การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

5 ข้อดี ชวนลูกเล่นบทบาทสมมติเสริมสร้างสมอง

 

5 ข้อดี ชวนลูกเล่นบทบาทสมมติเสริมสร้างสมอง

แก้ปัญหาลูกชอบเล่นคนเดียว

          “ลูกชอบเล่นคนเดียว บางทีก็พูดคนเดียว แล้วก็หัวเราะคนเดียว เวลาเข้าไปเล่นด้วย เขาก็ไม่ชอบ”



คุณ แม่กุ๊กเล่าถึงลูกชายวัย 3 ขวบเศษ ซึ่งมีพฤติกรรมชอบเล่นคนเดียว จนผู้เป็นแม่กังวลใจว่าผิดปกติหรือเปล่า เพราะกังวลว่าถ้ามีใครมาเห็นจะว่าลูกเธอเพี้ยนหรือเปล่า เธอพยายามเข้าไปเล่นกับลูกด้วยก็ไม่สำเร็จ เพราะเขาอยากเล่นคนเดียว และสังเกตเห็นว่าเขามีความสุขที่ได้เล่นคนเดียว

          ความ จริงไม่ใช่เฉพาะคุณแม่กุ๊กหรอกค่ะที่ลูกชอบเล่นลำพังคนเดียว แต่เด็กส่วนใหญ่ชอบเล่นกับตัวเอง หรือในความหมายที่พ่อแม่เห็นว่าเขาเล่นคนเดียวนั่นแหละ แท้ที่จริงแล้ว เขาไม่ได้เล่นคนเดียว แต่เขากำลังเล่นกับจินตนาการ หรือเล่นบทบาทสมมติ

          ลอง มองย้อนไปเมื่อครั้งเป็นเด็ก ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ก็คงเคยผ่านการเล่นคนเดียว พูดคนเดียว หรือมีเพื่อนในจินตนาการเกิดขึ้นมาแล้วแต่เราจะรังสรรค์เพื่อนในจินตนาการ ให้มีมากมายแค่ไหน อยู่ที่เราจะสร้างขึ้นมาอย่างไร

          เด็กบางคนสร้างบทบาทสมมติจากจินตนาการล้วนๆ แต่เด็กบางคนอาจมีตุ๊กตาหรือรถยนต์เป็นอุปกรณ์ต่อยอดจินตนาการ

          กิจกรรมที่เด็กๆ คิดค้นและเล่นกับจินตนาการ เรียกว่า กิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติ (Role Play) กิจกรรม การเล่นบทบาทสมมติเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กๆได้ใช้จินตนาการอัน บรรเจิด ได้ใช้สมองทางด้านอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งนำไปสู่ประโยชน์มากมายในการกระตุ้นและส่งเสริมศักยภาพทางสมองอย่างรอบ ด้าน

          รูปแบบการเล่นบทบาทสมมติมี 2 แบบ ได้แก่

           แบบแรก เด็กจะสร้างจินตนาการและสมมติบทบาทของตนเอง และสร้างเพื่อนในจินตนาการ

          แบบที่สอง สร้างบทบาทสมมติโดยมีตัวละคร เช่น พ่อรับบทบาทเป็นหมอ แม่รับบทเป็นคนไข้ และลูกรับบทเป็นนางพยาบาล เป็นกิจกรรมที่กำหนดบทบาทให้แต่ละคน แล้วทำกิจกรรมเล่นร่วมกัน อาจจะสร้างเรื่องราวตามนิทาน หรือสร้างเรื่องขึ้นมาเองก็ได้

          กิจกรรม การเล่นบทบาทสมมติเป็นกิจกรรมที่เด็กๆ ชอบเล่นมาก เพราะสนุกสนาน ทั้งยังได้เป็นผู้กำหนดบทบาทของตนเอง เหมือนเขาสามารถสร้างโลกจินตนาการของเขาเอง ถ้าพ่อแม่ ผู้ปกครองเข้าใจถึงพัฒนาการตามวัยของเขา และส่งเสริมให้ลูกได้เล่นบทบาทสมมติอย่างเหมาะสมจะช่วยพัฒนาการของลูกได้มาก ทีเดียว

          ประโยชน์ของการเล่นบทบาทสมมติช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสมองมากมาย

          หนึ่ง ส่งเสริมทางด้านความคิดสร้างสรรค์

          เป็น การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กโดยตรง จากการให้เด็กได้คิดจินตนาการบทบาทสมมติ และเรื่องราวต่างๆ เท่ากับเป็นการกระตุ้นความคิดของเด็ก ยกตัวอย่าง เด็กเล่นบทบาทสมมติเป็นหมอ เด็กจะเชื่อมโยงความคิดว่าเวลาพ่อแม่พาเขาไปหาหมอ ต้องเจอกับอะไร เด็กจะมีจินตนาการ และทำท่าทางเพื่อให้เป็นบทบาทนั้น พร้อมทั้งมีท่าทางในการรักษาคนไข้ ถ้าพ่อแม่ร่วมเล่นกับลูกก็อาจจะเป็นคนไข้ให้ลูก และชวนลูกคุยประหนึ่งว่าเป็นคนไข้จริง แล้วเด็กจะเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ และอาจจะกลายเป็นแรงบันดาลใจในอาชีพต่อไปในอนาคตก็ได้

