การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

ไขพฤติกรรม "นอนกัดฟัน" ของลูกน้อย

ไขพฤติกรรม "นอนกัดฟัน" ของลูกน้อย



 เชื่อว่ามีคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านต้องสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึก และคอยสังเกตเสียงฟันถูไปถูมาของลูกในขณะที่ยังหลับสนิท ซึ่งอาการ "นอนกัดฟัน" ดังกล่าวนี้ ทำเอาคุณพ่อคุณแม่เกิดเป็นกังวล และอดห่วงไม่ได้ในเรื่องสุขภาพฟันของลูก
       
       วันนี้ทีมงาน Life & Family ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ผศ.ดร.ทพญ.เปรมทิพย์ ชลิดาพงศ์ คลินิกนอนกรนและนอนกัดฟัน ภาควิชาโอษฐวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และศูนย์ทันตกรรม รพ.ปิยะเวท โดยคุณหมอท่านนี้ได้ไขพฤติกรรมการนอนกัดฟันของเด็กให้ฟังว่า การนอนกัดฟันพบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ถึงแม้ว่ายังไม่สามารถหาคำอธิบายถึงสาเหตุที่แท้จริงของอาการนอนกัดฟันได้ แต่กลับพบปัจจัยเสี่ยงของเด็กที่ชอบนอนกัดฟัน ซึ่งเกิดขึ้นได้จากปัจจัยดังต่อไปนี้
       
       1. สภาพจิตใจ ที่เกิดจากการความตึงเครียด ความวิตกกังวล ก็มีส่วนไปกระตุ้นให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้
       
       2. สังเกตทางพันธุกรรม ในครอบครัวที่พ่อหรือแม่นอนกัดฟัน มีเด็กมีพี่หรือน้องนอนกัดฟัน ลูกจึงมีโอกาสสูงที่จะนอนกัดฟันได้เหมือนกัน
       
       3. เกิดจากร่างกายของตัวเด็กเอง ที่ สมองและระบบประสาทอัตโนมัติถูกกระตุ้นมากเกินจึงทำให้เกิดพฤติกรรมเช่นนั้นได้
       
       4. ยาบางชนิด เช่น ยาต้านโรคซึมเศร้าบางตัว อาจกระตุ้นการนอนกัดฟัน แต่มักเกิดกับผู้ใหญ่ที่มีพฤติกรรมนอนกัดฟันมากกว่าในเด็ก
       
       อย่างไรก็ดี เด็กที่ชอบนอนกัดฟัน อาจพบร่วมกับโรคและพฤติกรรมที่ผิดปกติในขณะนอนหลับอื่นๆได้ด้วย เช่น นอนละเมอพูดหรือละเมอเดิน ปัสาวะรดที่นอน นอนกรนและโรคทางเดินหายใจอุดกั้นทำให้หยุดหายใจเป็นพักๆขณะหลับ และ โรคสมาธิสั้น ซึ่งสามารถเกิดอาการควบคู่กับการนอนกัดฟันในตัวเด็กได้ ผู้ปกครองควรสังเกตุด้วยว่าเด็กมีโรคอื่นๆเกิดร่วมหรือไม่และควรนำลูกไปพบแพทย์เพื่อรักษาโรคนั้นๆด้วย
       
       เด็กที่นอนกัดฟันบางคนอาจบ่นว่าปวดตรงข้อต่อขากรรไกร ร้าวไปที่ในหู หรือปวดๆเมื่อยๆเวลาอ้าปาก เคี้ยวอาหาร บริเวณแก้มหรือขมับเพราะกล้ามเนื้อบดเคี้ยวเมื่อยล้าจากพฤติกรรมนอนกัดฟัน หรือบ่นปวดศีรษะบ่อยๆ อาการนี้อาจเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าลูกนอนกัดฟัน
       
       "เด็กที่นอนกัดฟันจนเสียงดังมาก ก็อาจจะทำให้ฟันของลูกเริ่มมีขนาดสั้นลง ก่อให้เกิดอันตรายถึงโครงสร้างของฟันได้ จนสามารถไปทะลุถึงโพรงประสาทฟันเลยก็ได้ ทั้งนี้ โครงสร้างของฟันภายนอกจะประกอบไปด้วย เคลือบฟัน เนื้อฟัน และเส้นประสาทที่อยู่ตรงกลาง เมื่อได้รับการสึกกร่อนมากเกิน ผลที่จะได้รับ ก็คือ เกิดอาการเสียวฟัน ฟันบิ่นแตก และฟันร้าว หรือกัดลิ้น กัดแก้ม เกิดเป็นแผลในปากบ่อยๆเป็นต้น เพื่อช่วยป้องกันฟันสึกและลดอาการปวดเมื่อยขากรรไกรและปวดศีรษะ อาจจะจำเป็นต้องใส่เฝือกสบฟันในขณะนอน ทั้งยังลดเสียงกัดฟันได้ด้วย" คุณหมออธิบายถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการนอนกัดฟัน

