การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว

การให้นมแม่ช่วยคุณแม่ลดน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว หลังคลอดลูก หากคุณแม่ให้นมลูกเอง นน.จะลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 ด.โดยไม่ต้องซื้อคอร์สลดนน.ราคาแพง หรือ ซื้อยาลดนน.จากอินเตอร์เนทที่เป็นอันตรายมากิน โดยมีข้อแม้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 10-12 กก.ตลอดการตั้งครรภ์ โดยที่ 3 ด.แรก น้ำหนักต้องไม่ขึ้นเลย 3 ด.ถัดมาขึ้น 6 กก. และ 3 ด.สุดท้ายขึ้น 6 กก. ใครที่นน.ขึ้นเกินจากนี้ ไม่ดีนะคะ อย่าคิดว่าตอนท้องเป็นช่วงโปรโมชั่น อยากกินอะไรก็กินได้ตามใจอยาก อ้วนได้ไม่มีใครกล้าว่า แล้วคิดกินเพื่อลูก โด๊ปอาหารก่อภูมิแพ้เข้าไปมากมาย นมวัวเอย ผลิตภัณฑ์นมวัวเอย ทั้งชีส เค้ก ไอศครีม นมถั่วเหลืองซื้อมาเป็นลังๆ ไข่กินวันละหลายๆฟอง ขนมนมเนยทุกชนิด ปลาแซลมอนทุกมื้อ ผลที่ตามมา คือ แม่อ้วนทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ลูกเสี่ยงกับภาวะแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง พอคลอดลูกเสร็จ ก็ยังกินบำรุงน้ำหนักต่อ โดยคิดว่าจะทำให้ผลิตน้ำนมได้เยอะ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำหนักส่วนเกินยังคงอยู่สะสมในร่างกาย แต่น้ำนมไม่ได้เพิ่มขึ้น (ดังรูปบน) เพราะปริมาณน้...

หลักเกณฑ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก International Code of Marketing of Breastmilk Substitutes

 

หลักเกณฑ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก

International Code of Marketing of Breastmilk Substitutes


เขียนโดย  พญ. ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล


        การ แข่งขันระหว่างนมผสมกับนมแม่ เป็นการแข่งขันระหว่าง ผลกำไรกับสุขภาพของเด็กโดยมีความเจ็บป่วย ความเป็นความตายของเด็ก เป็นเดิมพัน
         “บริษัทนมผสม ยิ่งขายนมผงได้กำไรมากขึ้นเท่าไร  เด็กๆยิ่งได้รับนมแม่น้อยลงไปเท่านั้น”
         “นมผสมขายได้ยิ่งมากเท่าไร สุขภาพของเด็กยิ่งถูกลดทอนลงมากเท่านั้น”
          บุคลากร ด้านการแพทย์จะเลือกอยู่กับฝ่ายใดของการแข่งขัน?     


     
การส่งเสริมการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ มีความเกี่ยวข้องกับ การตลาดของอาหารทารกอย่างไร?       

