บทสัมภาษณ์ : นพ.พิบูล อิสระพันธ์ เรื่อง “การดูแลหูของลูก”
รายการ “พ่อแม่มือใหม่ หัวใจเกินร้อย” FM 105
ถอดคำสัมภาษณ์ นพ.พิบูล อิสระพันธ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษด้านหู คอ จมูก และโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ผู้ดำเนินรายการ คุณสรวงมณฑ์ สิทธิสมาน
ผู้ถอดคำสัมภาษณ์ : คุณ เอ อรทัย orathaia.multiply.com
วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553 เรื่องเกี่ยวกับ “การดูแลหูของลูก”คุณสรวงมณฑ์ : สวัสดีค่ะคุณหมอพิบูลคะนพ.พิบูล : สวัสดีครับคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ ทราบว่าวันนี้คุณหมอติดภารกิจก็จะเข้าเรื่องเลยละกัน เรื่องของหูค่ะ หูกับเด็กๆ โดยเฉพาะเด็กเล็กเพราะคุณผู้ฟังเนี่ยเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่นะคะ แล้วก็จะกังวลไปซะทุกเรื่องเลย อยากจะถามคุณหมอเกี่ยวกับเรื่องของหู หูกับเสียงของวัยทารก คือการรับฟังเสียงของมนุษย์แต่ละคนเนี่ยมันมีเดซิเบลขนาดไหน? มันมีความระมัดระวังอะไรเป็นพิเศษ? ยังไงคะ?นพ.พิบูล : ครับ คือเสียงที่มนุษย์เราได้ยินนะครับ ในเด็กเนี่ยจะได้ยินถึง -10 เดซิเบลเลยก็มีนะครับ เสียงเบามากๆ เพราะหูเด็กนี่ยิ่งดีกว่าหูผู้ใหญ่ -10 จนถึงประมาณ 140 ที่เค้าได้ยินนะครับแต่ว่าเสียงที่ดังมากๆ เกิน 90 ขึ้นไปเนี่ย นอกจากจะได้ยินแล้วยังทำอันตรายต่อหูด้วยครับคุณสรวงมณฑ์ : หมายความว่าถ้าเด็กทารกที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ เลยเนี่ย พัฒนาการทางหูสามารถได้ยินเหมือนเราปกติเลยใช่มั๊ยคะ?นพ.พิบูล : ครับ แต่ว่าเด็กเล็กๆ เนี่ยได้ยินดีกว่าผู้ใหญ่นะครับ ถ้าหากว่าไม่มีอะไรไปกระทบกระเทือนมากๆคุณสรวงมณฑ์ : ก็เลยเป็นสาเหตุว่าทำไมพูดนิดนึงเสียงดังนิดนึงแล้วลูกหลับๆ อยู่ก็เลยตื่นนพ.พิบูล : ใช่ครับคุณสรวงมณฑ์ : ทีนี้มีข้ออะไรที่อยากจะให้ระมัดระวังเกี่ยวกับเรื่องหูกับเด็กทารกคะ?นพ.พิบูล : คือถ้าจะระวังให้ดีต้องระวังตั้งแต่ก่อนเกิดเลยนะครับคุณสรวงมณฑ์ : ตั้งแต่ก่อนเกิดเลยคือลูกอยู่ในครรภ์ของคุณแม่?นพ.พิบูล : ครับ อย่างเช่น คุณแม่ต้องระวังอย่าให้ติดเชื้อไวรัส เช่น หัดเยอรมัน แต่ว่าไวรัสหลายชนิดเนี่ยมาจากไข้หวัดใหญ่ ต้องระวังให้ดีอย่าให้ป่วยตอนที่ตั้งครรภ์ ซึ่งบางโรคอย่างหัดเยอรมันเนี่ย เราสามารถจะฉีดวัคซีนตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์นะครับคุณสรวงมณฑ์ : ็คือเรียกว่าดูแลตัวเองตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ทีนี้มันจะมีเทคโนโลยีที่ให้ลูกฟังเสียงแม่อยู่ในครรภ์ แล้วก็เอามาจ่อท้องเนี่ย คุณหมอคิดว่าประเด็นนี้เป็นยังไงคะ? เค้าเรียกเครื่องมืออะไรนะคะ?นพ.พิบูล : คือเครื่องมือนี้พอดีผมไม่ได้คลิกมาให้ดูแต่ว่าผมเข้าใจนะฮะ ในแง่ความปลอดภัยเนี่ย มันไม่ได้ศึกษาให้ละเอียด คือเราคิดว่าเด็กอาจจะอยากได้ยินอะไรบางอย่าง ที่เป็นการสื่อกับคุณแม่ แต่ว่าก็ต้องระวังอย่าให้เสียงมันดังเกินไป ธรรมชาติมนุษย์เนี่ยก็คงอยากพักผ่อนตั้งแต่อยู่ในท้องนะฮะ อาจจะไม่อยากได้ยินอะไรมากมายนักคุณสรวงมณฑ์ : ปกติแม่ก็พูดเสียงแบบนี้หนูก็ได้ยินอยู่แล้ว แม่มาตะโกนใส่เครื่องอะไรก็ไม่รู้ใช่มั๊ยคะ?นพ.