การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

เสริมทักษะลูกได้อย่างฝัน... เมื่อรู้ทันพัฒนาการเด็ก

 

ลูก...โซ่ทองคล้องใจที่เปรียบเสมือนจิ๊กซอชิ้นสำคัญ ที่สามารถต่อภาพครอบครัวให้สมบูรณ์แบบได้  เป็นเทวดาตัวน้อยๆ ของพ่อแม่ทุกคน  ดังนั้น การจะเลี้ยงดูเจ้าตัวน้อยให้เติบโตและมีพัฒนาการที่ดี คุณพ่อคุณแม่ควรจะเตรียมพร้อมอย่างไรบ้าง วันนี้เรามีบทความดีๆ เกี่ยวกับ ”พัฒนาการเด็กช่วงขวบปีแรกและการส่งเสริมพัฒนาการ” เพื่อให้ทุกครอบครัวสามารถเตรียมพร้อมเพื่อเจ้าตัวเล็กได้อย่างเหมาะสม
 
 
            ช่วงขวบปีแรกของชีวิตน้อยๆ เป็นช่วงเวลาที่ลูกมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมทุกศักยภาพของลูก คุณพ่อและคุณแม่มือใหม่ควรให้ความสนใจพัฒนาการด้านต่างๆ ต่อไปนี้
 
พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
 
เป็นพัฒนาการที่สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนมาก แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 
 
การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่  ทารกแรกเกิดถึง 1 เดือน จะมีพฤติกรรมที่ไม่จำเพาะเจาะจง  เรียนรู้และตอบสนองสิ่งที่อยู่ใกล้ชิด ตาเริ่มมองเห็น หูได้ยินและรับรู้สัมผัสต่างๆ ได้  เมื่ออายุ 2-4 เดือน จะเริ่มควบคุมการเคลื่อนไหวได้มากขึ้น ใช้แขนล่างพยุงตัว ชันคอ และหันศีรษะได้   เมื่ออายุ 6 เดือน  สามารถคว่ำและหงายได้เอง นั่งเองได้ชั่วครู  เมื่อจับยืนน้ำหนักลงที่เท้าทั้ง 2 ข้างได้  หลังจากนั้นเมื่ออายุครบ 9 เดือน ลูกจะเริ่มนั่งได้มั่นคง คลานและเกาะยืนได้  แต่พอครบ 1 ขวบเมื่อไหร่ ก็จะสามารถเกาะเดินและยืนเองได้ชั่วครู่ พัฒนาการอีกขั้นคือลูกจะกางแขนและขาเพื่อช่วยให้ทรงตัวได้
 
 
การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก  หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตจะพบว่าเด็กแรกเกิดจะกำมือแน่น แต่ต่อมาจะเริ่มกำมือแบบหลวมๆ นี่คือปฏิกิริยาหนึ่งในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก เมื่ออายุได้ 4 เดือนจะเริ่มกางนิ้ว หุบนิ้ว เอามือจับกันตรงกลางได้  พอครบ 6 เดือน จะสามารถเอื้อมหยิบของได้แม่นยำ และเริ่มหยิบของเล็กๆ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ได้ถนัดเมื่ออายุประมาณ 1 ปี
 
 
            คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของลูกได้ด้วยการดูแลเรื่องสุขภาพ และโภชนาการที่เหมาะสม จัดสถานที่เลี้ยงดูให้ลูกน้อยมีอิสระในการเคลื่อนไหว ควรเลือกของเล่นที่มีสีสันแต่ปลอดภัย เพื่อช่วยฝึกฝนทักษะการมองและการหยิบจับ แต่หากถึงวัยที่เหมาะสมกับพัฒนาการด้านต่างๆ แล้วแต่ลูกยังแสดงแค่ปฏิกิริยาสะท้อน แสดงว่าอาจเกิดความผิดปกติของสมอง ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้การรักษาแต่เนิ่นๆ (early intervention) ซึ่งจะได้ผลดีในช่วงที่สมองอยู่ในระหว่างการเติบโตและมีความยืดหยุ่นสูง
 



