ลูกดูดนิ้ว ทำยังงัยดี วันนี้มีคำตอบดีๆ มาให้ค่ะ จากบทความ "นิ้วน้อยอร่อยนัก"

ลูกดูดนิ้ว ทำยังงัยดี วันนี้มีคำตอบดีๆ มาให้ค่ะ จากบทความ "นิ้วน้อยอร่อยนัก"



นิ้วน้อยอร่อยนัก

ดูดทำไมนะ ?
อร่อยตรงไหนอ่ะ ?
นิ้วจะลีบเล็กหรือเปล่า  ?
ดูดนานเกินไปแล้วมั้ง ? ...


แม้จะรู้ว่าการ “ดูดนิ้ว” จะเป็นพฤติกรรมธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน แต่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ก็ไม่อาจวางใจ และรู้สึกกังวล เพราะกลัวว่าลูกจะติดดูดนิ้วไปจนโต

ลูกดูดนิ้วทำไงดี
สารพัดคำถาม 108 ที่ทำให้คุณแม่อยากรู้ว่า ทำไมลูกถึงติด ติ๊ด ติด ดูดนิ้วนัก(นะ) คำตอบก็คือ ปกติแล้วพฤตจิกรรมนี้เกิดขึ้นได้ตั้งแต่แรกเกิดไปจนกระทั่งถึง 2 ปีนู่น เพราะเด็กช่วงวัยนี้ยังเรียนรู้อะไรๆ ด้วยปาก ดูดแล้วมีความสุข ดูดแล้วเพลิน เพราะการดูดนิ้วเป็นวิธีระบายความเครียด ความวิตกกังวลอย่างหนึ่งของลูกด้วย โดยเฉพาะใยยามที่ต้องพลัดพรากจากแม่ อยู่ในสถานการณ์ตื่นเต้น หรือรู้สึกเหงาอย่างไงล่ะคะ

นิ้วที่ลูกดูดมักเป็นนิ้วหวัวแม่มือมมากที่สุดค่ะ ในช่วง 3 เดือนแรก จะดูดจนเรียกว่าติดหนึบเลยก็ได้ แต่หลังจากนั้นจะต่อยๆ ลดความติดลง และเลิกดูดนิ้วได้เองหลังอายุ 2 ปีอย่างที่บอก ดังนั้นคุณแม่จึงไม่ควรกังวลมากเกินไป หากลูกจะดูดนิ้วบ้างเป็นบางครั้งบางคราว เว้นเสียแต่ว่าลูกจะดูดนิ้วอยู๋ตลอดเวลา จนมีปัญหาสุขภาพ เช่น นิ้วเปื่อย และเป็นแผลเพราะนิ้วของลูกเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา ฟันหน้าและขากรรไกรยื่น เพราะนิ้วที่ดันฟันออกตลอดเวลา  รวมถึงถ้าไม่ดูแลเรื่องความสะอาดดีๆ นิ้วน้อยก็สามารถนำพาเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกายของลูกได้ เป็นต้น

ยุทธวิธีปราบจอมดูดนิ้ว
คุณพ่อคุณแม่หลายคนพยายามสรรหาสารพัดวิธี เพื่อจะทำให้เจ้าตัวเล็กเลิกแยแสกับนิ้วน้อย เช่นเอาบอระเพ็ด หรือยาขมทาที่นิ้วของลูก แต่เรื่องอย่างนี้ต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ควรทำให้ลูกเจ็บช้ำน้ำใจ เพราะอาจกลายเป็นปัญหา หรือขัดขวางพัฒนาการบางอย่างของลูกไปอย่างไม่รู้ตัว

ตอบสนองให้ตรงจุด
“ถ้ารู้ว่าลูกดูดนิ้วเพราะหิว ก็ควรหานมหรืออาหารให้กิน หรือลูกดูดนิ้วเพราะคันเหลือกฟันกำลังจะขึ้น คุณแม่อาจหา Finger Food เช่นขนมปังแท่งอบกรอบ หรือผักต่างๆ อย่างถั่วฝักยาว แครอต ฯลฯ หั่นเป็นแท่งๆ พอเหมาะ แช่เย็นให้ลูกถือกัดแทน”

พ่อแม่ต้องวางเฉย
“สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กติดดูดนิ้วจนโต มักเกิดจากการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมของผู้เลี้ยงดู เช่น พ่อแม่ที่กังวลมากเกินไปก็จะคอยสนใจอยู่แต่กับการดูดนิ้วของลูก และคอยตีทำโทษทุกครั้งที่ลูกเอามือเข้าปาก ซึ่งการทำแบบนี้นอกจากจะไม่ช่วยให้ลูกเลิกดูดนิ้วแล้ว ยังเท่ากับกระตุ้นให้ลูกดูดนิ้วมากขึ้นอีก
คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าใจว่าการดูดนิ้วไม่ใช่เรื่อยงอันตราย หรือผิดปกติร้ายแรงแต่อย่างใด เป็นเพียงแต่พฤติกรรม ซึ่งต้องใช้เวลาในการเลิก และสิ่งที่คุณทำได้คือ ปรับลดความกังวล เลิกสนใจกับการดูดนิ้วของลูก แต่พยายามสนใจตัวลูกให้มากขึ้น”

กอด
“ยามที่ลูกใช้การดูดนิ้วเพื่อเป็นเครื่องปลอบใจ เวลาที่รู้สึกเหงา หรือทำตัวไม่ถูกเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ตื่นเต้น การที่คุณแม่โอบกอดลูกไว้ จะช่วยเพิ่มความมั่นใจทางด้านอารมณ์และจิตใจ”

พาลูกเข้านอน
“เด็กบางคนติดดูดนิ้วก่อนนอน เพราะพยายามกล่อมตัวเองให้หลับ คุณแม่จึงควรช่วยกล่อมโดยวิธีอื่นแทน เช่น ร้องเพลงกล่อม ลูบหลัง ตบก้นเบาๆ หาสิ่งของเช่น ตุ๊กตา หรือของเล่นที่ลูกชอบให้กอดแทน เพื่อให้ลูกหลับได้ง่ายขึ้น”

เบี่ยงเบนความสนใจ
“เมื่อลูกเอามือเข้าปาก ให้คุณแม่ค่อยๆ จับมือลูกออกเบาๆ ไม่ต้องว่า ดุ หรือตี แต่ให้เบี่ยงเบนความสนใจ โดยพยายามหาของให้ถือ จับมือชี้ชวนกันดูนู่นนี่ หรือสอนปรบมือบ้าง เพื่อให้ลูกมือไม่ว่าง
อย่าลืมว่า การดึงลูกออกจากความเคยชิน ต้องใช้เวลาและความเข้าใจของคุณพ่อคุณแม่อย่างมาก เพื่อจะได้แก้ปัญหาถูกจุด และไม่ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ตามมาอีกนั่นเองค่ะ”

จุกนมหลอกช่วยได้ไหม
หัวนมหลอกเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับการแก้ปัญหาลูกติดดูดนิ้วได้เหมือนกัน ถ้าแก้ไขด้วยวิธีการหาของเล่นมาดึงดูดความสนใจไม่ได้ผล แต่ก็จะต้องคอยระวังเรื่องความปลอดภัย อย่าให้สายคล้องจุกนมหลอกไปรัดคอลูก หรือเรื่องความสะอาดจองจุกหลอกด้วยนะคะ เพราะไม่เช่นนั้น จุกหลอกเหล่านี้ อาจจะเป็นสิ่งนำพาเชื้อโรคหรืออันตรายเช้าใกล้ลูกได้ค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก MODERNMOM ค่ะ

ความคิดเห็น