การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

วิธีรับมือกับเด็กในวัยกรี๊ด

วิธีรับมือกับเด็กในวัยกรี๊ด



    1. อิสระในการเรียนรู้ ไม่ได้หมายความว่าให้ตามใจลูก แต่เด็กวัยนี้คือวัยที่กำลังเรียนรู้ ชอบสำรวจ บางครั้งด้วยความที่อยากรู้อยากเห็นพ่อแม่อาจห้ามไม่ให้เล่นบ้าง ซึ่งตรงนี้พ่อแม่ควรดูเขาอยู่ห่างๆและให้เขาลองเรียนรู้ด้วยตัวเอง เพราะหากพ่อแม่ไปห้ามลูกบ่อยๆซึ่งในบางครั้ง เขาสามารถเล่นเองได้ และไม่อันตรายนั้น เมื่อโตมาเขาจะกลายเป็นเด็กที่ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง

    2. วางเฉย เมื่อลูกเริ่มกรี๊ด โดยส่วนใหญ่แล้วพ่อแม่ก็จะสั่งให้หยุดเดี๋ยวนั้น ซึ่งจริงๆแล้ว พ่อแม่ควรอยู่เฉยๆ อย่าไปทำตามข้อเรียกร้องของลูก มิเช่นนั้นเมื่อเขาอยากได้อะไร เขาก็จะใช้วิธีนี้ ในการเรียกร้องความต้องการ

    แม้ว่าในบางครั้งเสียงกรี๊ดมากๆ ของลูก อาจทำให้พ่อแม่เกิดอาการปี๊ด…ดดด ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่เหมือนกัน บางทีก็อยากตัดความรำคาญ หรืออาจจะเกรงใจคนรอบข้างเวลาที่พาออกไปข้างนอก ซึ่งตรงนี้พ่อแม่ต้องใจแข็งพอสมควร เด็กๆร้องไปสักพักก็จะเหนื่อย เมื่อรู้ว่าเราไม่สนใจด้วยแล้ว เดี๋ยวก็หยุดร้องกรี๊ดได้เอง

    3. เหตุผล ไม่ว่าลูกจะร้องกรี๊ดเพราะสาเหตุอะไรก็ตาม พ่อแม่ต้องพูดกับลูกด้วยเหตุผล การร้องเพราะถูกขัดใจ ก็ต้องบอกลูกว่าถ้าอารมณ์ดีๆ แล้วค่อยมาคุยกัน ซึ่งคุณแม่ต้องทำแบบนี้ให้สม่ำเสมอ อย่าทำบ้างไม่ทำบ้าง เพราะลูกจะสับสน

    4. สื่อสารกับลูกให้เยอะๆ บางครั้งที่ลูกอยากได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่ยังไม่สามารถอธิบายบอกได้ คุณแม่ใช้วิธีถามนำว่าลูกอยากได้อะไร จะเอาของเล่นเหรอ จะกินน้ำเหรอ อะไรทำนองนี้ เพราะลูกจะได้สื่อสารกับเราได้ง่ายขึ้น และเป็นการฝึกให้ลูกได้พูดไปด้วยในตัว โดยใช้คำพูดง่ายๆ กระชับ ถ้าพูดยาวจนเกินไปเจ้าตัวเล็กอาจจะไม่เข้าใจในสิ่งที่เรากำลังจะสื่อสารด้วย ต่อไปเขาก็จะรู้จักพูดคุยกับเรา ไม่ใช่วิธีการกรี๊ดแน่นอน

    5. ชื่นชม ถ้าสิ่งไหนที่ลูกทำแล้วเป็นสิ่งดี ก็อย่าลืมหยอดคำชมรอยยิ้ม หรือแสดงอาการให้เขาเห็นว่าคุณพอใจมากๆ ที่เขาทำสิ่งที่ดีๆ ลูกก็จะเรียนรู้และอยากทำในสิ่งที่พ่อแม่ชื่นชม

    6. แบบอย่าง เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ การที่พ่อแม่ต้องเริ่มต้นเป็นแบบอย่างที่ดีก่อน เพราะเด็กจะเลียนแบบพฤติกรรมได้เร็วมาก หากแม่ไม่พอใจแล้วโมโหเกรี้ยวกราดใส่ลูก ลูกก็จะกรี๊ดเหมือนที่แม่ทำ

    7. ได้และไม่ได้ พ่อแม่จะต้องสอนให้ลูกรู้จักคำว่าได้และไม่ได้ เพื่อให้ลูกเรียนรู้ในเรื่องของความสมหวัง และผิดหวัง ซึ่งควรมีเหตุผลกำกับด้วยทุกครั้งว่าทำไมลูกถึงได้ ทำไมถึงไม่ได้ เพราะถ้าลูกเรียนรู้ที่จะได้อย่างเดียว ลูกจะไม่รู้จักความผิดหวังแต่ถ้าลูกเรียนรู้แต่ความผิดหวัง เขาก็จะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า ทุกอย่างต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของคำว่า “พอดี”

    ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อพื้นฐาน ในการสอนลูกให้มีความน่ารักมายิ่งขึ้น ซึ่งพ่อแม่ต้องมีวินัยที่จะทำอย่างสม่ำเสมอ ลูกก็จะค่อยๆ เรียนรู้และปรับตัวไปตามกติกามารยาททางสังคมได้ตามวัย และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ “ความรัก” ซึ่งพ่อแม่ต้องรักอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการเป็นตัวอย่างที่ดีของพ่อแม่ จะช่วยให้ลูกพัฒนาด้านอารมณ์ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการ

ความคิดเห็น