การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

สมองดี เริ่มที่…นมแม่ / ศ.คลินิก นพ.วีระพงษ์ ฉัตรานนท์ กุมารแพทย์

 

สมองดี เริ่มที่…นมแม่ / ศ.คลินิก นพ.วีระพงษ์ ฉัตรานนท์ กุมารแพทย์



โดย ผู้จัดการออนไลน์

หากถามว่าคุณพ่อคุณแม่ปรารถนาอะไรจากลูกน้อย คำตอบที่มักได้ยิน คือ อยากให้ลูกเก่งและดี ซึ่งจะเป็นจริงได้ ต้องเริ่มต้นจากนมแม่และความรักความห่วงใยที่มีให้อย่างเต็มเปี่ยม

** นมแม่ อาหารที่วิเศษสุด

นมแม่เป็นอาหารที่ธรรมชาติสรรค์สร้างขึ้นมาอย่างมีคุณค่า ครบถ้วน เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกน้อย ช่วยให้ลูกแข็งแรง และส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ โดยเฉพาะพัฒนาการด้านสมอง

สมองของคนเรา มีพัฒนาการเริ่มตั้งแต่ในครรภ์ ซึ่งจะพัฒนาเร็วกว่าอวัยวะระบบอื่นภายหลังคลอดเกือบ 2 เท่า และที่มหัศจรรย์กว่านั้น ไม่มีระยะไหนที่การเติบโตของสมองจะเฉื่อยเหมือนอวัยวะระบบอื่น โดยเฉพาะในขวบปีแรก ขนาดของสมองจะเพิ่มมากกว่าระยะใดๆ จากน้ำหนักสมองแรกเกิดประมาณ 400 กรัม (ประมาณ 25% ของสมองผู้ใหญ่) เพิ่มเป็น 1,000 กรัมเมื่ออายุ 1 ขวบ ขณะที่สมองผู้ใหญ่จะหนักประมาณ 1,400 กรัม



แม้เซลล์สมองซึ่งมีอยู่ประมาณหนึ่งแสนล้านเซลล์นั้น จะไม่เพิ่มขึ้นหลังคลอด แต่สิ่งที่เพิ่มคือ จำนวนเซลล์พี่เลี้ยง ขนาดของเซลล์ และการขยายเครือข่ายของเซลล์ ได้แก่ แขนงรับ-ส่งข้อมูล และจุดเชื่อมประสาท โดยแต่ละเซลล์จะมีจุดเชื่อมประมาณ 2,500 จุด และเพิ่มขึ้นประมาณ 15,000 จุดต่อหนึ่งเซลล์เมื่ออายุ 2-3 ขวบ ซึ่งจะมากกว่าสมองของผู้ใหญ่ประมาณ 2 เท่า โดยการเกื้อหนุนของการเลี้ยงดู ตั้งแต่การได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและครบถ้วน ไปจนถึงสารอื่นที่จำเป็นต่อพัฒนาการของสมอง รวมไปถึงการเกิดโรคติดเชื้อที่ทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงักเป็นที่น่าเสียดายว่าวงจรประสาทที่สำคัญที่ถูกวางไว้นี้ หากส่วนไหนไม่ได้รับการกระตุ้นให้ใช้งานอย่างต่อเนื่องหรือเพียงพอ ก็อาจทำให้ถูกขจัดเพิ่มขึ้นอีกจากการตัดแต่งประสาทได้ จึงมีคำที่กล่าวถึงพัฒนาการของสมองว่า “Use it or lose it” คือ ให้ใช้มันเสียมิฉะนั้นจะสูญเสียมันไปแต่สมองคนเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การที่เด็กได้เรียนรู้ ได้มีประสบการณ์ต่างๆ ที่เหมาะสมโดยเฉพาะจากแม่ ยังอาจทำให้มีวงจรประสาทใหม่ๆ เกิดขึ้นได้อีกด้วย



จะเห็นได้ว่า พัฒนาการของสมอง เป็นผลของการประสมประสานการทำงานระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการเลี้ยงดูด้วย ซึ่งระยะก่อนคลอด พันธุกรรมจะมีบทบาทมากกว่า แต่เมื่อหลังคลอดสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดูจะมีบทบาทมากขึ้นโดยเฉพาะสารอาหารสำคัญและวิเศษสุดที่ลูกได้รับจากนมแม่ มีตั้งแต่

1.ความเหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพ และการย่อยง่าย

2.มีสารจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสมอง นอกจากกรดอะมิโน taurine, carnitine กรดไขมัน arachidonic acid (AA หรือ ARA) และ docosahexaenoic acid (DHA) ซึ่งเพิ่งถูกนำมาเติมในนมผสมแล้ว ยังมีสารสำคัญต่อพัฒนาการของสมองที่ยังไม่มีในนมผสม คือ nerve growth factor ฮอร์โมน และเอนไซม์แทบทุกชนิดที่ร่างกายต้องการนำมาใช้ในการพัฒนาสมองอย่างครบถ้วนด้วย

3.มีสารต่อสู้เชื้อโรค ซึ่งมีอยู่ในนมแม่หลายชนิด สามารถทำงานเสริมฤทธิ์ต่อสู้กับเชื้อได้มากมาย ทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายและสมองไม่หยุดชะงักจากการติดเชื้อ

นอกจากนมแม่จะมีคุณประโยชน์มากมายแล้ว ยังสร้างสัมผัสรักจากแม่ ส่งผ่านไปยังภาษากายอย่างการโอบอุ้ม การโต้ตอบระหว่างแม่และลูก เป็นพื้นฐานสำคัญของกระบวนการเรียนรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้า ขณะให้นมลูก ลูกจะสบตาแม่ เป็นการสื่อสารที่ถ่ายทอดผ่านการมองเห็น การสัมผัสผิวแม่ผ่านมือเล็กๆ ขณะที่ลิ้นของลูกก็รับรสน้ำนมแม่ ให้ความรู้สึกสบายและผ่อนคลาย ส่วนหูของลูกได้ยินเสียงที่กำลังเกิดขึ้นรอบตัว ดังนั้น ประสาทสัมผัสทุกส่วนของลูกจะถูกกระตุ้นให้เกิดการทำงานด้วยความรู้สึกดีๆ ที่แม่ได้ถ่ายทอดสู่ลูก

ฉะนั้น การที่แม่อยู่กับลูกตลอดเวลา จึงมีความสำคัญและจำเป็นเนื่องจาก แม่จะเป็นผู้ที่กระตุ้นให้วงจรประสาทในสมองของลูกทำงานได้เต็มที่และต่อเนื่อง ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมอง ทำให้ลูกมีความฉลาดทางปัญญา (Intelligence Quotient – I.Q.) สูง นอกจากนี้ แม่ยังเป็นผู้วางรากฐานสุขภาพจิตที่ดีให้แก่ลูก เพราะแม่และลูกที่ได้สัมผัสและอยู่ด้วยกันตั้งแต่ภายในครึ่งชั่วโมงหลังคลอดตามบันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะทำให้ลูกมีภาวะจิตใจที่มั่นคง อีกทั้งแม่ยังเป็นผู้วางรากฐานให้ลูกมีความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient – E.Q.) วุฒิทางคุณธรรม/ศีลธรรม (Moral Quotient – M.Q.) และความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรค (Adversity Quotient – A.Q.)

นับว่าแม่เป็นคนแรกที่มีบทบาทสำคัญในชีวิต ที่วางรากฐานให้ลูกเติบโตขึ้นมาอย่างสมบูรณ์และมีคุณภาพ

ขอขอบคุณ : healthprepare.wordpress.com ค่ะ

ความคิดเห็น