การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

ลูกโตสมวัยหรือไม่ พ่อแม่ประเมินได้

คำถามยอดฮิตของคุณพ่อคุณแม่เห็นจะไม่พ้นเรื่องพัฒนาการลูกสมวัยไหม วันนี้เลยเอาบทความนี้มาฝากค่ะ

ลูกโตสมวัยหรือไม่ พ่อแม่ประเมินได้



ขึ้นชื่อว่าเป็นคุณแม่มือใหม่ แน่นอนว่า ความหวังของแม่ทุกคน คือ การที่ลูกรักมีพัฒนาการสมวัย เนื่องจากพัฒนาการเป็นเรื่องสำคัญ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านความสามารถในการทำงาน หรือการทำหน้าที่ต่างๆ ในแต่ละช่วงอายุของเด็ก

ไม่ว่าจะเรื่องกล้ามเนื้อ อารมณ์ และการเข้าสังคม เพื่อให้การเติบโตมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเพิ่มขึ้น จากง่ายเป็นยาก จากหยาบเป็นละเอียด ซับซ้อน แม่นยำ และคล่องแคล่วขึ้น ถ้าพัฒนาการลูกมีปัญหา อาจทำให้ทักษะบางอย่างในตัวลูกไม่สมบูรณ์ก็เป็นได้

คำถามมีอยู่ว่า "แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกโตสมวัยหรือไม่" เพื่อตอบโจทย์ความกังวลของพ่อแม่ดังกล่าว ทีมงาน Life & Family มีคำแนะนำจาก "พญ.นลินี เชื้อวณิชชากร" กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการ และพฤติกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ ที่จะมาแนะนำพ่อแม่ถึงการประเมิน และคัดกรองพัฒนาการของลูกเบื้องต้นได้เองที่บ้าน เพื่อที่จะได้สังเกต และเมื่อพบความผิดปกติ หรือสงสัยว่าผิดปกติ จะได้ไม่สายจนเกินแก้

กับเรื่องนี้ คุณหมอ อธิบายให้ฟังว่า การประเมินประเมินพัฒนาการของลูกเป็นระยะ ถือเป็นการประเมินเชิงคุณภาพที่พ่อแม่สามารถทำได้ง่ายด้วยตัวเอง โดยสมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา แนะนำให้เด็กทุกคนควรได้รับการประเมินพัฒนาการ เมื่ออายุครบ 9, 18, และ 24 หรือ 30 เดือน ทั้งนี้เพื่อพ่อแม่จะได้ทราบระดับความสามารถด้านต่างๆ ของลูกว่าเป็นอย่างไร มีพัฒนาการสมวัยหรือไม่ ซึ่งจะรอดูตอนลูกเข้าโรงเรียนเพียงอย่างเดียวคงช้าเกินไป

"หลักเบื้องต้นที่พ่อแม่สามารถประเมินลูกได้ คือ 3 ปีแรก อย่างน้อยสุดประเมินพัฒนาการตอนลูกอายุ 9 เดือน แต่ถ้าสังเกตตั้งแต่แรกเกิดจะดีที่สุด ซึ่งจะเริ่มดูตั้งแต่ เป็นเด็กเลี้ยงง่าย หรือเลี้ยงยาก มีการรับ หรือปรับตัวกับสถาพแวดล้อมได้ดีหรือไม่ จากนั้นให้สังเกตุพัฒนาการอีกที ตอน 18 เดือน 24 เดือน หรือ 30 เดือนอีกสักครั้ง จากนั้น จะถัดออกไปปีละครั้ง" คุณหมอเด็กกล่าว

อย่างไรก็ดี ในแต่ละเดือนที่กล่าวไปนั้น ให้พ่อแม่ดูอะไรบ้าง คุณหมอแนะนำว่า ให้พ่อแม่สังเกตลูกขณะเล่นตามลำพัง เล่นกับผู้อื่น หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดู โดยการคัดกรองแม่สามารถสังเกตได้ โดยแต่ละช่วงวัย เริ่มตั้งแต่ 9 เดือน พ่อแม่ควรสังเกตในเรื่องของกล้ามเนื้อ ความผูกพันรักใคร่กับพ่อแม่ และผู้เลี้ยงดู 18 เดือน เน้นการพูด การเข้าใจทางด้านภาษา และการสื่อสาร ในขณะที่ 3 ขวบ ลูกควรจะพูด และสื่อสาร และเข้าสังคมการเล่นกับเพื่อนได้ ทั้งนี้ ในแต่ละช่วงวัย อธิบายรายละเอียดเพื่อการประเมิน และคัดกรองได้ง่ายๆ ดังนี้

