ความลับคับอก ที่ครูอยากบอกพ่อแม่ - ลูกโดนยุงกัด เพื่อนแกล้ง ไม่ได้กินนม ที่โรงเรียน เลี้ยวเข้ามาอ่านสักนิด

 

ความลับคับอก ที่ครูอยากบอกพ่อแม่ - ลูกโดนยุงกัด เพื่อนแกล้ง ไม่ได้กินนม ที่โรงเรียน เลี้ยวเข้ามาอ่านสักนิด

โดย: ธนพร เอี่ยมสมุทร

พฤติกรรมบางอย่างของพ่อแม่อาจขัดขวางพัฒนาการลูกโดยไม่รู้ตัว

จุ๊ๆ.. นี่ไม่ได้เป็นการจับผิด ตำหนิ หรือบ่นว่าคุณพ่อคุณแม่นะคะ สิ่งที่ครูบอกและทำลงไปก็เพื่อให้การทำงานระหว่างบ้านและโรงเรียนเป็นไป อย่างราบรื่นขึ้น ที่สำคัญคือลูกๆของเรา อันหมายถึงลูกของคุณพ่อคุณแม่ และลูก(ศิษย์)ของคุณครู จะได้รับผลนี้ไปเต็มๆ

ว่าแต่พฤติกรรมแบบไหนของพ่อแม่เข้าข่ายขัดขวางพัฒนาการลูก (และการทำงานของครู) บ้าง เราไปไล่ดูกันทีละตัวเลยค่ะว่าคุณครูอยากบอกอะไร


"จะพูดคุยกับครู อย่าใช้เวลานานเกินไป"

ใน เวลาที่ครูต้องจัดกิจกรรม หรือต้องดูแลเด็ก มักจะพบบ่อยๆว่าในช่วงเปิดเทอมใหม่ ผู้ปกครองโดยเฉพาะคุณแม่จะห่วงลูกเป็นพิเศษ มีการซักถามพูดคุยกับคุณครูในเรื่องที่เกี่ยวกับลูกทุกเช้า บางครั้งเริ่มตั้งแต่เวลามาส่ง จนถึงเวลาลูกเข้าแถวแล้ว ร้องเพลงชาติ สวดมนต์ ทำกายบริหารก็แล้ว ท่านยังคุยไม่จบ จนครูก็เกรงใจ ไม่ทราบจะอกกตัวอย่างไรจึงจะยุติการพูดคุยที่บางครั้งก็วนไปวนมาอยู่นั่นเอง

หลายๆ ครั้งครูต้องหากลเม็ดโดยนัดกันกับเพื่อนครูว่า ถ้าเห็นผู้ปกครองท่านนี้คุยนาน ช่วยมาขัดจังหวะ เช่น ให้มาตามครูไปรับโทรศัพท์ด้วย ผู้ปกครองบางท่านถึงแม้ไม่สามารถมาพบคุณครูได้ ก็ใช้วิธีโทรศัพท์ซึ่งบางครั้งนานเกินไป หรือโทรมาในเวลาที่ไม่เหมาะ ดังนั้นทางที่ดีจึงไม่ควรพูดคุยกับคุณครูนานในช่วงที่คุณครูจัดกิจกรรมให้ กับเด็กๆหรือเป็นช่วงเวลาที่ต้องดูแลเด็กๆ หากจะคุยกันนาน ขอให้นัดหมายกับคุณครูล่วงหน้า

"เข้าใจเด็กสักนิด จะเร่งให้ครูรีบสอนอ่านเขียนไปทำไม"

ผู้ ปกครองที่มีความต้องการให้ลูกมาโรงเรียนและอ่านเขียนได้เร็ว มักจะทวงถามการบ้าน ถามถึงผลการเรียนของลูกว่าอ่านเขียนไปได้แค่ไหนแล้ว ทั้งๆที่ลูกเพิ่งเข้าเรียนในระดับอนุบาลหนึ่งได้ไม่กี่วัน ถ้าพบว่าลูกยังไม่มีการบ้าน ก็มักไปต่อว่าเอากับคุณครู ว่าลูกมาโรงเรียนแล้วทำอะไร ไม่เห็นเรียนหนังสือ โถ..คุณพ่อคุณแม่คะ เด็กบางคนเพิ่งลงจากตักแม่เดินขาปัดขาเป๋อยู่เลย จะบังคับนิ้วน้อยๆให้เขียนหนังสือเลยเชียวหรือ ขอเวลาให้หนูน้อยได้เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม ให้เหมาะกับวัยและสติปัญญาสักหน่อยเถอะค่ะ รับรองว่าไม่นานเด็กจะสามารถแสดงให้เห็นผลได้ควบคู่กันไป

"ขอความร่วมมือกับทางโรงเรียนด้วย"

