การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

[บทความ] ทำไมแม่ต้องไปทำงานด้วยล่ะจ๊ะ ?

 

เคยหนักใจเวลาต้องจากลูกไปทำงานไหมคะ และพอลูกโตขึ้นรู้เรื่องมากขึ้นก็จะยิ่งเจอคำถามเกี่ยวกับการไปทำงานของแม่ วันนี้มีบทความดีๆ มาฝากจาก Real Parenting ค่ะ



ทำไมแม่ต้องไปทำงานด้วยล่ะจ๊ะ ?

คำถามใสๆ กระตุกใจคุณแม่ทำงานได้ทุกคน อย่าเพิ่งเศร้า นี่เป็นโอกาสที่จะได้คุยเรื่องงานกับเข้าตัวเล็ก และทำให้ลูกมั่นใจว่า เขายังคงเป็นที่หนึ่งสำหรับชีวิตของแม่อยู่นะ

“เด็กวัย 5 ขวบขึ้นไป เริ่มมองว่างานเป็นศัตรูตัวฉกาจ ในสงครามแย่งชิงเวลาและความสนใจจากพ่อแม่” เอลเลน กาลินสกี ประธานสถาบันครอบครัวและงานเมืองนิวยอร์กซิตี้บอก “พวกหนูๆ โตพอจะเข้าใจพ่อแม่ว่า พ่อกับแม่ชอบทำงาน แต่ขณะเดียวกันเขาก็ยังอยากให้พ่อแม่รักเข้า (มากกว่างาน) อยู่ดีแหละ”

ลองปรับมุมมองและความรู้สึกของลูกด้วยการบอกว่า “แม่ชอบเวลาอยู่กับหนูที่สุด แต่ก็ชอบทำงานด้วย เหมือนที่หนูชอบอยู่กับแม่ แต่ก็ชอบเล่นกับน้องแพทด้วยไงล่ะ”

ในกรณีที่คุณทำงานเพราะความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ควรหลีกเลี่ยงอย่าไปพูดถึงประเด็นนั้น แต่เลือกข้อดีในการทำงานมาเล่าแทน เช่น ความภูมิใจเมื่อยามงานสำเร็จ หรือตอนที่ได้ยินเสียงชื่นชมจากคนรอบข้าง ฯลฯ ลูกจะได้เชื่อโยงคำว่า “งาน” เข้ากับความพอใจ แทนที่จะเป็น “ภาระหน้าที่” ซึ่งช่วยปรับทัศนคติแง่ลบเกี่ยวกับงานได้ดีกว่ากันเยอะเลย

ขอขอบคุณ : Real Parenting สำหรับข้อมูลค่ะ

ความคิดเห็น