การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

ทำไมพ่อแม่จึงควรเล่านิทานให้ลูกฟัง‬

 

ทำไมพ่อแม่จึงควรเล่านิทานให้ลูกฟัง‬

โดย ‪#‎หมอมินบานเย็น‬

สำหรับเด็กเล็กๆนั้น การเล่านิทานให้เด็กฟัง พ่อแม่สามารถทำได้ด้วยตัวเองที่บ้าน
การเล่านิทานทำให้เด็กมีความเพลิดเพลินสนุกสนาน และยังช่วยให้เกิดพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ปลูกฝังให้มีความคิดสร้างสรรค์ และสอนวิธีคิดการแก้ปัญหาให้กับเด็ก และก็ช่วยพัฒนาทักษะภาษา การฟัง การจับประเด็น
เรื่องราวในนิทานจะช่วยเสริมสร้างจินตนาการต่างๆ และ ใช้ลดความกังวล ความตึงเครียด ที่เด็กอาจจะมี

ปกติเด็กก่อนวัยเรียนจะชอบเลียนแบบ ถ้าเด็กได้ฟังนิทานที่มีตัวอย่างที่ดี
เด็กก็จะเลียนแบบลักษณะนิสัยที่ดีๆของตัวละครในนิทาน นิทานที่ได้ฟังบางเรื่องมีเรื่องราวการแก้ปัญหาต่างๆ ก็ทำให้เด็กซึมซับว่า เวลามีปัญหาเขาก็จะต้องแก้ปัญหาเป็น หรือเมื่อเห็นพฤติกรรมบางอย่างของตัวละครในนิทาน ก็ทำให้เด็กหันมามองและแก้ไขพฤติกรรมบางอย่างของตัวเองได้ด้วย
ถ้าเป็นไปได้พ่อแม่อ่านนิทานหรือเล่านิทานให้เด็กไว้ก่อนวัยเรียนฟังทุกวัน
เลือกช่วงเวลาที่ผ่อนคลายพ่อแม่ไม่ต้องทำอะไรยุ่งๆ ไม่มีอารมณ์หงุดหงิด รบกวนใจ เช่นก่อนนอนหรือตอนค่ำๆ หลังกินข้าวเสร็จ
เวลาที่เล่านิทานก็ควรเป็นเรื่องที่สนุกสนาน เล่าด้วยท่าทีที่สนุกสนาน ลองให้เด็กได้เลือกหนังสือนิทานเรื่องที่อยากฟัง
แต่ต้องดูด้วยว่าเรื่องเหล่านี้นั้นเหมาะกับเด็กหรือไม่ เปิดบางเรื่องที่เด็กชอบอาจให้อ่านซ้ำๆ

ช่วงที่เล่า ถ้าพอจำได้ อาจจะผลัดให้เด็กเป็นคนเล่าเองบ้าง บางครั้งให้ลองเติมประโยคคำพูดที่หายไป ถ้าเด็กมีจินตนาการที่จะเล่าเรื่องที่คิดขึ้นได้เอง พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้เด็กเล่า
ช่วงแรกเกิดถึง 6 เดือน พูดคุยกับเด็ก ให้เด็กมองสบตาพ่อแม่ขณะที่อุ้ม ให้เด็กเห็นพ่อแม่ยิ้มหรือหัวเราะ ร้องเพลงให้ฟัง พูดโดยใช้เสียงสูงๆต่ำๆ
7 เดือนถึง 12 เดือน พูดคุยกับเด็กบ่อยๆ เล่นกับเด็ก ให้เด็กเรียนรู้การใช้ภาษาท่าทาง เช่น ส่งจูบ บายบ่าย ชี้ชวนให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว รู้จักชื่อตัวเอง รู้จักเสียงเพลง เด็กอาจเลียนเสียงต่างๆที่ได้ยิน พ่อแม่อาจเริ่มให้ดูหนังสือที่มีรูปที่มีสีสรร
1-2 ขวบ พ่อแม่ควรหาหนังสือที่มีภาพประกอบ และชี้ให้เด็กดูรูป แล้วถามว่ารูปนั้นเป็นอะไร เปิดโอกาสให้เด็กเปิดหนังสือดูเอง เด็กจะชอบถาม ก็ตอบคำถามเด็กอย่างใส่ใจ อ่านหนังสือหรือเล่านิทานให้เด็กฟังทุกวันแสดงออกทางน้ำเสียงและสีหน้าท่าทาง
3-4 ขวบ เล่านิทานที่มีความยาวเพิ่มขึ้น และควรให้เด็กพูดคุยเกี่ยวกับนิทานที่อ่านให้ฟัง และลองผลัดกันเล่าต่อเรื่องกัน เริ่มให้เด็กอ่านหนังสือ ก ไก่ ที่มีภาพประกอบ
5-6 ขวบ พาเด็กไปเลือกหนังสือ เริ่มให้ลองอ่านด้วยตัวเอง โดยมีพ่อแม่อ่านเป็นเพื่อนช่วงแรกๆ ถ้าคำไหนอ่านไม่ได้ก็ช่วย เท่าที่เด็กทำได้ตามวัย พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีในการอ่านหนังสือให้เด็กเห็น
นอกจากการอ่านหนังสือจะทำให้เด็กฝึกทักษะหลายๆด้าน ทั้งความคิด อารมณ์ การแก้ปัญหา ทำให้มีความรู้ เห็นโลกกว้างมากขึ้น การเล่านิทานก็เป็นการสร้างความผูกพัน ใกล้ชิด ของเด็กกับพ่อแม่ ได้ดีมากๆด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก เพจ : เข็นเด็กขึ้นภูเขา

ความคิดเห็น