พิบูล : ครับ ใช่ครับคุณสรวงมณฑ์ : เค้าอาจจะตกใจได้ คือถ้าในทางหลักวิชาการแล้วไม่สนับสนุนถูกต้องมั๊ยคะ?นพ.พิบูล : คือผมคิดว่าต้องระมัดระวังฮะ เรายังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้อย่างละเอียด แต่ว่าอย่าเปิดเสียงดังมากเกินไป เพราะเด็กอาจจะหูเสียตั้งแต่อยู่ในท้องเลยก็ได้นะฮะคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ อันนี้คือประเด็นของการดูแลตัวเอง แล้วพอลูกคลอดออกมาล่ะคะ การดูแลหูเราจะทำยังไงกันบ้างคะ?นพ.พิบูล : คือหูเนี่ย เราต้องดูแลทั้งในแง่ของความสะอาด แล้วก็ในแง่ของการทำงานของมันคือการได้ยินเนี่ยนะฮะ ส่วนมากในเด็กเล็ก ที่คุณแม่ต้องทำก็เพียงแต่ระวังอย่าให้น้ำเข้าหู แต่ว่าถ้าน้ำเข้าไปอย่าไปแคะ คุ้ย หรือว่าเขี่ยอะไรออกมานะฮะ มันจะเกิดการบาดเจ็บได้คุณสรวงมณฑ์ : ความเข้าใจที่บอกว่าน้ำเข้าหู วิธีการที่ถูกต้องควรจะทำยังไงคะ?นพ.พิบูล : ผมคิดว่าดีที่สุดที่ทำได้คือตะแคงให้มันไหลออกมาคุณสรวงมณฑ์ : สมมติว่ามันเข้าหูซ้ายก็ตะแคงเอียงมาทางซ้ายให้น้ำออกนพ.พิบูล : ครับ ส่วนใหญ่จะออกได้นะครับคุณสรวงมณฑ์ : มันมีความเข้าใจที่ได้ยินกันอยู่บ่อยๆ นะคะ สมมติว่าน้ำเข้าหูซ้าย ให้เอาน้ำเข้าหูขวาอีกข้างนึง มันจะช่วยได้ เป็นความเข้าใจที่ผิดใช่มั๊ยคะ?นพ.พิบูล : คือในหูของเด็กเนี่ย มันจะมีไขมันเคลือบอยู่ แล้วหูเด็กเนี่ยส่วนใหญ่ก็ยังไม่ช้ำชอก ยังไม่ถูกแคะคุ้ยมาก มันจะไม่มีจุดให้น้ำมาเกาะ ถ้าเราตะแคงเนี่ยน้ำจะไหลออกมาได้ ถ้ามันไม่ไหลก็คงต้องไปพบแพทย์ให้แพทย์ดูดออกมาคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ เพราะฉะนั้นก็คือพยายามเอียงออกมาก่อน แล้วเราจะรู้ได้ยังไงคะว่าตอนนี้ออกมารึยัง?นพ.พิบูล : อ๋อ ก็มองดูฮะ มันจะมีน้ำหยดออกมาคุณสรวงมณฑ์ : จะมีน้ำหยดเห็นชัดเจนเลย?นพ.พิบูล : ครับคุณสรวงมณฑ์ : แล้วก็พูดถึงเรื่องของการทำความสะอาดในหูนะคะ แค่ไหน? อย่างไรคะ? คือคุณแม่อาจจะกลัวไม่สะอาด ล้วงเข้าไปซะ มันควรจะอยู่ระดับไหนคะ?นพ.พิบูล : ผมคิดว่าการทำความสะอาดเนี่ย ไม่ควรทำลึกลงไปในรูหูนะครับ อย่างมีอุปกรณ์หลายชนิด เช่น cotton bud เนี่ย มันชวนให้เข้าใจว่าคงจะต้องหยิบไอ้ cotton bud แล้วแคะเข้าไปในรูหู ซึ่งมันไม่ใช่นะฮะ จริงๆ แล้วให้ทำเฉพาะภายนอกรูหู ที่ใบหูเท่านั้นคุณสรวงมณฑ์ : ที่ใบหูเท่านั้นทั้งด้านในและด้านนอกนพ.พิบูล : ใช่ครับคุณสรวงมณฑ์ : อันนี้เป็นวิธีที่ถูก อย่าไปยุ่งกับข้างใน สมมติว่าเห็นขี้หู โอ้โห ทนไม่ได้อยากแคะ ควรแคะมั๊ยคะ?นพ.พิบูล : คือผมว่าลึกๆ เด็กเล็กๆ เนี่ยไม่มีขี้หู คือมีน้อย ไม่เกิดปัญหา แต่บางครั้งการที่ผู้ใหญ่ไปพยายามแคะมันบ่อยๆ มันเลยกลายเป็นขี้หูก้อนใหญ่ บางทีเราไปแคะนิดนึงแล้วก็ทิ้งไว้ แล้วอีกวันก็ไปแคะอีก หรือว่าเอา cotton bud ไปกระทุ้งๆ นึกออกมั๊ยฮะ กระทุ้งเข้าไปจนมันรวมเป็นก้อน แต่จริงๆ เด็กไม่ค่อยมีขี้หูนะฮะคุณสรวงมณฑ์ : คือแสดงว่ายิ่งแคะยิ่งมีนพ.พิบูล : ครับ ยิ่งแคะยิ่งมี มันยิ่งกระตุ้นให้สร้าง แล้วก็มันไปรวมกันเป็นก้อนน่ะฮะคุณสรวงมณฑ์ : แล้วลักษณะแบบไหนคะ ที่คนเป็นพ่อแม่จะสังเกตเห็นได้ ว่าหูของลูกมันจะมีความผิดปกติรึเปล่า? มันจะมีอาการอะไรบอกคะ?นพ.