การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

เผยผลวิจัย เด็กไทย 1 ใน 4 ยิ่งโตยิ่งโง่!

เผยผลวิจัย เด็กไทย 1 ใน 4 ยิ่งโตยิ่งโง่!

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    



เปิดผลวิจัยเด็กไทย 1 ใน 4 สมองทึบตกเกณฑ์มาตรฐาน ชี้ยิ่งโตยิ่งโง่ เหตุปัจจัยสิ่งแวดล้อม อาหาร หลักสูตรการศึกษา 
ขณะที่ “หมอประเวศ” ย้ำจีดีพีไม่ใช่เป้าหมายสูงสุดการพัฒนาประเทศ ชี้ข้อมูลสำคัญมากถ้าพัฒนาระบบ
       
       วันนี้ (17 ก.พ.)  ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) 
สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 
และภาคีเกี่ยวข้องรวม 30 องค์กร จัดการประชุมวิชาการ ระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 
หัวข้อ “ข้อมูลสุขภาพเข้มข้น สุขภาพชุมชนเข้มแข็ง”
       
        ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวว่า การพัฒนาประเทศไม่ควรใช้จีดีพีเป็นเป้าหมายสูงสุดในการพัฒนาประเทศ 
แต่ควรตั้งเป้าหมายไปที่การมีสุขภาพดี เพราะสุขภาพหมายถึงทุกอย่างทั้งกายและใจ 
ซึ่งประเทศไทยมีทรัพยากรเพียงพอที่จะทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีได้ 
แต่ต้องทำให้เกิดการพัฒนาอย่างสมดุล หากนำข้อมูลมาคิดและปฏิบัติ และวิเคราะห์ ก็จะเกิดเป็นความรู้
       
       “การพัฒนาระบบสุขภาพควรเริ่มจากชุมชน คือไม่ทิ้งกัน ควรมีการสำรวจประชากร เช่น คนจน พิการ คนชรา 
ว่าถูกทอดทิ้งหรือไม่ เท่าไร เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการช่วยเหลือ ขณะที่ภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ 
ต้องทำงานเชิงรุก อย่างบางจังหวัดมีพยาบาลเยอะ ก็ควรมีระบบส่งเสริมให้พยาบาลไปเป็นอาสาพยาบาลในชุมชน 
โดยอาจเพิ่มแรงจูงใจ ซึ่งหากมีการดำเนินการมากขึ้นก็อาจจะจัดตั้งเป็นคลินิกพยาบาลเวชปฏิบัติ ขายไปตามศูนย์อนามัยต่างๆ 
ได้อีกทาง” ศ.นพ.ประเวศ กล่าว
       
        ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) 
กล่าวว่า ระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสุขภาพ ทั้งใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 
และธรรมนูญสุขภาพว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 การมีข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่ดี 
หมายถึงการนำข้อมูลแปลงเป็นสารสนเทศ แล้วสร้างให้เกิดความรู้ 
จึงเป็นเครื่องมือสำคัญของการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศและท้องถิ่นให้เข้มแข็ง 
การมีข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่ดีเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการสร้างระบบข้อมูลและความรู้ที่ยั่งยืน
       
        รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร ผอ.สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย 
กล่าวถึงวิจัยเรื่องการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายว่า 
ประเทศไทยทำโครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยทั่วประเทศใน 21 จังหวัดครั้งล่าสุดในปี 2551-2552 ในประชากร 
ด้วยการสัมภาษณ์ ตรวจสุขภาพ เช่น ตรวจเลือด วัดความสูง น้ำหนัก พบกลุ่มตัวอย่างอายุ 1-14 ปี จำนวน 9,000 คน 
ในเรื่องการพัฒนาการทางสมอง ข้อมูลเบื้องต้นถือว่าน่าตกใจ เพราะมีเด็กที่มีเชาวน์ปัญญา(IQ) ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยมาตรฐาน 
คือ 90 จุดลงมา มีถึง 1 ใน 4 หรือประมาณร้อยละ 25 ส่วนเด็กไอคิวปกติ 90-109 อยู่ที่ร้อยละ 40 และไอคิวเกินมาตฐานแบ่งเป็น 
สมองดีร้อยละ 12 ฉลาดละ 3 และอัจฉริยะร้อยละ 2 ซึ่งเกณฑ์ของไอคิวที่ต่ำกว่ามาตรฐานไม่ควรมีเกินจำนวน 1 ใน 4
       
       “ผลจากการสำรวจเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่า พัฒนาการของเด็กลดลงเมื่อเริ่มเข้าโรงเรียน แสดงให้เห็นว่าสิ่งแวดล้อม 
การศึกษา อาหาร มีส่วนประกอบทำให้เด็กไอคิวแย่ลง ซึ่งควรนำข้อมูลดังกล่าวไปสู่การวางแผนปรับแก้การกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก
ตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งที่ผ่านมาจากการสำรวจหลายครั้งก็ยังได้ผลใกล้เคียงกับตัวเลขดังกล่าว 
ทั้งนี้โอกาสที่จะพัฒนาเด็กให้มีไอคิวดีขึ้นสามารถทำได้ด้วยการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม อาหาร หลักสูตรการศึกษา 
อาจจะสามารถแก้ปัญหาได้” รศ.นพ.วิชัย กล่าว

ความคิดเห็น