การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

เสริมความฉลาดให้ลูกผ่านการเล่น

 

เสริมความฉลาดให้ลูกผ่านการเล่น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก motherandcare.in.th



ยุคนี้ของเล่นมีวางขายเกลื่อนมากมาย ด้วยความเข้าใจที่ว่า ของเล่นมีส่วนช่วยพัฒนาทักษะทางปัญญาและอารมณ์ของเด็ก แท้ที่จริงแล้ว นักวิชาการกล่าวว่า ต่อให้ของเล่นมีราคาแพง ดีแค่ไหน แต่ไม่มีพ่อแม่ได้ร่วมเล่นกับลูก ของเล่นไม่ตรงกับความสามารถ พัฒนาการตามช่วงวัย ก็เปล่าประโยชน์

ข้อแนะนำต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจถึงการเล่นที่เสริมสร้างความฉลาด สอดคล้องกับความสามารถ พัฒนาการช่วงวัยของลูกค่ะ
 

0 - 1 เดือน
ความสามารถ  ลูกเรียนรู้และจดจำสิ่งต่างๆ ผ่านประสาทสัมผัสทุกด้านตั้งแต่แรกเกิด สามารถมองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส และสัมผัสได้ตลอดเวลา การจัดสิ่งแวดล้อมจึงมีความสำคัญ ที่ช่วยให้ลูกซึมซับความรู้สึก พร้อมกับการเล่นที่หลากหลายและสร้างสรรค์
 
โดยเฉพาะลูกน้อยช่วงแรกเกิดนั้น ของเล่นที่ดีที่สุดก็คือพ่อแม่ ที่ได้ใกล้ชิดดูแลเรื่องความเป็นอยู่ ได้เล่นกับลูก
ของเล่น
+ เสียงพูดคุย ร้องเพลง ที่มีจังหวะ น้ำเสียงขึ้นๆ ลงๆ ก็เป็นเสียงชวนฟัง เรื่องสนุกของลูก
+ เล่นปูไต่ การสัมผัส ใช้นิ้วมือของคุณแม่ไต่ไปตามแขน ขา ลำตัว นิ้วมือ นิ้วเท้า พร้อมกับสบตาพูดคุยไปด้วย
+ ใช้ใบหน้าที่ยิ้มแย้ม หรือการทำท่าทางที่ตลกๆ ของคุณพ่อ ชวนให้ลูกยิ้มดูบ้างสิคะ
 
2 - 3 เดือน

ความสามารถ ลูกยกศีรษะจากที่นอนได้ชั่วขณะ (ประมาณ 45 องศา) ช่วงแขน ขา เอว เข่า แข็งแรงขึ้นมาก
ของเล่น
+ เลือกภาพที่น่าสนใจ เช่น ภาพใบหน้าพ่อ-แม่ หรือภาพดอกไม้ รูปทรงง่ายๆ ที่ตัดกับพื้นด้านหลังชัดเจน นำมาให้ลูกดู หรือทำเป็นโมบายแขวนไว้
+ จับลูกนอนคว่ำกับที่นอน โดยคุณแม่อยู่ด้านตรงข้ามกับลูก ใช้ใบหน้า เสียงเรียกหรือท่าทาง ชวนลูกเล่น  กระตุ้นให้ลูกพยายามผงกหัวขึ้นมามอง

4 - 5  เดือน

ความสามารถ ควบคุมศีรษะดีขึ้น อาจมีบ้างที่ศีรษะยังแหงนหงาย คอและหลังแข็งแรงขึ้นมาก ชอบเหลียวมองไปมา ชอบมองของเล่น และอยากจะคว้าของ
ของเล่น
+ อุ้มลูกส่องกระจก ให้ลูกมองตัวเองในกระจก พร้อมกับบอกชื่อลูกหรือชื่อคุณแม่
+ ของใช้ เช่น ผ้าอ้อม ก็สามารถนำมาดัดแปลงเป็นของเล่นสนุก ให้ลูกสัมผัส หยิบจับ ขยำ กำ ได้ค่ะ
 
6  เดือน
ความสามารถ ลูกพยายามคืบ หยิบของเข้าปาก ชอบของเล่นสีสันสดใส มีเสียง
ของเล่น
+ แก้วน้ำ ถ้วย ช้อน ที่มีน้ำหนักเบา อุปกรณ์เรื่องหม่ำของลูก ก็เป็นของเล่นที่ชวนเพลิดเพลินกับการหยิบจับกำ สิ่งของได้เป็นอย่างดี
+ อวัยวะส่วนต่างๆ ของลูก ก็เป็นตัวเชื่อมโยงเรื่องเล่นค่ะ โดยให้ลูกสัมผัสกับอวัยวะ เช่น จมูก ปาก หูของตัวเอง แล้วคุณแม่คอยกำกับบอกชื่อขณะที่เล่น
 
7 - 8  เดือน
ความสามารถ กล้ามเนื้อมัดเล็กแข็งแรง ลูกสามารถหยิบของสลับข้างได้เก่ง นั่งได้ คลานได้ แต่อาจไม่คล่องแคล่ว
ของเล่น
+ หากล่องใบเล็กสักใบ พร้อมลูกบอลที่ลูกจับถนัดมือ โดยคุณแม่ก็หยิบลูกบอลเข้า-ออกให้ลูกดู ต่อจากนั้นก็ให้ลูกเป็นผู้เล่นดูบ้าง
+ คุณแม่อาจให้ลูกลองบีบฟองน้ำ หรือตีน้ำป๋อมแป๋มให้ลูกดู มีเสียงประกอบเล็กน้อย ก็เป็นเรื่องสนุกช่วงเวลาอาบน้ำ
 
9 - 10  เดือน
ความสามารถ ลูกเริ่มเกาะยืน เคลื่อนไหวร่างกายคล่องขึ้นมาก
ของเล่น
+ ใช้กำแพงบ้านเป็นพื้นที่สนุก ให้ลูกหัดดันตัวเองจากพื้น เพื่อเกาะยืนขึ้น
+ ให้คุณพ่อมีส่วนร่วมเรื่องเล่นของลูก ด้วยการเล่นโยกเยก ขี่ม้าส่งเมือง โดยมีคุณแม่ดูแลความปลอดภัย

11 - 12 เดือน
ความสามารถ ลูกเกาะยืน ลุกขึ้นนั่งลง คลานไปได้ทั่ว สนุกกับการเคลื่อนไหวร่างกาย (ไม่อยู่นิ่ง) ของเล่นจำพวกผลัก ดึง ให้เคลื่อนที่ได้จึงเป็น   ของเล่นชวนสนุกของลูกวัยนี้
ของเล่น
+ หากล่องใบเล็ก 2-3 ใบ ประดิษฐ์เป็นขบวนรถไฟ ให้ลูกสนุกกับการลาก ดึง ที่สำคัญ ขณะที่เล่นคุณแม่ควรพูดคุยถึงสิ่งที่ลูกเล่นไปด้วย เช่น ทำเสียงเลียนแบบรถไฟ (ปู๊น ปู๊น) เป็นต้น

ขอบคุณ: น้องต๊อด - ด.ช. อริย์ธัช ซุ่นทรัพย์


ความคิดเห็น