พิบูล : ถ้าทางกายภาพนะฮะก็คือ อาจจะเอาไฟฉายส่องดู เห็นมีขี้หูหรือมีของแปลกๆ คือเด็กเล็กๆ เนี่ย ถ้าเด็กที่พอจะเอามือจับของได้เนี่ยชอบเอาของใส่หูคุณสรวงมณฑ์ : เอาเข้าปากด้วย เอาเข้าหูด้วย อะไรที่เป็นรูๆ เนี่ยแกยัดหมดเลยนพ.พิบูล : ครับ เข้าปาก เข้าจมูก เข้าหู แต่จมูกนี่เจอบ่อยกว่าเพื่อนนะฮะ แต่หูนี่ก็พบได้ หรือบางทีเด็กที่อายุสัก 3 ขวบเอาของไปใส่หูน้องก็มีนะ ถึงได้เกิดอุบัติเหตุคุณสรวงมณฑ์ : อืม ต้องระวังด้วยๆ คือเห็นหูของน้องวัยทารกอยู่ เค้าก็ว่า เอ๊ อะไร ก็เลยจับยัดเข้าไปก็เป็นไปได้เหมือนกันนพ.พิบูล : ครับ อย่างประสบการณ์ผมนะครับ เคยเจอมีวัตถุตั้ง 5 ชิ้นนะฮะในหูข้างเดียวคุณสรวงมณฑ์ : หา! มันเป็นอะไรบ้างคะ?นพ.พิบูล : มีของเล่น มีไส้ดินสอ มี 5 อย่างในหูคนๆ เดียวเพราะว่าถูกเพื่อนใส่ให้คุณสรวงมณฑ์ : อุ๊ยตายละ แล้วมันค้างอยู่หรือว่ามันสามารถจะสลายไปเองได้คะ?นพ.พิบูล : มันค้างอยู่ฮะ ต้องให้หมอมาแคะออกคุณสรวงมณฑ์ : แล้วมันมีอาการบ่งบอกมั๊ยคะว่ามันมีวัสดุแปลกปลอมตั้ง 5 อย่างเข้าไปค้างอยู่น่ะค่ะ? คุณหมอจะพบได้ยังไงคะ?นพ.พิบูล : เค้าเอาไฟส่องดูแล้วคิดว่าเป็นขี้หูครับคุณสรวงมณฑ์ : อย่างนี้ถ้าคุณผู้ฟังๆ อยู่แล้วไม่รู้ว่ามันจะเกิดเหตุการณ์รึเปล่านี่ ก็สามารถที่จะไปส่องได้ ไปถามคุณหมอได้นพ.พิบูล : เอาไฟส่องดูเองก็ได้นะฮะแต่ว่าอย่าทำอะไรกับมัน ถ้าเห็นของแปลกๆ ในรูหูก็ไปพบแพทย์ได้คุณสรวงมณฑ์ : อย่าไปแคะเองนพ.พิบูล : ครับคุณสรวงมณฑ์ : แต่มันหูนิดเดียวนะคะ ของเล่นมันเข้าไปได้ด้วย ของเล่นแบบชิ้นส่วนเล็กๆ ใช่มั๊ยคะ?นพ.พิบูล : ครับ อย่างเช่นลูกกระสุนปืนเล็กๆ หรือว่าไส้ดินสอเนี่ย เป็นของที่เด็กๆ นิยมใส่ให้กันคุณสรวงมณฑ์ : แล้วถ้าสมมติไม่ได้เอาออกนี่ มันจะมีผลกระทบเรื่องของการฟัง หรือนำไปสู่อะไรบ้างคะ?นพ.พิบูล : ครับ การฟังก็ต้องผิดปกติแน่นอน อันที่ 2 ก็คือเรื่องของการอักเสบ บางทีพอมีพวกของสกปรก ไส้ดินสอ อยู่ในหูเยอะๆ ก็บวมแดง อักเสบ หนองไหลได้ฮะคุณสรวงมณฑ์ : อันนี้คือสามารถสังเกตได้ทางกายภาพว่าถ้ามันมีน้ำหนองไหลออกมา มันก็อาจจะมีอะไรแปลกปลอมรึเปล่านพ.พิบูล : ครับคุณสรวงมณฑ์ : มีคำถามเข้ามาค่ะคุณหมอ คุณนงเยาว์บอกว่าอยากให้พูดถึงเรื่องเสียงนิดนึงค่ะ เพราะว่าที่บ้านมีลูกอายุ 1 ขวบ แล้วตอนกลางวันจะให้คุณปู่เป็นคนเลี้ยงหลาน แต่คุณปู่จะชอบเปิดเพลงเสียงดังมาก ลักษณะของเพลงเป็นเพลงลาบวชของคุณไวพจน์ เพชรสุพรรณ ซึ่งหลานจะรับฟังเพลงเสียงดังแบบนี้มาตั้งแต่อายุ 3 เดือน ก็เลยอยากจะให้พูดถึงเรื่องของความดังของเสียง ที่มันส่งผลกระทบต่อลูกด้วยค่ะนพ.พิบูล : อันนั้นต้องระวังให้ดีนะฮะเพราะว่าประสาทที่รับเสียงในคนนี่มีจำกัด และถ้ามันมีประสาทเกิดขึ้นแล้วเนี่ย มันจะไม่สามารถเกิดขึ้นใหม่ถ้าหากว่ามีการทำลายไป ตัวอย่างเช่น ประสาทที่รับเสียงในหู เค้าศึกษาพบว่ามีแค่ประมาณ 20,000 กว่าตัวเองนะฮะ 20,000 ตัวแล้วแต่ละตัวจะเสียไปเมื่อได้ยินเสียงดังๆ ดังนั้นในกรณีที่ว่านี้นะฮะ มันเป็นไปได้มากเลยที่จะมีการถูกทำลายของเส้นประสาท ในเด็กเล็กๆ บางครั้งบางคราวเมื่อมีการทำลายไปยังไม่เยอะ เราไม่สามารถที่จะเข้าใจหรือทราบว่ามันเกิดขึ้นแล้ว มันเลยต้องระวังให้มากๆ แต่ในผู้ใหญ่เค้าจะรู้สึกว่าหูอื้อ หรือว่าการได้ยินน้อยลงแต่ในเด็กเค้าอาจจะบอกเราไม่ได้คุณสรวงมณฑ์ : แหม ดิฉันเนี่ยรีบเบาเสียงในบัดดลเลยค่ะ เวลาจัดรายการจะต้องใส่หูฟังใช่มั๊ยคะ ตอนนี้รีบเบาเสียงเลย กลัวเดี๋ยว 20,000 มันหายไปนะคะ (หัวเราะ)นพ.