ประเมิน และคัดกรองพัฒนาการลูกตอนเข้าสู่อายุ 9 เดือน

- ขณะที่ลูกกำลังเล่น และคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้เลี้ยงดูเดินไปด้านหลังของลูก เมื่อลูกได้ยินเสียงคุณ เขาจะหันหาเสียงกระซิบ หรือเสียงเบาๆ

- ลูกนั่งได้เอง โดยที่พ่อแม่ไม่ต้องช่วย ซึ่งลูกไม่ต้องใช้มือของเขาช่วยพยุง

- ลูกคลานโดยใช้มือ และเข่าได้หรือไม่

- ลูกสามารถถือขวดนมด้วยตัวเองได้

- ลูกจงใจปล่อย หรือขว้างของเล่น

- ลูกสามารถเคาะ หรือเขย่าของเล่นได้หรือไม่

- เวลานำหนังสือให้ลูก เข้าทำท่าตื่นเต้น และพยายามเอาเข้าปาก

- ลูกระแวดระวังคนแปลกหน้า

- ลูกส่งเสียงคล้ายเสียงสระ หรือพยัญชนะ

ประเมิน และคัดกรองพัฒนาการลูกตอนเข้าสู่อายุ 18 เดือน

- ลูกสามารถถือถ้วยน้ำที่มีหู โดยพ่อแม่ไม่ต้องเข้าไปช่วย หรือดื่มน้ำจากแก้วโดยไม่ทำหก

- ลูกเดินผ่านห้องกว้างโดยไม่เซ หรือหกล้ม

- ลูกถอดรองเท้า และกินอาหารด้วยตัวเอง

- ลูกมองพ่อแม่เมื่อรู้สึกเครียด เช่น พบคนแปลกหน้า

- ลูกลงไปนอนดิ้นกับพื้น

- ลูกพูดได้อย่างน้อย 4-10 คำ

- ลูกสามารถชี้ภาพ ตรงตามที่คุณพ่อคุณแม่บอกได้

- ลูกทำท่าทางเหมือนกำลังพูดคุย

ประเมิน และคัดกรองพัฒนาการลูกตอนเข้าสู่อายุ 3 ขวบ

- ให้คุณพ่อคุณแม่ชี้ภาพสัตว์แล้วถามลูกว่า ลูกตอบได้หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์อะไรก็ได้ ควรตอบได้อย่างน้อย 1 ชื่อ

- ลูกสนุกกับการนั่งฟังนิทานที่คุณพ่อคุณแม่เล่าให้ฟังได้อย่างน้อย 5 นาที

- ลูกตอบคำถามอะไรก็ได้เกี่ยวกับนิทานที่เพิ่งได้ฟังได้

- ลูกขว้างบอลเหนือหัว (ไม่ใช่โยนขึ้น) ไปบริเวณท้อง หรือหน้าอกของคุณพ่อคุณแม่ที่ยืนห่างไปประมาณ 2 เมตรได้

- ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เข้าใจสิ่งที่ลูกพูด (ยกเว้นตัวคุณพ่อคุณแม่)

- ลูกช่วยเก็บของเข้าที่

- ลูกตอบได้ว่า "เป็นผู้หญิง หรือผู้ชาย"

- ลูกบอกสีได้อย่างน้อย 1 สี

- ลูกพูดเป็นประโยคมี 3 คำขึ้นไป

ดังนั้น การประเมิน และคัดกรองพัฒนาการ บุคลากรสาธารณสุขเชื่อว่า "ความกังวลของพ่อแม่ ต้องถือเป็นเรื่องที่ควรเอาใจใส่มากที่สุด เนื่องจากเป็นผู้ใกล้ชิดกับลูกมากที่สุด" ซึ่งควรหาให้เจอว่าสิ่งที่กังวลคืออะไร และเมื่อพบปัญหาจนผิดปกติ เช่น ลูกทำได้ดีเกินไป หรือด้อยเกินไป อาจมีแนวโน้มต่อเด็กได้ทั้งหมด อย่างไรก็ดี ไม่ควรปล่อยให้ผ่านเลยไป แต่ขอให้ปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการ หรือพฤติกรรมด้านเด็ก เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อปัญหา และหาแนวทางแก้ได้อย่างทันท่วงที และถูกต้อง ก่อนที่จะสายเกินแก้

ขอขอบคุณ : ASTV ผูจัดการออนไลน์

ความคิดเห็น