รังสีมือถือ อันตรายใกล้ตัวที่คาดไม่ถึง
รังสีจากโทรศัพท์มือถือ คือ รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ประเภท นัน-ไอออนไนซ์ เป็นรังสีที่อาจทำให้ดีเอ็นเอของเซลล์ เกิดการบาดเจ็บเสียหาย ซึ่งเป็นรังสีที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกับรังสีคลื่นวิทยุ รังสีจากความร้อน รังสีจากแสงแดด และรังสีจากเตาไมโครเวฟ (เป็นรังสีคนละประเภทกับรังสีที่ใช้ในทางการแพทย์)
เมื่อเซลล์ได้รับรังสีไม่ว่าจะเป็นรังสีประเภทใด (แต่ต้องได้รับในปริมาณที่มากพอ รับอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หลายๆ เดือน หรือหลายๆ ปี) จะทำให้เซลล์เกิดการบาดเจ็บเสียหาย ถ้าร่างกายซ่อมแซมให้เป็นปกติไม่ได้ จะเกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์เนื้องอก หรือเซลล์มะเร็งได้
ดังนั้นถ้าได้รับรังสีจากโทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี โดยมีการใช้บ่อย แต่ละครั้งใช้เป็นระยะเวลานาน ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอก หรือมะเร็งเนื้อเยื่อ/อวัยวะด้านที่ติดกับการใช้โทรศัพท์ เช่น เนื้องอกของประสาทหู ประสาทตา ลูกตา ต่อมน้ำลายบริเวณหน้าหูและสมอง ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการยืนยันที่แน่ชัดเกี่ยวกับโรคที่อาจเกิดขึ้น แต่ก็มีรายงานว่า การใช้โทรศัพท์มือถือนานๆ บ่อยๆ ทำให้มีโอกาสเกิดอาการปวดศีรษะ มึนงง เพลีย นอนไม่หลับ บางคนมีอาการใจสั่น (ซึ่งอาจเกิดจากความเครียดก็ได้เช่นกัน)
อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก (WHO, World Health Organization) ประเทศออสเตรเลียได้เตือนถึง การใช้โทรศัพท์มือถือในเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ว่าต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อลดปริมาณรังสีที่สะสมในร่างกาย เพราะเซลล์ในร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ มีความไวต่อรังสีทุกชนิด จึงมีโอกาสได้รับรังสีสะสมสูงกว่า อาจจะทำให้เกิดเซลล์กลายพันธุ์ได้มากกว่าผู้ใหญ่ป้องกันรังสีสะสมในร่างกาย* ใช้โทรศัพท์มือถือเมื่อมีความจำเป็น หรือในภาวะฉุกเฉิน ใช้ในระยะเวลาสั้นที่สุด
* ไม่ให้เด็กใช้โทรศัพท์ในการเล่นเกม เพราะขณะเปิดเครื่องจะมีการปล่อยรังสีออกมาเช่นกัน
* อย่าวางโทรศัพท์มือถือที่เปิดเครื่องอยู่ไว้ใกล้ตัวเด็ก ถึงแม้จะไม่ได้ใช้งานก็ตาม
* ควรปิดโทรศัพท์ขณะนอน
* หลีกเลี่ยงการคุยโทรศัพท์ในรถ เพราะมีเนื้อที่จำกัด และรถเป็นโลหะทำมีการสะท้อนรังสีได้สูง
* เลือกซื้อโทรศัพท์ที่ได้มาตรฐาน มีการกำหนด ระดับการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (รังสี) อยู่ในมาตรฐานที่ กทช กำหนด ซึ่งเราเรียกค่านี้ว่า ค่าดูดกลืนพลังงานจำเพาะ (ตัวย่อคือ SAR) โดยมีการเขียนไว้ว่า มือถือต้องมีค่า SAR ทั่วร่างกาย ไม่เกิน 0.08 W/kg และค่า SAR เฉพาะศีรษะและลำตัวไม่เกิน 2 W/kg และ SAR เฉพาะแขนขา ไม่เกิน 4 W/kg
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศ.เกียรติคุณ พญ.พวงทอง ไกรพิบูลย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
ข้อมูลจาก Mother & Care ค่ะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น