พิบูล : มันมีกรณีนึง ผมอยากจะเสริมนะฮะ ก็คือการที่เรารู้สึกว่าได้ยินเสียงดังมาสักระยะนึง หูมันเสื่อมนะเนี่ย มันอาจจะมีการเสื่อมของเซลสะสมไปเรื่อยๆ จนเรารู้สึกว่ามันทนไม่ได้คือมันเริ่มมีปัญหาละ ดังนั้นเสียงดังแม้แต่นิดเดียวนะฮะ ก็อาจจะมีเซลบางเซลมันเสียไปแล้ว แต่มันสะสมไม่พอที่จะเกิดความรู้สึกว่ามีปัญหาแล้วนะครับคุณสรวงมณฑ์ : หมายความว่ายังไงคะ หมายความว่าถ้าสมมติว่าดิฉันฟังดังเนี่ย ถ้ามันฟังดังเคยชินไปเรื่อยๆ เนี่ย เซลตัวนั้นมันตายมันก็จะฟังดังขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างนั้นรึเปล่าคะ?นพ.พิบูล : ครับ ใช่ฮะสมมติว่าถ้าเราเข้าไปฟังเสียงดังๆ ในคุณสรวงมณฑ์ : ในผับในเทคนพ.พิบูล : ในผับในเทค บางครั้งอาจจะมีเซลเสียหายไปสัก 10-20 ตัวจนเราไม่ทันรู้สึก พอเราไปฟังอีกวันนึงมันก็จะเสียอีก 10-20 ตัวคุณสรวงมณฑ์ : โอ้โหนพ.พิบูล : พอมันสะสมถึงขีดนึง ก็จะรู้สึกว่าหูอื้อหรือหูตึง แต่มันไม่ใช่ว่าก่อนหน้านี้ไม่มีปัญหานะครับ ก่อนหน้านี้มีปัญหามาตลอดแต่เราไม่รู้สึกคุณสรวงมณฑ์ : มีคุณแม่รัชนีวรรณโทรมาถามบอกว่าตอนนี้ลูก น้องอินดี้ อายุ 1 ขวบกับ 10 วัน ข้างบ้านมีการก่อสร้าง เสียงดังมาก ข้างขวาเจาะกระเบื้อง ข้างซ้ายขุดเจาะสระ ก็เลยทำให้น้องจะชอบเปล่งเสียงแว๊ดๆ นะคะ และอยากทราบว่าโตขึ้นจะส่งผลให้น้องเป็นเด็กก้าวร้าวรึเปล่า? และก็กลัวว่าจะมีผลกระทบกับหูของน้องด้วยค่ะ โห อันนี้โดนสองเด้งเลยทั้งซ้ายและขวาเลยค่ะนพ.พิบูล : ครับ คือเราคงจะพิสูจน์ยากอย่างที่ว่านะฮะแต่ว่าเพื่อป้องกัน คือจะทิ้งไว้เฉยๆ คงไม่ได้ ตอนนี้ก็ป้องกันได้ 2 ทางคือ อาจจะเป็นเรื่องของการพูดคุยหรือร้องเรียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือว่าอาจจะแก้ไขส่วนตัว เช่น หาวิธีที่จะกั้นเสียงคุณสรวงมณฑ์ : อุดหูนพ.พิบูล : ในเด็กคงอุดหูยาก กั้นเสียงคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ หาอะไรมากั้นคะ?นพ.พิบูล : มันก็ทำยากนะครับ ต้องเอาเด็กไว้ในห้องที่เป็นซีเมนต์ เป็นปูนน่ะฮะ เป็นห้องที่ปิดสนิทคุณสรวงมณฑ์ : อ๋อ คือว่าเลือกที่จะอยู่ในห้องที่มันช่วยบล็อกเสียงไว้ได้ในระดับนึงนพ.พิบูล : ครับ เพราะว่าเสียงกระแทกอย่างเสียงตอกเสาเข็มคุณสรวงมณฑ์ : โอ้โห อย่างรบกวนเลยค่ะนพ.พิบูล : ครับ เสียงแครชเนี่ยมันมีผลกระทบต่อหูได้มากกว่าเสียงทั่วไป เพราะว่าเสียงแครชเนี่ยมันมีพลังงานเยอะ เพราะฉะนั้นจะต้องหลีกเลี่ยง สมมติว่าเด็กอยู่ในห้องที่เสียงดังๆ รับเสียงแบบตรงๆ คงไม่ดี ต้องหาห้องที่มีผนังหนาๆ ครับ อาจจะเป็นห้องแอร์ คือทุกบ้านเนี่ยคงมีครับคุณสรวงมณฑ์ : ปิดประตูหน้าต่างให้หมดเพื่อลดเสียงความดังให้มากที่สุดนพ.พิบูล : ครับคุณสรวงมณฑ์ : แล้วก็อยู่ในห้องที่อาจจะต้องใช้เสียงแอร์เข้าข่มหรือคะ? เอามาบังลดความดังลงไปได้อีกนิดนึงนพ.พิบูล : คือสิ่งที่ช่วยที่สุดก็คือความหนาของห้อง แต่ว่าถ้ามันแก้ไม่ได้จริงๆ เสียงมันดังมากๆ ควรจะย้ายไปฝากคุณปู่คุณย่าเลี้ยงคุณสรวงมณฑ์ : ในช่วงนี้ก่อนนพ.พิบูล : ครับคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ อันนี้ก็จะช่วยได้ถ้าพยายามหลีกเลี่ยง เอาหลานไปอยู่ที่อื่นก่อนสักพักนึง อย่างมากก็สักเดือนนึงอะไรทำนองนี้ โอ้โห คิดถึงลูกตายเลยนะคะ หรือว่าต้องเอาตัวเองออกไปด้วยนพ.