บทสัมภาษณ์ : นพ.ชาตรี วิฑูรชาติ เรื่อง “เมื่อลูกปัสสาวะรดที่นอน”
รายการ “พ่อแม่มือใหม่ หัวใจเกินร้อย” FM 105
ถอดคำสัมภาษณ์ นพ.ชาตรี วิฑูรชาติ กุมารแพทย์และจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ผู้ดำเนินรายการ คุณสรวงมณฑ์ สิทธิสมาน
ผู้ถอดคำสัมภาษณ์ : คุณ เอ อรทัย orathaia.multiply.com
วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เรื่องเกี่ยวกับ “เมื่อลูกปัสสาวะรดที่นอน”คุณสรวงมณฑ์ : สวัสดีค่ะคุณหมอคะผศ.นพ.ชาตรี : สวัสดีครับคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ รบกวนคุณหมอมาให้ความรู้ในประเด็นที่คนเป็นพ่อแม่มือใหม่มักจะวิตก ก็คือเรื่องของอาการฉี่รดที่นอนค่ะ ก่อนอื่นเลยต้องถามคุณหมอก่อนว่า อาการฉี่รดที่นอนเป็นอาการปกติรึเปล่าคะ? เกิดกับเด็กได้ทุกคนเลยใช่มั๊ยคะ?ผศ.นพ.ชาตรี : เป็นได้ทั้งปกติและไม่ปกติขึ้นกับอายุของเด็ก เนื่องจากว่าในเด็กเล็กๆ การปัสสาวะรดที่นอนเป็นเรื่องธรรมดา แต่เมื่อเค้าโตขึ้นก็ควรจะห่างขึ้นและก็หยุดไป คำว่า “โตขึ้น” นี่ก็หมายถึงอายุ 5 ปีขึ้นไปคุณสรวงมณฑ์ : 5 ปีขึ้นไปผศ.นพ.ชาตรี : ครับ ส่วนใหญ่แล้วเด็กก็จะหยุดปัสสาวะรดที่นอนในตอนกลางคืน แต่ถ้าหาก 5 ปีแล้วยังมีอยู่เป็นประจำ ไม่ใช่นานทีปีหน มีปัสสาวะรดที่นอนอยู่ทกอาทิตย์ก็ถือว่าผิดปกติคุณสรวงมณฑ์ : นี่คือเกณฑ์ดูคร่าวๆ ทีนี้มาพูดถึงเรื่องของ “ฉี่” ขออนุญาตใช้คำว่า “ฉี่” หรือว่า “ปัสสาวะ” นะคะว่าระบบปกติของเด็ก วันนึงฉี่กี่ครั้งตั้งแต่เด็กๆ ? และสีของปัสสาวะบอกอะไรในตัวเด็กคะ?ผศ.นพ.ชาตรี : คำถามนี้ตอบยากเพราะว่าขึ้นกับปริมาณน้ำที่เด็กทานนะครับ หมายถึงกลางวันหรือกลางคืนครับ หรือทั้งสองอย่าง?คุณสรวงมณฑ์ : ทั้งสองอย่างเลยค่ะผศ.นพ.ชาตรี : ปกตินั้นในเด็ก ยิ่งเด็กเล็กก็จะยิ่งมีปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะช่วง 2 ขวบแรกซึ่งยังทานนมเยอะก็อาจจะปัสสาวะประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อครั้ง อันนี้เป็นการประมาณเท่านั้นไม่สามารถบอกให้แน่นอนได้ โดยเฉพาะช่วงขวบปีแรกก็จะกินนมเป็นหลักเลย ก็จะฉี่บ่อยมากรวมทั้งกลางคืนขณะที่นอนด้วยหลังจากช่วง 