การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

ลูกเราสมาธิสั้นหรือเปล่า

ลูกเราสมาธิสั้นหรือเปล่า



   บางครั้งพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมาก็ทำให้คุณพ่อคุณแม่สงสัยได้ว่า ลูกเราปกติหรือไม่ เพราะบางท่านได้รับข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ผิดปกติ แต่ไม่ได้ศึกษาอย่างละเอียดพอ หรือเกิดอาการไม่แน่ใจพัฒนาการของลูกว่าปกติหรือไม่   โดยเฉพาะอาการสมาธิสั้น ซึ่งดูออกค่อนข้างยาก ฉบับนี้เราจึงนำเสนอข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการสังเกตพฤติกรรมและพัฒนาการ ว่าลูกเข้าข่ายสมาธิสั้นหรือไม่ ถ้าใช่จะได้หาทางแก้ไขได้ทันค่ะ

 

   รู้จักโรคสมาธิสั้น
   โรคสมาธิสั้น เป็นความผิดปกติของพฤติกรรมและอารมณ์ ซึ่งจะเกิดขึ้นในเด็กก่อนอายุ 7 ปี เกิดจากความผิดปกติของสมอง และมีผลพอจะพิสูจน์ได้ว่าน่าจะเป็นผลมาจากพันธุกรรม แต่จะมีวิธีการถ่ายทอดมาอย่างไรนั้นยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่มีการบ่งบอกว่ามีสมองในส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสมาธิ ทำงานไม่สัมพันธ์กับระบบสั่งงานอื่นๆ
 

   เด็กจะมีลักษะซน ไม่อยู่นิ่ง ไม่มีสมาธิ หุนหันพลันแล่น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการแก้ไข จะทำให้มีปัญหาพัฒนาการด้านต่างๆ ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน และการเข้าสังคม ซึ่งอาการที่กล่าวไปเบื้องต้นนี้เอง ที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนเป็นห่วง และเกิดความเข้าใจผิดว่าลูกเราผิดปกติหรือไม่

    1 ไฮเปอร์แอกทีฟ (Hyperactivity)
    คือ มีความบกพร่องทางพฤติกรรม มีอาการซนมากผิดปกติ ยับยั้งชั่งใจไม่ได้ สังเกตจาก
* ไม่รู้จักระวังตัวเอง จนทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ
* อยู่ไม่สุก นั่งอยู่กับที่ไม่ค่อยได้ อยู่ไม่นิ่ง วุ่นวาย กระสับกระส่าย
* พูดคุยมากผิดปกติ ชอบพูดขัดจังหวะ ช่างฟ้อง รบกวนผู้ใหญ่ขณะพูดคุยมากเกินไป
* เล่นคนเดียวเงียบๆ ไม่ได้ ลุกลี้ลุกลน ใจร้อน อารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่มีความอดทนในการรอคอย
 

  2 สมาธิบกพร่อง (Inattentive)
* ทำกิจกรรมตามลำพังได้ไม่ดี ฟังคำสั่งยาวๆ จับใจความไม่ค่อยได้
* ทำกิจกรรมหนึ่งให้สำเร็จได้ลำบาก
* ขาดสมาธิ หรือความตั้งใจในการทำงานที่มีรายละเอียด
* ถูกรบกวนจากสิ่งเร้าได้ง่ายมาก เหม่อลอยง่าย
* ขี้ลืม ทำของหายบ่อย ขาดการจัดการวางแผนงานที่ดี
 

    3 มีความบกพร่องในการคิดวางแผน (Impulsivity)
* ไม่รู้จักอดทน รอคอยไม่เป็น ใจร้อน วู่วาม ไม่ยั้งคิด
* เบื่อง่าย ควบคุมให้ตัวเองอยู่ในระเบียบ หรืออยู่ในกฎได้ยาก
* หงุดหงิด โมโหง่าย
* ชอบพูดแทรก หรือมักตอบคำถามก่อนที่ผู้ถามจะถามจบ มีปัญหาในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
   

    เด็กที่มีปัญหาในเรื่องสมาธิ มักถูกมองว่าเป็นเด็กไม่ตั้งใจเรียน ชอบรบกวนเพื่อนๆ ผลการเรียน ไม่ดี ถูกครูลงโทษบ่อยกว่าเด็กคนอื่น และมักถูกมองว่าเป็นเด็กดื้อ เด็กซน นิสัยไม่ดี เป็นต้น
   

   การที่จะบอกว่าเด็กคนไหนเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่ จะใช้เกณฑ์การเปรียบเทียบความสามารถทั่วๆ ไปในกลุ่มเด็กปกติในการตัดสิน เช่นเด็ก 7 ขวบ สามารถนั่งอยู่กับที่ได้นาน 15-30 นาที แต่ถ้าเด็กคนนั้นไม่สามารถนั่งได้ / เด็กนั่งเรียนอยู่ หรือ อ่านหนังสือ แค่เสียงของตก กิ่งไม้ตกก็วอกแวกได้ง่ายมาก ก็อาจจะสงสัยไว้ก่อน
 

    อาการสมาธิสั้นจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยา ร่วมกับการปรับพฤติกรรม ด้วยการดูแลใส่ใจอย่างใกล้ชิดจากคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้น ถ้าสงสัยว่าลูกจะมีอาการนี้หรือไม่อาจจะพบแพทย์เฉพาะทาง แต่ถ้าเทียบดูแล้วลูกมีพัฒนาการปกติ หรือซนแบบปกติ ก็ยังไม่ต้องกังวล หรือเหมารวมว่าลูกจะเป็นนะคะ
 

update by flower

Mother & Care / May

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Mother & Care

ความคิดเห็น