บาง ท่านคิดว่า วัยอนุบาลยังเป็นวัยที่ไม่มีความสำคัญเท่าไหร่ จะลึกขึ้นมาตื่นเต้นอีกทีก็ตอนที่ลูกจะต้องไปสอบประถม 1 ดังนั้นหากเป็นช่วงอายุ 0-6 ขวบ หากครูมีเรื่องชี้แจงหรือขอความร่วมมือจากทางบ้าน มักไม่ได้รับความสนใจเลย เคยมีตัวอย่างเสมอๆค่ะ เด็กบางคนมักพลาดกิจกรรมพิเศษไปเพราะครูทำจดหมายแจ้งแล้ว แต่ผู้ปกครองไม่ได้อ่าน ครูให้แต่งชุดไทยมาร่วมกิจกรรมเด็กทั้งโรงเรียนใส่กันพรึบพรับ กลับมีอยู่ไม่กี่คนใส่ชุดนักเรียนมา เด็กเลยรู้สึกเก้ๆกังๆขาดความมั่นใจไปทั้งวัน ซ้ำร้ายบางคนก็ร้องไห้งอแง ไม่อยากมาโรงเรียนเอาเลย

"ลองเปิดโอกาสให้เด็กช่วยเหลือตัวเองบ้าง"

จริง อยู่ ถึงแม้เด็กอนุบาลยังต้องการการดูแลเอาใจใส่จากพ่แม่อย่างใกล้ชิด แต่ก็มีหลายเรื่องที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องส่งเสริมให้ลูกได้พัฒนาศักยภาพของ เขาเอง โดยเปิดโอกาสให้ลูกได้ลงมือทำเอง มิใช่พ่อแม่ทำให้ทุกเรื่อง เช่น การฝึกแต่งตัว การใส่กางเกง กระโปรง ติดกระดุม สวมถุงเท้ารองเท้า ด้วยการเริ่มทีละเล็กทีละน้อย จะทำให้ลูกสามารถช่วยเหลือตนเองได้ การฝึกเรื่องเหล่านี้ต้องใจเย็น และให้เวลากับเด็ก อย่าเร่งเร้า รีบร้อน การฝึกพื้นฐานเหล่านี้ท่านอาจคิดว่าเป็นเรื่องจุกจิกเสียเวลา แต่จงอดทนเถอะค่ะ เพื่อผลดีที่จะเกิดในภายภาคหน้า สิ่งที่ผู้ปกครองควรทำขณะที่เด็กลงมือทำงานก็คือ คอยเสริมแรงด้วยการชมเชย เช่น"เก่งมาก ลูกติดกระดุมได้เม็ดนึงแล้ว ลองติดอีกเม็ดสิคะ" ไม่ใช่เสริมแรงด้วยการให้สินจ้างรางวัล เช่น ติดกระดุมได้หนึ่งเม็ด จะได้ลูกอมหนึ่งเม็ด ดังนั้นถ้าทางบ้านให้โอกาสแก่เด็กในการช่วยเหลือตนเอง นั่นเท่ากับว่าท่านได้ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะที่จำเป็นของชีวิต และเด็กจะมีนิสัยพึ่งพาตนเองได้ต่อไป

"ได้โปรดอย่าก้าวก่ายบทบาทและหน้าที่ของครูเลยค่ะ"

ใน ชีวิตของความเป็นครูบ่อยครั้งจะพบเรื่องที่ไม่อยากให้เกิดในโรงเรียนเลย เช่น ผู้ปกครองทำท่านักเลงโต วางอำนาจกับเด็กตัวเล็กๆ โดยเข้ามาในห้องเรียนเพื่อจัดการลงโทษเด็กที่มีปัญหากับลูกของตนพฤติกรรมมี ตั้งแต่ระดับเบา(แต่ครูก็ไม่ต้องการให้เกิด) ไปจนถึงระดับหนัก ระดับเบานี่คือการใช้คำดุว่า หรือขู่เด็กที่เป็นครูอริของลูก "อย่ามาทำน้อง..ถ้ารู้อีกทีจะเรียกตำรวจมาจับ" พฤติกรรมระดับกลางคือขอพบเด็ก และผู้ปกครอง แล้วก็มีการต่อว่ากัน จนอาจถึงขั้นทะเลาะวิวาทได้ในที่สุด ส่วนพฤติกรรมระดับหนักคือถึงขั้นทำร้ายร่างกายเด็ก คู่กรณีของลูก เช่น เข้ามาทุบตีเด็กโดยพลการ ในกรณีนี้ท่านอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้ ในฐานะละเมิดสิทธิความปลอดภัยเด็กในโรงเรียน ที่อยู่ในความดูแลของครู

ความ จริงแล้วเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกันของเด็กวัยอนุบาลถือเป็นเรื่องปกติ อยู่ในวิสัยที่ครูจัดการเองได้ และบางเรื่องเด็กก็แก้ปัญหาเองได้ ไม่จำเป็นต้องให้ผู้ปกครองเข้ามาก้าวก่าย สิ่งที่ผู้ปกครองจะทำได้คือ เมื่อพบความถี่ของการทะเลาะเบาะแว้ง ควรแจ้งให้ครูทราบ และติดตามผลจากครูและลูก อย่าให้เด็กรู้สึกว่าเกิดปัญหาอะไรก็ฟ้องพ่อฟ้องแม่เป็นดีที่สุด

