การใช้ยาในมารดาที่ให้นมลูก

 

การใช้ยาในมารดาที่ให้นมลูก

     วัยของทารกที่ควรระวังมากๆคือ 1  สัปดาห์หลังคลอด เนื่องจากลำใส้ของทารกจะดูดซึมยาได้มาก แต่ขับถ่ายยาได้น้อยจึงเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้มากกว่าช่วงที่โต

ยาห้ามใช้ในขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีดังนี้
    ยาที่มีผลกดระดับภูมิคุ้มกัน และการเจริญเติบโตของทารก เช่นยารักษาโรคมะเร็งทุกชนิด สารกัมมันตรังสีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฉายแสงหรือสารเคมีโดยการกินหรือฉีดเป็นต้น
    ยาที่ทำให้ทารกมีอาการท้องเสีย อาเจียน ได้แก่ยากลุ่มรักษาไมเกรน เอออร์โกตามีน
    ยาแก้โรคพาร์กินสัน คือ โปรโมคริปไตน์ ปาร์โลเดล
    ยา Methotrexate ใช้รักษาข้ออักเสบ
    ยาCyclosporine ใช้รักษาข้ออักเสบ เรื้อนกวาง โลหิตจาง โรคไต
    ยาเสพติดให้โทษทุกชนิด

ต่อไปเป็นยาที่ต้องหยุดชั่วคราวขณะให้นมลูก
ยากลุ่มนี้ได้แก่ สารกัมมันตรังสีที่ใช้เอกเรย์
ยาที่ใช้รักษาอาการตกขาว กลุ่มเมตโทรนิดาโซล, ทินิดาโซล
ยารักษาโรคไทรอยด์ เช้น เมทิโซล
ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ไซเมทติดีน เป็นยาอันตรายต่อตับ ไต ถุงน้ำดี ของทารกหากได้รับมากเกินไปทำให้ระบบหายใจล้มเหลว
ยาลดการหลั่งน้ำนมโบโมคริฟทีน
ยาแก้ปวดลดไข้แอสไพริน ทำให้เด็กมีอาการเลือดออกง่าย และบางครั้งทำให้เกิดอาการผื่นคันในเด็ก
เฟนิลบิลตาโซน ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับเลือด
อัมพิซิลลิน ทำให้เกิดท้องเดินหรือติดเชื้อง่าย
ยากลุ่มซัลฟา เช่น โคไตรมอกซาโซล เป็นยาปฏิชีวนะที่ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง จากเม็ดเลือดแดงแตกในเด็ก ที่มีภาวะขาดเอนไซม์ จี-6-พีดี และเกิดอาการตัวเหลืองได้
เตตราซัยคลีน ทำให้เกิดผลเสียต่อกระดูกและฟัน
คลอแรมเฟนิคอล เป็นยาปฏิชีวนะอาจทำให้กดการสร้างกระดูกและฟันมีผลเม็ดเลือดแดง
ยาฆ่าเชื้อเมโทรนิดาโซล อาจทำให้เกิดอาการท้องเดินหรือมะเร็งในเด็ก ถ้าจำเป็นต้องหยุดการให้นม12-24ชั่วโมงหลังใช้ยาแต่ละครั้ง
ซิโปรฟลอกซาซิน เป็นยาปฏิชีวนะควรหยุดให้นม48ชั่วโมง
โบโวไบโอซินอาจทำให้ตัวเหลืองเกิดอาการดีซ่าน
เพนนิซิลลิน อาจไปกระตุ้นทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ในเด็กได้
สเตรปโตมัยซิน ในแม่ที่เป็นโรคไต ความเข้มข้นในร่างกายอาจสูงจนทำให้อันครยต่อประสาทหูได้
ไนโตรแรนโตอิน ทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกในเด็กที่ขาดเอ็นไซม์ จี 6 พีดี
กรดนาลิดิซิก เป็นยาปฏิชีวนะที่ทำให้เกิดภาวะเลือดจางจากเม็ดเลือดแดงแตก
ยารักษาโรคติดเชื้อรา เช่น คีโตโคนาโซล อาจทำให้เกิดภาวะน้ำดีในเลือดมากเกินไปหลังใช้ยาควรงดให้นมบุตร 48-72 ชั่วโมง
ยารักษาโรคเบาหวานคลอโปรปามายด์ ทำให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ยกเว้นการฉีดอินซูลินจะไม่มีผลต่อทารก
โปรปราโนลอล ทำให้หลอดลมตีบ หัวใจเต้นช้า ความดันต่ำ หัวใจล้มเหลว น้ำตาลในเลือดต่ำ
พินัยโตอินหรือไดแลนติน เด็กอาจเกิดอาการเขียวจากการที่มีแมทฮีโมโกลบินในเลือดมาก
ยากล่อมประสาทไดอะซีแพม ทำให้เด็กง่วงซึมและน้ำหนักลดลง หากใช้เป็นประจำทำให้เด็กเบื่ออาหาร เชื่องช้าและสติปัญญาด้อยลงในที่สุด
บาร์บิตูเรตและครอโรฟร์อม ทำให้เด็กง่วงนอน ซึม
คลอรอลฮัยเดรท เด็กอาจหลับลึกมาก สมองถูกกด
ไฟรมิโดน กดสมองเด็ก
ยารักษาโรคจิตเช่น พวกลิเธียม เด็กอาจเกิดอาการตัวอ่อน ตัวเย็น ตัวเขียว
ยาขับปัสสาวะ ลดจำนวนน้ำนม
ยาถ่าย ยาสำหรับทางเดินอาหาร ทำให้เด็กถ่ายมากขึ้น
ยาฮอร์โมน ยาคุมกำเนิด เช่น เอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน แอนโดรเจนในปริมาณสูงทำให้น้ำนมหยุดไหลหรือมีน้อยลง
ยารักษามาลาเรีย แฟนไซดาร์ และยาแดปโซนจะทำให้ลูกมีอาการตัวเหลือง
ธีโอฟิลลิน ทำให้เด็กเกิดความกระวนกระวายและหลับนาน
สารปรอท ทำให้เด็กปัญญาอ่อน
โบรไมด์ เด็กจะง่วง ซึม และมีผื่นขึ้น
ไอโอไดด์ กดการทำงานของต่อมไทรอยและผื่นคัน
รีเซอร์ปีน เกิดการคัดจมูก
อัลกอฮอล์มีผลต่อสมองเด็ก
บุหรี่มากกว่าวันละซองทำให้เกิดปัญหาต่อทางเดินอาหารเด็ก ควันมีผลต่อทางเดินหายใจ นิโคตินทำให้เด็กนอนไม่หลับ อาเจียน ท้องเดิน
ยาขับปัสสาวะไทอาไซด์ทำให้นมแห้ง
ยาแก้อาเจียนเมตโทโคลฟาไมด์ ไดเมนไฮดริเนต
ยากันซักฟีโนบาบิทอล
ยาถ่ายพยาธิ เมเบนดาโซนทำให้น้ำนมหยุดไหล
ยาขับปัสาวะเอมิโลไรด์และวัคซีนต่างๆเป็นต้น

