การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

8 ชนวนอาการปวดหัวคุณแม่ท้อง

 8 ชนวนอาการปวดหัวคุณแม่ท้อง




นระหว่างตั้งครรภ์ อีกศึกหนักที่เป็นเสมือนบททดสอบความอดทนของว่าที่คุณแม่ คือ อาการปวดหัว การกินยาแก้ปวดอาจเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ฉะนั้นเราควรไปทำความรู้จักกับสาเหตุอาการปวดหัวขณะตั้งครรภ์ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับปัจจัยต่างๆ ที่คุณแม่ท้องต้องฝ่าด่านไปให้ได้กันค่ะ

1.การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนขณะคุณแม่ท้อง
 ขณะตั้งครรภ์ ฮอร์โมนในร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ อันได้แก่ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน, ฮอร์โมนเอสโตรเจน, ฮอร์โมนฮิวแมนคอริโอนิกโกนาโดโทริฟิน (HCG), ฮอร์โมนฮิวแมนพลาเซนต้าแลกโตรเจน (hPL) ด้วยอิทธิพลของฮอร์โมนเหล่านี้จะทำให้คุณแม่ที่มีประวัติเป็นไมเกรน เกิดอาการกำเริบได้บ่อยครั้ง

2.อาการขาดน้ำกะทันหัน (dehydration)
 คือภาวะที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าที่ร่างกายได้รับ ซึ่งสาเหตุมาจากการอาเจียน และปัสสาวะบ่อย หากขาดน้ำมากๆ และไม่ได้รับน้ำมาทดแทนอย่างเพียงพอ ก็เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดหัวได้ ฉะนั้นควรดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 2 แก้ว และกินอาหารที่มีน้ำมากๆ เช่น ผัก ผลไม้
 
3.ความอ่อนเพลีย
 คุณแม่ท้องที่ดูแลตัวเองเป็นอย่างดี สุขภาพแข็งแรงตั้งแต่ก่อนตั้งท้องก็สามารถประสบปัญหานี้ได้เช่นกัน เนื่องจากการแพ้ท้องคลื่นไส้ อาเจียน กินอาหารไม่ได้ ทั้งยังต้องแบกรับอีกหนึ่งชีวีตที่ดูดซึมสารอาหารผ่านร่างกายตนเอง เป็นสภาวะที่ร่างกายเหนื่อยและอ่อนเพลียง่าย จะมีอาการ มึน เวียน ปวดหัวได้ง่าย

4.ความหิว
 คุณแม่ท้องที่กลัวอ้วนหรือพยายามควบคุมอาหารต้องระวังไม่ปล่อยให้ท้องว่างนานเกินไป จะมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ก่อให้เกิดอาการปวดหัวได้ จึงควรกินอาหารให้ครบ 5หมู่ และพยายามกินอาหารอยู่สม่ำเสมอให้ครบทุกมื้อ

5.พักผ่อนไม่เพียงพอ
 ช่วงคุณแม่ท้องส่วนใหญ่จะนอนหลับยาก เนื่องจากหลายปัจจัย เช่น ไม่สามารถนอนในท่าที่ถนัดได้เช่นเดิม ปวดหลังปวดตัว เมื่อร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ วันรุ่งขึ้นจึงปวดศีรษะ ดังนั้นควรนอนหลับให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 – 10 ชั่วโมง โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน เพราะร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการตั้งท้องออกมาได้ดีค่ะ
 
6.เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ
 เป็นผลมาจากเยื่อบุจมูกอักเสบและบวม ส่วนใหญ่เกิดจากโรคภูมิแพ้ ซึ่งปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ เช่น  ฝุ่นในอากาศ ควันธูป เกษรดอกไม้ ขนสัตว์ เป็นต้น โดยอาการที่จะแสดงออกคือ ไอ จาม น้ำมูกไหล น้ำตาไหล ปวดหัว

7.อากาศ
 แค่อากาศร้อนก็สามารถทำให้คุณแม่ท้องปวดหัวแล้ว ดังนั้นคุณแม่ท้องอาจจะต้องงดการออกไปที่กลางแจ้ง หรือสถานที่ ที่มีคนหมู่มากคอยเบียดเสียดยื้อแย่งอากาศบริสุทธิ์หายใจ ทว่าหากอยู่บ้านควรจัดสภาพแวดล้อมในที่พักอาศัยให้โปร่งโล่งสบาย อาจจะใช้เครื่องปรับอากาศ จะช่วยให้คุณแม่ท้องสบายตัวขึ้น

8.ภาวะความเครียด
 ขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ท้องจะมีความวิตกกังวลหลายเรื่องเช่น ความเจ็บปวดทางร่างกายตนเอง สุขภาพของลูกในท้อง การที่มีความเครียดสะสมเรื้อรังจะทำให้เกิดอาการทางกาย เรียกว่า อาการปวดหัวจากความเครียด (Tension-type headaches)

เคล็ดลับปรับสมดุล ลดปวดหัว
* ออกกำลังกายเบาๆ นอกจากช่วยผ่อนคลาย ยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรงมีภูมิต้านทางโรค
* ทำบรรยากาศบ้านให้สดชื่น เช่น ใช้น้ำยาหรือสเปรย์กลิ่นลาเวนเดอร์ฉีดให้กระจายทั่วห้อง กลิ่นเหล่านี้จะช่วยให้รู้สึกดี และสงบ
* ผ่อนคลายอีกนิดด้วยการสูดหายใจเข้าช้าๆ กลั้นไว้ประมาณ 1วินาที แล้วค่อยๆ หายใจออกให้ท้องยุบลง ช่วยให้กล้ามเนื้อของร่างกายคลายตัว

 แม้จะมีชนวนเหตุมากมาย ให้คุณแม่ท้องต้องปวดหัว ทว่าหากทราบถึงสาเหตุและวิธีแก้ไข ต่อให้อีกกี่ท้องก็ตั้งรับไหวอยู่แล้วจริงไหมค่ะ

 

Source: Mothere&Care Vol.8 No.88 April 2012

Link:  http://www.motherandcare.in.th

ความคิดเห็น