ลูกคุณมีสารตะกั่วสะสมหรือไม่
หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าร่างกายลูกมีสารตะกั่วสะสมหรือไม่นั้น สามารถพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจเลือดและวัดปริมาณสารตะกั่วที่อยู่ในเลือดได้ หากมีสารตะกั่วเกิน 100 ไมโครกรัมในร่างกายก็ถือว่าผิดปกติแล้วค่ะ สารตะกั่วคืออะไร สารตะกั่วคือโลหะหนัก เป็นมีพิษทางสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็กแม้จะได้รับในปริมาณน้อย มักผสมอยู่ในสีทาบ้าน หมึก ท่อน้ำ เครื่องประดับที่มีการเคลือบสี ภาชนะใส่อาหาร ของเล่น ดินน้ำมันสารตะกั่วสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ การสูดดม ผงฝุ่น ผงแป้งบางชนิที่มีสารตะกั่วปนการเคี้ยว อม ของเล่นหรือภาชนะใส่อาหารที่มีสีเจือปนอยู่การสัมผัส ผลิตภัณฑ์หรือน้ำมันที่มีสารตะกั่วปนอยู่ เมื่อลูกได้รับสารตะกั่ว เด็กสามารถได้รับสารตะกั่วตั้งแต่อยู่ในท้องของคุณแม่ โดยหากคุณได้รับสารตะกั่วในปริมาณมากขณะตั้งครรภ์อาจเกิดการแท้ง คลอดก่อนกำหนด ลูกจะมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติค่ะเด็กที่ร่างกายมีการสะสมสารตะกั่วเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะลำใส้ ทำให้ลูกมีการเบื่ออาหาร ท้องผูก ปวดท้องผิดปกติ ปวดท้องบ่อยๆ และมีเลคไลน์ (Lead Line) คือแนวเส้นตะกั่ว มีสีน้ำเงิน-ดำบริเวณเหงือกและไรฟันหากร่างกายได้รับสารตะกั่วมากเกินปกติอาจทำให้ลูกชนผิดปกติ อยู่ไม่นิ่ง หรือมีอาการซึมผิดปกติ เล่นน้อยลง นอกจากนั้นสารตะกั่วยังมีผลเสียต่อสมอง เมื่อลูกได้รับและสะสมในปริมาณมาก อาจทำให้สมองบวม พัฒนาการทางสมองช้า ทำให้ IQ ลดลง การเรียนรู้ลดลง อาจถึงขั้นชัก หมดสติ และเสียชีวิตได้ค่ะ ป้องกันลูกรักจากสารตะกั่ว หากลูกมาอาการผิดปกติเพราะได้รับสารตะกั่ว วิธีการรักษาคือการให้ยาเพื่อเข้าไปขับสารตะกั่วให้ออกจากร่างการ แต่ทางที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้ลูกได้รับสารตะกั่วโดย...ล้างมือสม่ำเสมอ ให้ลูกล้างมือก่อนรัปทานอาหาร และก่อนเข้านอนหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะอาหารที่มีสีสัน โดยเฉพาะอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดเลือกซื้อของเล่นที่ปลอดภัย มีมาตรฐาน มองหาสัญลักษณ์ความปลอดภัย เช่น มอก. โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุสาหกรรม ASTM (American Society for Testing and Materials) โดยหน่วยงานทดสอบความปลอดภัยของเล่นแห่งสหรัฐอเมริกา ST(Safe Toys) โดย the Japan Toy Association(JTA) เครื่องหมาย ASTM เครื่องหมาย มอก.หมั่นทำความสะอาดบ้าน ตรวจสอบเครื่องใช้ที่มีสีพ่นหุ้มเหล็กสีทาบ้าน หากพบว่ามีการหลุดร่อนควรเปลี่ยนใหม่หรือนำไปซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพปกติ เด็กอาจได้รับอันตรายโดยการปนเปื้อน ดูแลและใส่ใจในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของเล่นที่ปลอดภัย ช่วยให้ลูกรักห่างไกลจากสารตะกั่วได้ค่ะ ข้อมูลจาก : นิตยสาร สุขภาพลูกรัก / ฉบับที่ เดือน ต.ค.53ผู้เขียน พิชญกานต์ / เรียบจากบทสัมภาษณ์ พญ.ศุภรัตนา คุณานุสนธิ์ กุมารแพทย์ โรงพยาบาลเวชธานี ที่มา http://www.vejthani.com/web-thailand/Healthcare-lead.php
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น