การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

ตามใจ หรือเข้าใจ vs เข้มงวด หรือฝึกวินัย ไขข้อข้องใจแม่ที่มีลูกวัย terrible

 ตามใจ หรือเข้าใจ vs เข้มงวด หรือฝึกวินัย ไขข้อข้องใจแม่ที่มีลูกวัย terrible



พ่อแม่มือเก่าและมือใหม่หลายๆ คน คงมีคำถามในใจเหมือนๆ กัน

คำถามที่พบบ่อยๆ ก็คือ “จะตามใจ ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ไม่มากเกินไปจนเสียเด็ก และไม่น้อยเกินไป จนดูเหมือนเป็นพ่อแม่ที่เข้มงวดไปซะทุกเรื่อง” , “ปวดหัวกับอารมณ์ของลูกวัย 2-3 ขวบ แก้ไขยังไงดี”

คำตอบในเรื่องนี้ ไม่มีคำตอบที่ว่าให้ตามใจลูกได้แค่ไหน เข้มงวดกับเรื่องอะไร แนวทางส่วนตัวของเราเป็นแบบนี้

1. ในเด็กขวบปีแรก เป็นช่วงที่ยังสื่อสารได้ไม่ดีนัก มักจะสื่อสารผ่านการร้องเป็นส่วนใหญ่ วิธีตอบสนองของเรา คือเข้าไปหา และพยายามตอบสนองให้ตรงจุดที่สุด ซึ่งในขวบแรก มักจะมีปัญหาหลักๆ อยู่ไม่กี่อย่าง เช่น เบื่อ อยากให้อุ้ม หิว ร้อน หนาว ฉี่ อึ อยากให้เล่นด้วย ฯลฯ ดังนั้นในขวบปีแรก จึงไม่มีอะไรที่ยากมากมายนัก หากปีแรกเราแก้ไขสถานการณ์ได้ดี และถูกต้อง ปีต่อๆไป จะง่ายขึ้น แต่หากไปผิดทางตั้งแต่แรกเกิด ปัญหาระยะยาวมาแน่ๆ

- คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่า เด็กเล็กๆ ร้องอย่าเข้าไปอุ้ม เพราะจะทำให้ติดมือ ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะอุ้มมากหรืออุ้มน้อย เด็กก็มักจะยึดติดกับความอุ่นกาย อุ่นใจด้วยกันทั้งนั้น แม้แต่ตัวเราที่เป็นผู้ใหญ่ ก็ยังโหยหาความมั่นคงทางจิตใจ นับประสาอะไรกับเด็กเล็กๆ

2. หลังจากขวบปีแรก เมื่อเข้าใกล้ 2 ขวบ เด็กจะเริ่มมีอาการที่คล้ายๆ กัน คือชอบเรียกร้อง ส่งเสียงดัง โวยวาย กรี๊ด ร้องไห้ สารพัดวิธีต่อต้านผู้ใหญ่ เรียกได้ว่า บอกอย่างทำอย่าง

- บางคนมักจะทำสวนทางกัน คือไม่ตอบสนองเด็กเมื่อเด็กยังเล็ก คือไม่อุ้ม ไม่สนใจ เพราะคิดเอาเองว่า จะทำให้เด็กเอาแต่่ใจ แต่เมื่อพอเด็กเริ่มโตขึ้น เริ่มเรียกร้องได้ ผู้ใหญ่กลับเข้าไปตามใจซะทุกอย่างเมื่อถูกเรียกร้อง แม้จะไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสมก็ตาม แบบนี้แหละที่เรียกว่าตามใจลูก หรือพวก “พ่อแม่รังแกฉัน”

- ช่วงเด็กอายุ 2 ขวบ โดยปกติที่ได้ยินกันทั่วไป มักจะเรียกกันว่า terrible 2 ช่วงนี้เป็นช่วงที่ปวดหัวมากที่สุด ช่วงหนึ่งเลยทีเดียว เพราะ เป้นช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเด็กที่ว่านอนสอนง่าย เป็นเด็กที่ “แม่ว่าอย่างไร จะทำตรงข้ามทันที”