          สอง ส่งเสริมทางด้านความจำ

          เมื่อ เด็กๆ ได้เล่นบทบาทสมมติต่างๆ เขาก็จำเป็นต้องจดจำบุคลิกท่าทาง หรือบทบาทที่ใกล้เคียงของตัวละครนั้นๆ ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นบทบาทการสร้างจากจินตนาการ หรือบทบาทสมมติตัวละคร ล้วนแล้วต้องกระตุ้นเรื่องความจำด้วย อาจเป็นการจำจากประสบการณ์ในชีวิต หรือจำจากการเลียนแบบพฤติกรรมทางทีวี หรือสื่ออื่นๆ ซึ่งพ่อแม่ก็สามารถช่วยต่อยอดในการช่วยกระตุ้นความจำได้ด้วย ยกตัวอย่าง ลูกเล่นบทบาทสมมติเป็นหมี พ่อแม่ก็อาจช่วยกระตุ้นความจำว่าหมีมีลักษณะอย่างไร อาจชวนลูกคุยถึงสวนสัตว์ที่เคยไป แล้วพบเห็นว่าท่าทางของหมีเป็นอย่างไร แล้วชวนลูกคุยต่อไปถึงประเภทของหมีด้วยก็ได้

          สาม ส่งเสริมทางด้านภาษา

          การ เล่นบทบาทสมมติเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง บางครั้งลูกอาจจะพูดคนเดียว แต่ก็เป็นการพูดกับเพื่อนในจินตนาการ หรืออาจจะมีตัวละครที่เล่นด้วยกัน ก็จะทำให้มีการสื่อสารกันทางคำพูดและท่าทาง ยิ่งเป็นเด็กวัยหัดพูด เด็กที่เล่นบทบาทสมมติจะเกิดประโยชน์อย่างมาก เพราะเท่ากับช่วยพัฒนาการเรียนรู้ด้านภาษาให้กับเด็ก ซึ่งพ่อแม่สามารถสอดแทรกคำศัพท์ให้ลูกได้ด้วย ทำให้ลูกมีคำคลังได้เพิ่มมากขึ้น ยิ่งถ้ามีท่าทางประกอบจะยิ่งทำให้เด็กเรียนรู้ทักษะทางด้านภาษาได้ดียิ่ง ขึ้น

          สี่ ส่งเสริมทางด้านอารมณ์ความรู้สึก

          เป็น การฝึกให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องอีคิว และเรื่องความรู้สึกได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กในช่วงปฐมวัย เป็นวัยที่ชอบแสดงออกทางความรู้สึก เช่น เวลาดีใจหรือมีความสุขสนุกสนานก็จะหัวเราะกระโดดโลดเต้น แต่หากเวลาเสียใจหรือโดนขัดใจก็จะร้องไห้เสียงดัง กิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้แสดงออกทางด้านอารมณ์ ของตนเองอย่างเต็มที่ เป็นการสอนให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องอารมณ์ของคนเรามีหลากหลาย ทั้งดีใจ มีความสุข ร้องไห้ เสียใจ ทุกข์ใจ เศร้าใจ ฯลฯ และเมื่อเกิดความรู้สึกเหล่านั้น จะมีพฤติกรรมอะไรตามมา เป็นการสอนให้ลูกได้เรียนรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเองด้วย

          นอก จากนี้ กิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติยังช่วยให้เด็กเป็นคนละเอียดอ่อน มีความเข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่นจากการที่เด็กๆได้แสดงบทบาทสมมตินั้น ด้วย

          ห้า ส่งเสริมทางด้านสังคม

          กิจกรรม การเล่นบทบาทสมมติ เป็นกิจกรรมกลุ่มที่ช่วยพัฒนาทักษะทางด้านสังคมของเด็กได้อย่างมาก เด็กได้เรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น เรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกัน รู้จักปรับตัวเข้าหากัน บางครั้งอาจจะแบ่งบทฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามให้กับเด็ก รวมถึงสอดแทรกให้เด็กรู้จักยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างและการเข้าใจบทบาท ของตนเองและผู้อื่นโดยที่ไม่ไปก้าวก่ายในบทบาทของกันและกัน นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เกิดความรักและสามัคคีด้วย

          ไม่ เพียงเท่านั้น ระหว่างที่เด็กๆ ได้เล่นบทบาทสมมติ ก็เท่ากับว่าเด็กๆ จะต้องเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทของตัวละคร เช่น ถ้าเด็กเล่นเป็นทหาร ก็จะทำท่าเดินเหมือนทหาร ก็เสมือนได้เคลื่อนไหวร่างกาย เป็นการออกกำลังกายไปในตัวด้วย ที่สำคัญ การเคลื่อนไหวร่างกายของเด็กเล็กจะช่วยให้เด็กได้ใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเต็มที่ เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้ทำงานสัมพันธ์กันได้ ด้วย

         เห็น ไหมคะว่ากิจกรรมบทบาทสมมติ เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อเด็กๆ อย่างมาก นอกจากความสนุกสนาน ยังเป็นการช่วยพัฒนาศักยภาพสมองของเด็กด้วย ดังนั้น พ่อแม่ก็อย่าปล่อยให้เวลาลอยนวลนะคะ ลองชักชวนลูกๆ มาเล่นบทบาทสมมติกัน รับประกันความสุขถ้วนหน้า

          ว่า แต่ลองสังเกตดูว่าบทบาทสมมติของลูกคุณส่วนใหญ่เลือกเป็นอะไรกันบ้าง เพราะเท่ากับเป็นการสะท้อนความในใจของลูกในช่วงเวลานั้นๆ ด้วย ถ้าเขามีภาพความประทับใจในเรื่องใด เขาจะเลือกจินตนาการในเรื่องประทับใจ หรือเรื่องที่ติดตรึงใจ รวมไปถึงอิทธิพลจากพ่อแม่ที่ปลูกฝังในเรื่องอะไรบ้าง

          แต่…บทบาทสมมติที่น่าสงสัยว่าจะมีบ้างไหมหนา ที่ลูกเลือกเป็นนักการเมืองน่ะ..!!

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการ

ความคิดเห็น