การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

ผลเสียของการให้อาหารเสริมแก่ทารกก่อนวัยอันควร

 ผลเสียของการให้อาหารเสริมแก่ทารกก่อนวัยอันควร


โดย พญ.ลำดวน นำศิริกุล



การให้อาหารเสริมเร็วเกินไปอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทารกได้ เนื่องจากอาหารที่มีอยู่ในอาหารเสริมนั้นไม่เหมาะสมกับทารก หรือไม่เพียงพอแก่ความต้องการของทารกดังเหตุผลต่อไปนี้


โปรตีน

ปริมาณและคุณภาพของโปรตีนนั้น แปรเปลี่ยนไป ตามประเภทของอาหารเสริม ธัญพืชจะมีโปรตีนร้อยละ 0.9-8.1 กรัม ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่นำมาใช้เป็นส่วนผสม และวิธีการผสมอาหารว่า ชงข้นหรือใส อาหารเสริมธัญพืชที่ประกอบด้วยข้าวสาลี ข้าวโอ๊ตจะมีโปรตีน มากกว่าอาหารเสริมที่ทำจากข้าวถึง 5 เท่า เนื้อและไข่จะเป็นแหล่งอาหาร ที่ให้โปรตีนสูงถึงร้อยละ 20 ของพลังงานที่ได้รับ แต่อาหารประเภทผลไม้ และของหวานส่วนใหญ่จะให้โปรตีนน้อยกว่าร้อยละ 7 ของพลังงานที่ได้รับ ผลไม้จึงให้อัตราส่วนของโปรตีนต่อพลังงานต่ำ เด็กจึงไม่ควรรับประทาน ผลไม้มากเกินกว่าร้อยละ 20 ของพลังงานที่ได้รับทั้งวัน

ในทำนองเดียวกัน โปรตีนที่ได้จากพืชผักและธัญพืช จะมีคุณค่าทางโภชนาการด้อยกว่าโปรตีนจากเนื้อ นม ไข่ การให้พืชผักมากเกินไปอาจมีผลกระทบต่อปริมาณโปรตีนที่ทารกจะได้รับ

นอกจากต้องคำนึงถึงปริมาณและคุณภาพของโปรตีน ที่จะให้ทารกแล้ว ยังต้องคำนึงถึง ขนาดของโปรตีนด้วย เนื่องจาก ในทารกที่อายุน้อยลำไส้ยังพัฒนาไม่เต็มที่ สามารถดูดซึม เอาโปรตีนที่มีโมเลกุลใหญ่เข้าไป แล้วกระตุ้นทำให้เกิด ภูมิแพ้ต่อโปรตีนนั้นได้ เมื่อรับประทานโปรตีนนั้นเข้าไปอีกในภายหลัง

 
คาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรตที่อยู่ในอาหารเสริมนั้นส่วนใหญ่คือ แป้ง ดังที่กล่าวมาแล้ว ทารกแรกเกิดจนถึงอายุ 3 เดือน อาจมีความจำกัด ในการย่อยอาหารแป้ง ดังนั้นการให้อาหารเสริมก่อนวัยอันควร อาจก่อให้เกิดผลเสีย เนื่องจากการไม่ย่อยทำให้ทารกเป็นโรคขาดอาหาร ท้องร่วง และการดูดซึมอาหารบกพร่อง นอกจากนี้แป้งในอาหารเสริม ระดับอุตสาหกรรม บางชนิดถูกดัดแปลง เพื่อมิให้เกิดความข้น ขุ่น เหนียว เพื่อให้ทารกรับประทานได้ง่าย และยอมรับอาหารเสริมชนิดนั้น แต่ขบวนการดัดแปลงทางอุตสาหกรรม อาจทำให้มีสารเคมีที่เป็นอันตราย ตกค้างอยู่ในอาหารเสริม และแป้งที่ถูกดัดแปลงไปนั้นอาจมีปฏิกิริยากับเกลือแร่ ทำให้ลำไส้ของทารกดูดซึมเกลือแร่ได้น้อยลง
 

ไขมัน

ทารกแรกเกิดจะมีเอนไซม์ที่ย่อยไขมันต่ำ ทำให้ทารก ดูดซึมไขมันได้ไม่ดีนัก ดังนั้นการให้อาหารเสริมที่มีไขมันมาก หรือน้อยเกินไปอาจก่อให้เกิดปัญหา เช่น ถ้าให้อาหารเสริม มากเกินไปจะเกิดอาการถ่ายเป็นไขมันได้
 

ผลเสียอื่น ๆ

- ในทารกที่ยังไม่สามารถชันคอได้ และระบบการกลืนอาจยัง ทำงานไม่สัมพันธ์กันดี ทำให้มีโอกาสสำลักเอาอาหารเสริม ที่ไม่ได้บดละเอียดเข้าไปในหลอดลมได้

- ถ้าหากอาหารเสริมที่ให้พลังงานสูง อาจทำให้ทารกมีโอกาส เป็นโรคอ้วนสูง เนื่องจากทารกที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในระยะแรก จะเนื่องมาจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์ไขมัน ทำให้ทารก มีจำนวนไขมันมาก ก็จะมีโอกาสอ้วนง่ายขึ้นในอนาคต
 
- การกินอาหารเสริมจะทำให้ทารกอิ่มนาน มีช่วงห่างระหว่าง มื้ออาหารนานขึ้น อาจมีผลทำให้เกิดการปรับตัวทำให้ไขมันในเลือดสูงขึ้น

- อาหารเสริมบางชนิดเติมเกลือลงไปเพื่อปรุงรส อาจมีผลส่ง เสริมให้ทารกนั้นมีแนวโน้มเป็นโรคความดันโลหิตสูง

- อาหารเสริมที่มีน้ำตาลปรุงรสหวาน อาจมีผลกระทบต่อนิสัย การบริโภคของทารก ทำให้ทารกติดการรับประทานอาหารรสหวาน และมีโอกาสฟังผุได้ง่าย

- ทารกอาจย่อยและดูดซึมสารอาหารบางชนิดที่มีอยู่ใน อาหารเสริมไม่ได้ ทำให้เกิดปัญหาโรคท้องร่วงและ ภาวะการดูดซึมบกพร่องได้

- อาหารเสริมบางชนิดอาจมีคุณค่าทางโภชนาการไม่ครบถ้วน ทำให้ไตทำงานหนัก
 

กล่าวสรุป

อาหารเสริมคือ อาหารอื่นๆ ทุกชนิดนอกเหนือไปจากนมแม่ ควรให้ทารกเมื่อมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป เพื่อให้สารอาหารอื่นๆ เสริมนมแม่ เพื่อฝึกนิสัยการกิน และเพื่อเสริมการพัฒนาระบบการกิน ย่อยและดูดซึมอาหาร ตลอดจนพัฒนาการด้านอื่นๆ ของทารกให้เหมาะสม การให้อาหารเสริมทารกอย่างถูกต้องเหมาะสม จะช่วยให้ทารกเจริญเติบโต และพัฒนาการสมวัย แต่การให้อาหารเสริมก่อนวัยอันควร อาจก่อให้เกิดผลเสียได้มากมาย หลักเกณฑ์การเลือกใช้ ประเภทของอาหารเสริม ควรต้องพิจารณาส่วนประกอบคุณค่าทางโภชนาการ ให้เหมาะสมกับความต้องการการทำงานของระบบทางเดินอาหารของทารก ว่าสามารถดูดซึมอาหารนั้นได้ดีเพียงใด

ที่มา...นิตยสารแม่และเด็ก

ความคิดเห็น