บทสัมภาษณ์ : ผศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ เรื่อง “การดูแลดวงตาของลูก”
รายการ “พ่อแม่มือใหม่ หัวใจเกินร้อย” FM 105
ถอดคำสัมภาษณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้ดำเนินรายการ คุณสรวงมณฑ์ สิทธิสมาน
ผู้ถอดคำสัมภาษณ์ : คุณ เอ อรทัย orathaia.multiply.com
วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553 เรื่องเกี่ยวกับ “การดูแลดวงตาของลูก”คุณสรวงมณฑ์ : สวัสดีค่ะคุณหมอคะผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : ครับ สวัสดีครับ(พูดคุยเรื่องการเดินทางเพราะคุณหมอให้สัมภาษณ์ขณะกำลังเดินทางอยู่)คุณสรวงมณฑ์ : คุณหมอคะเรื่องดวงตาสำหรับเด็กนะคะ มันมีอะไรบ้างที่คนเป็นพ่อแม่เนี่ยจะต้องรับรู้เอาไว้นะคะ?ผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : ถ้าเราเริ่มกันตั้งแต่ลูกตัวเล็กๆ เนี่ยนะครับ ปัญหาตั้งแต่ลูกเล็กเลยจนโต หรือแม้แต่ผู้ใหญ่ก็เป็น แต่ว่าเราอาจจะเจอในเด็กบ่อยกว่าก็คือเรื่องตาแดง เป็นเรื่องที่เราเจอบ่อยมากๆ เลยนะครับ คำว่าตาแดงก็หมายถึงมีการติดเชื้อที่เยื่อบุตาซึ่งในเด็กเล็กๆ ยิ่งภูมิต้านทานเค้ายังไม่ดี เพราะฉะนั้นเค้าก็เหมือนกับมีปัญหาเรื่องการติดเชื้อง่าย เวลาที่คุณพ่อคุณแม่หรือตัวเค้าเองมือไม่สะอาดแล้วก็ไปจับดวงตา เพราะฉะนั้นเรื่องแรกก็คือถ้าสมมติว่าเป็นเรื่องของตาแดง เราก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยง ที่จะเอามือที่ไม่สะอาด หรือของที่ไม่สะอาดไปโดนตาลูก เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ก็คงพยายามที่จะระมัดระวังอยู่แล้วคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : ประเภทที่ 2 นะครับเป็นการติดเชื้ออีกอย่างนึงที่เราเจอในเด็กเล็กๆ ได้บ่อยๆ ก็คือว่าในเด็กแรกเกิดที่เกิดใหม่ๆ บางครั้งอาจจะยังมีท่อน้ำตาที่มันตัน ไม่ทราบคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นผู้ฟังมีประสบการณ์รึเปล่า ลูกอาจจะมีน้ำตาหรือขี้ตา เป็นๆ หายๆ อยู่ข้างเดียวหรือ 2 ข้างก็ได้คุณสรวงมณฑ์ : อันนี้ประสบการณ์ตรงดิฉันเลยล่ะค่ะผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : ใช่มั๊ยครับคุณสรวงมณฑ์ : ใช่ค่ะผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : อันนี้ก็จะทำให้มีการติดเชื้อที่ตาได้ เพราะว่าน้ำตามันไม่สามารถระบายได้นะครับ อันนี้วิธีการสังเกตก็คือว่า ถ้าลูกเรามีน้ำตาคลอเอ่อหรือเป็นขี้ตาอยู่บ่อยๆคุณสรวงมณฑ์ : ขี้ตาเยอะๆ เลยผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : ใช่ครับ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็ลองไปปรึกษาคุณหมอตาดูสักนิดนึง