ลูกฟันสวยด้วยการป้องกัน (แต่ละช่วงอายุลูกน้อย) ปริมาณ/ชนิดฟลูออไรด์ที่ควรได้รับ

 

พอดีได้อ่านจากคลินิกLDC หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ไม่มากและไม่น้อยนะค่ะ เพราะเป็นห่วงลูกที่กำลังจะเกิดเรื่องฟันมากเลย เลยต้องหาความรุ้ไว้ล่วงหน้าก่อนค่ะ

1-3 ขวบ
ฟันน้ำนมเพิ่งเริ่มขึ้น และจะขึ้นจนครบหมดเมื่ออายุประมาณ 3 ขวบ
เด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมให้ความร่วมมือกับทัตแพทย์
ควรเริ่มพาลูกมาทำความคุ้นเคยกับบรรยากาศในคลินิก
Check up ฟันผุ
ป้องกันผันผุด้วยเคลือบฟลูออไรด์อย่างสม่ำเสมอ ปีละ 2-3 ครั้ง
ฟันกรามน้ำนมที่ยังไม่ผุ ควรทำ Sealant

4-7 ขวบ
ควรหมั่นสังเกตฟันแท้ซี่แรกจะขึ้นในช่วงอายุ 6 ขวบ ป้องกันฟันผุด้วย Sealant ทันที
เด็กวัยนี้ควรเน้นสร้างความประทับใจในการทำฟัน

8-9 ขวบ
Check up ฟันผุ และหินปูน
ป้องกันฟันผุด้วยการเคลือบฟลูออไรด์ตามปกติ
ควร Sealant ฟันแท้ที่ทยอยขึ้นมา
สำหรับเด็กที่ฟันน้ำนมถูกถอนไปก่อนเวลาอันควร ควรใส่เครื่องมือกันฟันล้ม(Space maintainer) เพื่อเตรียมช่องว่างสำหรับฟันแท้ขึ้น

10-12 ขวบ
Check up ฟันผุและหินปูน
ป้องกันฟันผุด้วยการเคลือบฟลูออไรด์ตามปกติ
ฟันน้ำนมกำลังจะหลุดออกหมด ฟันแท้ก้ทยอยกันขึ้นจนครบ
เริ่มเห็น ฟันซ้อน ฟันเก ฟันห่าง หรือคางยื่น ควรปรึกษาทัตแพทย์จัดฟัน

หลัง 12 ปี
Check up ฟันผุและหินปูน ป้องกันฟันผุด้วยการเคลือบฟลูออไรด์จนอายุ 16 ปี
ควรสังเกตการขึ้นของฟันกรามแท้ซี่ที่สอง รีบ Sealant ทันที
อาจเห็นการใส่เครื่องมือจัดฟันในวัยนี้
เมื่อถึงช่วงอายุ 18-25 ปี ฟันกรามแท้ซี่ที่สามจะขึ้นมาและเป็นฟันแท้ซี่สุดท้าย 4 ซี่ หากกลายเป็นฟันคุด ที่ไม่สามารถงอกขึ้นมาได้ ควรปรึกษาทันตแทพย์ เพื่อผ่าฟันคุดออก
www.Ldcdental.com

-ความรู้เกี่ยวกับการใช้ฟลูออไรด์ (ตารางปริมาณการรับฟลูออไรด์)
ฟลูออไรด์เป็นสารช่วยป้องกัน และลดการผุของฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผลต่อฟันคือ
เมื่อฟันขึ้นแล้ว สารฟลูออไรด์จะช่วยลดการสร้างกรดจากจุลินทรีย์ และยังสามารถช่วยทำให้การผุชลอตัว ไม่ผุเพิ่มขึ้นในฟันที่ผุเริ่มแรกได้

การใช้ฟลูออไรด์มี 2 ลักษณะคือ
การรับประทานและการสัมผัสกับผิวฟัน
-ฟลูออไรด์ชนิดรับประทานให้ผลดีต่อฟันที่ยังไม่ขึ้น และเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 12 ปี ส่วนชนิดสัมผัสกับผิวฟันให้ผลดีต่อฟันที่ขึ้นมาแล้วเหมาะกับคนทั่วไป
-ชนิดรับประทาน มักอยุ่ในรูปแบบยาเม็ด ยาน้ำ วิตามิน น้ำดื่มและนมผสมฟลูออไรด์
-ชนิดสัมผัสกับผิวฟัน อยู่ในรูปแบบยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก และน้ำยาเคลือบฟลูออไรด์เข้มข้นของทันตแพทย์
-จากการศึกษาพบว่า ปริมาณที่พอเพียงต่อวันสำหรับเด็กไม่ควรเกิน 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวอ 1 กิโลกรัม สำหรับผู้ใหญ่ไม่ควรเกิน 30 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวอ 1 กิโลกรัม
-เนื่องจากการคำนวณที่ยุ่งยากข้างต้น คนทั่วไปจึงไม่อาจทราบปริมารฟลูออไรด์ที่พอเพียงของตนเองได้
ฉะนั้นเคล็ดลับการใช้ฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุนั้น ต้องใช้เพียงเล็กน้อยแต่สม่ำเสมอจึงจะเกิดผลดีและไม่เป็นอันตราย โดยเฉพาะชนิดรับประทานควรปรึกษาทันตแพทย์ผู้เชียวชาญ หรือศึกษาจากฉลากผลิตภัณฑ์การใช้ฟลูออไรต์ก่อนใช้อย่างรอบคอบ

ปริมาณการรับฟลูออไรด์
ระยะที่ 1 อายุ 6 เดือนถึง 3 ขวบ ปริมาณฟลูออไรที่ใช้ต่อวัน 0.25 มก. การรับประทาน ชนิดยาน้ำฟลูออไรด์
ระยะที่ 2 อายุ 3 ขวบถึง 6 ขวบ ปริมาณฟลูออไรที่ใช้ต่อวัน 0.5 มก. การรับประทาน พอเคี้ยวเป็นให้เปลี่ยนจากน้ำเป็นเม็ด
ระยะที่ 3 อายุ 6 ขวบถึง 16 ขวบ ปริมาณฟลูออไรที่ใช้ต่อวัน 1 มก. การรับประทาน ยาเม็ดฟลูออไรด์
หมายเหตุ ควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อเคลือบฟลูออไรด์
ข้อมูลจากLDC

ความคิดเห็น