         มีปัจจัยมากมายที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการที่แม่คนหนึ่งจะ ตัดสินใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ เรื่องของขนบประเพณี  ความ เชื่อของคนในครอบครัว ข้อมูลที่แม่ได้รับจากสื่อและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
             ลองหลับตานึกดูว่า ในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้พบเห็น อ่านหรือได้ยิน การส่งเสริมให้ทารกได้กินนมแม่กี่ครั้ง  และได้เห็น อ่าน ได้ยินข้อมูลเกี่ยวกับนมผงเลี้ยงทารกกี่ครั้ง
คำตอบที่ได้ทำให้เรารู้ว่า ความรู้เกี่ยวกับนมแม่ไม่สามารถแข่งกับการให้ข้อมูล ของนมผงเลย
ทั้งๆที่การให้นมแม่มีประโยชน์ มากมาย แต่การส่งเสริมการขายของนมผงใส่ข้อมูลให้แม่ๆตลอดเวลาว่านมผงมีสารอะไรบ้าง ทั้งๆที่นมแม่เป็น ต้นแบบ ให้นมผงเหล่านี้เลียนแบบและนมแม่มีสารอื่นๆอีกมากที่นมผงไม่มี แต่การโฆษณาทำให้แม่ไม่มั่นใจในน้ำนมของตนเองและพร้อมจะเปลี่ยนไปให้นมผงได้ตลอดเวลา
               การโฆษณานมผงจึงเป็นเหตุหนึ่งที่ให้ทำให้เด็กๆของเราได้รับนมแม่น้อยลง  เด็กๆ จึงเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้นเพราะขาดภูมิคุ้มกันที่มีในน้ำนมแม่
               การตลาดอาหารเด็กและทารก  เช่นการแจกตัวอย่างฟรี และการส่งเสริมผลิตภัณฑ์โดยรูปแบบอื่นๆ ทำให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำได้ยากขึ้น ทางองค์การอนามัยโลก และ กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) จึงได้กำหนด  “หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหาร สำหรับเด็กและทารกและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง” ขึ้น และได้รับมติเห็นชอบจากสมัชชาสาธารณสุขโลก ในปีค. ศ. 1981 
               หลักเกณฑ์นี้ให้มีการจำหน่ายนมผงได้ แต่จะต้องไม่มีการส่งเสริมและเผยแพร่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้  ไม่มี การให้ตัวอย่างนมผสมฟรีแก่แม่ แม่จะได้เริ่มให้นมแม่ได้ง่ายขึ้น และสุขภาพของเด็กทารกจำนวนมากจะดีขึ้น                     
 

ข้อกำหนด ของหลักเกณฑ์นานาชาติ

หมวด  1  ความมุ่งหมาย :    ต้องการให้ทารกได้รับอาหาร ที่ปลอดภัยและมีคุณค่าอย่างเพียงพอ  โดย การปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่    โดยมีการควบคุมกำกับด้านการตลาดและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารทดแทนนมแม่
 
หมวด 2  ขอบเขต :  ใช้กับการตลาด และการดำเนินการเกี่ยวกับอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 
1.นมดัดแปลงสำหรับทารก อาหารทารก
2.นมดัดแปลงและอาหารสูตรต่อเนื่อง สำหรับทารกและเด็กเล็ก
3.อาหารเสริมสำหรับทารก และเด็กเล็ก
4.อาหารอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้กับทารก   หรือใช้ร่วมกับขวดนมสำหรับเด็ก
5.ภาชนะบรรจุ ขวดนม จุกนมยาง หัวนมหลอก
       หลักเกณฑ์ครอบคลุมผลิตภัณฑ์อาหารทดแทนนมแม่ทุกชนิด

หมวด 3 นิยาม

หมวด 4 ข้อมูลการให้ความรู้     ข้อมูลเกี่ยวกับการให้อาหารทารก และเด็กเล็ก เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล    และข้อมูลที่ให้แม่ต้องเป็นความจริง เช่น แม่ต้องรู้ว่าหลังจากให้ลูกกินนมผสม จะเปลี่ยนให้ลูกกลับมากินนมแม่ได้ลำบาก
การบริจาคอุปกรณ์หรือสื่อ เอกสารที่เป็นข้อมูลความรู้ ต้องไม่มีชื่อทางการค้า หรือเครื่องหมายทางการค้าของผลิตภัณฑ์

หมวด 5  การส่งเสริมในที่สาธารณะ
        ห้ามทำกิจกรรมโฆษณาใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาในสื่อสารมวลชน การแจกใบปลิวในร้านขายยาหรือ ห้างสรรพสินค้า
        ไม่มีการแจกจ่ายตัวอย่าง การจัดซุ้มแสดงผลิตภัณฑ์เป็นพิเศษ เช่น มีเสียงเทปโฆษณาที่ชั้นวางสินค้า  แจกคูปองลดราคา
         ห้ามพนักงานการตลาดติดต่อกับหญิงตั้งครรภ์ มารดาของทารกและเด็กเล็ก


