การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

8 เทคนิค ให้นมแม่ได้นาน

8 เทคนิค ให้นมแม่ได้นาน
 

                                                     
 
8 เทคนิค ให้นมแม่ได้นานเดี๋ยวนี้ใครๆ ก็รู้ว่านมแม่มีประโยชน์มหาศาลกับลูกอย่างไร คุณแม่อินเทรนด์ที่กําลังตั้งครรภ์ ต่างก็ตั้งธงว่า
“ฉันจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ได้” หลายคนเมื่อคลอดลูกออกมาแล้วก็ทําสําเร็จดังที่ตั้งใจ แต่บางคนก็อาจให้นมลูกได้ไม่นานพอ


ฉบับนี้จึงขอนําเสนอวิธีการที่จะทําให้นมแม่ ผลิตออกมาได้สม่ำเสมอ และมากพอที่จะเลี้ยงลูกได้นานเท่าที่คุณแม่พอใจ
 
เทคนิคนมแม่
1. ตรวจหัวนมตนเองว่ามีปัญหาต่อการดูดนมหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการแก้ไขก่อนการคลอด
2. เมื่อแรกคลอด นมหยดแรกของลูกควรมาจากเต้านมแม่ ถึงแม้นมแม่จะยังไม่ไหลอย่างเต็มที่ 
แต่การที่ลูกดูดเต้านมจากแม่เป็นการกระตุ้นให้น้ำนมแม่ไหล
3. ถ้ามีเหตุจําเป็นที่ลูกไม่สามารถดูดนมจากเต้าแม่ได้ ให้แม่บีบนมเก็บใส่ขวดไว้ป้อนลูก อย่าทิ้งนาน
4. ให้ลูกนอนกับแม่ด้วยตลอด เพื่อให้ลูกดูดนมแม่ได้บ่อยที่สุดเท่าที่ลูกต้องการ แต่ที่สําคัญแม่ต้องอุ้มลูกให้ถูกวิธี น้ำนมจะไหลออกมาดี
5. คุณแม่ต้องดื่มน้ำเยอะๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และไม่เครียด ถึงแม้จะรู้สึกว่าน้ำนมไหลน้อย นั่นเป็นเพราะร่างกายกําลังปรับตัว 
และจะปรับได้ปริมาณตามที่ลูกต้องการต่อไป
6. ถ้าเต้านมคัดมาก แต่ลูกยังไม่หิว ให้บีบน้ำนมเก็บใส่ภาชนะเอาไว้ แล้วแช่ตู้เย็นเป็นนมแม่สํารองเอาไว้ได้
7. คุณแม่ที่ต้องกลับไปทํางานประจํา ไม่ต้องวิตกกังวลว่าน้ำนมจะลดหายไป หรือต้องให้ลูกหย่านมแม่ 
เพราะคุณแม่สามารถปั๊มนมเก็บไว้ได้ในช่วง 3 เดือนแรก เมื่ออยู่ที่ทํางานก็ควรบีบหรือปั๊มนมแม่เก็บเอาไว้อย่างสม่ำเสมอ 
และให้ลูกดูดนมจากเต้าแม่ในช่วงกลางคืน และวันหยุดได้ ที่สําคัญคุณแม่ต้องศึกษาวิธีการเก็บนมแม่อย่างถูกวิธี
8. ความตั้งใจเป็นสิ่งสําคัญที่จะทําให้คุณแม่ให้นมแม่กับลูกไปนานที่สุดเท่าที่จะทําได้
 
ขอขอบคุณ : Mother & Care ค่ะ

ความคิดเห็น