การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

9 เคล็ดลับบอกลารอยแตกลาย

9 เคล็ดลับบอกลารอยแตกลาย

เรื่อง แอปเปิ้ลสีแดง

          เมื่อตั้งครรภ์ คุณแม่หลายท่านกังวลกับรอยแตกลายที่อาจเกิดขึ้นบนผิวของคุณขณะตั้งครรภ์ ดังนั้นเราจึงถือสโลแกน "ผู้หญิงอย่าหยุดสวย" มาใช้ในโอกาสนี้ด้วย ฉบับนี้เรามีวิธีบำบัดรอยแตกลายด้วยวิธีธรรมชาติ ซึ่งเป็นมิตรกับสุขภาพและผิวพรรณของคุณแม่ท้องมาฝากค่ะ

           1.ควบคุมการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว คุณแม่ท้องควรเพิ่มน้ำหนักตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทีละนิด ด้วยการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์หลีกเลี่ยงอาหารหวานจัด เค็มจัด และอาหารที่มีไขมันมากเกินไปและควรดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อให้น้ำหนักตัวค่อย ๆ เพิ่มตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ตามเกณฑ์ที่คุณหมอแนะนำ ไม่ควรปล่อยให้น้ำหนักขึ้นพรวดพราด เช่นเดียวกับตอนหลังคลอด ซึ่งคุณแม่ท้องควรลดน้ำหนักแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังหดตัวรวดเร็วจนเกินไปอันจะก่อให้เกิดรอยแตกลายมากยิ่งขึ้น

           2.ออกกำลังกายเบา ๆ สม่ำเสมอ เพื่อช่วยควบคุมการเพิ่มของน้ำหนัก ทั้งยังช่วยให้กล้ามเนื้อท้องแข็งแรงตั้งแต่ก่อนช่วงตั้งครรภ์ เพราะจะช่วยดันทรงของท้องให้ดีขึ้น ยืดหยุ่นขึ้น

           3.หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น เพราะผิวจะสูญเสียความชุ่มชื่นแห้งตึง ทำให้บริเวณผิวที่ต้องขยายตัวขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น หน้าท้อง ทรวงอก สะโพกต้นขา ขาดความยืดหยุ่น เป็นสาเหตุให้เกิดรอยแตกลายได้ค่ะ

           4.อย่าปล่อยให้เต้านมคัดหรืออักเสบบ่อย ๆ เพราะจะเพิ่มรอยแตกลาย และระหว่างให้นมลูกควรบีบน้ำนมอย่างนุ่มนวล หากใช้เครื่องปั๊มนมควรเลือกเครื่องปั๊มนมที่นุ่มนวลต่อหน้าอก เพื่อป้องกันรอยช้ำหรือรอยแตกลายที่หน้าอกค่ะ

           5.นวดด้วยมอยส์เจอร์ไรเซอร์เป็นประจำทุกวัน เพื่อช่วยให้ผิวหนังคงความยืดหยุ่นอยู่เสมอ คุณแม่สามารถนวดหน้าท้อง สะโพก ต้นขา ทั้งก่อนและหลังการตั้งครรภ์ เช่น ครีมหรือน้ำมันที่มีส่วนผสมของวิตามินอี, น้ำมันจมูกข้าว (Wheat germ oil), น้ำมันอัลมอนด์ (Almond Oil), ไขมันจากเมล็ดโกโก้ที่เรียกว่าเนยโกโก้ (Cocoa butter), น้ำมันมะกอก เป็นต้น

           6.ว่านหางจระเข้ โดยล้างยางออก แล้วนำวุ้นสีขาวมาทาบริเวณที่เกิดรอยแตกลาย หมั่นทาเป็นประจำทุกเช้า-เย็น รอยแตกลายจะค่อย ๆ จางไปค่ะ

           7.ใบบัวบก โดยนำใบบัวบกมาตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำมาทาบริเวณรอยแตกลายเป็นประจำทุกเช้า-เย็นเพียงเท่านี้รอยแตกลายของแม่ท้องก็จะจางลงค่ะ

           8.ปรับเปลี่ยนขนาดยกทรงให้เหมาะสม เพื่อรองรับหน้าอกที่ขยายใหญ่ขึ้น ควรเลือกบราที่มีสายบ่ากว้างขึ้น เพื่อรองรับน้ำหนัก หากบราเล็กเกินไปจะไปกดรัดเต้านมได้ หากขนาดบราใหญ่เกินไปไม่พอดีเต้านม ก็จะทำให้กล้ามเนื้อหน้าอกขาดความกระชับ

           9.กินผักสด และผลไม้ ซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยซ่อมแซม และบำรุงร่างกาย นอกจากนี้ที่ขาดไม่ได้คือธัญพืช เมล็ดพืชเปลือกแข็ง และถั่วชนิดต่าง ๆ

รอยแตกลายเกิดจากอะไรนะ?

          รอยแตกลายที่ปรากฏขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ เกิดขึ้นเพราะผิวหนังมีการยืดตัว ทำให้ผิวหนังชั้นที่อยู่ลึกลงไปเกิดการฉีกขาด รอยแตกลายจะมีสีแดงหรือน้ำตาล ซึ่งขึ้นอยู่กับโทนสีผิวของคุณ รอยแตกลายนี้จะสีเข้มขึ้นเรื่อย ๆ ระหว่างตั้งครรภ์ แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีขาวนวลใกล้เคียงสีผิวหลังจากคลอด 2-3 เดือน

Source: Mothere&Care Vol.8 No.88 April 2012

ความคิดเห็น