คุณหมอจะได้ให้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง แล้วเค้าก็จะแนะนำวิธีการดูแลรักษามาให้ หลักการก็คือว่า เค้าก็จะมีการสอนวิธีนวดหัวตาให้ลูก เพื่อให้ท่อน้ำตาเปิดการติดเชื้ออันที่ 3 ที่เราจะเจอในเด็กที่โตขึ้นหน่อยนะครับ หรือผู้ใหญ่บางคนก็ยังเป็นอยู่ก็คือการติดเชื้อที่เปลือกตา ที่เราเรียกกันว่า “ตากุ้งยิง”คุณสรวงมณฑ์ : ไม่ใช่ไปแอบดูใครโป๊ผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : ใช่แล้วสมัยก่อนบอกว่าไปแอบดูใครมารึเปล่า แต่จริงๆ แล้วตากุ้งยิงก็คือเป็นต่อมไขมันบริเวณรอบเปลือกตา มีการติดเชื้อนะครับ ถ้าเป็นวัยรุ่นไปเป็นที่ต่อมไขมันบริเวณแก้มบริเวณอะไร เราก็จะเรียกว่าเป็นสิว แต่ว่าต่อมไขมันบริเวณเปลือกตา จะมีขนาดใหญ่กว่าบริเวณแก้มบริเวณอะไร เพราะฉะนั้นตากุ้งยิงเลยอาจจะมีขนาดใหญ่กว่าเม็ดสิว ซึ่งจริงๆ แล้วอาจจะเกี่ยวข้องนะครับ เพราะว่าสาเหตุของการเกิดตากุ้งยิงก็คือว่า เมื่อไหร่ที่มีฝุ่นหรือมีเชื้อโรคเข้าไปที่ตา แล้วก็เราหรือเด็กเอามือไปขยี้ตา มันก็จะทำให้ต่อมไขมันเนี่ยอักเสบ เพราะว่าอย่างที่คุณแซวว่าอย่างสมัยก่อนที่บอกว่าไปแอบดูใครมา เจอฝุ่นแล้วดูไม่ชัดก็อาจจะเอามือขยี้ตา ก็อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นมา แต่ว่าเดี๋ยวนี้คงไม่ใช่นะครับ เพราะว่าดูสื่อพวกนี้มีเยอะเราก็เลยคิดว่ามันคงไม่เกี่ยวกันนะครับคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ ไม่งั้นก็คงเป็นกันทั้งประเทศนะคะ เพราะว่าแอบดูคลิปกันมันเลยผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : ใช่ครับ เพราะงั้นตรงส่วนของตากุ้งยิงเนี่ย วิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือว่าเราต้องแนะนำลูกเรานะครับ ว่าอย่าไปเล่นในบริเวณที่มีฝุ่นเยอะนะครับ แล้วก็พยายามปลูกฝังสุขลักษณะที่ดีก็คือว่าอย่าเอามือไปขยี้ตา เพราะการเอามือไปขยี้ตานี่ มือที่ไม่สะอาดจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย และก็ที่สำคัญที่สุดก็คือ ดวงตานี่เป็นอวัยวะที่บอบบางมาก เพราะฉะนั้นการที่ถูกขยี้แรงๆ อาจจะทำให้เกิดข้อเสียกับดวงตาเราได้คุณสรวงมณฑ์ : ทีนี้คำถามที่ตามมากับคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่นะคะ โดยเฉพาะเรื่องของตาแดงกับตากุ้งยิงเนี่ย สมมติว่าลูกเป็นแล้ว พอเป็นแล้วจะจัดการยังไงคะ?ผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : ถ้าสำหรับเรื่องตาแดงนะครับ คุณพ่อคุณแม่สังเกตง่ายๆ จริงๆ ตาแดงเนี่ยมีสาเหตุใหญ่ๆ อยู่ 2-3 อย่างนะครับที่เราเจอบ่อยๆ 1. เกิดจากการติดเชื้อไวรัส 2. เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียลักษณะของตาแดงที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสจะเป็นลักษณะตาแดงๆ แล้วก็มีน้ำตาออกเยอะๆ ก็คือเป็นเหมือนน้ำใสๆ เป็นขี้ตาแต่ว่าไม่เป็นสีเขียวหรือสีเหลือง แต่จะมีลักษณะเป็นน้ำใสๆ พวกนี้เนี่ยจะระบาดกันอย่างรวดเร็วมาก คงเคยได้ยินว่าตาแดงหมดทั้งบ้านหรือว่าทั้งโรงเรียนเลย เพราะในเด็กโรคตาแดงที่เกิดจากเชื้อไวรัสเนี่ย จะติดต่อกันง่ายมากก็คือ แค่เค้าเอามือของเค้าไปจับโดนน้ำตาเค้าที่มันมีเชื้อโรคอยู่ แล้วคือเค้าไปป้ายโดนโต๊ะหรืออะไร แล้วก็มีคนมาจับต่อ แล้วก็ไปจับตา แล้วพอเค้าไปจับตาตัวเค้าเองมันก็จะเกิดการระบาดของโรค เพราะฉะนั้นเนี่ยสำคัญสุดเลยอันแรกก็คือเมื่อไหร่ที่ลูกเป็นตาแดง ระวังอย่าให้เกิดการแพร่เชื้อนะครับ รวมทั้งจากตาซ้ายของลูกไปตาขวา แล้วก็จากตาลูกไปที่ตาพี่น้องกัน หรือคุณพ่อคุณแม่เอง เพราะสุดท้ายก็จะวนติดกันหมดทั้งครอบครัวคุณสรวงมณฑ์ : ความเข้าใจที่บอกว่าตาแดงแล้วไปมองกันแล้วมันจะติดเนี่ย เป็นความเข้าใจที่ผิด มันต้องมาจากการสัมผัสเท่านั้นถูกต้องใช่มั๊ยคะ?ผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : ใช่ครับ เพียงแต่ว่าอาจจะเกิดจากการสัมผัสโดยอ้อม หมายความว่าอย่างที่บอกถ้าเป็นคนตาแดง สังเกตมั๊ยครับเค้าจะชอบเอามือไปจับตาเค้านะครับ พอเค้าไปจับตาเสร็จ เค้าไปเผลอจับอะไร แล้วมีคนไปจับโดนแล้วมาโดนตาเค้าก็เป็นแล้ว เพราะฉะนั้นเนี่ยมันเลยเหมือนกับว่าแค่มองตากันแป๊บเดียวก็ติด แต่จริงๆ ไม่ใช่ มันมีพาหะของการนำเชื้อโรคมาที่ตาของคนอื่น เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่ต้องระวังเลยสำหรับลูกที่เป็นตาแดงก็คือ ระวังการแพร่เชื้อในบ้านและก็โรงเรียน ก็คงต้องแนะนำว่าถ้าเป็นตาแดงก็คงต้องให้หยุดเรียน ไม่งั้นก็จะไปติดเพื่อนในห้องและติดเพื่อนไปถึงติดทั้งโรงเรียนเลยคุณสรวงมณฑ์ : ส่วนใหญ่เป็นตาแดงนี่เป็นสักกี่วันคะคุณหมอ คือถ้าเป็นเด็กเล็กนี่อาการโดยส่วนใหญ่จะเป็นกี่วันคะ?ผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : โดยทั่วไปก็ขึ้นกับว่าไปได้รับยารักษาหรือไม่ ธรรมดาสำหรับเด็กที่ติดเชื้อไวรัสแล้ว เป็นตาแดงอย่างที่เรียนให้ทราบแล้วเนี่ย ภายในเวลาไม่เกินวันนึง ขี้ตาที่บอกว่าเป็นใสๆ มักจะเปลี่ยนเป็นสีขาว สีเขียว หรือสีเหลือง เพราะว่ามันมีการติดเชื้อแบคทีเรียทับเข้าไป จากการที่ผู้ป่วยเนี่ยชอบเอามือที่ไม่สะอาดไปจับตาตัวเอง พอถึงขั้นนี้แล้วถ้าเกิดว่าได้รับการรักษาโดยไปพบคุณหมอ แล้วคุณหมอให้ยาฆ่าเชื้อมาหยอดตา ภายใน 1-2 วันขี้ตาก็จะลดลงและอาการตาแดงก็จะดีขึ้น แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาเลยก็อาจจะเป็นหลายวัน อาจจะเป็นสัก 3-4 วัน กว่าจะหายก็ใช้เวลาเป็นอาทิตย์ เพราะฉะนั้นถ้าลูกเป็นตาแดง สิ่งแรกเลยก็คือระวังอย่าให้มีการแพร่กระจายเชื้อ อันที่ 2 ก็คือ เพื่อความปลอดภัยคุณสรวงมณฑ์ : ไปพบคุณหมอผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : ไปพบคุณหมอซะ คุณหมอก็จะได้ให้ยามาให้การรักษา อาการของโรคก็จะได้ไม่มีอะไรแทรกซ้อนและก็หายเร็วขึ้น ไม่ได้แพร่กระจายเชื้อต่อไปคุณสรวงมณฑ์ : ไม่ควรไปซื้อยามาหยอดเองใช่มั๊ยคะ?ผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : ใช่ครับโดยทั่วไปไม่แนะนำให้ไปซื้อยามาหยอดเอง เพราะว่ายาที่ร้านขายยามีหลายชนิดนะครับ ยาบางชนิดก็สามารถใช้ได้ บางชนิดก็ใช้แล้วอาจจะเกิดอันตรายมากกว่าเกิดประโยชน์ก็ได้คุณสรวงมณฑ์ : มาถึงตากุ้งยิงบ้างค่ะคุณหมอ?ผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : ตากุ้งยิงนะครับ การวินิจฉัยเบื้องต้นโดยคุณพ่อคุณแม่ก็คงเห็นว่าลูกขยี้ตาบ่อยๆ เค้ารู้สึกเจ็บหรือเค้าคันที่บริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของเปลือกตา ก็จะเห็นเริ่มมีบวมๆ แดงๆ นิดหน่อยนะครับ ถ้าเราปล่อยทิ้งไว้ก็อาจจะบวมมากขึ้น อักเสบเยอะขึ้น และก็ถ้ายังใจเย็นอยู่จนไม่ได้ทำอะไรเลย แล้วอาการของโรคดีขึ้นเองโดยธรรมชาติเนี่ย บางคนก็หายไป หรือบางคนก็อาจจะมีการอักเสบไปรวมกันกลายเป็นหัวฝีหรือหนอง ก็จะเป็นเม็ดขึ้นมาที่สมัยก่อนคนเรียกว่าเป็นตากุ้งยิง อันนี้ก็คือจะเป็นลักษณะของตากุ้งยิง ที่คุณพ่อคุณแม่อาจจะพอบอกได้ว่าลูกเป็นคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : สำหรับแนวทางการดูแลนะครับ การป้องกันก่อน ถ้าป้องกันเนี่ย เราก็คงต้องแนะนำอย่างที่ว่าก็คือ พยายามอย่าให้ลูกไปเล่นตรงบริเวณที่มีฝุ่นหรือเชื้อโรคเยอะ แล้วก็สอนเค้าอย่าให้เค้าเอามือไปขยี้ตา เพราะว่าถ้าไม่โดนฝุ่นแล้วเอามือไปขยี้ตา ตากุ้งยิงมักไม่ค่อยเกิดคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : อันที่สอง คือว่าหลังจากที่เค้าเริ่มมีอาการอักเสบชัดเจน คงเหมือนเดิมฮะ คงต้องแนะนำคุณพ่อคุณแม่พาลูกไปหาหมอจะดีกว่า เพราะถ้าคุณหมอวินิจฉัยแล้ว ว่าเป็นตากุ้งยิงและให้ยาแก้อักเสบมาทานหรือมาหยอดแล้วเนี่ย อาการนั้นอาจจะหายไปเองภายในสัก 2-3 วัน โดยที่ไม่เหลือเป็นหัวฝีอยู่ ซึ่งถ้าเป็นหัวฝีอยู่อาจจะต้องได้รับการเจาะครับ ซึ่งเชื่อว่าคงไม่ใช่เรื่องสนุกนักสำหรับทั้งตัวเด็กเอง คุณพ่อคุณแม่ที่ลูกจะต้องไปเจาะตากุ้งยิง หรือแม้แต่คุณหมอหรือพยาบาลเองก็จะรู้สึกว่า การเจาะตากุ้งยิงเด็กไม่ได้เรื่องทำง่ายนัก เพราะฉะนั้นการได้รับยาแก้อักเสบหรือยาปฏิชีวนะตั้งแต่ต้นๆ อาจจะทำให้โรคหายไปเองโดยที่ไม่ต้องถึงขั้นไปเจ็บตัวคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ มีคำถามจากคุณผู้ฟังค่ะคุณหมอ คุณพรรษชลบอกว่าลูกสาว