พิบูล : ครับ หรือไม่ก็เอาไปทำงานด้วย บางที่เค้ามีนโยบายให้คุณแม่เลี้ยงลูกได้นะฮะคุณสรวงมณฑ์ : อันนั้นก็จะถือว่าโชคดีมากเลย แต่ต้องถือว่าเป็นส่วนน้อยนะคะของบ้านเรา กรณีของคุณนงเยาว์เนี่ยนะคะคุณหมอ คือที่บอกว่าคุณปู่เปิดเสียงดังเนี่ย อาจจะต้องให้คุณแม่คุยกับคุณปู่ให้ลดเสียงได้มั๊ยคะ?นพ.พิบูล : ครับ คือต้องดูว่าท่านเปิดเสียงดังมากมั๊ย สมมติว่าคุณสรวงมณฑ์ : ดูท่าทางจะเน้นเลยว่าเสียงดังมาก แล้วเป็นเพลงถ้าเป็นสไตล์คุณไวพจน์ลาบวชเนี่ยมันก็จะดัง คือโดยตัวดนตรีอะไรมันก็ดังด้วย เพราะฉะนั้นเนี่ยก็อาจจะต้องไปคุยกับคุณปู่ด้วยให้ลดเสียงนพ.พิบูล : ครับ ลองสังเกตดูก็ได้นะฮะว่าเสียงทั่วไปเนี่ยมันเปิดได้ถึงประมาณ 110 สมมติว่าพอคุณปู่เปิดเพลงแล้วเนี่ย คนอื่นคุยไม่รู้เรื่องแล้วเนี่ย อันนี้แสดงว่าคงจะเกิน 110 แล้ว โทษนะฮะคือเกิน 90 แล้ว ถ้าเป็นอย่างนั้นเนี่ยต้องระวังฮะ ต้องขอร้องว่าคุณปู่ฟัง ซาวนด์เบาท์ไปก่อนได้มั๊ยคุณสรวงมณฑ์ : คุณปู่เนี่ยดิฉันสันนิษฐานนะคะ ก็ต้องบอกว่าคุณปู่เนี่ยอาจจะมีปัญหาเรื่องหูเพราะว่าเป็นผู้สูงวัย อาจจะหูตึงไปนิดนึงเพราะงั้นก็เลยทำให้ต้องเปิดเสียงดังขึ้น อาจจะต้องแนะนำเหมือนที่คุณหมอบอกนะคะ เก็บน้องขึ้นไปตรงอื่นนพ.พิบูล : ครับ ผมฟังดูว่าเป็นไปได้ครับที่ทางนี้สันนิษฐานเนี่ย คุณปู่อาจจะหูตึงคุณสรวงมณฑ์ : เลยต้องเปิดเสียงดังนพ.พิบูล : ครับคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ เพราะฉะนั้นก็ต้องหาทางช่วยเหลือตัวเองในระดับสำคัญด้วยนพ.พิบูล : ครับ ใช่ครับคุณสรวงมณฑ์ : ถามคุณหมอว่าคุณพ่อคุณแม่ที่พาไปพบคุณหมอส่วนใหญ่ จะเจอะเจออาการอะไรมากเป็นพิเศษ ที่เกี่ยวกับหูของลูกคะ? ไปหาด้วยอาการอะไรคะ?นพ.พิบูล : ปกติคุณพ่อคุณแม่จะพาลูกมาหาก็มีหนองไหลออกหูครับคุณสรวงมณฑ์ : หนองนี่เป็นน้ำเป็นหนองเลย?นพ.พิบูล : เป็นหนองเลยฮะเพราะว่าเด็กเล็กๆ เนี่ยจะบอกอะไรไม่ได้ พอคุณแม่รู้อีกทีก็หนองไหลแล้วคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ ส่วนใหญ่เป็นวัยไหนคะ?นพ.พิบูล : คือถ้าเป็นเด็กที่ยังพูดไม่ได้นะฮะ ส่วนใหญ่จะมาด้วยเรื่องหนองไหลเลย แต่ถ้าเป็นเด็กโตก็จะมาด้วยเรื่องปวดหู หรือหูอื้อนะฮะคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ ถามเรื่องหนองไหลก่อน มาแล้วเนี่ยส่วนใหญ่จะมีอาการผิดปกติอะไรคะ?นพ.พิบูล : ส่วนใหญ่เด็กเล็กๆ นะฮะเวลามีปัญหาเรื่องหูเนี่ยอาจจะเริ่มด้วยการเป็นหวัดก่อน พอเป็นหวัดไปสัก 2-3 วัน คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตเห็นว่ามีหนองไหลออกจากหู ซึ่งก่อนที่หนองจะไหลนะครับเด็กอาจจะปวดหู ก็จะร้องงอแงหรือว่านอนไม่หลับมาก่อนคุณสรวงมณฑ์ : ยังบอกเราไม่ได้แต่ร้องไห้งอแงมากนพ.พิบูล : ครับๆ ถ้าเราไม่รู้ว่าเค้ามีปัญหาเรื่องหูก็จะรอไปจนกระทั่งหนองไหล ถ้าหนองไหลปั๊บเด็กก็จะไม่ค่อยร้องเพราะว่าปวดน้อยลง แต่คุณพ่อคุณแม่ก็จะรู้ว่าลูกของเรามีปัญหาเรื่องหูแล้วคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ แล้วถ้าเป็นขั้นตอนการรักษาทางการแพทย์ ถ้าเจอกรณีแบบนี้ทำยังไงบ้างคะ?นพ.