- เด็กวัย 2 ขวบเป็นวัยที่เริ่มทดสอบระดับสิทธิของตัวเอง ว่าจะทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหน และถ้าต้องการทำนอกกฏเกณฑ์ที่แม่วางไว้ได้หรือเปล่า จะทดสอบกฏเกณฑ์ของแม่ต้องทำยังไง

- วิธีอยู่ร่วมกันเด็กวัยนี้ให้มีประสิทธิภาพที่สุด ส่วนตัวแล้ว เราจะใช้จิตวิทยาเด็ก ซึ่่งจะได้ผลดีมาก เมื่อแม่ควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ และพยายามมีสติรู้ตัว รู้อารมณ์ตัวเองตลอดเวลา

- แม่สามารถโกรธได้ โมโหได้ เพราะแม่เป็นคนปกติ แต่…ต้องรู้ตัวเอง และพยายามควบคุมตัวเอง ให้กลับมาสู่ความเป็นปกติให้เร็วที่สุด และถ้าเป็นไปได้พยายามอย่าโกรธ จะดีที่สุด

- เด็กวัยนี้จะชอบทำตรงกันข้ามกับที่สั่ง เพราะฉะนั้น ไม่ควรออกคำสั่งโดยตรงกับเด็ก วิธีที่มีประสิทธิภาพมากๆ วิธีหนึ่งก็คือ การโน้มน้าว และให้ทางเลือกกับเด็ก

เช่น ตื่นตอนเช้าแล้วงอแงไม่อยากลงจากห้องนอน
วิธีที่ 1 – แม่ : ได้เวลาแล้ว ลงเดี๋ยวนี้เลยนะ ฯลฯ
วิธีที่ 2 – แม่ : เดี๋ยวลงเอาหนังสือนิทานเล่มโปรดลงไปอ่านข้างล่างกันด้วยดีมั้ยจ๊ะ ฯลฯ

อ่านแล้วลองคิดตาม วิธีไหนน่าใช้กับลูกมากกว่ากัน!!

คำถามที่ 1 : การใช้วิธีดุด่า ข่มขู่ มีประสิทธิภาพอย่างที่คิดไหม?
คำตอบคือ  ถ้าแม่ควบคุมตัวเอง เลิกใช้วิธีเก่าๆ ได้ จะเห้นว่าวิธีแบบที่ 1 นั้นไม่มีประโยชน์เลย


คำถามที่ 2 : แม่ที่ทำวิธีที่ 2 เป็นแม่ที่ตามใจลูกใช่หรือไม่?
คำตอบคือ ไม่ใช่การตามใจ แต่เป็นการเข้าใจลูก และใช้ศิลปการโน้มน้าวจิตใจของลูก ให้ยอมร่วมมือทำตามในสิ่งที่เหมาะสม

- เวลาที่เด็กร้องกรี๊ดเอาแต่ใจ ควรจะทำอย่างไร สิ่งที่เหมาะสมคือการเพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าพฤติกรรมนั้นจะทำในบ้าน นอกบ้าน ที่ชุมชน หรือคนมากมายขนาดไหน การตอบสนองของแม่ต้องหนักแน่น และมั่นคง อย่าแสดงออกให้ลูกรู้ว่า แม่จะยอมตามใจเค้า เมื่อเค้าร้องในที่ชุมชน เพราะว่าแม่อาย ฯลฯ แต่มีข้อยกเว้นว่า จะต้องคอยดูแลไม่ให้เกิดอันตรายกับลูก หรือในกรณีทีู่ลูกตกใจ หรือกลัวสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นพิเศษ เพราะในกรณีแบบนี้ ลูกต้องการอบอุ่นใจและความเอาใจใส่เป็นพิเศษ