2 ขวบขึ้นมา เด็กส่วนใหญ่จะไม่ปัสสาวะราดตอนกลางวันแล้ว คือเค้าจะสามารถเดินเข้าห้องน้ำเองหรือเค้าสามารถจะบอกได้ ทำท่าให้เรารู้ว่าเค้าปวดฉี่แล้วนะ แต่ว่ากลางคืนจะยังฉี่รดที่นอนอยู่ คืนละสัก 1-2 ครั้งโดยประมาณ กลางวันนี่ก็ยังฉี่ประมาณทุก 1-2 ชั่วโมงอยู่หลังจาก 3 ขวบขึ้นมาก็จะฉี่ห่างขึ้นเยอะโดยเฉพาะตอนกลางวันก็จะเป็น 2-3 ชั่วโมง เด็กจะกลั้นได้ เด็กจะสามารถควบคุมกล้ามเนื้อหูรูดที่คอของกระเพาะปัสสาวะ ตรงนั้นจะมีกล้ามเนื้อหูรูดที่จะคอยกลั้นคอยอั้นเอาไว้ได้ เค้าก็จะควบคุมได้ดีขึ้น แต่กลางคืนขณะหลับ เค้าจะยังคุมไม่ได้ ก็จะยังมีฉี่รดที่นอนแต่ส่วนใหญ่ก็จะประมาณคืนละ 1-2 ครั้ง และบางคนจะฉี่รดที่นอนน้อยลงหรือเลิกฉี่รดที่นอน บางคนจะยังมีอยู่สักคืนละครั้งได้ส่วนใหญ่แล้ว 4 ขวบจะหยุดแล้ว คำว่าหยุดไม่ได้หมายถึงว่าเค้าไม่มีปัสสาวะ แต่ว่าตอนกลางคืนระบบประสาทอัตโนมัติ ถึงแม้จะหลับอยู่มันก็ยังสามารถควบคุมกล้ามเนื้อหูรูด ที่คอของกระเพาะปัสสาวะอั้นเอาไว้ได้ทั้งๆ ที่หลับอยู่ เพราะฉะนั้นพอ 4 ขวบส่วนใหญ่เลยประมาณสัก 70-80% จะหยุดฉี่รดที่นอนแล้วแต่จะมีบางคนที่จะนานๆ ครั้ง อาทิตย์ละ 1 หนอย่างนั้นจนถึง 5 ขวบก็ยังถือว่ายังโอเคนะครับแต่ถ้าหลัง 5 ขวบไปแล้วไม่ควรจะมีคุณสรวงมณฑ์ : ยังขออนุญาตอยู่ที่เด็กต่ำกว่า 5 ขวบก่อนนะคะคุณหมอ ส่วนใหญ่ถ้าจะฉี่รดที่นอนก็จะเป็นกลางคืน แล้วที่คุณหมอบอกว่า 1-2 ครั้งก็น่าจะโอเค แล้วถ้าเด็กต่ำกว่า 5 ขวบนี้เค้ามีพฤติกรรมในการฉี่รดที่นอนทุกวันเลย เราจะแก้ปัญหายังไงคะ?ผศ.นพ.ชาตรี : เนื่องจากเราบอกว่ายังเป็นปกติ เพราะฉะนั้นเราก็จะไม่ไปแก้อะไรเพียงแต่ว่าจะไม่ให้มันเป็นมากเกินความจำเป็น คือแทนที่จะฉี่ 1 หนแต่ไปฉี่ 2-3 หนก็มากเกินไป วิธีก็คือ1. ในช่วงก่อนนอนนั้นก็หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมากๆ ช่วงก่อนเข้านอนเพราะว่าดื่มเข้าไปนี้ประมาณ 2 ชั่วโมงก็จะกลายเป็นปัสสาวะมาอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ2. หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสจัด หรือว่ากินอาหารมื้อใหญ่ตอนช่วงใกล้เข้านอน เด็กๆ ควรจะกินข้าวเย็นสัก 4-5 โมงเย็น