พิบูล : ก็คือต้องตรวจดูนะครับ ถ้าหนองไหลนี่มี 2 สาเหตุที่พบบ่อย อันแรกก็คือเรื่องของหูน้ำหนวก อันที่ 2 ก็คือเรื่องของการอักเสบของรูหู เช่น มีวัตถุแปลกปลอม มีสัตว์เล็กๆ เข้าไปในหู หรือว่ามีการแคะโดยคุณพ่อคุณแม่แล้วมีการติดเชื้อเป็นหนองคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ นี่คือสาเหตุหลักๆ เลย แล้วใช้เวลาในการรักษายังไงบ้างคะ? วิธีการรักษาด้วยค่ะ?นพ.พิบูล : สมมติว่ามีหนองไหลนะฮะ หมอก็ต้องแยกว่าเกิดจากสาเหตุอะไร คือรูหูหรือว่าแก้วหู ซึ่งการรักษาเนี่ยคุณหมอก็จะต้องส่องกล้องลงไปดู แล้วก็เอาหัวดูดเล็กๆ ดูดเอาน้ำออกหรือว่าหนองออก รวมทั้งขี้หูด้วยนะครับ ก็ไม่เจ็บนะฮะคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกลัว ดูดเสร็จปั๊บ หมอจะเห็นว่าแก้วหูเนี่ยมันทะลุหรือเปล่า ถ้ามันทะลุก็แสดงว่าจะเจอหูน้ำหนวก ถ้าไม่ทะลุก็อาจจะเกิดจากรูหูอักเสบคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ ส่วนใหญ่หูน้ำหนวกนี่จะเกิดจากอะไรคะ?นพ.พิบูล : ถ้าเด็กเล็กๆ ก็มักเกิดจากเป็นหวัดครับคุณสรวงมณฑ์ : เกิดจากเป็นหวัด แล้วก็เป็นหวัดเรื้อรัง?นพ.พิบูล : ครับ พอเป็นหวัดปั๊บเนี่ย เชื้อโรคมันไม่มีทางไป มันก็จะค่อยๆ ลามจากจมูกเข้าไปทางท่อเล็กๆ เข้าไปในหูนะครับเพราะว่าจมูกกับหูเนี่ยมีท่อต่อกันคุณสรวงมณฑ์ : มันเชื่อมถึงกันนพ.พิบูล : ครับคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ เพราะฉะนั้นมันก็เลยเป็นอาการที่บ่งชี้ ที่คุณหมอบอกว่าจะต้องมีอาการไข้ก่อนนำมานะคะ แล้วเจ้าสองอย่างนี่ในทางการแพทย์ถือว่าอันตรายมากมั๊ยคะ?นพ.พิบูล : จริงๆ แล้วในปัจจุบันนี่การรักษาทำได้ง่ายๆ ถ้ามาพบแพทย์ได้ทันเวลา ซึ่งปัจจุบันผมก็ไม่ค่อยเห็นว่ามีใครละเลยมากนะฮะคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะนพ.พิบูล : มันจะมีอยู่เรื่องนึงที่อันตรายก็คือเรื่องของการได้ยิน ซึ่งเด็กจะมาด้วยเรื่องอีกแบบนึง จะพบน้อย เช่น ไม่ค่อยพูด พูดช้าอะไรอย่างนี้คุณสรวงมณฑ์ : อ๋อค่ะ จะมีปัญหาในเรื่องของการได้ยิน นะคะนั่นก็เป็นอีกปัญหานึง อีกประเด็นนึง ทีนี้คุณหมอพูดถึงเด็กโตนะคะว่าพอเด็กโตส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการปวดหู ส่วนใหญ่เจออาการอะไรคะ?นพ.พิบูล : คือเด็กโตเนี่ยก็มักจะมาด้วยเรื่องปวดหูเป็นหลัก หรือถ้าเด็กโตมากก็จะบ่นเรื่องหูอื้อนะครับ ทีนี้ในเด็กโตเนี่ยปัญหาของหูน้ำหนวกก็ยังมีอยู่ แต่ปัญหาเรื่องของรูหูก็มีมากขึ้น เพราะเด็กโตนี่แคะหูเองได้คุณสรวงมณฑ์ : อ้า บางทีชอบแคะเองนพ.พิบูล : ครับ อาจจะแคะแล้วกระทุ้งเอาขี้หูเนี่ยไปรวมเป็นก้อน คือขี้หูคนนะครับ จริงๆ แล้วมันเป็นเหมือนสีที่ทาอยู่ในหู มันไม่ได้เป็นก้อน มันแค่เคลือบอยู่ ทีนี้พอเราไปแคะมัน มันก็ไปรวมเป็นก้อนคุณสรวงมณฑ์ : คุณหมอคะแล้วขี้หูเนี่ย บางคนเค้าเห็นว่าขี้หูแห้ง บางคนก็เหนียว บางคนก็เป็นก้อนๆ บางคนก็ช้ำๆ ดำๆ คือลักษณะของขี้หูมันบอกอะไรกับเด็กคนนั้นๆ มั๊ยคะ?นพ.