การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

ระวัง! ยาใกล้ตัวลูกรัก

 ระวัง! ยาใกล้ตัวลูกรัก




เมื่อลูก เจ็บป่วยไม่สบาย คุณพ่อคุณแม่อาจมีความจำเป็นต้องใช้ยากับลูก ฉะนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจคือ การใช้ยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม และเพื่อเตรียมพร้อมเรื่องสุขภาพลูกน้อย รวมทั้งวิธีการใช้ยาตามอาการ พร้อมกับคำแนะนำ เรามาฟังข้อมูลจาก พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์ ค่ะ

  1. ยาลดน้ำมูก
   กลุ่มยาลดน้ำมูกที่มีโดยทั่วไปเป็นยาแก้แพ้ผสมกับยาลดอาการบวมในจมูก และรวมถึงกลุ่มยาแก้แพ้เพียงอย่างเดียว ที่ช่วยลดน้ำมูกได้ด้วย เช่น คลอเฟมิลามีน ทั้งนี้ การใช้ยาลดน้ำมูกในเด็กจะต้องระวังให้มาก เพราะยาแก้แพ้แม้ช่วยลดน้ำมูกก็จริง แต่ทำให้เสมหะแห้งไปด้วยดังนั้น เมื่อลูกไม่สบายมีน้ำมูกพร้อมกับมีเสมหะ แล้วกินยาลดน้ำมูกอาจทำให้เสมหะเหนียวจนอุดตันหลอดลม มีผลต่อการนอนหลับ ของลูกได้เพราะเด็กเล็กไม่สามารถขับเสมหะได้เหมือน ผู้ใหญ่ ดังนั้นก่อนเลือกใช้ยาลดน้ำมูก จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์

ข้อควรระวัง
   * ยาลดน้ำมูกห้ามใช้กับเด็กที่เป็นหอบหืด เนื่องจากเสมหะจะเหนียว จนทำให้เกิดอาการหอบได้
   * การได้รับยาลดน้ำมูกที่เกินขนาด จะทำให้กดการหายใจและอาจชักได้ และไม่ควรซื้อยาลดน้ำมูกตามร้านค้าทั่วไปมาใช้เองโดยเด็ดขาด

คำแนะนำ
   ถ้า ลูกยังกินนมปกติ หายใจไม่หืดหอบ ติดขัด น้ำมูกเหลวไม่มีสีเขียว เหลือง (ติดเชื้อแบคทีเรีย) หรือมีน้ำมูกเล็กน้อย ด้วยเพราะอากาศเปลี่ยนแปลง คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลอาการในเบื้องต้นได้ก่อน โดยใช้น้ำเกลือหยอดจมูกหรือใช้ลูกยางแดงดูดออก หากอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วันควรรีบพาไปพบแพทย์
   

2. ยาลดไข้
    ยาลดไข้ที่จำหน่ายในท้องตลาด เป็นกลุ่มยาพาราเซตามอลที่มา ในรูปแบบของไซรัป มีหลายขนาด และความเข้มข้น ดังนั้น สิ่งสำคัญ ในการใช้ยาลดไข้กับลูกน้อยคือ คำนึงถึงน้ำหนักของตัวเด็กประกอบ การใช้ยา ซึ่งในเด็กเล็กจะเป็นรูปแบบของดรอฟ (ขนาด 20 ซี.ซี.) ปริมาณการใช้ที่เหมาะสมคือ ปริมาณ 0.1 ซี.ซี.ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ต่อหนึ่งครั้ง

ข้อควรระวัง
   ปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์ เพราะหากเกินขนาด ก็อาจเป็นอันตรายต่อตับและไต โดยเฉพาะกลุ่มยาลดไข้สูง ต้องพึงระมัดระวัง เพราะสามารถกัดกระเพาะได้หากกินยาในขณะที่ท้องว่าง หรือการกินยาแอสไพรินเพื่อลดไข้อาจไม่แนะนำ เพราะหากลูกมีโรคบางอย่าง เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคอีสุกอีใส ก็อาจทำให้ตับวาย เป็นอันตรายถึงชีวิต

คำแนะนำ
   เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนมีไข้สูง นอกจากกินยาเพื่อลดไข้ที่บ้าน ทุกๆ 4-6 ชั่วโมงแล้ว แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ด้วย สำหรับไข้ต่ำ ก็มีวิธีที่จะช่วยให้ไข้ลดลงด้วยการเช็ดตัว และสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่หนาเกินไป หรืออยู่ในห้องที่ร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไป เพื่อระบายอากาศ

 
3. ยาละลายเสมหะ
    การไอในเด็กเล็กเป็นลักษณะการไอที่รู้สึกไม่สบายลำคอ และเมื่อเสมหะในลำคอหมด (ร่างกายสามารถขับเสมหะออกผ่านทางการไอ)  อาการไอจะค่อยๆ ทุเลาลง หากพบว่าเสมหะยังเหนียวและลูกน้อยไอขับออกลำบาก ก็ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อดูแลอาการอย่างเหมาะสมต่อไป

ข้อควรระวัง
    การใช้ยาระงับไอหรือเสมหะ อาจจะยัง ไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ เนื่องจากทำให้เกิดการคั่งค้างของเสมหะ เพราถ้าลูกดื่มน้ำได้มากพอ ไอไม่รุนแรง การใช้ยากลุ่มนี้ก็ไม่จำเป็น

คำแนะนำ
    ให้ลูกดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ จะช่วยละลายและขับเสมหะได้เป็นอย่างดี



ขอขอบคุณข้อมูลจาก Mother & Care ค่ะ

ความคิดเห็น