ไม่ใช่ไปกินตอน 1-2 ทุ่มเหมือนผู้ใหญ่ แล้วอีกชั่วโมงนึงก็เข้านอน ในอาหารที่เราทานก็จะมีน้ำเป็นส่วนประกอบจำนวนมากอยู่แล้ว เกินครึ่งนึงอยู่แล้ว มันก็จะทำให้มีปัญหานี้ได้เด็กบางคนก็จะตื่นสายมาก พอตื่นสายมากก็จะปัสสาวะรดที่นอนตอนช่วงเช้าๆ 6 โมงเช้า 7 โมงยังไม่ลุกซะที มันก็อั้นไม่ไหว ก็ออกมาอีก แต่ที่สำคัญเลยก็คืออย่างที่บอกแล้วว่าใน 4 ขวบแรกก็ยังปกติเพราะฉะนั้นอย่าไปลงโทษ หรือดุว่าเด็กในวัยนี้เพราะว่ามันไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น แต่มันกลับทำให้เด็กเกิดความกังวลใจ เกิดความอายคุณสรวงมณฑ์ : เครียดอีกผศ.นพ.ชาตรี : ใช่ครับ เป็นปมด้อย เค้ารู้สึกอายนะครับ ตอนเช้าตื่นขึ้นมาฉี่เปียกที่นอน คุณพ่อคุณแม่หรือพี่น้องก็มาล้อเลียนกันคุณสรวงมณฑ์ : บ่น ต่อว่าผศ.นพ.ชาตรี : ครับ บางทีไม่ใช่ล้อเลียนเฉยๆ บางทีโดนลงโทษด้วยซ้ำไป โดนตี โดนอะไรอย่างนั้น เพราะฉะนั้นตอนนี้ก็ควรจะหลีกเลี่ยงซะ แล้วก็ควรจะเฉยๆ ไม่รู้สึกว่านี่เป็นความผิดอะไรคุณสรวงมณฑ์ : ทีนี้วิธีการแก้ปัญหาของคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ ที่ไม่อยากจะมานั่งเช็ด ซักที่นอน ก็พยายามให้ใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป มันจะทำให้ปัญหานี้แก้ไขลำบากขึ้นหรือเปล่าคะ?ผศ.นพ.ชาตรี : ก็มีส่วน คือบางคนก็เป็นปัญหา บางคนก็ไม่เป็นปัญหา ปกติแล้วเมื่อเด็กถึงวัยคือ 3-4 ขวบ เค้าจะเริ่มแห้งแล้วตอนกลางคืน ไม่ฉี่รดเพราะฉะนั้นเราก็ควรจะเลิกการใช้ผ้าอ้อม ขณะเดียวกันเมื่อเด็กเค้าปวดเค้าจะรู้สึกตัวแล้วก็ลุกขึ้นมาปัสสาวะ เช่น ในตอนเช้า เป็นต้น แต่บางคนนั้นเราก็ไปใส่ผ้าอ้อมแล้วก็อนุญาตให้เด็กนอนต่อ บางคนนั้นตอนเช้าขึ้นมา ปวดแล้ว รู้ตัวแล้วแต่ขี้เกียจลุก แม่ก็ใส่ผ้าอ้อมเอาไว้ ชั้นก็นอนฉี่อย่างนั้นแหละ แล้วก็นอนต่อคุณสรวงมณฑ์ : แม่ก็ขี้เกียจลุกด้วยผศ.นพ.