- หลายคนบอกวิธีแบบนี้ใช้กับลูกตัวเองไม่ได้ผลหรอก : วิธีการใช้จิตวิทยากับเด็กนั้น นักวิชาการ นักจิตวิทยาทำการวิจัยมาแล้ว ว่าวิธีเหล่านี้เป็นวิธีที่ได้ผล ยิ่งใช้เมื่อลูกยังเล็กยิ่งมีประสิทธภาพดี เพราะลูกจะเคยชินกับวิธีการที่หนักแน่น มั่นคง สิ่งสำคัญอยู๋ที่ตัวแปรคือ พ่อแม่ คนเลี้ยงเด็ก ต้องมีความรู้ในการจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ควบคุมอารมณ์ และหนักแน่นต่อข้อเรียกร้องของเด็กที่ไม่เหมาะสม


เช่น ลูกอยากกินขนม

วิธีที่ 1 -
ลูก : อยากกินนี่อ่ะครับ
แม่ : ได้จ้ะ เดี๋ยวเราจะกินขนมกัน แต่เป็นหลังอาหาร หลังจากกินข้าวมื้อเย็นเสร็จก่อนนะ ตกลงตามนี้


(มา เพิ่มเติมค่ะ วิธีนี้ ถ้าจะใช้ให้ได้ผล ต้องฝึกฝนทักษะการพูดด้วย พูดในลักษณะเรียบๆ  แต่มั่นคง รูปประโยคชัดเจน ไม่ใช่แกมขอร้อง และต้องไม่ใช่การติดสินบน เช่น "ถ้าลูกกินข้าว แม่จะให้กินขนม" หรือ "ถ้าลูก... แล้วแม่จะ...." ดูเหมือนจะเป็นวิธีพูดคล้ายๆ กับข้างบน แต่การสื่อสารเป้นคนละรูปแบบ ผลลัพธ์จึงต่างกัน)

วิธีที่ 2
ลูก : อยากกินนี่อ่ะครับ
แม่ : ไม่ได้ ไม่ใช่เวลากินขนม
ลูก : (ขณะเดียวกันลูกก็ร้องมากมาย) แง้ๆๆ จะกินขนม แง้ๆๆๆๆ (ร้องดังขึ้นเรื่อยๆ ร้องจนกว่าแม่จะยอม)
แม่ : ก็ได้ๆๆ กินก็กิน  (แบบตัดรำคาญ)


อ่านแล้วลองคิดตาม วิธีไหนที่น่าจะใช้ในการฝึกวินัยในเด็กมากกว่ากัน

วิธีที่ 1 : ให้เด็กได้สิ่งที่ต้องการ แต่ต้องมีความรับผิดชอบต่อการกินข้าวของตัวเองด้วย กินเป็นเวลา มีโอกาสได้ทำในสิ่งที่ร้องขอ แต่ไม่ใช่พร่ำเพรื่อ

วิธีที่ 2 : ลูกจะเรียนรู้ว่า เมื่อใดก็ตาม ที่ต้องการทำในสิ่งที่แม่ไม่อนุญาต ให้ร้องไปเรื่อยๆ จนกว่าแม่จะยอม แล้วในที่สุดก็จะได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ

อยากจะสรุปตอนท้าย เพิ่มว่า การเลี้ยงเด็กจำเป้นต้องอาศัยความรัก และความรู้ควบคู่กันไป ความรักที่มีต่อเด็กเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้เลี้ยงดูเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ ต้องอาศัยการแสวงหาความรู้ที่เหมาะสมด้วย

ตอนสุดท้ายก็อยากจะแนะนำหนังสือเล่มเดิม ที่แนะนำมาไม่ต่ำกว่า 2-3 ครั้งแล้ว แต่บ่อยครั้งก็ยังเจอกับคำถามประมาณว่า จะจัดการกับอารมณ์ของลูกในวัย 2 ขวบอย่างไรดี

และทุกครั้ง ก็จะแนะนำหนังสือเล่มนี้ให้เสมอ

“พูดกับลูกอย่างไร ให้เขาเชื่อฟังและไม่ต่อต้านเรา ฟังลูกพูดอย่างไร ให้เขาไว้ใจไม่ปิดบังเรา”



(How To Talk So Kids Will Listen & Listen So Kids Will Talk)
วิธีพูดกับเด็กและวัยรุ่น-ภาคปฏิบัติ เพื่อช่วยให้เขายอมรับ เชื่อฟัง และไว้วางใจเรา

ความคิดเห็น