ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ชุดที่ 2
คุณแม่ที่สูบบุหรี่ไม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่จริง ! แม่ที่ไม่สามารถหยุดสูบบุหรี่ได้ควรจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดผลเสียของควันบุหรี่ต่อปอดของทารก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพต่อแม่และทารก มันคงจะเป็นการดีกว่าถ้าแม่ไม่สูบบุหรี่เลย แต่ถ้าเธอไม่สามารถหยุดสูบบุหรี่หรือเลิกสูบบุหรี่ได้ การสูบบุหรี่แล้วเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ก็ย่อมจะดีกว่าการสูบบุหรี่แล้วเลี้ยงลูกด้วยนมผสมคุณแม่ที่มีเลือดไหลจากหัวนมไม่ควรให้นมลูกไม่จริง ! ถึงแม้ว่าเลือดจากหัวนมอาจจะทำให้ทารกแหวะนมมากขึ้น และอาจจะพบเลือดนั้นปนออกมาในอุจจาระของเด็กก็ตาม สิ่งนี้ไม่ใช่เหตุผลที่จะต้องหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หัวนมที่ทั้งเจ็บปวดและมีเลือดไหลออกมานั้น ไม่ได้แย่ไปกว่าหัวนมที่เจ็บปวดและไม่มีเลือดออกมา ความเจ็บปวดที่แม่กำลังได้รับต่างหากที่เป็นปัญหา ความเจ็บปวดที่หัวนมนี้เองสามารถได้รับการบรรเทาได้ ในบางครั้งแม่มีเลือดออกจากหัวนม ซึ่งจริงๆเป็นเลือดที่ออกมาจากภายในเต้านม และมักจะไม่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวด การที่มีเลือดออกจากหัวนมเช่นนี้ มักจะเกิดขึ้นได้ในช่วงสองสามวันแรกหลังคลอด และอาการเหล่านี้จะหายไปภายในเวลาสองสามวัน แม่ควรจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ! ถ้าอาการเลือดออกนั้นไม่หยุดเสียที จำเป็นที่จะต้องมีการหาสาเหตุ ต้นตอของปัญหานั้น แต่แม่ก็ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไปคุณแม่ที่ไม่รู้สึกว่าเต้านมคัด แสดงว่ามีน้ำนมในเต้านมเพียงปริมาณน้อยไม่จริง ! เต้านมไม่จำเป็นต้องรู้สึกคัดเพื่อที่จะสร้างน้ำนมปริมาณมาก มันเป็นเรื่องปกติที่เต้านมของผู้หญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะรู้สึกคัดน้อยลงเมื่อร่างกายเริ่มปรับสภาพตามปริมาณนมที่ลูกดูด สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ฉับพลัน และอาจเกิดขึ้นตั้งแต่ 2 อาทิตย์แรกหลังคลอด (หรือก่อนหน้านั้นก็ได้) เต้านมไม่เคยที่จะไร้น้ำนม และยังสร้างน้ำนมอีกได้ตลอดเวลาตราบเท่าที่ยังให้ลูกดูดอย่งสม่ำเสมอการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนกระทั่งเด็กอายุ ถึง 3 หรือ 4 ปีนั้นเป็นเรื่องที่ผิดปกติ และไม่ดีต่อเด็ก ทำให้ลูกติดแม่มากเกินไปไม่จริง ! การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปเป็นระยะเวลาสองถึงสามปีนั้น เป็นกฎที่มีมาในวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของโลก ตั้งแต่แรกเริ่มที่มีมนุษยชาติมาบนโลกนี้ จะมีก็เพียงในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาที่ดูเหมือนว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น จะเป็นสิ่งที่ต้องมีการจำกัดเวลา เด็กที่ดื่มนมแม่จนกระทั่งเข้าสู่ปีที่สาม นั้นไม่ได้เป็นเด็กติดแม่มากเกินไป ในทางตรงข้ามเด็กเหล่านี้กลับดูจะมีความรู้สึกมั่นใจไร้กังวล และทำให้เป็นเด็กที่มีความเป็นตัวของตัวเองมากกว่าเสียด้วย