ชาตรี : อันนั้นมันเหมือนกับเป็นการอนุญาตให้เด็กทำแบบนั้น ก็กลายเป็นความเคยชินที่ไม่เหมาะสม เพราะฉะนั้นก็ควรจะให้เด็กนอนแต่หัวค่ำและตื่นแต่เช้าให้เป็นเวลา ปัญหาของเราก็คือว่าบางวันไปโรงเรียนอนุบาล เข้าโรงเรียนแล้วนะครับ จะตื่น 6 โมงเช้า 6 โมงครึ่ง แต่เสาร์อาทิตย์ก็ให้เด็กอยู่ดึก 4-5 ทุ่มแล้วก็ไปตื่นเอา 8-9 โมงเช้า ตอนเช้าเด็กก็ยังมาฉี่รดที่นอนได้อีกเหมือนกันคุณสรวงมณฑ์ : ดิฉันขออนุญาตเอาคำถามคุณผู้ฟังสลับด้วยนะคะ มาเยอะเลยค่ะคุณหมอ คุณวรรณโสภาบอกว่าตอนนี้ลูกอยู่ชั้น ป.2 เวลาที่น้องเครียดหรือมีเรื่องให้ตื่นเต้น น้องจะปัสสาวะบ่อยมาก เป็นมาตั้งแต่ตอนเข้าอนุบาลแล้ว หายแล้วก็กลับมาเป็นอีก แต่เวลาที่น้องไม่เครียดหรือไม่มีเรื่องตื่นเต้น น้องก็ไม่ค่อยปัสสาวะเท่าไหร่ อยากทราบว่ามันมีสาเหตุจากอะไรแล้วสามารถป้องกันได้รึเปล่าคะ?ผศ.นพ.ชาตรี : ครับ สาเหตุก็จากที่คุณแม่บอกนี่ล่ะครับ ใช่เลย เด็ก ป.2 อายุประมาณ 7-8 ขวบเราจะพบบ่อยว่าเวลาที่เค้าเครียดกังวลนั้น มันจะกระตุ้นให้รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย อันนี้เป็นอาการนึงของความเครียดความกังวล ซึ่งมันออกมาได้หลายรูปแบบนะครับ บางคนเวลาเครียดกังวลก็อาจจะมีปวดหัว ปวดท้อง แต่ว่าเด็กบางคนจะมีอาการปวดปัสสาวะ คราวนี้มาถึงตอนกลางวันตอนที่ตื่นๆ อยู่ไม่ใช่ตอนหลับ ปกติปัสสาวะ 1-2 ชั่วโมง/ครั้ง พอตอนกังวลขึ้นมาบางคน 10 นาที/ครั้ง 15 นาที/ครั้ง ชั่วโมงนึงเข้า 3-4 หน ขณะเดียวกันปัสสาวะก็ออกจริงๆ แต่ออกนิดเดียว อันนั้นเป็นความกังวล ก็ต้องดูว่ามีอะไรเป็นสาเหตุให้เค้ากังวล เราจะหลีกเลี่ยงได้มั๊ย หรือเราจะช่วยประคับประคอง ปลอบใจ ช่วยให้เค้าสามารถจัดการกับความเครียดนั้นได้อย่างเหมาะสม ให้มันน้อยลงไปได้ยังไง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นชั่วคราว 1-2 อาทิตย์พอเหตุการณ์นั้นจางหายไป มันก็ดีขึ้นคุณสรวงมณฑ์ : เหมือนกับเวลาเรากลัวอะไรมากๆ หรือตื่นเต้นมากๆ เรายังฉี่ราดเลย?ผศ.นพ.ชาตรี : ใช่ครับ ผู้ใหญ่ก็ยังเป็นนะครับ แม้จะต้องขึ้นไปกล่าวอวยพรบนเวทีอย่างนี้ ไหนจะต้องไปพรีเซ้นต์งานคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ ตื่นเต้นผศ.นพ.