากนี้ควรจัดมุมเล่นให้ลูกโดยเฉพาะ เพื่อให้ลูกได้รู้สึกกว่าอยู่ในโลกของเขา ไม่มีผู้ใหญ่เข้าไปวุ่นวายหรือช่วยเหลือลูก พ่อแม่มีบทบาทเพียงจัดให้ลูกเล่นในที่ปลอดภัยก็พอแล้ว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก mother&care ค่ะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น