จิตวิทยาเด็ก และพัฒนาการตามวัย

จิตวิทยาเด็ก และพัฒนาการตามวัย

พัฒนาการเปลี่ยนไปเมื่อวัยเปลี่ยนแปลง

พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านการทำหน้าที่ (FUNCTION) และวุฒิภาวะ (MATURATION) ของอวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งด้านบุคคล เป็นขบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต มนุษย์ใช้เวลาประมาณ 20 ปี ในการพัฒนาร่างกาย สมอง จิตใจและการปรับตัวจนมีวุฒิภาวะเต็มที่ นอกเหนือจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว พัฒนาการในเด็กมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นขั้นตอนแบบเดียวกันทุกคน แต่อาจช้าเร็วต่างกัน ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการคือ ตัวเด็กเอง (NATURE) ซึ่งเป็นตัวกำหนดศักยภาพ และภาวะแวดล้อม(NURTURE) เป็นตัวเอื้ออำนวยเด็กพัฒนาการเต็มศักยภาพ ซึ่งรวมด้านชีวภาพ (BIOPHYSICAL) เช่น อาหาร การเจ็บป่วย และด้านจิตสังคม (PSYCHOSOCIARL) เช่น การเลี้ยงดู การศึกษา ครอยครัว วัฒนธรรม ซึ่งทั้งสองปัจจัยมีผลต่อการพัฒนาการด้านต่าง ๆ มากน้อยต่างกัน พัฒนาการของเด็กเกี่ยวข้องกับการเจริญของระบบประสาทโดยตรง จากขนาดเนื้อสมองประมาณ 350 กรัม แรกคลอด มีการเปลี่ยนแปลงของเซล์ลสมองและวงจรเชื่อมต่อจนมีขนาดประมาณ 1,000 กรัม ที่อายุ 2 ปี (ในผู้ใหญ่ประมาณ 1,400 กรัม) จากนั้นเนื้อสมองจะเพิ่มขนาดช้าลง แต่มีการสร้างใยประสาทต่อเนื่อง (MYELINATION) จนสมบูรณืที่อายุ 5 ปี

ทำไมต้องให้ความสนใจพัฒนาการเด็ก

พฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ส่วนหนึ่งเป็นผลเสียเนื่องจากประสบการณ์ และการเรียนรู้ในวัยเด็ก ตั้งแต่วัยทารก สมองส่วนต่าง ๆ เจริญ และเริ่มมีความสมารถในการทำหน้าที่ในช่วงเวลาต่างกัน การเรียนรู้ทักษะบางอย่าง จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเฉพาะในช่วงเวลาหนึ่ง (SENSITIVE PERIOD) การอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะแก่เวลา จะทำให้เด็กสนใจและทำได้ ทำให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาได้ดีขึ้น เช่นการสอนให้เด็กทำตามคำสั่งเมื่ออายุ 1 ปี

พฤติกรรมเดียวกันของเด็กในวัยต่างกันจะสื่อสาร และต้องการการตอบสนองที่ต่างกัน วัยที่ต่างกันนอกจากรู้มากต่างกันแล้วยังรู้แตกต่างกันด้วย ดังนั้นการเข้าใจพัฒนาการระยะเวลาต่าง ๆ ของเด็กจะช่วยลดความกังวลในการเลี้ยงดู และสามารถตอบสนองพฤติกรรมเด็กได้อย่างหมาะสม เช่น การร้องในเด็ก 6 เดือน มักร้องจากความไม่สบาย หรือถูกคุกคาม ควรหาสาเหตุและปลอบโยน ขณะที่เด็กวัย 18 เดือน 3 ขวบ อาจต้องใช้วิธีต่างกันไป เด็กวัย 4 ขวบพูดเท็จอาจเป็นเพียงการจินตนาการ ขณะที่เด็ก 8 ขวบพูดเท็จมักตั้งใจ

