เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการกินอาหารของเด็ก

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการกินอาหารของเด็ก



ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับบางประการเกี่ยวกับการให้ลูกกินอาหาร

ให้เวลา ให้เวลาลูกหลายๆ วัน เพื่อให้ลูกเคยชินกับอาหารแต่ละอย่าง ก่อนที่จะลองให้ลูกกินอาหารชนิดอื่น
ด้วยวิธีนี้ จะทำให้คุณรู้ว่าอาหารชนิดไหนที่ไม่ทำให้ลูกท้องอืด หรือไม่ทำให้ลูกเกิดอาการแพ้

ใช้ลิ้นดุนอาหารออกจากปาก ลูกของคุณอาจมีปฏิกิริยาตอบสนองตามสัญชาตญาณ ทีทำให้ลูกดันอาหารออกจากปาก โดยทั่วไปแล้วปฏิกิริยาตอบสนองนี้ จะหายไปตอนที่ลูกมีอายุประมาณ 4 เดือน เด็กๆ อาจใช้เวลาสักระยะหนึ่งในการเรียนรู้ ที่จะเก็บอาหารไว้ในปากก่อนที่จะกลืนลงไป

สังเกตปฏิกิริยาลูก คอยสังเกตปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับลูก เช่น ผื่นที่ผิวหนัง อาการท้องเสีย อาเจียน และหายใจมีเวียงหวีดในหลอดลม

อย่าให้อาหารมากเกินไป หยุดป้อนอาหารให้ลูก หากลูกเริ่มหันหน้าหนี ทำปากจู๋ ดุนลิ้นดันอาหารออกมาตลอดเวลา หรือดิ้นไปมา เพราะลูกอาจจะอิ่มแล้ว

กระตุ้นให้กิน กระตุ้นให้ลูกหัดกินอาหารเอง ลูกของคุณจะได้เรียนรู้การใช้ภาชนะและอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยตัวเข้าเอง ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะ และความเป็นอิสระของตัวลูกเอง ลูกของคุณอาจจะหยิบอาหารเข้าปากได้เอง ตอนที่อายุประมาณ 7-8 เดือน

จำกัดน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาล ให้ลูกดื่มน้ำเปล่าก่อนเสมอ อย่าให้ลูกดื่มน้ำผลไม้ที่มีรสหลานมากจนเกินไป เช่น น้ำแอปเปิ้ล หลีกเลี่ยงน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ซางบางชนิดอาจเปรี้ยวจนเกินไป สำหรับลูกของคุณ น้ำผลไม้ส่วนมากมีเพียงน้ำตาลและวิตามินซี หากลูกดื่มน้ำผลไม้มากเกินไป ลูกอาจจะไม่อยากกินอาหารอื่นๆ ที่มีคุณค่า และจำเป็นต่อการเจริญเติบโต

หลีกเลี่ยงเครื่องปรุงรส อย่าเติมเกลือ น้ำตาล หรือเครื่องปรุงรสอื่นๆ ลงไป ในอาหารสำหรับลูก

ทำให้สนุก อย่าทำเพียงแค่ตักอาหารแล้วป้อนเข้าปากลูก เพราะลูกของคุณ อาจจะสำลัก หรืออาเจียนได้ คุณควรจะหาเกมส์สนุกๆ  มาเล่นเพื่อกระตุ้นให้ลูกอยากกินอาหาร เช่นทำท่าเป็นเครื่องบิน บินเข้าปากลูก หรือเป็นขบวนรถไฟวิ่งเข้าปาก เป็นต้น คุณควรอดทน และป้อนอาหารให้ลูกอย่างนุ่มนวล เพื่อให้ลูกมีความสุข และสนุกกับการรับประทานอาหาร


เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย : อาหารบดละเอียด
โดยคุณ จูลี บี.


ลูกของฉันชอบแต่อาหารที่มีเนื้อเนียนละเอียดเท่านั้น ซึ่งฉันคิดว่าก็น่าจะเป็นอย่างนั้น เพราะลูกเคยชินกับน้ำนมอย่างเดียว ฉันเตรียมอาหารให้ลูกโดยบด หรือหนอย่างละเอียด ไม่ทำให้อาหารเป็นก้อน หลังจากนั้นระยะหนึ่ง ฉันก็เริ่มผสมอาหารที่เป็นชิ้นเล็กๆ ลงไปบ้าง แต่ลูกก็บ้วนออกทุกครั้ง ซึ่งฉันก็ไม่ละความพยายาม และในที่สุดลูกก็กินอาหารเป็นชิ้นได้

จากหนังสือ "365 เคล็ดลับดูแลลูกน้อย"

ความคิดเห็น