พิบูล : มันบอกถึงการดูแลหูได้นะครับ แล้วก็มันบอกถึงประวัติในอดีตเลย เช่น บางคนพอเข้าวัยรุ่นมาแคะขี้หู เจอวัตถุตั้งแต่เด็กๆ เลยสะสมเป็นชั้นๆ เหมือนกับชั้นทางธรณีวิทยา แล้วก็ขี้หูเนี่ยมันจะเปลี่ยนไปตามความชื้น ตามการแคะ ตามอุปนิสัยของคนนั้นน่ะนะฮะ อย่างเช่น บางคนชอบแคะหูประจำ ขี้หูก็จะแข็ง แล้วก็องค์ประกอบข้างในคือเส้นใยของสำลี เวลาเราแคะหูนะครับ ส่วนของสำลีที่ไม้แคะต่างๆ เนี่ยจะหลุดติดไปกับขี้หูด้วยคุณสรวงมณฑ์ : ติดไปอยู่ในหูด้วย อ๋อ ก็ถือเป็นชิ้นส่วนของขี้หูในอนาคตเลย แล้วที่ขี้หูเหนียวๆ เลยล่ะคะ? ที่มันจะเหนียวๆ แบบเหมือนมันๆ เลยนพ.พิบูล : มันๆ เนี่ยที่จริงเป็นขี้หูดีนะครับ แต่บางคนอาจจะแคะมัน แล้วขี้หูดีนี่ก็ไปรวมเป็นก้อน ก็จะไม่ดีละคุณสรวงมณฑ์ : เพราะฉะนั้นถ้าขี้หูเป็นก้อนนี่ไม่ดีละนพ.พิบูล : ครับ คนส่วนใหญ่จะต้องเคยทำอะไรกับหูตัวเองอยู่บ้าง ธรรมชาติมันเนี่ยมันไม่ได้เป็นก้อน คือหูเราเนี่ยมีกลไกในการกำจัดขี้หูออกนะครับ มันจะมีการเคลื่อนของขี้หูออกมาเองโดยเคลื่อนจากข้างในออกข้างนอกคุณสรวงมณฑ์ : ดันออกมาเองนพ.พิบูล : ครับ แต่มันช้า ทีนี้พอเราไปแคะเนี่ย มันไปต่อสู้กับกลไกอันเนี้ย ขี้หูจะกลับไปที่เดิมแล้วก็สะสมเป็นก้อน บางคนแคะมากเนี่ยขี้หูจะยิ่งแข็งเพราะว่าสำลีนี่ดูดน้ำออกคุณสรวงมณฑ์ : เพราะฉะนั้นความเข้าใจที่บอกว่า ลูกไม่ค่อยได้ยินเลย ก็แสดงว่าขี้หูเยอะ ต้องไปเอาขี้หูออกนี่ เป็นความเข้าใจที่ผิดนพ.พิบูล : ครับ ก็มีส่วนอาจจะถูกก็ได้แต่ว่าควรจะพบแพทย์คุณสรวงมณฑ์ : ต้องไปพบแพทย์ดีกว่าเพราะว่าบางคนก็ขี้หูเยอะจริงๆ ใช่มั๊ยคะเพราะอาจมีลักษณะเฉพาะได้?นพ.พิบูล : ครับคุณสรวงมณฑ์ : แล้วกรณีที่สมมติว่าเด็กไปว่ายน้ำล่ะคะ ว่ายน้ำขึ้นมาแล้วต้องดูแลหูอะไรเป็นพิเศษมั๊ยคะ?นพ.พิบูล : คือผมมองในแง่ดีนะครับ การว่ายน้ำจริงๆ ไม่มีผลเสียต่อหูแต่ว่าคนที่จะว่ายเนี่ยควรจะไม่มีโรคหูมาก่อน เช่น แก้วหูต้องไม่ทะลุ แล้วก็ขี้หูนี่ต้องไม่เป็นก้อน ถ้าขี้หูเค้าเป็นก้อนนะครับเวลามันถูกน้ำนี่มันจะบวม บวมแล้วก็บางทีมันอุดตันเลย อุดตันเฉียบพลันก็เกิดอาการปวดหูแล้วก็หูอื้อได้ กรณีเช่นนี้ก็ต้องมาพบแพทย์แล้วก็ดูดเอาน้ำขี้หูออกคุณสรวงมณฑ์ : ดิฉันถามเผื่อไปถึงคนที่ขึ้นเครื่องบิน แล้วก็ให้เด็กเล็กขึ้นเครื่องบินนะคะ เรามักจะเห็นอยู่เสมอๆ บางทีเด็กทารกด้วย แล้วตอนที่เครื่องมัน take off ขึ้นไปหรือว่า landing เนี่ยเด็กมักจะร้องอยู่เสมอ มันเป็นกระบวนการอะไรคะ?นพ.พิบูล : มันเกิดจากแรงดันในหูมันตก มันก็เทียบเท่ากับเวลาเป็นหวัดนะฮะ มันเสี่ยงต่อการที่จะเกิดหูน้ำหนวก ถ้าในผู้ใหญ่หรือว่าเด็กโตเนี่ยเค้าจะแนะนำให้ทำท่าที่เรียกว่า วาลซาลว่า (Valsalva Maneuver)คุณสรวงมณฑ์ : ท่าไหนคะ?นพ.พิบูล : วาลซาลว่าเนี่ยก็คือเวลาที่เครื่องจะลง ในเด็กโตคือผู้ใหญ่เนี่ยให้เอามืออุดจมูกทั้งสองข้างนะฮะ แล้วหายใจออกแรงๆ คล้ายๆ สั่งน้ำมูกคุณสรวงมณฑ์ : คือหมายความว่าปิดจมูกแต่พยายามดันให้หายใจให้ได้?นพ.พิบูล : ครับๆ มันจะทำให้อากาศเข้าไปไหลเวียนภายในหูชั้นกลางดีขึ้น อาการปวดหูหรือหูอื้อจะน้อยลง ต้องทำหลายๆ ครั้งนะฮะ อาจจะ 5-10 ครั้งเวลาเครื่องลงแต่เวลาขึ้นไม่ต้องทำนะครับคุณสรวงมณฑ์ : เวลาขึ้นไม่ต้องทำแต่เวลาลงให้ลูกปิดจมูกเอาไว้แล้วก็เหมือนจะหายใจ จะดันออกมาแต่มันดันไม่ออกอะไรทำนองนี้นพ.พิบูล : ครับๆ ให้พยายามหายใจออกแรงๆ หรือว่าสั่งน้ำมูกโดยที่อุดจมูกไว้สองข้างคุณสรวงมณฑ์ : อ๋อ แล้วก็ทำประมาณ 5 ครั้งนพ.พิบูล : ครับๆคุณสรวงมณฑ์ : แล้วเด็กเล็กจะแก้ปัญหายังไงคะถ้ามีความจำเป็นจริงๆ ที่ต้องขึ้น?