การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

ทริกเลี้ยงลูกด้วยนมแม่.... จุดเล็กๆ ที่แม่ควรรู้

 

ทริกเลี้ยงลูกด้วยนมแม่.... จุดเล็กๆ ที่แม่ควรรู้



จากการหาข้อมูล อ่านหนังสือ อบรมเกี่ยวกับนมแม่มา พอจะสรุปสั้นๆ ให้แม่มือใหม่ที่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อ่านกันง่ายๆ ไม่กี่ข้อนี่แหละ..... ไอ้จุดหลักๆ ที่เค้ารณรงค์กันคงไม่ต้องเขียนอะนะ เอาจุดที่มี๊จีนคิดว่าเป็นจุดเด่นๆ เท่าที่ศึกษามา มาสรุปแชร์ก็แล้วกันจ้า

ปล. ข้อมูลที่สรุปออกมานี่ มีที่ไปที่มาอ้างอิงได้นะคะว่ามีการวิจัยกันจริงๆ คุณหมอรับรองแน่นอนมิได้นั่งเทียน หลักๆ ก็คุณหมอสุธีรา เจ้าแม่นมแม่แห่ง BNH และข้อมูลจากศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยค่า....!!!

1. เบบี๋แรกเกิด จะมีอาหารสะสมมาจากท้องแม่ สามารถอยู่ได้โดยไม่กินอะไรเลยเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ถ้านมแม่ยังไม่มาให้ดูดกระตุ้นเรื่อยๆ ทุก 2 ชม. ไม่ต้องล่กรีบชงนมให้หม่ำก็ได้จ้า
2. ขนาดเต้า บึ้มไม่บึ้มไม่เกี่ยวกับปริมาณน้ำนม.... นมบึ้มๆ ส่วนใหญ่คือ FAT!!!
3. ถ้านมคัดจนไม่ไหว บรรเทาด้วยการใช้กาบกะหล่ำปลีรองไว้ด้านในเสื้อใน กะหล่ำปลีมีสารช่วยลดการอักเสบ ลดการสร้างน้ำนม ช่วยได้จริงๆ นะ เจ๋งกว่าประคบร้อนเย็นอีกล่ะขอบอก!
4. แม่สามารถดื่มชากาแฟ วันละแก้วโอเคนะ ไม่อันตราย อาหารเผ็ดก็หม่ำได้แต่อย่าเผ็ดเกินไปเดี๋ยวลูกแสบตรูด ยกเว้นอาหารที่เสี่ยงต่อการกระตุ้นภูมิแพ้ 5 ชนิดคือ นมวัว นมถั่วเหลือง ไข่ อาหารทะเล ถั่วลิสง
5. รู้มั้ยว่าในเต้าหู้แผ่นมีแคลเซียมมากกว่านมวัว แม่ให้นม ฉะนั้นแม่ท้องควรกินเต้าหู้ๆๆๆๆ
6. แม่ที่โด๊ปนมวัวเยอะ อาจมีนมวัวรั่วมาสู่เบบี๋ได้ ควรงดกินนมวัวตั้งแต่ท้องระยะ 3 เดือนสุดท้ายเลยนะจร้า
7. เบบี๋ที่ดูดนมจากเต้าไม่ได้ เช่นแม่หัวนมแตก ต้องป้อนด้วยการจิบจากแก้วยา หลอดฉีดยา หรือช้อนเท่านั้น ห้ามใช้ขวดนมในเด็กอายุไม่ถึง 1 เดือนเพราะจะทำให้สับสนการดูดเต้าและขวด
8. เบบี๋อายุครบ 1 เดือนครึ่งควรเริ่มหัดให้กินนมจากขวด เพื่อไม่ให้ติดเต้า แม่ก็จะได้เตรียมตัวไปทำงานได้ในเดือนที่ 3 สบายๆ
9. วิธีอุ้มให้เบบี๋ดูด ลำตัวต้องตะแคงเสมอ ไม่ใช่นอนหงายบิดแต่หัวเข้าดูดนมนะจ๊ะ
10. การดูดนมผิดวิธีจะทำให้หัวนมแตกได้ การดูดนมที่ถูกคืองับเข้าไปให้มิดลานนมให้ปากคุณลูกบานเหมือนปากปลา
11. ถ้าหัวนมแตก ช่วยได้โดยบีบน้ำนมทาหัวนมแล้วพัดให้แห้งไม่ต้องล้างออก (อันนี้ช่วยได้จริงนะ ลองมาแล้ว เวิร์คค่า!!!)ระยะที่ให้นมลูกห้ามฟอกสบู่ที่หัวนมเพราะจะทำให้ผิวบริเวณนั้นแห้ง เป็นแผลได้ง่าย ให้ล้างน้ำเปล่าก็พอ
12. กินนมแม่ ไม่ต้องกินน้ำตาม เพราะในนมแม่มีสารเคลือบในปากเพื่อไม่ให้ติดเชื้ออยู่ และปริมาณน้ำในนมแม่มีอยู่ถึง 80% แก้กระหายไปในตัวเรียบร้อยแล้วค่ะ
13. เบบี๋ที่กินนมแม่จะมีอึสีเหลืองเสมอ... เพราะธาตุเหล็กที่มาพร้อมนมแม่ย่อยหมดไปได้กำลังดีไม่มีตกค้างในลำไส้ (ธาตุเหล็กทำให้อึกมีสีเข้ม) ในนมผสมจะมีธาตุเหล็กที่มากเกินไป อาจจะตกค้างในลำไส้เป็นอาหารของจุลินทรีย์ในกรณีติดเชื้อท้องร่วงได้
14. นมแม่สามารถเทสะสมในช่องธรรมดาได้ 24 ชั่วโมงแล้วแช่ จะสะดวกกว่าปั๊มแช่ ปั๊มแช่ทุกครั้ง
15. ที่ปั๊มนมก็ไม่ต้องปั๊มล้าง ปั๊มล้างทุกครั้ง... สามารถปั๊มเสร็จแล้วใส่ทัพเปอร์แวร์แช่ฟรีซไว้ได้เพื่อพร้อมใช้ครั้งต่อไปได้จ้า วันนึงล้าง นึ่งครั้งเดียวก็พอแระ
16. การเก็บนมควรแยกฟรีซเป็นถุงแบบพอกินใน 1 มื้อเช่น 3 ออนซ์ 4 ออนซ์
17. ช่องฟรีซตู้เย็น 1 ประตูเก็บนมได้ 1 เดือน, 2 ประตูเก็บนมได้ 3 เดือน, ตู้แช่ไอติมได้ 6 เดือน - 1 ปี
18. นมที่ฟรีซไว้จะแยกชั้น ไขมัน และน้ำ ไม่ต้องตกใจคิดว่านมเสียถ้าเห็นมีชั้นไขมันเหลืองๆ อยู่ด้านบนของนมที่แช่
19. ระยะเวลาการให้นมหลัง 2 เดือนควรปรับให้เป็นเวลา + ปริมาณต่ออายุเช่น 2 เดือน = 3 ออนซ์/3ชั่วโมง, 3 เดือน = 4 ออนซ์/4 ชั่วโมง จะทำให้แม่สามารถจัดแบ่งเวลาเพื่อเตรียมตัวไปทำงานได้สะดวกขึ้น
20. นมที่ฟรีซไว้ ก่อนใช้งานให้ย้ายลงมาชั้นธรรมดาเพื่อให้ละลายก่อนอุ่นในน้ำดีที่สุด
21. ห้ามเทนมใส่ในภาชนะที่เป็นโลหะ เพราะแร่ธาตุในนมจะไปเกาะทำให้หมดคุณค่า ให้อุ่นทั้งถุงหรือขวดนั่นแหละ
22. นมที่ฟรีซไว้สามารถละลายแล้วเตรียมรอกินได้ประมาณ 4 ชั่วโมงที่อุณหูมิห้อง และ 24 ชั่วโมงที่ช่องแช่ธรรมดา แต่ห้ามนำไปฟรีซใหม่อีกครั้ง
23. ควรดื้อๆๆๆๆๆ กับปู่ย่าตายายที่พยายามจะให้เลี้ยงด้วยนมชง หนักแน่นเข้าไว้แล้วจะประสบความสำเร็จเด้อค่า