   
ไขพฤติกรรม นอนกัดฟัน ของลูกน้อย


เครื่องมือเฝือกสบฟันในเด็ก
       พฤติกรรมนอนกัดฟัน ในบางครั้งไม่มีเสียงดังก็ได้ เพราะเป็นแบบกัดฟันแน่นๆ ไม่ใช่กัดแบบฟันถูไปถูมา ถ้าเป็นแบบนี้ก็จะสังเกตุยากมากเพราะไม่มีเสียงดังให้ได้ยิน ต้องพามาให้ทันตแพทย์ช่วยตรวจหาดูว่ามีฟันที่สึกหรือไม่ หรืออาจสังเกตุจากอาการปวดขากรรไกรหรือปวดศีรษะบ่อยๆแทน
       
       อย่างไรก็ดี คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นผู้สังเกต และควรรีบแก้ไขตอนที่ลูกยังเล็ก โดยคุณพ่อคุณแม่ที่นอนห้องเดียวกับลูก สามารถสังเกตพฤติกรรมของลูกได้ดี เพราะเด็กจะไม่รู้ตัวเองว่าการนอนกัดฟัน แต่สำหรับเด็กที่ต้องนอนคนเดียว แยกห้องนอนกับพ่อแม่ คงเป็นไปได้ยากที่จะสังเกตการณ์พฤติกรรมของลูก ดังนั้น การสังเกต ถือเป็นการวินิจฉัยโรคนี้ได้ดี รวมไปถึงการสังเกตจากฟันที่สึกกร่อนออกไป หรือให้ทันตแพทย์ตรวจสุขภาพปากฟัน ก็สามารถทำให้ทราบว่าเด็กนอนกัดฟันหรือไม่
       
       "เมื่อเห็นลูกนอนกัดฟันบ่อย จนรุนแรงแล้วมีอาการปวดขากรรไกร ปวดศีรษะ ฟันสึก เสียวฟัน ก็ควรมาปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อทำการรักษาด้วยเครื่องมือแพทย์ (เฝือกสบฟัน) หากเด็กที่นอนกัดฟัน อย่าง 2 หรือ 3 เดือน นอนกัดฟันซัก 1 ครั้ง ก็คงต้องดูอาการไปก่อน คอยสังเกตดูว่าฟันของลูกมีความสึกกร่อนมากน้อยแค่ไหน คอยถามลูกว่ามีความเจ็บปวดตรงไหนหรือเปล่า หากโตขึ้นอาการยังไม่หาย ก็คงต้องใส่เครื่องมือเฝือกสบฟัน ปกป้องไม่ให้ฟันแท้สึก" คุณหมอกล่าวเสริม
       
       ทั้งนี้ คุณหมอท่านนี้ได้แนะวิธีการนอนที่ถูกสุขลักษณะสำหรับบ้านที่มีลูกชอบนอนกัดฟันไว้ 4 วิธี คือ
       
       - ลักษณะห้องที่นอนต้องเหมาะสม เงียบ สงบ แสงไม่จ้า เพื่อให้ลูกนอนหลับได้ดี
       
       - ไม่ควรกินอาหารมื้อหนัก ก่อนจะนอนภายใน 3 ชั่วโมง แต่อาจจะเปลี่ยนเป็นดื่มนมอุ่นๆ แทน เพื่อให้นอนหลับสบายมากขึ้น
       
       - ไม่ควรออกกำลังกายหนักจนเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว เด็กจะชอบวิ่งเล่นก่อนเข้านอน อาจทำให้เด็กนอนไม่หลับได้
       
       - เมื่อถึงเวลานอนก็ควรให้เด็กได้เข้านอนเป็นเวลา ไม่ควรให้มาดูหนัง ดูทีวี หรือว่าจะเล่นเกมคอมพิวเตอร์ สิ่งพวกนี้มันยังทำให้เขายังมีความตื่นเต้นอยู่ได้

       
       ถึงแม้ว่าโรคนอนกัดฟันจะหาวิธีรักษาให้หายค่อนข้างยาก แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้ลูกนอนกัดฟันลดลงได้ โดยเริ่มจากการใส่ใจ และคอยสังเกตลูกอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความตึงเครียด และความกังวลให้กับพ่อแม่ได้

ความคิดเห็น