พัฒนาการที่ล่าช้าหรือผิดปกติ เช่น พูดช้า ควรได้รับการกระตุ้นส่งเสริมซึ่งจะทำให้ดีขึ้นได้ รวมทั้งให้การวินิจฉัยความผิดปกติ เช่น โรคทางระบบทางประสาท สติปัญญาบกพร่อง (MENTAL RETANDATION) โรคของกล้ามเนื้อ ฌรคออทิสติก (AUTISM) พัฒนาการทางภาษาผิดปกติ ซึ่งการให้การวินิจฉัยเร็ว และการช่วยเหลือแก้ไขแต่แรก (EARLY INTERRENTION) สามารถจดความผิดปกติ และการเปลี่ยนแปลงการพยากรณ์โรคได้

พัฒนาการเปลี่ยนไปเมื่อวัยเปลี่ยนแปลง

พัฒนาการของมนุษย์แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ ร่างกาย สติปัญญา จิตใจ-อารมณ์ และสังคม แต่ละด้านมีความสัมพันธ์กันและดำเนินไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งจะกล่าวต่อไป ส่วนการประเมินความสามารถด้านต่าง ๆ แบ่งให้ง่ายแก่การติดตามประเมินและเฝ้าวังความผิดปกติได้ตามตาราง ซึ่งแพทย์จะทำการประเมินให้คร่าว ๆ พร้อมกับการประเมินการเจริญเติบโตเมื่อมารับวัคซีน เด็กปกติจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันเล็กน้อย อายุที่ปรากฏในตารางเป็นเพียงส่วนใหญ่ของเด็กปกติที่ทำได้ เช่น 75% ของเด็กปกติชันคอได้ 45 องศา ที่อายุ 2 เดือน ขณะที่เด็กปกติบางคนทำได้ตั้งแต่แรกคลอด (ขึ้นกับการเจริญของระบบประสาท ส่วนที่ควบคุม) และ 90% ของเด็กปกติทำได้ที่อายุ 3 เดือน แต่กลุ่มนี้ก็ต้องติดตามใกล้ชิด และเสริมพัฒนาการ ถ้าความผิดปกติมากขึ้น จะต้องประเมินให้ละเอียดเพื่อการวินิจฉัยและหาสาเหตุต่อไป

1. พัฒนาการด้านร่างกาย (PSYCHOMOTOR TEVELOPMENT)

การเคลื่อนไหวของทารกแรกคลอดส่วนใหญ่ เป็นปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติ (REFLEX) ควบคุมไม่ได้ เช่นการดูด มีสัมผัสที่อุ้งมือจะทำได้ การเคลื่อนไหวไม่เจาะจง มีการขยับทั้งตัว ทิศทางพัฒนาการ จากศีรษะไปสู้เท้า เริ่มจากการพลิกหน้า ชันคอ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อทารกควบคุมการใช้แขนได้บ้างแล้วจึงพลิกคว่ำและหงายได้ นั่ง คลาน เกาะยืนและเดินได้ที่อายุ 12-5 เดือน จากนั้นจึงมีพัฒนาการด้านการทรงตัวดีขึ้น เป็นวิ่ง ขึ้นลงบันได กระโดด และเดินต่อเท้าได้ที่อายุประมาณ 5 ปี

ส่วนตาและมือ ทารกแรกคลอดสามารถมองเห็นได้ในระยะใกล้ แต่จ้องไม่ได้ สีสดและตัดกันจะมองเห็นได้ชัด เช่น ดำขาวของลูกตา สีแดง เวลาผ่านไปทารกจะจ้องมองตามได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ จนมองได้ครื่งวงกลมที่ 4 เดือน จากมือที่กำแน่นแรกคลอดจะคลายออกได้เรื่อย ๆ จนสามารถคว้าของได้แม่นยำและเปลี่ยนมือได้ที่อายุ 6 เดือน ความสามารถในการหยิบจับของด้วยนิ้วและการใช้มือกะระยะดีขึ้นเรื่อย ๆ จนสามารถจับดินสอได้ที่อายุ 2-5 ปี การส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสฝึกฝนประสาทสัมผัสตามวัย จะช่วยให้พัฒนาการไปได้ดีขึ้น ส่วนการส่งเสริมให้เด็กทำในสิ่งที่ข้ามขั้นมักไม่เกิดผล เช่น การหัดนั่งในเด็กที่ยังไม่คว่ำ