ตาข้างขวาของเค้าจะมีน้ำตานะคะ ตาจะไม่แดงแต่จะมีขี้ตาเฉพาะตอนเช้า ตื่นขึ้นเนี่ยน้องจะมีขี้ตาเยอะมาก มากจนตาปิดแต่น้องไม่ได้มีอาการปวดตา เป็นมาตั้งแต่เมื่อปีใหม่นะคะ พาไปหาคุณหมอ ครั้งแรกคุณหมอให้ยาหยอดตาเป็นน้ำแต่อาการไม่ดีขึ้น ครั้งที่ 2 ก็เลยไปหาคุณหมออีกที คุณหมอให้ยาหยอดตาที่เป็นเจลน้ำขุ่นแต่อาการยังเหมือนเดิม และน้องมีเสมหะด้วยแต่ไม่ได้ป่วยค่ะ จะเป็นอะไรรึเปล่า? และมีวิธีดูแลอย่างไรค่ะ?ผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : ครับ คือปกติแล้วเนี่ยถ้าเป็นตั้งแต่เด็กอายุเล็กๆ เลยนะครับแล้วน้องอาจจะเกิดเมื่อปลายปีที่แล้วอะไรอย่างเนี้ยคุณสรวงมณฑ์ : น้องนี่น่าจะประมาณ 3 ขวบแล้วค่ะผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : อ๋อ 3 ขวบแล้วนะครับ ถ้าสมมติว่าเป็นเด็กเล็ก นี่พูดถึงว่าเป็นมาตั้งแต่อายุ 1-2 เดือนเนี่ยคงนึกถึงเรื่องท่อน้ำตาตันแต่กำเนิดอย่างที่ว่านะครับ เพราะว่าลักษณะน้องเค้าจะเป็นแบบนี้เลยคือว่า จะมีท่อน้ำตาตัน แล้วก็จะมีขี้ตา โดยที่เด็กเค้าก็จะไม่ได้รู้สึกว่าตาอักเสบอะไรนะครับ แต่ถ้าสมมติว่าเป็นเด็กที่โตแล้วนะครับ กรณีอย่างนี้เนี่ยคิดว่าอาจจะต้องมีการตรวจตาเค้า เพื่อที่จะแยกให้ชัดเจนว่ามันเกิดจากการติดเชื้อซ้ำรึเปล่า แล้วคือเด็กอาจจะมีนิสัยที่ชอบไปขยี้ตาตัวเอง ก็เลยทำให้มีเชื้อเป็นๆ หายๆ อยู่ก็เป็นไปได้นะครับ หรือในเด็กบางคนอาจจะเริ่มจากการที่เค้าคันตาจากการเป็นภูมิแพ้ เคยได้ยินมั๊ยฮะ “ภูมิแพ้ขึ้นตา” ก็เป็นได้ ก็เลยทำให้เค้ามีปัญหาเรื่องตาแดงเป็นๆ หายๆ อยู่ ก็เป็นไปได้นะครับคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ แหม สอดคล้องกับอีกคำถามนึงนะคะจากคุณแม่นา น้องโมบาย อายุปัจจุบัน 2 ขวบ 10 เดือน มีอาการถุงใต้ตาเป็นสีเข้มตั้งแต่อายุ 3 เดือนแล้วค่ะแต่ว่าปัจจุบัน 2 ขวบเศษ ถุงใต้ตามีสีเข้มออกดำอ่อนๆ ก็เห็นชัดอยู่นะคะ ไปหาคุณหมอ คุณหมอบอกว่าเกิดจากอาการภูมิแพ้ชนิดหนึ่งแต่ไม่ได้ระบุว่าแพ้อะไร ก็ไม่สบายใจ เพราะมีเพื่อนบางคนมาทักว่า อาจจะเป็นโรคอะไรที่ยังไม่ออกอาการ คุณแม่ท่านนี้บอกว่าเคยพาน้องไปตรวจภูมิแพ้ 10 ชนิดปรากฏว่าน้องแพ้นมวัวและก็อาหารทะเลค่ะผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : ก็คือเป็นไปได้ครับ ลักษณะนี้ก็เป็นอีกลักษณะนึง ก็คือว่าจะมีการคล้ำที่บริเวณรอบดวงตา ก็คือเกิดจากการที่เด็กเป็นภูมิแพ้ขึ้นตานะครับ ก็เลยทำให้เค้ามีอาการคันที่บริเวณดวงตา และก็เด็กนะครับ คันเมื่อไหร่เค้าก็ขยี้ตา การขยี้ตาของเค้าก็เลยทำให้เปลือกตารอบๆ ตาเนี่ยมันคล้ำ แล้วก็ถ้าขยี้บ่อยไปกว่านี้ บางทีจะเห็นว่าเยื่อตาขาวซึ่งในเด็กเนี่ย บางทีเราก็จะบอกว่าเด็กตาใสแจ๋วเนี่ย