การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

การรู้จักขอโทษของพ่อแม่ต่อลูก

 

การรู้จักขอโทษของพ่อแม่ต่อลูก


พ่อแม่บางคนไม่เคยขอโทษลูก ทั้งที่รู้ตัวว่าผิด หรือทำให้ลูกต้องเสียใจ  พ่อแม่บางคนกลัวว่าการขอโทษลูก จะทำให้เด็กเห็นความอ่อนแอและไม่เคารพนับถือตนอีกต่อไป ความคิดเช่นนี้ไม่ถูกต้องเลย

ที่จริงแล้ว การขอโทษเป็นเรื่องธรรมดาที่ควรกระทำอย่างยิ่ง ไม่ใช่เรื่องของการเสียหน้าแต่อย่างใด

ถ้าลูกโตพอที่จะพูดได้แล้ว ก็หมายความว่า เขาโตพอที่จะเข้าใจและพอใจกับการที่พ่อแม่ยอมรับออกมาว่า พ่อแม่ทำผิด และกล่าวคำขอโทษกับเขา หรือแสดงความเสียใจที่ทำให้ลูกผิดหวัง หรือทำผิดพลาดบางอย่าง

พ่อแม่เป็นคนธรรมดา ย่อมทำผิดพลาดได้เหมือนกัน

หากคุณขอโทษลูก ลูกจะยิ่งเห็นว่าคุณมีความจริงใจ มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากกว่าตนเอง เขาก็จะให้ความเคารพคุณมากขึ้น ส่วนใหญ่แล้วลูกจะไม่ถือสาและให้อภัยอยู่แล้วเพราะเขารักคุณ และลูกจะได้รู้จักขอโทษคนอื่นเป็นด้วย  เพราะเห็นตัวอย่างจากคุณ

การบังคับลูกให้กล่าวคำขอโทษ ทั้งที่เขาไม่ได้ทำอะไรผิด หรือเขารู้สึกว่าไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน อาจทำให้เด็กรู้สึกคับแค้นและไม่พอใจ ก่อนที่จะบังคับให้ลูกขอโทษนั้น คุณควรแน่ใจเสียก่อนว่าตัวเขาเองมีความรู้สึกเสียใจ  ที่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น  หากเขาไม่รู้สึกเช่นนั้น การรุกเร้าให้เขาขอโทษย่อมไม่มีประโยชน์อะไร

เด็กไม่จำเป็นต้องขอโทษผู้ใหญ่เสมอไป ในกรณีที่ผู้ใหญ่เป็นคนทำผิด ผู้ใหญ่ก็ควรจะขอโทษเด็กก่อน อย่างเช่น  ในกรณีที่เดินอยู่บนท้องถนน ลูกคุณเดินชนกับผู้ใหญ่คนหนึ่งเข้า  และเด็กรู้ว่าการชนนั้นเนื่องมาจากความเซ่อซ่าของผู้ใหญ่คนนั้น  คุณจะไปบังคับให้ลูกขอโทษเขา ก็เป็นการไม่ยุติธรรมต่อเด็ก

บางครั้ง การกล่าวคำขอโทษพร่ำเพรื่อก็อาจกลายเป็นดาบสองคมได้เหมือนกัน  เด็กบางคนอาจอาศัยการขอโทษเป็นเครื่องมือหลีกหลี่ยงความรับผิดชอบได้ ด้วยมีความรู้สึกว่าถ้าได้ขอโทษไปแล้ว ก็หมายความว่า เขาไม่ต้องรับผิดชอบกับการทำผิดของตัวเองอีกต่อไป

ในกรณีเช่นนี้ พ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้ว่า การขอโทษไม่ใช่คำแก้ตัว หรือข้ออ้างใด ๆ เพื่อให้พ้นผิด  การขอโทษจะต้องมีความรู้สึกสำนึกผิดด้วย และจะต้องไม่ทำผิดเช่นนั้นอีก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก childanddevelopment.com

ความคิดเห็น