2. พัฒนาการด้านสติปัญญา

ทารกสามารถรับรู้และเรียนรู้จากประสาทสัมผัสตั้งแต่แรกคลอด แต่การแสดงออกไม่ชัดเจนเนื่องจากควบคุมการเคลื่อนไหวได้ไม่ดี การตอบสนองของทารกจะเป็นเพื่อการอยู่รอดเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นปฎิกิริยาแบบอัตโนมัติ [REFLEX] เช่น การหันไปดูดเมื่อถูกสัมผัสที่แก้มและปาก เมื่อเกิดซ้ำ ๆ ทารกจะเรียนรู้ที่จะดูดได้เอง อายุ 1-4 เดือน ทารกจะเริ่มสนใจบุคคลรอบตัว ยิ้มและเลียนแบบได้บ้าง เช่น อ้าปากสื่อสารด้วยการร้องเมื่อไม่สบาย ซึ่งจะลดลงเมื่อทารกเปล่งเสียงจากลำคอได้ [ประมาณ 3 เดือน ]

ปลายเดือนที่ 4 ทารกจะเริ่มใช้ส่วนของร่างกายเพื่อความพอใจ เช่น อมมือ เล่นมือตัวเอง ตอบสนองซ้ำ ๆ ต่อวัตถุแปลกใหม่ที่น่าสนใจ อายุ 4-9 เดือน เป็นระยะไขว่คว้า โดยเริ่มคว้าสิ่งที่สะดุดตาโดยบังเอิญ จนถึงคว้าของที่ต้องการ พยายามสำรวจของโดยการสัมผัส เอาเข้าปาก เขย่า เคาะ อายุ 9-12 เดือน เด็กจะเริ่มมีความคิดเชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เริ่มรู้จักของที่หายจากสายตา จึงเล่นจ๊ะเอ๋ ได้สนุกในวัยนี้ พฤติกรรมมีเป้าหมายมากขึ้น รวมทั้งดูผลจากการกระทำ เช่น โยนของ อายุ 12-18 เดือน

เด็กจะเริ่มสำรวจของรอบตัว เริ่มรู้จักแก้ไขปัญหา เช่น ปีนเอาของ ชี้ให้ช่วยหยิบ และเริ่มทำการทดสอบสิ่งแวดล้อมแบบลองผิดลองถูก เช่น ร้องดิ้นเมื่อขัดใจ ถ้าได้ผลจะคงพฤติกรรมนั้นไว้ อายุ 18-24 เดือน เริ่มรู้จักวางแผน คิดก่อนทำ ความอยากอาละวาดมักลดลง อายุ 2-4 ปี เริ่มเข้าใจมากขึ้น แต่จะเข้าใจจากสิ่งที่เห็น เช่น สัตว์ 4 เท้า เรียกเป็นสุนัขหมด อายุ 4-5 ปี เด็กมีความคิดเห็น แต่ยังแยกกับความจริงไม่ได้ ทำให้เกิดการพูดปดโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งผู้ดูแลควรเข้าใจว่ามิใช่เรื่องผิดปกติ วัยนี้เริ่มมีการใช้เหตุผลได้บ้างแต่ยังไม่สมบูรณ์ ยึดตนเป็นหลัก ยังมีความคดอย่างจำกัด เช่น ของทุกอย่างมีชีวิต ผู้ดูแลควรเข้าใจพฤติกรรมตามวัยของเด็กว่าเมื่อผ่านวัยนั้นแล้ว มักจะดีขึ้น การดแลสั่งเสิรม ปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมตามวัย จะทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น

ด้านภาษาและการสื่อความหมายขึ้นกับต้นแบบที่เด็กเห็น การส่งเสริม สภาพร่างกาย วุฒิภาวะของเด็ก โดยเริ่มจากส่งเสียงอ้อแอ้โต้ตอบ รู้จักหัวเราะแสดงความพอใจเมื่ออายุ ประมาณ 4 เดือน ต่อมารู้จักใช้ริมฝีปากในการเปล่งเสียง ทารกสามารถเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ก่อนที่จะสื่อสารออกไปในเวลากัดกัน เริ่มภาษาท่าทางและเสียงง่าย ๆ คล้ายคำพูด (GENGON) เป็นภาษาเด็ก 9 เดือน แล้วจึงเปล่งเสียงที่มีความหมาย รวมทั้งแสดงท่าทางจำเพาะในการสื่อสารที่อายุประมาณ 1 ปี ต่อมาเด็กจะเริ่มหัดพูดคำเดี่ยว ๆ ได้ทีละคำอย่างช้ามากใน 10-20 คำแรก โดยเริ่มที่เสียงง่าย ๆ เช่น บ, พ, ม, ป จนได้ประมาณ 50 คำ ที่อายุ 2 ปี จึงเริ่มพูด 2 พยางค์ จากนั้นจะเรียนรู้คำใหม่อย่างรวดเร็วหลายคำต่อวัน ระยะนี้ภาษาเด็กที่เคยมีจะหายไป ขวบที่ 3-4 เด็กจะเริ่มเล่าเรื่องและตั้งคำถามได้ จนอายุ 5 ปี เด็กจะสามารถบอกความหมาย เหตุผลจินตนาการของตนได้ ซึ่งเป็นระยะที่สมองมี MYELINIZATION สมบูรณ์ เด็กที่เริ่มพูดได้เร็วและถูกความหมาย มักมีเชาว์ปัญญาสูง

3. พัฒนาการด้านอารมณ์ (EMOTIONS DEVERLOPMENT)

ขึ้นกับพื้นอารมณ์(TEMPERAMENT) ของแต่ละคนซึ่งติดตัวมาแต่กำเนิดระดับพัฒนาการด้านอื่นๆ ในแต่ละวัยและการอบรมเลี้ยงดู ซึ่งพัฒนาการทางอารมณ์ ที่จะส่งผลกระทบถึงวุฒิภาวะทางอารมณ์ในวัยผู้ใหญ่

จากความรู้สึกที่แยกแยะได้เพียงชอบ-ไม่ชอบ ในช่วงเดือนแรก ต่อมาจะรู้จักกลัว กังวล ต่อเหตุการณ์ที่คุกคามความปลอดภัย การตอยสนองอย่างเหมาะสม ชัดเจน สม่ำเสมอ ให้ความมั่นใจกับเด็ก จะทำให้เด็กลดความกลัว กังวล เกิดเป็นความไว้ใจ (TRUSR) ต่อคนเลี้ยง สามารถเข้าสู่ระยะควบคุมด้วยตนเอง (AUTOMOMY) ในขวบปีที่ 2 ซึ่งเด็กจะมีความอยากรู้อยากเห็นอยากควบคุมตนเอง เช่น การกิน การขับถ่าย การไม่ให้โอกาสเด็กลองทำ การเข้มงวดเกินไปจะทำให้เด็กเกิดความละอายใจ (ว่าทำผิด) ไม่แน่ใจ หยุดยั้งการแสดงออกของเด็ก กลายเป็นความไม่เชื่อมั่นในตนเอง (SELF ESTERM) ความพึงพอใจและความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่นควรเริ่มปลูกฝังในวัยนี้ เนื่องจากจะเป็นพื้นฐานการมองโลกในแง่ดีของเด็ก ต้นปีที่ 3-6 เด็กจะเริ่มแยกจากผู้เลี้ยง ต้องการลองของใหม่ ชอบปฏิเสธ (NEGATIVITRE) ชอบเรียนรู้จากการทดลอง และเลียนแบบการกระทำ เด็กจะเริ่มมีอารมณ์แบบผู้ใหญ่คือ กังวล โกรธ อิจฉา เห็นใจ พอใจ ก้าวร้าว ดื้อ ซึ่งบางทีแสดงออกรุนแรง บางทีแสดงออกแบบเรียบ ๆ เช่น อมข้าว ไม่ขับถ่าย ทำไม่ได้ยิน ในวัยนี้เด็กจะเต็มไปด้วยคำถาม ผู้เลี้ยงที่เพียรพยายามตอบในสิ่งที่เด็กพอเข้าใจได้ จะสร้างนิสัยไม่รู้แก่เด็ก การให้เด็กลองมีพฤติกรรมต่าง ๆ ในขอบเขตที่เหมาะสม (LIMIT - SETTING) เช่น ยอมให่เด็กเลือกและแต่งตัวเองบ้างถ้าไม่รีบจนเกินไป จะทำให้เกิดความภูมิใจในตนเอง (SELF ESTERM) และสามารถแสดงความคิดริเริ่มได้ (...............................) การเข้มงวดเกินไป ห้ามทุกอย่าง ลงโทษรุนแรง ไม่มีเหตุผลจะทำให้เด็กรู้สึกผิด (QUILT) ในสิ่งที่ทำ ขาดความเป็นตัวของตัวเอง อาจเลี่ยงความรับผิดชอบเมื่อโตขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกผิดและกลัวความล้มเหลว ซึ่งนึกไว้เสมอว่าเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน การเลี้ยงดูตอยสนองเด็กแต่ละคนจึงต่างกัน การพยายามปรับตัวเข้าหากัน จะทำให้เกิดความสุขจากการเลี้ยงดูทั้งเด็กและผู้ดูแล