            ลูก...โซ่ทองคล้องใจที่เปรียบเสมือนจิ๊กซอชิ้นสำคัญ ที่สามารถต่อภาพครอบครัวให้สมบูรณ์แบบได้  เป็นเทวดาตัวน้อยๆ ของพ่อแม่ทุกคน  ดังนั้น การจะเลี้ยงดูเจ้าตัวน้อยให้เติบโตและมีพัฒนาการที่ดี คุณพ่อคุณแม่ควรจะเตรียมพร้อมอย่างไรบ้าง วันนี้เรามีบทความดีๆ เกี่ยวกับ ”พัฒนาการเด็กช่วงขวบปีแรกและการส่งเสริมพัฒนาการ” เพื่อให้ทุกครอบครัวสามารถเตรียมพร้อมเพื่อเจ้าตัวเล็กได้อย่างเหมาะสม
 
 
            ช่วงขวบปีแรกของชีวิตน้อยๆ เป็นช่วงเวลาที่ลูกมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมทุกศักยภาพของลูก คุณพ่อและคุณแม่มือใหม่ควรให้ความสนใจพัฒนาการด้านต่างๆ ต่อไปนี้
 
พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
 
เป็นพัฒนาการที่สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนมาก แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 
 
การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่  ทารกแรกเกิดถึง 1 เดือน จะมีพฤติกรรมที่ไม่จำเพาะเจาะจง  เรียนรู้และตอบสนองสิ่งที่อยู่ใกล้ชิด ตาเริ่มมองเห็น หูได้ยินและรับรู้สัมผัสต่างๆ ได้  เมื่ออายุ 2-4 เดือน จะเริ่มควบคุมการเคลื่อนไหวได้มากขึ้น ใช้แขนล่างพยุงตัว ชันคอ และหันศีรษะได้   เมื่ออายุ 6 เดือน  สามารถคว่ำและหงายได้เอง นั่งเองได้ชั่วครู  เมื่อจับยืนน้ำหนักลงที่เท้าทั้ง 2 ข้างได้  หลังจากนั้นเมื่ออายุครบ 9 เดือน ลูกจะเริ่มนั่งได้มั่นคง คลานและเกาะยืนได้  แต่พอครบ 1 ขวบเมื่อไหร่ ก็จะสามารถเกาะเดินและยืนเองได้ชั่วครู่ พัฒนาการอีกขั้นคือลูกจะกางแขนและขาเพื่อช่วยให้ทรงตัวได้
 
 
การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก  หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตจะพบว่าเด็กแรกเกิดจะกำมือแน่น แต่ต่อมาจะเริ่มกำมือแบบหลวมๆ นี่คือปฏิกิริยาหนึ่งในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก เมื่ออายุได้ 4 เดือนจะเริ่มกางนิ้ว หุบนิ้ว เอามือจับกันตรงกลางได้  พอครบ 6 เดือน จะสามารถเอื้อมหยิบของได้แม่นยำ และเริ่มหยิบของเล็กๆ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ได้ถนัดเมื่ออายุประมาณ 1 ปี
 
 
            คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของลูกได้ด้วยการดูแลเรื่องสุขภาพ และโภชนาการที่เหมาะสม จัดสถานที่เลี้ยงดูให้ลูกน้อยมีอิสระในการเคลื่อนไหว ควรเลือกของเล่นที่มีสีสันแต่ปลอดภัย เพื่อช่วยฝึกฝนทักษะการมองและการหยิบจับ แต่หากถึงวัยที่เหมาะสมกับพัฒนาการด้านต่างๆ แล้วแต่ลูกยังแสดงแค่ปฏิกิริยาสะท้อน แสดงว่าอาจเกิดความผิดปกติของสมอง ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้การรักษาแต่เนิ่นๆ (early intervention) ซึ่งจะได้ผลดีในช่วงที่สมองอยู่ในระหว่างการเติบโตและมีความยืดหยุ่นสูง
 
 
 
 
 