กลายเป็นว่าเยื่อตาขาวเค้าก็อาจจะขุ่นๆ เหมือนกับผู้ใหญ่ที่ผ่านโลกมาเยอะนะครับ อันนี้เพราะไปขยี้ตา ซึ่งอันนี้ผมก็เห็นด้วยว่าคุณหมอเค้าจะตรวจ และแถมเคยไปทำ skin test ใช่มั๊ยที่ทดสอบดูว่าแพ้อะไร ก็คงเป็นจากภูมิแพ้ แต่ที่คุณหมอบอกว่าไม่รู้แพ้อะไรเนี่ย เป็นความจริงนะเพราะการแพ้ใดๆ เนี่ย แต่ละคนจะแพ้สิ่งที่แพ้ไม่เหมือนกัน เพียงแต่ว่าอาการจะออกมาเหมือนกัน อันนี้ก็ต้องเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ หรือถ้าเด็กเค้าโตแล้วเค้าอาจจะช่วยสังเกตได้ เพราะอาการแพ้เนี่ยแพ้ได้ตั้งแต่สิ่งที่เค้าสัมผัส สิ่งที่เค้ารับประทานก็ได้ บางคนบอก เอ๊ ทานอาหารทะเลทีไรคันตาทุกที หรือพอไปตรงบริเวณที่มีฝุ่นเยอะๆ แล้วก็แพ้ หรือบางคนเล่นกับสุนัขหรือแมวแล้วก็แพ้ เพราะว่าบางคนแพ้ขนสุนัขหรือขนแมวก็เป็นไปได้ เพราะงั้นจริงๆ แล้วการจะรู้ว่าแพ้อะไรเนี่ย ส่วนใหญ่แล้วคุณพ่อคุณแม่เนี่ยจะเป็นคนที่สังเกตได้ว่า อ๋อ ลูกไปทำอย่างนี้ทุกครั้งเลยแล้วก็จะมีอาการคันตานะครับ อันนี้ต้องช่วยคุณหมอ เพื่อที่จะได้ไปเล่าให้คุณหมอฟังได้ ว่าที่คุณหมอให้ยามาเนี่ยได้ผลเป็นอย่างไร แล้วก็สิ่งที่เราสงสัยว่าเป็นอาการแพ้เป็นอย่างไร เราก็จะได้ช่วยกันหลีกเลี่ยง เค้าก็จะได้อาการดีขึ้น ที่เราสงสัยว่าเป็นอาการแพ้เป็นอย่างไร ที่คุณหมอให้ยามาเนี่ยได้ผลเป็นอย่างไรคุณสรวงมณฑ์ : นั่นหมายความว่าถ้าสมมติว่ารู้ว่าแพ้อะไรแล้วเราก็หยุดไปนี่ อาการที่เป็นถุงใต้ตาก็อาจจะหายไปได้ถูกต้องมั๊ยคะ?ผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : ใช่ครับ เพราะว่าอาการที่เป็นถุงใต้ตาเกิดจากการขยี้ตาของน้องเค้าน่ะครับ เพราะงั้นถ้านานๆ ไปเค้าไม่ขยี้มันก็จะค่อยๆ ดีขึ้น อาการบวมช้ำนี่ก็จะดีขึ้น แต่ข้อสำคัญอีกอย่างนะครับอาการภูมิแพ้เนี่ย โดยธรรมชาติของโรคโดยทั่วไปพอเด็กโตขึ้นแล้วเนี่ยอาการจะดีขึ้น อาการจะน้อยลง อาจจะเป็นว่าเด็กเค้าเริ่มสังเกตว่า เค้าแพ้อะไร แล้วเค้าหลีกเลี่ยงได้นะครับ แล้วก็โดยธรรมชาติของร่างกาย พอโตขึ้นแล้วสุขภาพแข็งแรงมากขึ้น อาการภูมิแพ้ก็จะน้อยลงนะครับคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ ในทางการแพทย์เองนะคะคุณหมอ โรคตาสำหรับเด็กชนิดไหนคะที่คิดว่าไม่อยากเจอในเด็กเลยค่ะ?ผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : จริงๆ โรคตาในผู้ใหญ่เกือบทั้งหมดเป็นได้ในเด็กนะครับ ไม่ว่าจะเป็นโรคต้อกระจก ต้อหินอะไรก็เป็นได้เหมือนกันนะครับ รวมทั้งมีโรคร้ายแรงบางโรค ที่เกิดเฉพาะในเด็ก ซึ่งเราก็ไม่อยากให้เกิดเลยนะครับเริ่มแรกก็คือเรื่องในเด็กคลอดก่อนกำหนดนะครับ ในเด็กคลอดก่อนกำหนดเนี่ย ประสาทตาก็ยังเจริญไม่เต็มที่ เพราะงั้นการที่เค้าออกก่อนกำหนดซึ่งเด็กบางคน 7 