ชาตรี : ก็ปวดขึ้นมาทันทีเลย พอเค้าเรียกชื่อปุ๊บรีบวิ่งเข้าห้องน้ำทันทีเลย ก็เป็นเหมือนกันแต่เด็กก็เป็นมากกว่านั้น ยกตัวอย่างเด็กคนนึง มีอยู่วันนึงตอนหัวค่ำ 1-2 ทุ่ม คุณแม่บอกจะเข้าห้องน้ำทุก 10 นาทีเลย ต่อมาเราก็พบว่าเด็กกังวลเพราะก่อนหน้านั้น อาทิตย์ที่แล้วตอนหัวค่ำพ่อทานเหล้าบ่อย กลับมาเมาๆ ก็จะมาทะเลาะกับแม่แล้วก็มีการตบตีเกิดขึ้นรุนแรง เด็กกลัวมาก พอถึงตอนค่ำก็เริ่มคิดแล้ว “เดี๋ยวพ่อจะกลับมา วันนี้พ่อจะเมามั๊ย จะมาตีกันอีกรึเปล่า” เด็กก็จะมีอาการเกิดขึ้นคุณสรวงมณฑ์ : อ๋อ มันก็มีส่วนสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ใหญ่ได้ด้วยเหมือนกันผศ.นพ.ชาตรี : ครับ แต่อันนี้เป็นการปวดตอนกลางวันนะครับ ปวดบ่อยๆ ไม่ใช่การปัสสาวะรดที่นอน แต่ปัสสาวะรดที่นอนก็จะมีได้เหมือนกัน เด็กบางคนอายุ 6-7 ขวบถึงแม้จะหยุดปัสสาวะรดที่นอนแล้ว เลิกฉี่รดมานานหลายเดือนแล้ว เป็นเดือนหรือเป็นปี แต่ช่วงที่เกิดความเครียดเกิดขึ้น มีปัญหาในบ้าน หรือในโรงเรียนเด็กจะกลับถดถอย และกลับมาฉี่รดที่นอนอีกครั้งนึง เป็นได้เหมือนกันคุณสรวงมณฑ์ : สอดคล้องกับคำถามของคุณตรีนุชนะคะ บอกว่าตอนนี้น้องอายุ 9 ขวบแล้วค่ะยังไม่เลิกปัสสาวะรดที่นอน จะฉี่รดที่นอนอาทิตย์ละ 2 ครั้ง บางครั้งน้องก็บอกว่าฝันว่าเข้าห้องน้ำ อยากถามว่ามีสาเหตุอะไรที่น้องยังไม่เลิกปัสสาวะรดที่นอนค่ะ?ผศ.นพ.ชาตรี : อันนี้จะมีอยู่ 2 ประเภทนะครับประเภทหนึ่งคือ ปัสสาวะรดที่นอนมาแต่เล็กยันโตเลย ไม่เคยหยุดนานๆประเภทที่ 2 คือ เคยหยุดปัสสาวะรดที่นอนมาแล้วต่อเนื่องนานมากกว่า 6 เดือนแต่วันดีคืนดีกลับมาปัสสาวะรดที่นอนอีกครั้งนึง แล้วก็เป็นต่อเนื่องมาเลยอย่างนี้ประเภทแรกนั้น เกิดจากพัฒนาการของการควบคุมกล้ามเนื้อหูรูดที่กระเพาะปัสสาวะช้า อันนี้เจอบ่อย และก็มักจะพบว่าคุณพ่อคุณแม่พี่น้องใกล้ชิด ก็จะมีประวัติปัสสาวะรดที่นอนเหมือนกัน คุณแม่บอกว่าแม่เองก็เคยเป็น 13 กว่าจะหยุดคุณสรวงมณฑ์ : มันถ่ายทอดกรรมพันธุ์เหรอคะ?ผศ.นพ.ชาตรี : เป็นกรรมพันธุ์ครับ เราจะพบประวัติอย่างนั้นนะครับแต่ประเภทที่ 2 ที่เคยหยุดไปได้เกิน 6 เดือนหรือเป็นปีแล้วแสดงว่ากล้ามเนื้อมันพัฒนาได้เต็มที่แล้ว แต่กลับมาเป็นใหม่ทีหลัง อันนี้ต้องหาสาเหตุนะครับ อาจจะเกิดจากสาเหตุทางจิตใจหรือร่างกายก็ได้ ที่เจอบ่อยทางจิตใจก็คือเรื่องความเครียด พวกนี้จะทำให้เกิดถดถอย เด็กบางคนเวลาเจอเรื่องเครียดๆ มากๆ อยู่ที่โรงเรียนเจอเพื่อนแกล้งทุกวันแล้วก็ไม่มีคนช่วยเหลือได้ เด็กจะถดถอยกลับมาเป็นใหม่ได้แต่ว่าทางกายก็เป็นได้เหมือนกันครับ เช่น ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะก็ทำให้มีได้ หรือถ้ารุนแรงกว่านั้นก็พวกโรคทางเบาหวานหรือโรคทางต่อมไร้ท่อ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นในรายที่เคยหยุดปัสสาวะรดที่นอนเกิน 6 เดือนแล้วกลับมาเป็นใหม่ เป็นอยู่หลายๆ วันแล้วยังไม่หายซะที ควรจะพาไปพบกุมารแพทย์เพื่อตรวจปัสสาวะดูครับคุณสรวงมณฑ์ : แล้วมีมั๊ยคะที่เป็นพฤติกรรมเหล่านี้ติดไปจนโตเลย?ผศ.นพ.ชาตรี : มีเหมือนกันแต่ว่าน้อยนะครับ คือส่วนใหญ่ 5 ขวบยังไม่เลิก 6, 7, 8, 9 ขวบ พอยิ่งโตจะค่อยๆ หทยอยเลิก หายไปเอง จะมีจนถึงเป็นผู้ใหญ่เลยก็มีแต่ว่าน้อยมาก ส่วนใหญ่...คุณสรวงมณฑ์ : ดิฉันเคยเจอกรณีนึงค่ะคุณหมอคะว่าเค้าจะไม่ยอมไปนอนนอกบ้านเลย เวลาจะไปต่างจังหวัดอะไรอย่างนี้เค้าจะมีความรู้สึก เค้าจะไม่ไป แล้วมีอยู่ครั้งนึงพลาด พลาดแล้วเค้าไป แล้วปรากฏว่าเค้าก็ฉี่รดที่นอนแล้วเค้าก็เปิดเผยขึ้นมา หลังจากที่เค้าอายนะคะแล้ว เค้าก็บอกว่ามันเป็นสาเหตุที่เค้าไม่อยากไปนอนที่อื่น เพราะว่าเค้าไม่สามารถควบคุมได้ แล้วเค้าก็จะฉี่รดที่นอนทุกครั้ง อย่างนี้นี่ต้องยังไงคะ?ผศ.นพ.ชาตรี : เราต้องดูว่าปัญหามันรุนแรงมากแค่ไหน อย่างที่ได้เรียนไว้ว่าพอยิ่งโต มันก็จะค่อยๆ หายไปเอง เฉลี่ยแล้ว 1 ปีที่เด็กโตขึ้นจะมีโอกาสหายประมาณ 10% ยกตัวอย่างว่า อายุ 5-6 ขวบแล้วมีเหลือสัก 20% ที่ยังฉี่รดที่นอนอยู่ พออายุ 7 ขวบ 20% ก็จะหายไป 2% เหลือประมาณ 18% เหลือ 16% 15% ค่อยๆ ลดลงไปเพราะงั้นส่วนใหญ่ก็จะหายก่อนเข้ามหาวิทยาลัยนะครับ ปัญหาที่ว่าเป็นจนถึงช่วงผู้ใหญ่เลย ผมเคยเจอแค่ 2 รายเองคุณสรวงมณฑ์ : น้อยมากผศ.นพ.ชาตรี : รายนึงมาปรึกษาเพราะว่ากำลังจะแต่งงาน อายว่าที่สามีว่าแต่งงานแล้วยังฉี่รดที่นอน ก็เลยมาปรึกษา แต่ส่วนใหญ่ที่ยังเจอกันอยู่ก็คือช่วงวัยรุ่น 14-15-16 ซึ่งจะต้องไปค่าย ไปค้างแรมและก็ยังมีปัญหานี้ ก็มาตรวจรักษาได้คุณสรวงมณฑ์ : มีคำถามจากคุณพ่อยุทธนะคะบอกว่า จะเริ่มใส่ผ้าอ้อมควรใส่ตั้งแต่อายุเท่าไหร่ดีค่ะ เพราะว่าจะป้องกันเรื่องของการฉี่รดที่นอน ตอนนี้น้องอายุ 1 ขวบ 9 เดือนค่ะผศ.