หมวด 6 สถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข
-ไม่มีการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ในระบบ บริการสุขภาพ   ไม่มีการตั้งแสดงผลิตภัณฑ์ โปสเตอร์ ปฏิทิน หรือสิ่งอื่นๆ  เช่น สมุดโน้ต นาฬิกา
- ไม่ควรอนุญาตให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข รับจ้างเป็นตัวแทนของบริษัทผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย
-สถานบริการสาธารณสุขต้องไม่รับ บริจาคผลิตภัณฑ์อาหารทดแทนนมแม่ (ตามหมวด 2 )ส่วนการบริจาคให้สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า กระทำได้ โดยรับเพื่อใช้สำหรับทารกที่ต้องการจริงๆเท่านั้น
-เครื่องมือหรือสิ่งของอื่นๆ ที่บริจาคให้ระบบบริการสุขภาพ ต้องไม่มีชื่อทางการค้าของผลิตภัณฑ์บนเครื่องมือนั้นๆ

หมวด 7 บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข
-การให้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ในขอบเขต ของหลักเกณฑ์ แก่บุคลากรทางการแพทย์ ทำได้เฉพาะข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์ และเป็นความจริง และต้องไม่ใชการโฆษณา
- ห้ามแจกของกำนัลแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข  เพราะ การแจกจ่ายของเป็นการแสดงอย่างชัดเจนว่าเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์   
-การแจกตัวอย่างสินค้า ทำได้เฉพาะ เพื่อการประเมินผลทางการแพทย์หรือ เพื่อการศึกษาวิจัยแก่บุคลากรภายในโรงพยาบาล
-การสนับสนุนแก่บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข ต้องกระทำโดยเปิดเผย
-การสนับสนุนทางการเงินต้องไม่สร้าง ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์

หมวด 8 พนักงานบริษัทผู้ผลิตและผู้แทนจำหน่าย
    - ยอดขายต้องไม่นำไปประกอบการพิจารณาค่าตอบแทนพิเศษ  เพราะการเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์อาหารทดแทนน้ำนมแม่ มีผลทำให้จำนวนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลงโดยอัตโนมัติ
   - พนักงานการตลาดต้องไม่ทำหน้าที่ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์

หมวด 9 ฉลาก
     ฉลากต้องระบุข้อมูลที่จำเป็นใน การใช้ผลิตภัณฑ์อย่างถูกต้อง และต้องไม่ขัดขวางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่   
     ภาชนะบรรจุแต่ละใบจะต้องมีข้อความ ที่ชัดเจน อ่านเข้าใจได้ง่าย  พิมพ์บนภาชนะบรรจุ หรือพิมพ์บนฉลากซึ่งติดไว้บนภาชนะอย่างแน่นหนา  และต้องเขียนด้วยภาษาที่ใช้อยู่ในประเทศนั้นๆด้วย
     ข้อความจะต้องประกอบด้วย
 “ ข้อสังเกตที่สำคัญ” (Important notice)
  “ คำเตือน” (Warning)  เพื่อช่วยเรียกความสนใจในข้อความที่บ่งบอกคุณค่าที่เหนือกว่าของการเลี้ยง ลูกด้วนนมแม่
    -ไม่มีรูปทารก หรือภาพและข้อความที่อาจสื่อให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ทดแทนนมแม่เป็นสิ่งดีเลิศ ห้ามใช้คำว่า “humanized” หรือ “maternalized” หรือคำที่มีความหมายใกล้เคียงคำดังกล่าว
  -ฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารที่อยู่ในขอบเขตของหลักเกณฑ์ จะต้องระบุสิ่งต่อไปนี้ด้วย
 1.สารอาหารที่นำมาใช้  ( Ingredients)
 2.สัดส่วนของส่วนประกอบ และการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์
 3.วิธีการเก็บรักษา
 4.หมายเลขผลิตภัณฑ์ และวันหมดอายุ

หมวด 10 คุณภาพ
คุณภาพของผลิตภัณฑ์ต้องมีมาตรฐานสูง เป็นที่ยอมรับ
ผลิตภัณฑ์อาหารต้องได้มาตรฐานตามที่ กำหนดไว้ใน  Codex Alimentarius Commission

หมวด 11  การนำไปปฏิบัติ และการตรวจติดตาม
ผู้ผลิตและผู้แทนจำหน่ายต้องปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์
จะต้องรายงาน สิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
เจ้าหน้าที่การตลาดต้องได้รับการฝึก อบรม เพื่อให้รู้เนื้อหาของหลักเกณฑ์นานาชาติ และหน้าที่ความรับผิดชอบ

ที่มา : thaibreastfeeding.org

ความคิดเห็น