พัฒนาการด้านการรับรู้และสังคม
 
            ทารกแรกเกิดจะมีพัฒนาการด้านการรับรู้และสังคม เช่น การจ้องมองหน้า มองตามการเคลื่อนไหว  หรือสะดุ้งเมื่อได้ยินเสียงดัง  เมื่ออายุ 2 เดือน จะรู้จักเลียนแบบหน้าตาและทำปากตาม  สนใจฟังเสียงพูดคุย ขยับตัวตามจังหวะได้  เมื่ออายุครบ 4 เดือนจะสนใจคนหรือสิ่งของที่อยู่ไกลตัว มองตามคนคุ้นเคย ส่งเสียงอ้อแอ้ และหันมองหาแหล่งของเสียงได้ถูกต้อง  เมื่ออายุ 6 เดือนจะเริ่มไขว่คว้า สำรวจสิ่งที่อยู่ในมือ แยกแยะคนแปลกหน้าได้ สามารถเข้าใจท่าทางและสำเนียง เช่น หยุดเมื่อถูกห้าม เด็กวัยนี้สามารถกินอาหารกึ่งเหลวที่ป้อนด้วยช้อนได้แล้ว และเริ่มหยิบอาหารกินเอง เล่นจ๊ะเอ๋ ร้องตามแม่ได้เมื่ออายุครบ 9 เดือน พออายุครบ 1 ปี ลูกคุณจะกลายเป็นเจ้าตัวน้อยช่างสำรวจ สามารถเล่นตบมือ โบกมือได้ 
 
            คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตความสามารถในการรับรู้ของลูกจากการมอง การฟัง การสัมผัสและการตอบสนอง คอยเอาใจใส่ ยิ้มแย้ม พูดคุยกับลูกอย่างอ่อนโยน ร้องเพลง ทำท่าทางให้เลียนแบบและเสริมสร้างทักษะการมอง การสัมผัส ด้วยของเล่นสีสันสดใส
 
พัฒนาการด้านภาษา
 
            สำหรับการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาในเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับลูกเป็นประจำเพื่อส่งเสริมให้มีพัฒนาการทางภาษาอย่างเหมาะสม น้ำเสียงที่แตกต่างกันจะทำให้เด็กได้เรียนรู้ความหมายของการสื่อสารและความรู้สึกแตกต่างกันไป  แต่เมื่อเด็กอายุ 7 เดือนขึ้นไป ควรสื่อสารด้วยภาษาที่ใช้กับเด็กโตหรือผู้ใหญ่เพิ่มมากขึ้นเพื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาในระยะต่อไปอย่างดี  สอนหรือบอกให้เด็กทำสิ่งต่างๆ อย่างง่ายๆ พร้อมกับมีกิริยาทำท่าประกอบควบคู่กันไป จะช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่ต้องการผู้ใหญ่ต้องการสื่อสารได้ง่ายขึ้น รวมถึงต้องคอยสังเกตการตอบสนองของเด็กด้วย
          หรือคุณพ่อคุณแม่อาจจะใช้หนังสือนิทานหรือรูปภาพมาช่วยเสริมสร้างทักษะด้านภาษา ก็จะช่วยเพิ่มคำศัพท์ให้แก่เด็กได้มาก อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน อย่างไรก็ตามผู้เลี้ยงไม่ควรตั้งใจสอนให้เด็กอ่านหรือท่องจำหนังสือ หรือตัวเลขมากเกินไป  เพราะการที่เด็กท่องจำได้ตามที่ถูกสอนไม่ได้หมายความว่าเด็กจะมีความสามารถในการอ่านระยะถัดไป ได้ดีกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน  ความเข้าใจทางภาษาที่แตกฉาน และสามารถใช้ภาษาพูดได้เป็นอย่างด ีต่างหากที่จะเป็นรากฐานที่สำคัญต่อความรู้ความเข้าใจในการอ่านหรือเขียนมากกว่า และควรเปิดโอกาสให้เด็กหยิบจับหรือหัดเปิดหนังสือเองบ้าง
 
 
อย่างไรก็ตามพัฒนาการของเด็กแต่ละคนมีความหลากหลาย อายุที่กล่าวไว้นั้นเป็นเพียงเกณฑ์ที่เด็กส่วนใหญ่ควรทำได้ซึ่งหากไม่เป็นไปตามนี้ก็อาจไม่ได้หมายถึงพัฒนาการที่ล่าช้าแต่อย่างใด ดังนั้นหากผู้ปกครองมีความสงสัยเรื่องพัฒนาการของบุตรหลานควรปรึกษากุมารแพทย์โดยตรง

ที่มา http://www.vejthani.com/web-thailand/Child-Development.php

ความคิดเห็น