นพ.ชาตรี : 1 ขวบ 9 เดือน หมอเข้าใจว่าตั้งแต่แรกเกิดเราก็ต้องใส่ผ้าอ้อมแล้วใช่มั๊ยครับ แต่ว่าจะหยุดเมื่อไหร่ต่างหากมั๊งครับ จะเลิกใส่เมื่อไหร่เราบอกไม่ได้ว่าเด็กแต่ละคนเค้าจะหยุดปัสสาวะรดที่นอนตอนกลางคืนเมื่อไหร่ เราต้องใช้การสังเกตเอา การสังเกตก็คือว่าตอนเช้ามาเราก็มาเปิดผ้าอ้อม จะเป็นผ้าอ้อมสำเร็จรูปหรือว่าผ้าอ้อมผ้าก็ตาม เราก็ดูว่ายังแฉะอยู่รึเปล่า ส่วนใหญ่ 1-2-3 ขวบก็จะยังมีแฉะอยู่เป็นธรรมดาแต่พอมีความพร้อมแล้ว เราจะพบว่าตอนเช้าเปิดดู เอ๊ะ แห้ง บางวันแห้ง นั่นแสดงว่าเด็กเริ่มจะมีความพร้อมที่จะเอาผ้าอ้อมออกได้แล้ว เพราะฉะนั้นช่วง 3 ขวบนี่แหละ อาทิตย์นึงจะมีบางวันที่แห้งคือไม่มีฉี่กลางคืนเลย อาทิตย์ละ 1-2 วัน แล้วมันก็จะบ่อยขึ้น อาทิตย์ละ 3-4 วันถึงตอนนั้นเราก็เริ่มเอาออกได้ครับคุณสรวงมณฑ์ : ทีนี้ในเด็กผู้หญิงกับในเด็กผู้ชายนะคะคุณหมอ ถามถึงเรื่องของเวลาเราจะไปฉี่ แล้วจะฝึกนิสัยในเรื่องของการไปขับถ่าย โดยเฉพาะการปัสสาวะ ควรจะเริ่มที่กระโถน ถูกต้องแล้วหรือควรจะไปเริ่มที่โถชักโครกเลย แล้วต้องมีที่สำหรับเด็กอะไรด้วยรึเปล่าคะ?ผศ.นพ.ชาตรี : อันนี้อาจจะยืดหยุ่นได้ ฉี่ที่กระโถนหรือจะไปฉี่ที่ชักโครก อันนี้หมายถึงเด็กผู้หญิงด้วยนะครับคุณสรวงมณฑ์ : ทั้งผู้หญิงทั้งผู้ชายเลยค่ะผศ.นพ.ชาตรี : ได้ทั้งสองอย่าง ถ้าเป็นชักโครก ถ้าจะให้สะดวกก็คือหาที่รองสำหรับเด็ก เค้าจะมีคล้ายๆ เป็นเบาะอันเล็กๆ วางไปบนนั้นอีกทีเพื่อให้มันแคบลงมา เด็กจะได้นั่งได้สะดวกไม่หล่นนะครับ แล้วก็คงต้องช่วยจับประคองเค้าไว้ อย่าให้เค้ารู้สึกกลัวหรือรู้สึกว่า เอ๊ะ มันจะตกลงไป จริงๆ ในเด็กเล็กๆ นั้นนั่งกระโถนมันก็สะดวกขึ้นเพราะว่าเราไม่ต้องอุ้มเค้ามาไกล วางไว้ใกล้ๆ มือ พอเค้าแสดงท่าทีทำท่าดึงหนีบขาปุ๊บ เราก็คว้ามา มันก็จะง่ายขึ้นและเด็กก็จะนั่งสะดวก ทีนี้ถ้าเด็กโตขึ้นหน่อยนึงก็อาจจะให้นั่งชักโครกอย่างที่ว่าครับ ซื้อที่รองมาให้ ก็ได้ทั้งสองอย่างครับคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ คงต้องให้คุณหมอฝากความห่วงใยถึงคุณพ่อคุณแม่แล้วนะคะ ในฐานะคุณหมอเองเห็นอยู่ว่า มันอาจจะเป็นเรื่องปกติ แต่ว่าคนเป็นพ่อแม่มือใหม่ก็มีความกังวล กับเรื่องของการฉี่รดที่นอนอยู่เป็นประจำ จะบอกคุณพ่อคุณแม่ยังไงดีคะคุณหมอ?