4. พัฒนาการด้านสังคม (SOCIAL DEVERLOPMENT)

เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับพัฒนาการทางอารมณ์ ทารกแรกเกิดเริ่มแสดงความสัมพันธ์ โดยการจ้องหน้าคนเลี้ยงตั้งแต่ปลายเดือยแรก เริ่มยิ้มตอบเมื่อเห็นหน้าคนในปลายเดือนที่สอง และยิ้มทักได้ในเวลาถัดกัน การสัมพันธ์ใกล้ชิดตั้งแต่แรกคลอดเป็นการสร้างสายสัมพันธ์(BONDING) ระหว่างมารกกับมารดา เมื่อมีการตอบสนองซึ่งกันและกันบ่อยมาก พอทารกจะแสดงความผูกพันกับมารดา (ALTACHMENT) โดยแสดงเป็นอาการติดแม่ ต้องพึ่งพาทั้งร่างกายและจิตใจในช่วง 6-8 เดือน แสดงอาการแปลกหน้าผู้ไม่คุ้นเคย (STRANGER AXIETY) ในช่วง 6-12 เดือนจะมีความกังวลเมื่อแยกจากแม่ (SEPARATION ANXIETY) มากเป็นพิเศษในวัย 6 เดือน-3 ปี เด็กที่มีความผูกพันมั่นคง จะแยกจากมารดาได้บ้าง เมื่อกังวลจะเข้ามาหามารดาใหม่จน 3 ปี ซึ่งมั่นใจพอที่จะแยกจากมารดาเพื่อเรียนรู้สิ่งแวดล้อม และเล่นสนุกตามวัย การแยกจากมารดาหรือผู้ที่เด็กผูกพันเป็นเวลานาน การเปลี่ยนพี่เลี้ยงบ่อย หรือการไม่มีปฏิสัมพันธ์กันเพียงพอ จะมีผลต่อบุคลิกภาพในเด็กและผู้ใหญ่ อาจทำให้ไม่สามารถสร้างสัมพันธ์อันยาวนานกับคนใดคนหนึ่งได้ เด็กวัย 2-4 ขวบบางคนคิดว่าของบางอย่าง เช่น ตุ๊กตา ผ้าห่ม เด็กใช้ของเหล่านี้เพื่อให้รู้สึกปลอดภัยหรือปลอบใจตนเอง เชื่อว่าเด็กใช้เป็นของขาดแทนความสัมพันธ์กับมารดาที่ต่างไป ซึ่งอาการนี้จะหายไปเมื่อเด็กมีความสัมพันธ์กับคนอื่นมากขึ้น และมีความมั่นใจในความสัมพันธ์นั้น ๆ ตลอดจนมีความเชื่อมั่นในความรักและความเอาใจใส่ของพ่อแม่ เด็กวัย 2-5 ขวบ เป็นวัยที่มีจินตนาการสูง (FANTACY) คนเลี้ยงควรเข้าใจธรรมชาติของเด็กวัยนี้ เด็กวัย 3-5 ขวบ ควรได้รับการสอนเรื่องจริยธรรมและกฏของสังคม แต่ไม่ควรเน้นมากไป เพราะจะทำมให้เด็กรู้สึกผิดตลอดเวลา ทำให้เกิดการให้อภัยตนเองและผู้อื่นยาก ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัวเป็นแบบที่ฝังใจเด็ก เด็กมักจะรับรู้และเลียนแบบไปแสดงความสัมพันธ์กับผู้อื่นต่อไป

พัฒนาการปกติ ในเด็ก 5 ปีแรก





ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก รพ. ไทยนครินทร์ค่ะ


ความคิดเห็น