นพ.พิบูล : เด็กเล็กเนี่ยคงทำอะไรยากแต่ต้องระวังอย่าให้เป็นหวัดนะฮะ ถ้าเป็นหวัดเด็กก็จะเกิดอาการปวดหูเกือบ 100% แล้วก็จะพัฒนาไปเป็นหูน้ำหนวกได้ครับคุณสรวงมณฑ์ : มีสายคุณผู้ฟังนะคะคุณนันทกานต์ ตอนนี้เป็นคุณครูดนตรีเกี่ยวกับวงดุริยางค์จะต้องอยู่กับเสียงดังๆ ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นเช้ากลางวันเย็น แล้วก็รู้สึกว่าตอนนี้มีปัญหาเหมือนกันเพราะว่าเริ่มมีอาการปวดหู จะมีวิธีการป้องกันอย่างไรรึเปล่าคะ? อันนี้ถือว่าเป็นอาชีพค่ะคุณหมอยังไงก็คงจะต้องอยู่ด้วยนพ.พิบูล : สังเกตดูว่าปวดหูนี่มาจากเสียงดังรึเปล่า ถ้ามาจากเสียงดังนะฮะคือยิ่งเสียงดังก็จะยิ่งปวด แต่ถ้าเป็นจากโรคอื่นๆ เนี่ยมันไม่เกี่ยวกับเสียง คืออาจจะปวดตอนไหนก็ได้ ตอนนี้สมมติว่าเรามีปัญหาอย่างนี้แล้วนะครับ วิธีป้องกันดีที่สุดคือหาที่อุดหู หลายท่านอาจจะไม่เข้าใจ ที่อุดหูไม่มีผลเสียต่อการทำงานเลยนะครับ การฟังเพลง การคุมวงดนตรีเนี่ยไม่มีผลเลยคุณสรวงมณฑ์ : มันแค่ช่วยทำให้เสียงเข้าไปไม่เต็มเสียงเท่านั้นเองนพ.พิบูล : ครับคือ...คุณสรวงมณฑ์ : แล้วคำว่าที่อุดหูเนี่ยคือสำลีได้มั๊ยคะ?นพ.พิบูล : ไม่พอฮะ สำลีนี่ใช้ไม่ได้คุณสรวงมณฑ์ : ควรจะต้องใช้อะไรคะที่เป็นที่อุดหู?นพ.พิบูล : แนะนำลงทุนซื้ออย่างที่เค้ามีขายตามห้างสรรพสินค้า ที่มีแผนกเกี่ยวกับช่างน่ะฮะ จะมีที่อุดหูที่เป็นยางหรือว่าพวก PVC อะไรพวกนี้คุณสรวงมณฑ์ : อ๋อ ไปบอกเค้าว่าที่อุดหูใช่มั๊ยคะ?นพ.พิบูล : เค้าจะมีขายอันนึงก็ประมาณ 20-70 บาท แบบเป็นโฟมก็มีครับ แบบโฟมนี่พอใช้ได้แต่ว่าไม่ดีมากคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ อันนี้คือกรณีที่เราไม่รู้จะหลีกเลี่ยงยังไง ก็สามารถจะใช้ที่อุดหูแบบนี้กับอาชีพ แล้วอย่างนี้ใช้กับเด็กได้มั๊ยคะ?นพ.พิบูล : คือถ้าครูชักแย่เนี่ยเด็กก็คงแย่เหมือนกัน จริงๆ นะฮะคุณสรวงมณฑ์ : ก็สามารถที่จะใช้กับเด็กได้เหมือนกัน ที่อุดหูนพ.พิบูล : ครับ ผมแนะนำให้ใช้เลยนะฮะ มันมีข้อดีหลายอย่าง เช่น มันลดปริมาณเสียงที่เข้าหู แต่คุณภาพโดยเฉลี่ยแล้วคุณสรวงมณฑ์ : ยังเหมือนเดิมนพ.พิบูล : ครับ มันไม่มีผลต่อ performance ของนักดนตรี อุดหูแล้วก็ยังเล่นดนตรีได้เต็มที่ แล้วยังได้ยินเสียงคนพูดเสียงอะไรชัดขึ้นด้วยนะฮะคุณสรวงมณฑ์ : ท้ายสุดเลยคุณหมอมีประเด็นอะไรที่ตกหล่นมั๊ยคะ? แล้วก็อยากจะให้คุณพ่อคุณแม่ระมัดระวังเป็นพิเศษ ดูแลเป็นพิเศษมีมั๊ยคะ?นพ.พิบูล : ผมอยากจะเล่าว่าคนไทยประมาณ 1,000 คนเกิดมาเนี่ยจะมีคนที่หูตึงมาแต่กำเนิดแล้ว 2 คน ซึ่ง 2 คนนี้อาจจะเกิดจากคุณแม่เป็นหัดเยอรมันหรือว่ากินยาแปลกๆ ตอนท้อง แต่ว่าพออายุสัก 10 ขวบอาจจะมีอีกตั้ง 200 คนที่มีหูตึงเพิ่มขึ้น คือจาก 1,000 คนเกิดมาตึงสัก 2 คนแต่พอวัยรุ่นเนี่ยเพิ่มเป็น 200-300 คนจากปัจจัยภายนอก เช่น จากเสียงดังด้วยสาเหตุอย่างที่ได้คุยกันนะฮะ แล้วก็สาเหตุจากการใช้ยาจากปัจจัยต่างๆ มากมาย เราควรจะต้องใส่ใจตรงนี้ให้มากขึ้นคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ และนี่เป็นความห่วงใยนะคะจากคุณหมอ วันนี้ต้องขอบพระคุณคุณหมอมากนะคะที่มาให้ความรู้เต็มที่เลย ขอบพระคุณมากค่ะคุณหมอคะนพ.พิบูล : ครับ สวัสดีครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น