การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

วิธีเก็บรักษานมแม่

 วิธีเก็บรักษานมแม่




เก็บน้ำนมในภาชนะสำหรับใส่อาหารแบบไหนก็ได้  หรือจะใช้ ถุงเก็บน้ำนมแม่ ก็ได้ เขียนวันเวลาที่ได้ปั๊มนมไว้บนภาชนะ  ควรแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับมื้อหนึ่งที่ลูกกิน

สถานที่เก็บ                                 อุณหภูมิ      ระยะเวลาเก็บ
ตั้งทิ้งไว้                                      25 ๐C         4-6 ช.ม.
ตั้งทิ้งไว้                                      19-22 ๐C    10 ช.ม.
กระติกใส่น้ำแข็ง                           15 ๐C         24 ช.ม.
ตู้เย็นช่องธรรมดา                          0-4 ๐C        8 วัน
ช่องแช่แข็งตู้เย็นประตูเดียว                               2 สัปดาห์
ช่องแช่แข็งตู้เย็น 2 ประตู                                 4-6 เดือน
ช่องแช่แข็งเย็นจัด ตู้เย็นชนิดพิเศษ    -19 ๐C      6 เดือน หรือมากกว่า

 

  ปริมาณนมที่เหมาะสมสำหรับทารกโดยประมาณ
 
อายุ                        ปริมาณต่อมื้อ (โดยเฉลี่ย)
แรกเกิด - 2 เดือน      2-5 oz.
2 - 4 เดือน               4-6 oz.
4 - 6 เดือน               5-7 oz.

 

    *      เมื่อต้องการนำนมที่แช่แข็งไว้มาใช้  ให้ละลาย นมแม่ ที่แช่แข็งด้วยการนำมาแช่ในตู้เย็นปกติก่อนล่วงหน้า 1 คืน (12 ช.ม.) ถ้าลูกชอบแบบเย็นๆ ก็เขย่าๆ ให้ไขมันที่แยกชั้นละลายเข้ากันแล้วป้อนได้เลย  แต่ถ้าลูกไม่ชอบก็นำมาแช่ในน้ำอุ่นก่อนป้อน ห้ามใช้น้ำร้อนจัดหรือไมโครเวฟ เพราะจะทำลายเซลล์มีชีวิตที่อยู่ใน นมแม่
    *      ไม่ควรปล่อยให้นมแช่แข็งละลายเองที่อุณหภูมิห้อง ถ้าลืมและต้องการให้ละลายเร็ว ให้แช่ในน้ำธรรมดาให้เป็นอุณหภูมิปกติ แล้วเปลี่ยนเป็นแช่น้ำอุ่น
    *      นมที่เก็บในถุงเก็บนมแม่จะละลายเร็วกว่าเก็บในขวดหรือภาชนะอื่นๆ
    *      น้ำนมที่ละลายแล้ว สามารถเก็บในตู้เย็นได้ 24 ช.ม. น้ำนมที่เหลือจากการป้อนนมในขวดหรือถ้วย สามารถเก็บได้ถึงมื้อต่อไปเท่านั้น
    *      ไม่ควรนำนมแช่แข็งที่ละลายแล้ว กลับไปแช่แข็งใหม่
    *      สามารถผสมน้ำนมแม่ที่บีบหรือปั๊มออกมาใหม่ใส่รวมกับน้ำนมแม่ที่แช่เย็นไว้ก่อนแล้วได้ภายใน 24 ช.ม.หลังจากการเก็บครั้งแรก
    *      ถ้าต้องการใช้นมภายใน 8 วันหลังจากปั๊ม ไม่ต้องแช่แข็ง ให้แช่ตู้เย็นช่องปกติ  ถ้าต้องการแช่แข็ง ให้แช่แข็งภายใน 24-48 ช.ม. หลังจากปั๊มออกมา (ยิ่งแช่แข็งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น)
    *      น้ำนมแช่แข็งที่ละลายแล้ว  อาจมีกลิ่นหืน แต่ไม่เสีย (นอกจากมีกลิ่นรุนแรงมากและมีรสเปรี้ยว จึงจะเสีย)

หมายเหตุ : คำแนะนำในการเก็บรักษาน้ำนมแม่ข้างต้น เป็นคำแนะนำทั่วๆ ไป ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติได้  สิ่งใดก็ตามที่แตกต่างไปจากคำแนะนำดังกล่าว ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละครอบครัว  ถ้ากังวลมากก็ไม่ควรทำ  แต่ถ้าคิดว่าน่าจะได้ ก็ทดลองทำดูได้  อาจจะใช้ได้หรือใช้ไม่ได้  ก็จำไว้เป็นประสบการณ์ของตนเองค่ะ ถ้าอยากทราบว่านมเสียหรือไม่ วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ชิมค่ะ

เครดิต : http://www.breastfeedingthai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=406353

ความคิดเห็น