อาหารและสารอันตราย
ควรงดระหว่างให้นมอย่างน้อย6เดือน
1.เหล้า ถ้าดื่มมากลุกจะหลับนาน ร่างกานอ่อนแอ โตช้าและนมแม่ก็น้อยลงด้วย
2.ดีดีที ทำให้ทารกมึนงง คลื่นไส้ อาเจียน
3.ปรอท มีผลกระทบตั้งแต่อยู่ในครรภ์มากกว่าผลที่เกิดจากการได้รับนมแม่ คือ ความพิการทางสมอง
4.บุหรี่
5.กาแฟ จะทำให้เด็กนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ดูดนมน้อย ถ้าหากดื่มกาแฟมากเกินไป(โอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนสูง)
6.ฮัลกอฮอล์
7.อาหารรสเผ็ด เด็กดูดนมแม่มีอาการปวดท้องและร้องให้
8.หากคุณแม่ดื่มนมวัวมาก และเด็กแพ้นมวัวก็อาจทำให้เด็กท้องร่วง สังเกตได้จากอาหารที่คุณแม่ทานเข้าไป 17 .00 น. แล้วเกิดอาการกับลูก 21.00 น. ให้สงสัยว่าเกิดจากอาหารนั้น เพราะอาหารจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดใน 2-4 ชั่วโมง หากเด็กมีอาการไม่ยอมดื่มนมเด็กร้องกวน ให้จดรายการอาหารนำไปปรึกษาแพทย์
9.เลี่ยงสารสูดดม ทินเนอร์ อัลกอฮอล์ สเปรย์ฉีดผมและยาย้อมผม
10.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีผงชูรส อาหารหมักดอง สารถนอมอาหารหรือยากันบูด