ตัวเด็กเองจะก้าวไปสู่ขั้นของการหยุดดื่มนมแม่ด้วยตัวของพวกเขาเอง (ด้วยการสนับสนุนให้กำลังใจจากผู้เป็นแม่) และดังนั้นเด็กจะได้รับความมั่นใจจากผลสำเร็จของพวกเขาเอง อยู่ดีๆ นมของแม่ก็แห้งไปได้เองไม่จริง ! หรือถ้าหากสิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นมา มันก็เป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้ยากมาก ความแตกต่างของปริมาณน้ำนมที่สร้างขึ้นจากวันแต่ละวัน และจากเช้าถึงเย็นนั้น ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วฉับพลัน จะมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้มันดูเหมือนว่าการสร้างน้ำนมนั้นน้อยลงไปอย่างมากได้ ในกรณีดังต่อไปนี้1) ความต้องการน้ำนมที่เพิ่มมากขึ้นของทารก ซึ่งเป็นช่วงที่เรียกว่า การเติบโตแบบพุ่งพรวด (Growth spurt) ถ้านี่เป็นสาเหตุของการที่น้ำนมดูท่าว่าจะไม่เพียงพอสำหรับทารก การให้ลูกดูดนมแม่บ่อยขึ้นกว่าเดิมในเวลาสองถึงสามวัน จะช่วยทำให้สิ่งต่างๆกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ ให้คุณลองกดเต้านมด้วยมือของคุณด้วยเพื่อช่วยให้ทารกได้รับน้ำนมมากขึ้น2) การเปลี่ยนแปลงในด้านพฤติกรรมของทารก เมื่อทารกอายุประมาณ 5-6 สัปดาห์ (อาจมากกว่าหรือนอ้ยกว่านี้) ทารกอาจจะผล็อยหลับไปกับอกแม่ขณะดูดนมเมื่อการไหลของน้ำนมช้าลง เขาจะเริ่มดึงเต้านมแม่และร้องไห้เมื่อน้ำนมไหลช้าลง จริงๆ น้ำนมไม่ได้แห้งหมดไป แต่ทารกมีพฤติกรรมการดูดนมที่เปลี่ยนไป ให้ลองกดเต้านมด้วยมือของคุณเพื่อช่วยให้ทารกได้รับน้ำนมมากขึ้น3) เต้านมของแม่ไม่รู้สึกคัดเต็มที่หรือมีความนุ่มหยุ่น เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้หลังจากสองสามอาทิตย์ผ่านไปที่คุณแม่จะไม่มีอาการคัดเต้านมอีกต่อไป ตราบใดที่ทารกยังคงดูดนมจากอกแม่ ก็ไม่จำเป็นต้องวิตกกังวล4) ทารกดูดนมแม่ลดลง สิ่งนี้มักจะมีสาเหตุเนื่องมาจาก เราให้ทารกได้ดื่มนมผสมจากขวด หรือดูดจุกนมยาง ดังนั้นพวกเขาจึงเรียนรู้การดูดนมแม่ที่ไม่ถูกต้องยาเม็ดคุมกำเนิดอาจทำให้น้ำนมของคุณลดน้อยลง ลองหยุดยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดนั้นเสีย หรือเปลี่ยนไปใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเดี่ยวๆ ชนิดเม็ด หรือเลือกใช้วิธีการคุมกำเนิดวิธีอื่นแทนก็ได้ถ้าทารกดูเหมือนจะได้รับนมแม่ไม่เพียงพอจริงๆ ให้ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ ไม่ใช่ด้วยวิธีการเสริมนมขวด เพราะรังแต่จะทำให้แย่ลงกว่าเดิม ถ้าเป็นความจำเป็นจริงๆ ทารกก็สามารถได้รับ การเสริมน้ำนมได้ โดยการใช้อุปกรณ์เสริมในการให้นม (lactation aid) ซึ่งไม่ขัดขวางการดูดนมแม่ อย่างไรก็ตาม มีหลายวิธีที่จะทำได้ก่อนจะให้นมผสม ให้ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญก่อน ลองวิธีกดบีบเต้านมขณะที่ดูดเพื่อช่วยให้ทารกได้รับน้ำนมมากขึ้น ที่มา : Breastfeeding Myth โดย Dr. Jack Newman, MD, FRCPCแปลโดย พัชรินทร์ เจริญบุตรเครดิต : http://www.breastfeedingthai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=320007&Ntype=3
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น