"ใจเย็นสักหน่อย อย่าเจ้าอารมณ์และก้าวร้าวนักเลย"

พูด มาถึงเรื่องทะเลาะเบาะแว้งของเด็กแล้ว จะขอชี้ให้เห็นอีกเรื่องว่าเป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมของผู้ปกครอง หรือบุคคลที่แวดล้อมเด็ก เช่น พ่อแม่ พี่เลี้ยง เวลาโกรธ ใช้ถ้อยคำที่รุนแรง พูดจาหยาบคายต่อกัน ทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน(ภาพนี้น่ากลัวมากสำหรับเด็กๆ) บ่อยๆเข้า เด็กจะซึมซับเป็นพฤติกรรมที่นำมาปฎิบัติกับผู้อื่น เช่น เวลามีปัญหากับเพื่อน ก็ใช้วิธีเดียวกันกับประสบการณ์ตรงที่รับมาจากบ้าน แม้ครูจะเฝ้าเพียรพยายามปรับพฤติกรรมก้าวร้าวนี้ ก็ดูจะยากเย็นเสียจริง พอครูเขียนพฤติกกรรมเหล่านี้ไปเล่าให้ผู้ปกครองได้รับทราบ บางท่านกังวลแล้วบอกว่า"ไม่รู้ลูกไปได้พฤติกรรมมาจากไหน"

วันดีคืน ดีครูได้มีโอกาสพูดคัยกับเด็ก ยามเมื่อเขาอารมณ์ดี เขาก็สะท้อนภาพพฤติกรรมก้าวร้าวต่างๆจากบุคคลในบ้านให้ฟัง แต่ครูนี่สิ ลำบากใจมากที่จะสะท้อนสิ่งที่เด็กเล่ามาให้ผู้ปกครองได้รับรู้ เพราะครูคงสอนได้แต่ลูกศิษย์ตัวน้อยๆของครู มิบังอาจไปสั่งสอนตักเตือนผู้ปกครองได้ จึงอยากฝากให้ท่านพิจารณาตนเองสม่ำเสมอ ว่าลูกเป็นอย่างนี้เพราะอะไร อย่าลืมว่าท่านคือครูคนแรกของลูก ลูกซึมซับทุกอย่างที่รู้ที่เห็น อยากได้ลูกดีเลิศแบบไหน พ่อแม่คงต้องสร้างสิ่งพิมพ์ดีเลิศเช่นกัน

"อย่าขาดการส่งเสริมลูก"

เมื่อ เด็กมาโรงเรียน นอกจากการให้ความรู้ ยังต้องมีการฝึกฝนด้านระเบียบวินัยต่างๆ ครูหวังไว้ว่าลูกศิษย์ของเรา จะเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีวินัยทัดเทียมกับชาวโลกที่เจริญแล้ว เช่น การฝึกวินัยเรื่องเวลา ให้รู้กิจวัตรประจำวันต่างๆที่โรงเรียนที่ต้องทำร่วมกับผู้อื่น อุปสรรที่พบคือลูกศิษย์จำนวนไม่น้อยมาโรงเรียนสายถึงสายมาก ด้วยเหตุผลที่ว่า ตื่นสาย พอถึงสิ้นปีผ้ปกครองกลับมาต่อว่าว่าลูกมาโรงเรียนไม่เห็นได้เรียนรู้อะไร ได้แต่เล่น เป็นเพราะมาไม่ทันในช่วงทำกิจกรรมสำคัญๆในช่วงเช้านั่นเองหรือการฝึกรับ ประทานอาหารให้เรียบร้อยเป็นเวลา ก็เป็นวินัยอีกเรื่องหนึ่งที่ครูฝึกให้กับลูกแต่ทางบ้านกลับฝึกลูกรับประทาน อาหารแบบเดินตามป้อน ขณะที่ลูกถีบจักรยานไป เล่นไปทำให้เด็กรู้สึกว่าการรับประทานที่บ้านสนุกกว่า สะดวกสบายกว่าที่โรงเรียน ใจจริงไม่อยากให้เด็กรู้สึกแบบนี้เลย อยากให้เด็กเรียนรู้ว่าวินัยเป็นเรื่องปกติ และผู้ปกครองควรเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญระดับชาติที่จะนำไปสู่การพัฒนาใน เรื่องอื่นๆอีกมากมาย

ความในใจที่ครูขอบอกนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ อยากให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจว่า การพัฒนาฝึกฝนเด็กไปสู่ความเป็นพลเมือง หรือทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าในอนาคตนั้น ต้องเริ่มที่บ้านและร่วมมือกันอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ คงเส้นคงวา ไม่ใช่สักแต่บ่นว่า ทำไมคนของเรา ไม่มีคุณภาพทัดเทียมนานาประเทศ "ผู้ใหญ่วันนี้ คือผู้สร้างเด็กให้เป็นผู้ใหญ่ในอนาคต อยากได้ภาพซ้ำที่ล้มเหลว หรือภาพใหม่ที่งดงามกว่าเดิม เริ่มที่บ้าน"


จาก: นิตยสาร Kids & School

ความคิดเห็น