กลุ่มยาที่ใช้ได้เมื่อเป็นหวัด ท้องเสีย และอาการปวด

หากเจ็บป่วยเล็กน้อย สามารถซื้อยากินเองสะดวกกว่ายาที่ปลอดภัยได้แก่

1. เมื่อเป็นหวัด แนะนำให้หลีกเลี้ยงไม่ให้ใช้ยาลดน้ำมูกถ้าทำได้ โดยเฉพาะยาแก้แพ้กลุ่มแอนดีฮีสตามีน เช่น บรอมเฟนิรามีน เพราะจะทำให้ลูกร้องกวน นอนไม่หลับ ถ้าคุณแม่มีอาการคัดจมูก ควรใช้ยาเช็ดจมูกให้โล่งมากกว่ายารับประทาน และควรหลีกเลี่ยงยาผสมที่มีตัวยาหลายๆ อย่างในเม็ดเดียวกัน หรือยาที่ออกฤทธิ์ได้นานๆ เพราะจะส่งผลต่อลูกเป็นระยะเวลานานด้วย หากมีการติดเชื้อร่วมด้วยให้ใช้เพนนิซิลิน คุณแม่ที่เป็นหวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือไอ ควรทราบว่าลูกน้อยได้รับเชื้อเหล่านี้ไปเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ตอนที่คุณแม่เริ่มแสดงอาการ สิ่งที่ดีที่สุดคือ ให้นมแม่ต่อไป ลูกจะได้รับภูมิต้านทานเชื้อโรคจากคุณแม่ด้วย ยกเว้นเฉพาะกรณีที่ติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม หากต้องงดนมชั่วคราว ควรบีบนมออกเต้าเพื่อป้องกันเต้านมคัดมากจนปวด และอาจกลายเป็นเต้านมอักเสบ

2. เมื่อปวดเมื่อย ปวดเข่า ปวดศรีษะ อยากใช้ยาแก้ปวด แนะนำให้หลีกเลี่ยงยาแก้ปวดพวกอินโเมธาซีน เฟนิลบิวตาโซน แอสไพรินสามารถใช้ได้ในปริมาณน้อยๆระยะสั้นๆ ยาที่ใช้ได้ดีคือพาราเซทตามอล ไอบูโพรเฟน กรดมีเฟนามิก ไดโคลฟิแนก

3. เมื่อท้องผูกต้องใช้ยาระบาย  ที่ใช้ได้และไม่อันตรายต่อลูกคือยาที่มีคุณสมบัติพองตัวในน้ำ เพิ่มกากอาหารและยาระบายมิลค์ออฟมักเนเซีย ส่วนที่ไม่ควรใช้คือยาระบายมะขามแขก แต่ทางเลือกที่ดีที่ไม่ต้องใช้ยาคือดื่มน้ำมะนาวสดผสมน้ำผึ้ง และทานผลไม้ช่วยระบาย เช่น มะละกอ มะขามสุก ร่วมกับทานอาหารที่มีเยื่อใย ไม่ทานชา

4. เมื่อปวดแผลในกระเพาะอาหาร  ยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของอะลูมิเนียม และมักเนเซียม ซึมผ่านน้ำนมได้น้อยคุณแม่จึงใช้ได้อย่างปลอดภัย หรือใช้ยาซูตราลเฟต ยาที่สะสมในน้ำนมไม่ควรใช้คือ ไซเมทีดีน และรานิทิดีนเพราะอาจส่งผลให้เกิดพิษต่อระบบประสาทส่วนกลางได้

5. ยาคุมกำเนิด หากจำเป็นควรเลือกสูตรที่มีปริมาณฮอร์โมนต่ำ ห้ามใช้ที่มีเอสโตรเจนเพราะยับยั้งการสร้างน้ำนม ดีที่สุดคือคุมกำเนิดแบบธรรมชาติ หรือใช้ถุงยางอนามัย หรือยาชนิดโปรเจสเตอโรน เช่น มินิพิล และยาคุมกำเนิดแบบฉีด DMPA หรือ depo-provera II

6. การทายาจะมีตัวยาผ่านเข้าน้ำนมน้อยกว่าการกินยาหากเลือกได้ควรเลือกยาทา

7. กรณีเจ็บป่วยเล็กน้อย แล้วล๔กไม่ได้ดูดนมตอนกลางคืน ควรทานยากลางคืน

8. ในกรณีที่คุณแม่ไม่แน่ใจว่ายาที่ใช้มีผลต่อการให้นมหรือไม่ มีหลักการง่ายๆให้ควรพิจารณาคือ ให้หลีกเลี่ยงยาที่ออกฤทธิ์นาน และให้รับประทานทันทีหลังให้นมลูกเสร็จ เพื่อให้ระยะเวลารับยาห่างจากการให้นมครั้งต่อไป หรือเลือกช่วงที่ลูกจะหลับนานที่สุด ปกติยาจะมีปริมาณสูงสุดในกระแสเลือดประมาณ 1-3 ชั่วโมง หลังกินยาดื่มน้ำให้เพียงพอจะช่วยขับยาออกจากร่างกายได้ดีขึ้น สุดท้ายคอยสังเกตอาการของลูกด้วย เช่น การหลับปกติหรือไม่ มีผดผื่นไหม

9. สำหรับวิตามินต่างๆที่คุณแม่รับประทานเพื่อบำรุงร่างกาย ยังไม่พบผลกระทบต่อลูกน้อย นอกจากผลต่อแม่โดยตรง

ที่มา : หนังสือนมแม่ดีที่ 1 อาหารชั้นยอดที่ปราศจากสารปนเปื้อน (Mother's Milk the Wonder of Breath Milk ) โดย พ.ญ.พิสุทธิพร ฉ่ำใจ บก.เรียบเรียง

ความคิดเห็น