เพิ่มเติม

Q : ทำไมถึงต้องให้นมแม่ล้วนๆ 6 เดือน
A : เพราะว่า
1. กระเพาะเล็ก ถ้ากินน้ำด้วยจะกินนมได้น้อย การกินน้ำอาจติดเชื้อได้ง่ายในกรณีที่ขวดไม่สะอาด ปนเปื้อน
2. ระบบน้ำย้อยยังพัฒนาไม่เต็มที่
3. นมแม่มีไขมันที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของสมอง และมีสารช่วยย่อยไขมันตัวนี้มาด้วยในตัว
4. สมรรถภาพของตับ ไตยังไม่ดีพอที่จะรับอาหารอื่น
5. เบบี๋จะสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป
6. องค์การอนามัยโลก ประกาศแล้วว่ากินนมแม่ล้วน 6 เดือนดีที่สุด (เอาไว้อ้างเวลาเถียงกับพวกหาแหล่งที่มา)
7. ถ้าเบบี๋กินอาหารอื่น นมอื่น นอกจากนมแม่ ต้องให้กินน้ำตามเล็กน้อยทุกครั้ง

แต่สรุปง่ายกว่าสั้นกว่า ก็คือ

"ลูกคนก็ต้องกินนมคนน่ะสิ" จะมีนมอะไรดีไปกว่านมคนที่สร้างมาเพื่อให้คนกินล่ะใช่มั๊ยก๊า!! << ข้อนี้แหละที่จีนเอาไว้อ้างเวลาเถียงกับผู้ใหญ่ ฮ่าๆๆ ได้ผลๆๆ

ถ้ามีใครมีทริกเพิ่มเติมก็ต่อกันไปเลยนะคะ เป็น ข้อ 24 25 26.....
หวังว่าทู้นี้คงเป็นประโยชน์สำหรับแม่ๆ ทั้งหลายนะคะ :)

ขอขอบคุณข้อความจาก Blog คุณ Jeban ค่ะ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=jeban&month=11-2007&date=05&group=26&gblog=19

ความคิดเห็น