ผศ.นพ.ชาตรี : ครับ ถ้าหากว่าเด็กยังมีฉี่รดที่นอนนั้น ถ้าเป็นเด็กที่โตขึ้นแล้ว 10, 11, 12 แล้วจะรักษา มันมีวิธีรักษาด้วยนะครับ วิธีรักษามีทั้งการทานยา มีทั้งการพ่นยา มีทั้งการใช้อุปกรณ์ปลุกให้ตื่น มีหลายวิธี แต่ว่าเราจะต้องรักษาให้หายมั๊ยก็ดูตามความถี่ว่าเป็นบ่อยมั๊ย ถ้าเป็นมันทุกวันเลย ที่จริงเป็น 4-5 วันแล้วเจ้าตัวเค้าอยากจะรักษาด้วยก็มาพบแพทย์ได้ มาพบกุมารแพทย์หรือจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นก็ได้ แต่บางคนถ้านานๆ เดือนนึงเป็น 2-3 หน แล้วก็ไม่ได้ออกนอกบ้าน ไม่ได้ไปไหน ไม่ได้เดือดร้อนมาก บางคนก็รอให้มันหายเองได้ ถ้าหากว่าโตมากแล้วจะต้องไปอยู่หอพักแล้วยังไม่หายซะทีก็มารักษาได้ แต่ถ้าหากว่าเคยหายแล้ว หยุดแล้วอยู่ๆ กลับมาเป็นใหม่ อย่างนั้นควรจะมาพบแพทย์ เพื่อตรวจปัสสาวะดูว่ามีโรคแทรกซ้อนหรือเปล่าคุณสรวงมณฑ์ : คุณหมอบอกว่ามีเครื่องมือช่วยปลุก มันคือนาฬิกาปลุกเหรอคะ หรือมันคืออะไรคะ?ผศ.นพ.ชาตรี : มันเป็นอุปกรณ์ที่เวลาปัสสาวะออกมาโดนมัน แล้วมันก็จะมีเสียงดังปลุกให้ตื่น เพื่อฝึกให้เกิดความคุ้นเคยว่าพอมันเกิดความปวดใกล้ๆ จะฉี่รดปุ๊บ เราก็จะได้ตื่นขึ้นมาเองและเข้าห้องน้ำได้ทันคุณสรวงมณฑ์ : อ๋อ นี่เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่เป็นอีกส่วนหนึ่งในการช่วยผศ.นพ.ชาตรี : ครับ มันมีหลายวิธีครับ ปกติก็นิยมใช้วิธีการทานยา นั่นก็ช่วยได้ครับคุณสรวงมณฑ์ : อย่างนี้ก็หมายความว่า พ่อแม่ก็สามารถที่จะปลุกลูกตอนกลางคืนขึ้นมาฉี่ได้ด้วยผศ.นพ.ชาตรี : อันนี้เป็นวิธีนึงในการปลุกเองนะฮะ บางคนจะสังเกตว่าเค้าจะปัสสาวะช่วงเวลาไหน แล้วก็ปลุกก่อนก็ได้เหมือนกันคุณสรวงมณฑ์ : วันนี้ต้องขอขอบพระคุณมากนะคะคุณหมอ มีประเด็นอะไรตกหล่นอีกมั๊ยคะ?ผศ.นพ.ชาตรี : ก็คงไม่มีแล้วครับคุณสรวงมณฑ์ : นะคะ ขอบพระคุณมากค่ะคุณหมอคะผศ.นพ.ชาตรี : ยินดีครับ สวัสดีครับคุณสรวงมณฑ์ : ค่ะ สวัสดีค่ะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น