เดือนมีเหตุจำเป็นที่ต้องคลอดก่อนอย่างเนี้ย ก็อาจจะทำให้จอประสาทตาเค้าเจริญน้อยกว่าปกติ อันนี้ส่วนใหญ่ถ้าคุณพ่อคุณแม่รู้ว่าลูกคลอดก่อนกำหนด หรือคุณหมอเด็กทราบ ก็จะแนะนำให้มาตรวจตาตั้งแต่ช่วงอายุสักเดือนนึง เพื่อเฝ้าระวังว่าจอประสาทตาไม่ได้มีปัญหา เพราะว่าไม่เช่นนั้นจะเกิดโรคๆ นึงเรียกว่า “โรคจอประสาทตาในทารกคลอดก่อนกำหนด” ซึ่งถ้าไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัย แล้วก็รักษาอย่างพอเหมาะในเวลาที่สมควร ก็อาจจะทำให้ลูกเสียสายตาไปได้ ก็คือจอประสาทตาอาจจะลอกได้ อันนี้ก็อยากจะฝากว่าคุณพ่อคุณแม่ที่ฟังรายการ ถ้ามีคนรู้จักหรือเราเองนี่ยมีลูกคลอดออกมาน้ำหนักน้อยกว่า 2,000 กรัม หรือคลอดตั้งแต่ก่อนอายุครรภ์ประมาณสัก 7 เดือนหรือ 30 สัปดาห์เนี่ย แนะนำว่าควรจะให้คุณหมอตา ได้ดูตาลูกตั้งแต่ภายในช่วงเดือนแรกของชีวิต เพื่อเฝ้าระวังโรคนี้ จะได้ไม่เกิดปัญหาขึ้นนะครับคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : ส่วนโรคร้ายแรงอันที่ 2 ที่ต้องฝากไว้สำหรับเรื่องของตาเด็กก็คือ มันเป็นโรคมะเร็งชนิดนึงนะครับ เป็นมะเร็งที่จอประสาทตาที่พบในเด็กนะฮะ เค้าเรียกโรค Retinoblastoma (เรททิโนบล๊าสโตมา) โรคนี้เนี่ยเป็นโรคที่ไม่พบในผู้ใหญ่เลย แต่พบในเด็กแค่ช่วงถึงอายุสัก 6-7 ขวบ โตกว่านี้ก็จะไม่เจอละ ก็เป็นโรคร้ายแรงเพราะว่าถ้าได้รับการวินิจฉัยช้า อย่างน้อยที่สุดก็อาจจำเป็นต้องผ่าตัดเอาลูกตาออก ถ้าได้รับการวินิจฉัยช้ากว่านั้นหรือไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เด็กอาจจะถึงขั้นเสียชีวิตก็เหมือนโรคมะเร็งทั่วไปนะครับ การสังเกตง่ายๆ เลยก็คือว่า ถ้าเมื่อไหร่เราสังเกตว่า ภายในตาดำข้างใดข้างหนึ่งหรือสองข้างของลูกมันมีสีวาวๆ เป็นสีขาวขึ้นมานะครับ อันนั้นเป็นอาการอันตรายที่จะต้องรีบไปพบคุณหมอตานะครับ ไม่ควรรอทิ้งไว้เพราะว่ามันอาจจะเป็นอาการในระยะต้นๆ ที่อาจจะสามารถให้การรักษาโดยการยิงเลเซอร์ได้ หรือถ้าลูกมีอาการผิดปกติ ซึ่งอันนี้เป็นอาการที่อาจจะเกิดจากโรคอื่นนะครับ แต่ว่าก็อาจจะเป็นอาการซ่อนที่นำมาของโรคมะเร็งชนิดนี้ เช่น ลูกตาเข หรือลูกเดินชนอะไร มองอะไรไม่เห็น พวกนี้ก็เป็นอาการอันตรายของตา ทั้งนั้นที่คิดว่าควรจะต้องพาไปพบจักษุแพทย์คุณสรวงมณฑ์ : สาเหตุส่วนใหญ่มาจากอะไรคะ?ผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : โรคมะเร็งจอประสาทตานี่อาจจะเกิดขึ้นเองหรือเป็นกรรมพันธุ์ครับ และถ้าในครอบครัวไหน ที่ลูกคนก่อน หรือในครอบครัวมีคนเป็นมะเร็งที่ลูกตา โดยจำไม่ได้ว่าเป็นที่อะไร พอมีลูกมาก็ควรจะต้องรีบไปปรึกษาคุณหมอตาแล้วล่ะ ว่าจะให้มาตรวจเมื่อไหร่ อย่างไรนะครับส่วนเรื่องที่ 3 ที่อยากจะฝากไว้ก็คือ อาการผิดปกติในเด็กก็คือ สายตาสั้น ยาว เอียง เหมือนผู้ใหญ่ เดี๋ยวนี้เราจะเห็นเด็กใส่แว่นกันเยอะคุณสรวงมณฑ์ : ใช่ค่ะผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : จริงๆ แล้วการที่เด็กสายตาสั้นหรือยาวหรือเอียงตั้งแต่เด็กๆ เนี่ย ถ้าเป็นผู้ใหญ่เค้าก็คงบอกเราได้ใช่มั๊ยครับว่าเค้ามองไม่ชัด แต่ในเด็กถ้าเราไม่ให้การแก้ไขให้เค้าตั้งแต่ในช่วงอายุตั้งแต่เด็กๆ เนี่ย เค้าอาจจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาการของสายตาไปจนโตเลยนะครับ ก็คือเหมือนการพัฒนาของประสาทตาจะน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้พอโตขึ้น ทำยังไงเค้าก็เห็นดีขึ้นกว่านั้นไม่ได้ อาการถ้าในเด็กโตเราคงไม่ยากใช่มั๊ยครับ เพราะเค้าพอจะบอกเราได้ว่าเค้ามองไม่ชัดนะครับ แต่ถ้าในเด็กเล็กเนี่ย ผมอยากให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตว่า ถ้าเด็กมีอาการชอบวิ่งเข้าไปดูทีวีใกล้ๆ หรือชอบเอียงคอดู อาการพวกนี้ อาจจะเป็นอาการที่บอกว่าเด็กมีสายตาผิดปกติ ที่เค้าบอกเราไม่ได้ แต่เป็นการช่วยเหลือตัวเองของเค้าที่จะทำให้เค้าเห็นภาพชัดขึ้น การวิ่งเข้าไปดูโทรทัศน์ใกล้ๆ หยีตาดู หรือว่าเอียงคอดู อาการพวกนี้เนี่ย รีบไปพบจักษุแพทย์เถอะครับ เพราะว่าเค้าจะได้ตรวจวัดสายตาให้ลูกเรา ถ้ามีความผิดปกติจะได้แก้ไขทันนะครับคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ ท้ายสุดเลยค่ะ มีอะไรอยากจะฝากคุณพ่อคุณแม่มั๊ยคะ เกี่ยวกับเรื่องดวงตาของลูกน่ะค่ะ?ผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : ครับ ก็คงต้องฝากไว้ว่าดวงตาของลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าเค้าจะต้องใช้มันไปอีกหลายสิบปีนะครับ เพราะฉะนั้นคงต้องช่วยกันดูแล ถ้ามีอาการผิดปกติอะไรที่เราไม่แน่ใจก็ไปพบคุณหมอซะหน่อย เพราะว่าการรักษาโรคหลายๆ โรคถ้ารักษาแต่ต้นจะดีกว่านะครับอันที่สองก็แนะนำว่า คงจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงการหายา หรืออะไรมาให้ลูกเอง เพราะว่ายาบางอย่างอาจจะมีอันตรายต่อตาเค้าโดยที่เราไม่รู้อันที่สามก็คงต้องฝากดูแลเรื่องระวังอันตรายกับดวงตานะครับ เพราะว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเนี่ยบางครั้งก็รุนแรง พอไปโดนตาเค้าแล้วเนี่ยเค้าจะต้องใช้มันไปตลอดชีวิต ก็จะเป็นเรื่องน่าเสียดายนะครับต้องฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านไว้คุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ เอาล่ะค่ะวันนี้ต้องขอขอบพระคุณคุณหมอนะคะ ที่มาให้ความรู้กับเราในวันนี้ ขอบพระคุณมากค่ะผศ.นพ.ศักดิ์ชัย : ครับผม ยินดีครับ สวัสดีครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น